สุขภาพทางจิตวิญญาณกับโรคมะเร็ง


ขอบคุณผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา...คุณประนอมศรี คุณทนงศักดิ์ และคุณฉัตรบุญ ในหัวข้อที่น่าสนใจในการเพิ่มพลังจิตในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้สนใจ

สุขภาพทางจิตวิญญาณ คืออะไร

  1. การปรับจิตรู้สำนึกให้เกิดประสบการณ์ของการทำกิจกรรมอย่างตั้งใจและมีทางเลือกด้วยความคิดที่ดีของตนเอง (ศีล)
  2. การให้ความรู้สึกถึงเป้าหมายของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
  3. การอยู่นิ่ง (สมาธิ) ทบทวนตนเองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม และความรัก
  4. การเข้าใจ (ปัญญา) ในที่มาของคุณลักษณะและความสามารถของตนเอง
  5. การแสดงความเมตตากรุณาแก่สิ่งมีชีวิตรอบข้าง
  6. การแยกแยะความทุกข์เพื่อเป็นอิสระด้วยแนวทางแก้ไขสาเหตุของความทุกข์นั้นอย่างมีสติ (อริยสัจจ์: ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)

 

โรคมะเร็งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางจิตวิญญาณอย่างไร

                เมื่อคนเราทราบการวินิจฉัยจากคุณหมอว่าเป็นมะเร็ง จิตรู้สำนึกมองมะเร็งว่า เป็นสิ่งที่เลวร้าย น่ากลัว และมีอาการที่แสนทุกข์ทรมาน ความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของตนเองทำให้จิตวิญญาณไร้การควบคุม ไม่มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีเวลาให้ความรู้ถึงผลกระทบของโรคมะเร็งและแนวทางการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับโรคมะเร็ง เนื่องจากประชากรโรคมะเร็งมีมากกว่าจำนวนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ทำให้แพทย์มุ่งติดตามปริมาณเซลล์มะเร็งและภูมิต้านทางของร่างกายจากผลเลือด รวมถึงการใช้เคมี/รังสีบำบัด โดยมีเวลาพบปะพูดคุยกับผู้ป่วยไม่เกิน 3 นาที ทั้งๆที่ผู้ป่วยต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้า นั่งรอตามคิวรพ. อีก 5-6 ชม. ผู้ป่วยที่มีความเป็นมิตรและการรับรู้โรคมะเร็งไม่เท่ากัน บางคนก็พูดคุยโดยไม่มี “ระบบชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน” แต่ละคนลงทุนและทดลองการบำบัดทางเลือกที่หลากหลาย ซึ่งมีประสิทธิผลที่ไม่ยั่งยืน ผู้ป่วยมีร่างกายที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีที่ไม่ส่งเสริมกำลังใจใดๆ นั่นคือ “เมื่อจิตวิญญาณไม่มีการพัฒนาขณะที่กำลังมีประสบการณ์ของการดำเนินชีวิตอยู่กับโรคมะเร็ง...สมรรถภาพร่างกายก็ค่อยๆ ทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้โดยธรรมชาติ หากแต่ชะลอหรือเพิ่มพูนอาการของโรคมะเร็งด้วยกรอบความคิดทางการแพทย์ที่มีขีดจำกัด”

 

ทำอย่างไรผู้ป่วยมะเร็งจึงมีสุขภาพทางจิตวิญญาณ

  1. ทบทวนความสามารถของตนเองในปัจจุบัน ทำความเข้าใจถึงผลกระทบของโรคมะเร็งและแนวทางการจัดการตนเองให้ทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายและมีความสุข เช่น แสวงหาความรู้และเปิดใจยอมรับกระบวนการดูแลตนเอง ตั้งแต่อาหารสุขภาพ การสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการฝึกกิจกรรมเพื่อสุขภาพต่างๆ
  2. การฝึกพัฒนาจิตวิญญาณอย่างมุ่งมั่น ได้แก่ การมีสติคิดก่อนทำกิจกรรมใดๆ เข้าใจและช่วยเหลือคนรอบข้าง วางแผนทีมการทำงานโดยเป็นผู้ตามและประสานงานในระยะเวลาและโอกาสที่เหมาะสม ย้อนทบทวนชีวิตที่ผ่านมาให้เป็นบทเรียนของการใช้ร่างกายที่เหมาะสมต่อความสามารถในปัจจุบัน
  3. การแสวงหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ชีวิต เช่น การอ่านหนังสือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีประสบการณ์โรคมะเร็ง (ผู้บำบัดและผู้ป่วย) การลงทุนเข้าอบรมเชิงปฏิบัติที่พอเพียงแล้วเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง การไม่อยู่นิ่งแต่ค้นหากิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น
  4. การพิจารณาประสิทธิผลทางการแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กับการแพทย์ทางเลือก แล้วพัฒนา “แก่นความคิดสู่การฝึกปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป” หากไม่ได้ผล...ก็ทบทวนถึงเหตุแล้วเริ่มต้นใหม่ด้วยความมั่นใจในจิตวิญญาณของตนเอง
  5. มอง “มะเร็ง” ว่าเป็น “เพื่อนชีวิต” อย่าคิดว่ามะเร็งนั้นน่ากลัว เราต้องมั่นใจว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งจนถึงวันสิ้นชีวิต เราต้องขอบคุณที่มะเร็งช่วยจุดประกายความคิดให้เกิดการปรับจิตวิญญาณและปรับการกระทำที่สร้างสรรค์ ควบคุมได้ วัดผลได้ และฝึกสติมากขึ้น แม้ว่าชีวิตจะเคยติดสุขสบาย แต่สุขภาวะนั้นไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง และควบคุมไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
  6. มะเร็งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม พฤตินิสัย มลพิษ หัตถการทางการแพทย์ และเวรกรรม แต่สำคัญที่สุดคือ สร้างพลังจิตวิญญาณที่แข็งแกร่ง แม้เพียงร่างกายจะอ่อนแอลง แต่จงปล่อยวางและพัฒนาจิตวิญญาณด้วยการกระทำดีของเราต่อไป
หมายเลขบันทึก: 328983เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ยินดีอย่างยิ่งครับคุณนงนาท

...อ่านแล้วเข้าใจชีวิตคนเรามากขึ้นว่าถ้าประสบกับปัญหาที่หนักมากๆ..ต้องอดทนและดำรงชีวิตของตนให้อยู่รอดให้ได้..

ขอบคุณมากครับคุณสายลมที่หวังดี

Dr. Pop,

I have sent your article to let Ven. Dhammsami who is in Oxford, UK approve it. And I really hope that he will be pleased to give his suggestion to you directly.

Much metta,

Ven. Dhammahaso

MCU

ขอบพระคุณมากครับท่านพระคุณเจ้าธรรมหรรษา

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • เพื่อนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย วัดความดันไม่ได้ ปฏืเสธการรักษาขอกลับบ้าน พอถึงบ้านอาการดีขึ้น กลับไปอีกโรงพยาบาลหนึ่ง บอกว่า ไม่มีเซลมะเร็งนี่นา แปลกดี
  • ขอบคุณค่ะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับคุณ Pa daeng

จิตวิญญาณ คำนี้ เข้าใจ เข้าถึงยากจริงๆ

เห็นด้วยว่า เข้าถึงยาก แต่มีกระบวนการทำกิจกรรมที่เข้าถึงได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ทำกิจกรรมเข้าใจตัวตนและคุณค่าของกิจกรรมอย่างไรครับ

ขอบคุณครับคุณหมอสีอิฐ

เนื่องจากประชากรโรคมะเร็งมีมากกว่าจำนวนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ทำให้แพทย์มุ่งติดตามปริมาณเซลล์มะเร็งและภูมิต้านทางของร่างกายจากผลเลือด รวมถึงการใช้เคมี/รังสีบำบัด โดยมีเวลาพบปะพูดคุยกับผู้ป่วยไม่เกิน 3 นาที ทั้งๆที่ผู้ป่วยต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้า นั่งรอตามคิวรพ. อีก 5-6 ชม. ผู้ป่วยที่มีความเป็นมิตรและการรับรู้โรคมะเร็งไม่เท่ากัน บางคนก็พูดคุยโดยไม่มี “ระบบชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน” แต่ละคนลงทุนและทดลองการบำบัดทางเลือกที่หลากหลาย ซึ่งมีประสิทธิผลที่ไม่ยั่งยืน ผู้ป่วยมีร่างกายที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีที่ไม่ส่งเสริมกำลังใจใดๆ นั่นคือ “เมื่อจิตวิญญาณไม่มีการพัฒนาขณะที่กำลังมีประสบการณ์ของการดำเนินชีวิตอยู่กับโรคมะเร็ง...สมรรถภาพร่างกายก็ค่อยๆ ทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้โดยธรรมชาติ หากแต่ชะลอหรือเพิ่มพูนอาการของโรคมะเร็งด้วยกรอบความคิดทางการแพทย์ที่มีขีดจำกัด”

ข้อความข้างบนนี้โดนใจมาก  พ่อเราก็เจอก้อนเนื้อบนสมอง เราไปพบแพทย์ เพื่อรอตรวจเลือดเก้าโมงเช้า  นั่งรอจนถึงบ่ายโมงเพื่อรอคิวตรวจ  หมอมา 14.30  กว่าจะได้ตรวจ  ประมาณ 15.30 น.(เพราะได้คิวที่ 33)  ต้องเสียเวลาเป็นวัน แต่ตอนเข้าไปพบหมอแค่ 1-2 นาที  ไม่น่าเชื่อถ้าเราไม่ถาม แพทย์ก็ไม่บอก  แม้กระทั่งการกิน การอยู่ การดูแลรักษาตัวเอง ซึ่งผู้ป่วยเองจะต้องหาข้อมูลเอง  ซึ่งถ้าเป็นผู้ป่วยยากไร้  หรือ  ผู้ป่วยที่ไม่มีลูกหรือญาติ ที่เรียนหรือมีความรู้  ก้คงไม่รู้จักวิธีปฏิบัติตัว หรือการกินอาหาร 

เราเลยอยากเจอหมอที่อุทิศตัวหรือ เสียสละ เพื่อโรคนี้ หรือ มีจิตใจที่อยากช่วยผู้ป่วยจริงๆๆ โดยที่ให้เวลาผู้ป่วยซักถาม และ ให้ข้อแนะนำผู้ป่วย 

ขอบคุณมากครับสำหรับประสบการณ์จากคุณ Noina

หากสนใจร่วมทำบุญพิมพ์หนังสือเรื่อง การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ก็ติดต่ออีเมล์ได้ครับ ผมคาดว่าจะพิมพ์และแจกเป็นวิทยาทานแก่ผู้ป่วยมะเร็งไม่เกินเดือนมีนาคมนี้

อบรมฟรี กิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับการจัดการมะเร็ง 17 ก.ย. 54

คลิกอ่านประชาสัมพันธ์ที่ http://www.gotoknow.org/classified/ads/1623

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท