Kittiphong_t
นาวาเอก กิตติพงศ์ ทิพย์เสถียร

งาน HR knowledge Sharing ครั้งที่ 6


Encourage People in Challenging Time

ได้มีโอกาสไปร่วมงานงาน HR knowledge  Sharing ครั้งที่ 6ในหัวข้อ  Encourage People in Challenging Time เตรียมพลัง  ฝ่าวิกฤติ เตรียมองค์การสู่อนาคต ที่จัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเมื่อ 14 ม.ค.53 นับว่าคุ้มค่าและมีโยชน์จริง  จึงขอนำแนวคิดดี ๆ ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนแบ่งปัน แบบสรุป ๆ ดังนี้

(ฉบับเต็มประมาณ 13 หน้า A4 อยู่ที่ http://gotoknow.org/file/nairua85/HRknowledgesharing6.pdf)

1.  ข้อคิดจากการกล่าวเปิดของ ดร.พานิช  เหล่าศิริรัตน์ ผอ.สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

     - ก่อนที่จะดำเนินกิจกรรม HR ต่าง ๆ จำเป็นต้องประเมินขีดความสามารถของบุคลากรก่อน  ซึ่งการประเมินขีดความสามารถดังกล่าว จะขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ตัวอย่างเช่น เพศ  อายุ  และระยะทางใกล้-ไกลจากบ้านถึงที่ทำงาน เป็นต้น

     - หน้าที่ของ HR คือ จะต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานให้บุคลากรของคุณสามารถแสดงขีดความสามารถในการทำงานให้สูงที่สุดให้ได้

 2.  การบรรยายของรองศาสตราจารย์ ไว  จามรมาน  ผอ.สถาบันทรัพยากรมนุษย์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     - เราต้องสร้างคนก่อนสร้างระบบคุณภาพเสมอ

     - มีความต้องการภาวะผู้นำในรูปแบบใหม่  ซึ่งต้องยอมรับว่าการนำโดยการทำตัวให้เป็นตัวอย่างนั้น หายากจริง ๆ

      - งาน Encouragement (กระตุ้นพลังบุคลากร)ไม่ใช่เรื่องเทคนิคแต่เป็นเรื่องจิตวิทยา เป็นพันธะสัญญาระหว่างคนในองค์การกับระบบขององค์การ  องค์การต้องมีแผน  ต้องเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างใหม่ มีหลายเทคนิคที่ต้องใช้ ท้ายที่สุดคนดีเหล่านั้น  จะสร้างผลผลิตที่ดีให้องค์การ      

      - งานการจัดการผลการปฏิบัติงาน (performance management)  ไม่ได้ประเมินผลงานอย่างเดียว แต่ต้องประเมินคุณธรรมด้วย  โดยต้องมีองค์ประกอบให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ คุณธรรม  ความเก่ง และผลงาน

     - Cooperate HR Responsibility การสร้างคนดีเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดขององค์การ  ที่จะก่อให้เกิดการสร้างงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าต่อมนุษยชาติ

 3. บทสรุปจาก คุณพูนธนา มุกสิกบุญเลิศ จาก บริษัท ซีพี ออลส์ จำกัด มหาชน 

       - การสร้างบุคลากร จะต้องสร้างทัศนคติก่อนแล้วค่อยสร้างทักษะ

 4. บทสรุปจาก คุณพงษ์เดช  ศรีวชิรประดิษฐ์  จาก บริษัท ฮอนด้ามอเตอร์ จำกัด

     - ปัญหาคือเราตีค่าของเงินเดือนตามจากคุณวุฒิ เช่น ปวช.อาจะได้ 5,000  บาท  ปวส. 7,000 บาท  ปริญญาตรี 10,000 บาท  ทำให้คนอยากเรียนแต่ระดับปริญญา เพื่อให้ได้เงินมาก  

       - แต่ในมุมของผู้ว่าจ้างจริง ๆ แล้ว  ก็ยังไม่รู้ว่า ที่จ่ายเงินเดือนไปตามคุณวุฒินั้น  เราได้ผลงานจากพนักงานคุ้มหรือไม่

       - ปัจจุบันองค์การส่วนใหญ่มักจะไม่เคยสนใจคนทำงานว่าเขารู้สึกอย่างไร

        - HR บางที่ทำงานตามที่ผู้บริหารสั่ง  โดยไม่ได้ติดตามความเป็นไปทางธุรกิจขององค์การ  จะมี HR กี่คนที่รู้ผลประกอบการขององค์การ  รู้ ROI (Return on Investment : อัตราส่วนผลตอบแทนของการลงทุน) and ROE (Return on Equity : อัตราส่วนผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น)

5. บทสรุปจาก คุณบัณฑิต  หิรัญวัฒนกุล ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)

   - ให้คำจำกัดความของ Encourage อย่าง่าย ๆ ว่า  การสร้างความฮึกเหิม

    - ให้คำจำกัดความของ Business ว่าเป็นการสร้างคุณค่าให้องค์การเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องเน้นว่าเป็นการทำธุรกิจเสมอไป

6.  บทสรุปจาก คุณชฎาวรรณ  ตังคะเกตุ จาก ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

    - เรื่องเล่า classic เกี่ยวกับ HR คือ ครั้งหนึ่งประธานาธิบดี Kanedy  เดินทางไปที่องค์การนาซ่า  ได้ถามพนักงานทำความสะอาดคนหนึ่งว่า เธอทำอะไรอยู่ที่นี่   พนักงานทำความสะอาดคนนั้นตอบว่า “ผมทำงานเพื่อช่วยส่งจรวดไปดวงจันทร์ครับ”  แสดงให้เห็นถึงความผูกพันของคนที่มีต่อองค์การ

7.  การบรรยายเรื่อง Encourage People in the challenging time : “Inspire and Support”  โดย อาจารย์ อภิวุฒิ  พิมลแสงสุริยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด

    - ภายหลังจากวิกฤติจะมี มีคนย้ายจากองค์กรมากขึ้น กรณีนี้แทนที่เราจะสนใจอัตราการย้ายออก (turned over rate) ควรหันไปสนใจว่าคนอยากให้ออกอยู่กี่คน  คนอยากให้อยู่แต่กลับลาออกมีกี่คน การสูญเสียคนที่ต้องการ (regretted loss) จึงเป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่แทน turned over rate สรุปง่าย ๆ คือถ้าเสียเขา เราก็เสียใจ

      - จริง ๆ แล้ว สหภาพแรงงาน คือ ผลลัพธ์จากการที่ผู้บริหารและพนักงานมีความรู้สึกไม่ไว้วางใจกัน  ดังนั้นการแก้ปัญหาสหภาพจึงเป็นการแก้ปัญหาเรื่องความไว้วางใจ  ทั้งนี้การสื่อสารในองค์กรนับเป็นปัจจัยสำคัญ

     - คนเราเข้าทำงานเพราะองค์การ ลาออกเพราะผู้บริหาร

     - เราไม่ค่อยพัฒนาจุดแข็งของคน เรามุ่งแต่จะพัฒนาจุดอ่อนของคน  ซึ่งการพัฒนาจุดแข็ง  อาจทำให้เขาได้ไปไกลกว่าที่เป็นอ่อน  รวมทั้งช่วยป้องกันไม่ให้เขาตกไปอยู่ในภาวะที่เป็นจุดอ่อนของเขา  การแก้ไขโดยพัฒนาจุดอ่อนอาจสู้การพัฒนาจุดแข็ง เพื่อไม่ให้คนตกไปอยู่ในจุดอ่อนไม่ได้ 

     - องค์การที่ดีจะไม่ได้ดูแลบุคลากรเฉพาะเรื่องการทำงาน งานแต่จะดูแลบุคลากรในฐานะ 1 ชีวิต

     - คนไทยส่วนใหญ่พูดกับคนใกล้ตัว ดีน้อยกว่าคนไกลตัว    

     - การใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (KPI)  หากนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง  จะนำมาสู่ความล่มสลายของการทำงานเป็นทีม  ความเป็นเพื่อนจะลดลง  ทุกคนจะเอาแต่ตัวเอง (รอด) ก่อน

    - การให้รางวัลเท่ากัน เนื่องจากการกลัวความแตกแยก อาจจะสูญเสียคนเก่งไป  การให้รางวัลตามความสามารถ อาจเกิดความแตกแยก แต่คนที่จะไปจากองค์การคือคนไม่เก่ง

       สั้น ๆ เท่านี้ก่อนนะครับ แบเต็ม ๆ อ่านได้ตามลิงค์ข้างบน

หมายเลขบันทึก: 329391เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท