โรงเรียนกวีและครูรากแก้วการอ่านรุ่นที่ ๕ เปิดรับสมัครแล้ว


โรงเรียนกวีและครูรากแก้วการอ่านรุ่นที่ ๕ เปิดรับสมัครแล้ว

.

ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม เปิดรับสมัครเยาวชน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมอบรมเรียนรู้โครงการค่ายวิทยาทานการศึกษา โรงเรียนกวี รุ่นที่ ๕ และ ครูรากแก้วการอ่าน รุ่นที่ ๕ ดังนี้

.

๑.ค่ายโรงเรียนกวี รุ่นที่ ๕ ระหว่าง ๑-๒๙ เมษายน ๒๕๕๓ เปิดรับสมัครเยาวชนอายุระหว่าง ๑๗-๒๕ ปี จำนวน ๑๐ คน เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ชีวิต การอ่าน การคิด การเขียน การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ และการใช้ชีวิต  ฝึกฝน และสร้างสรรค์บทกวีจากการใช้ชีวิต  จากประสบการณ์กระบวนการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (ทุ่งสักอาศรมและครูกานท์จัดสรรกองทุนส่วนตัวดำเนินงาน...ในกรณีที่มีผู้ประสงค์เป็นเจ้าภาพร่วมบุญ สามารถช่วยอุปถัมภ์ค่าใช้จ่ายสำหรับการเรียนรู้ตลอด ๑ เดือนของเยาวชน ๑ คนต่อ ๓,๐๐๐ บาท – ติดต่อครูกานท์ โทร. 081-9956016)

.

๒.ค่ายครูรากแก้วการอ่าน รุ่นที่ ๕ ระหว่าง ๒๔-๒๙ เมษายน ๒๕๕๓ (๕ วัน ๕ คืน) เปิดรับสมัครครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด จำนวน ๒๐ คน เพื่อเสริมสร้างทักษะประสบการณ์ให้เป็น “ครูรากแก้วการอ่าน” หรือต้นแก้วแห่งความรักการอ่าน ที่สามารถผลิดอกออกผลและแตกขยายรากฝอยมิติพลังทางปัญญาในการอ่านสู่เด็กและเยาวชน ทั้งในโรงเรียน ในครอบครัว ในชุมชน และรวมถึงในวิถีชีวิตที่ครูผู้นั้นเกี่ยวข้องตามศักยภาพของตน  อันจะก่อให้เกิดผลแท้จริงในการปลูกฝังความรักการอ่านเพื่อการเข้าถึงมิติพลังทางปัญญา โดยไม่เสียค่าที่พักและค่าใช้จ่ายในการอบรม เพียงแต่ให้ช่วยค่าอาหารและค่าเอกสารสำหรับตนเองแบบประหยัด คนละ ๑,๐๐๐ บาทเท่านั้น

.

ทั้งสองโครงการ ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมเรียนรู้ให้เขียนจดหมายด้วยลายมือ พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ ถึง ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม ๓๕ หมู่ที่ ๑๓ ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ๗๑๑๗๐ โทร.๐๘๑-๙๙๕๖๐๑๖ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

.

.......................................................................................

หลักสูตรและข้อปฏิบัติ

.

๑.ค่ายโรงเรียนกวี รุ่นที่ ๕

หลักสูตร

.การใช้ชีวิตและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

.การอ่านและเรียนรู้ธรรมชาติ

.การอ่านโลกและอ่านชีวิตผ่านอ่านวรรณกรรม วรรณคดี นิทาน เรื่องเล่า อ่านอย่างมีมิติ วิเคราะห์ ตีความ  และเสวนาการอ่าน

.การเขียนบทกวีและเขียนชีวิตผ่านกิจกรรมการเขียนบันทึกอย่างสร้างสรรค์ การเขียนกลอนเปล่า กลอนไฮกุ กลอนหัวเดียว การเขียนบทกวีสร้างสรรค์ การแต่งเพลง การแก้ไข ขัดเกลาและพัฒนาผลงาน การเผยแพร่ผลงาน การรวมเล่มผลงาน การเสวนาการเขียน และการจัดทำหนังสือ “ทำมือ” คนละ ๑ เล่ม 

.การท่องอาขยาน การฝึกร้องเพลงพื้นบ้าน การแสดงออก การอ่านบทกวีในที่ชุมชน การฟัง การขับร้องและขับขานอิสระ เพื่อเข้าถึงความงาม ความสุข และความคิดสร้างสรรค์

๖.การชมภาพยนตร์สร้างสรรค์และเสวนาชีวิตเชิง “จริยปัญญา”

.การเข้าเงียบ การทำสมาธิ เพื่อเข้าถึงพลังทางปัญญาและคุณค่าของชีวิต รวมทั้งการฝึกปฏิบัติศีล กวาดถู ทำกิจวัตรวิถี สร้างเสริมจิตสาธารณะ

.เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน ประเพณี ภูมิปัญญาชาวบ้าน ความเจริญ ความเสื่อม ปัญหาและทางเลือก

๙.กิจกรรมพิเศษ ตำข้าวเม่า เผาข้าวหลาม สีข้าว ฝัดข้าว ทำบุญสงกรานต์ รดน้ำดำหัว และศึกษานอกสถานที่

.

ข้อปฏิบัติ

.ชายหญิงอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง ห้ามมีพฤติกรรมฉันชู้สาวอย่างเด็ดขาด (รวมถึงพฤติกรรมฉันชู้สาวกับบุคคลภายนอกในละแวกโรงเรียนด้วย)

.งดใช้โทรศัพท์มือถือและเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ถ้ามีความจำเป็นต้องติดต่อกับบุคคลภายนอก ให้ใช้การเขียนจดหมายแทน สำหรับกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นต้องติดต่อกับทางบ้านให้ติดต่อผ่าน “ครูกานท์” หรือบุคคลที่ “ครูกานท์” มอบหมาย โดยโทรศัพท์ของทุ่งสักอาศรม

.งดเว้นสิ่งเสพติดและอบายมุขทุกชนิด

.ไม่ออกนอกบริเวณโรงเรียน (ยกเว้นกรณีที่ออกไปศึกษานอกสถานที่ตามหลักสูตรเป็นหมู่คณะ) และงดใช้ยานพาหนะส่วนตัวทุกประเภท 

.ปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ ตามที่โรงเรียนกำหนดอย่างขยันขันแข็งและเสมอภาคกัน 

.ปฏิบัติตนอย่างซื่อสัตย์ งดพูดปดหรือปกปิดซ่อนเร้นความผิดใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมหลักสูตร แสดงความจริงใจต่อกัน ห้ามลักขโมยหรือฉ้อฉลต่างๆ หรือก่อการให้เกิดความไม่สันติสุขทั้งในและนอกโรงเรียน 

.ตื่นนอน ๐๕.๐๐ น. เริ่มปฏิบัติกิจกรรม ๐๕.๓๐ น. และเข้านอนไม่เกิน ๒๒.๐๐ น.

๘.จัดแบ่งหน้าที่ฝึกฝนการหุงหาอาหาร กวาดถูดูแลอาศรม ล้างจาน รดน้ำต้นไม้ และฝึกจิตสาธารณะช่วยเหลือผู้อื่น

๙.งดเว้นการฟังวิทยุและดูโทรทัศน์ โดยให้อ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสารแทน

๑๐.การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หรือกิจส่วนตัวใดๆ จะต้องไม่รบกวนหรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น

๑๑.เวลาว่างใดๆ ให้พักผ่อนอย่างสร้างสรรค์ เช่น ทำงานอดิเรกส่วนตัว อ่าน เขียน หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนทางปัญญา ไม่นอนกลางวัน ไม่ใช้เสียงดัง ไม่ใช้วาจาและพฤติกรรมหยาบคาย

๑๒.งดดื่มน้ำเย็น งดบริโภคอาหารที่แฝงโทษทางโภชนาการ และงดพฤติกรรมฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย

๑๓.แยกบ้านพักเรือนหญิงเรือนชายและห้ามไปมาหาสู่กันในยามวิกาลโดยไม่ได้รับอนุญาต

๑๔.แต่งกายสุภาพ งดเว้นกางเกงขาสั้น!

๑๕.กรณีเจ็บป่วยที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาให้ผู้เรียนหรือผู้ปกครองของผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

๑๖.ความผิดและความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการกระทำโดยผู้เรียน ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้เรียนและผู้ปกครองของผู้เรียน

๑๗.ครูและครอบครัวของครูให้การดูแลผู้เรียนและให้การอบรมสั่งสอนเสมือนลูกและบุคคลในครอบครัว

.

ทั้งหลักสูตรและข้อปฏิบัติทั้งปวง เป็นไปเพื่อ “ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และสันติสุข

.......................................................................................................

.

๒.ค่ายครูรากแก้วการอ่าน รุ่นที่ ๕

หลักสูตร

.การอ่านเพื่อเข้าถึงความงาม ความรัก และความสุข

.การอ่านธรรมชาติ ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ และสภาวธรรมสรรพสิ่ง

.การอ่านสังคม ชีวิต และวัฒนธรรมผ่านนิทาน ตำนาน เพลงพื้นบ้าน และเพลงร่วมสมัยแนวต่างๆ

.การอ่านวรรณกรรมสร้างสรรค์และวรรณคดีเชิงวิเคราะห์และตีความ

.การอ่านเพื่อการสอนและปลูกฝังความรักการอ่าน

.การอ่าน “อวัจนสาร” และผัสสะต่างๆ 

.การอ่านแบบแกะรอยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

.เสวนาการอ่านสังสรรค์ภูมิปัญญาชุมชน

.การอ่านออกเสียงแบบต่างๆ

๑๐.การอ่านตีบทและการแสดงเกี่ยวกับการอ่าน

๑๓.การท่องอาขยาน (กินครูเป็นอาหาร) ขับร้อง และขับขานเชิงสร้างสรรค์

๑๔.กิจกรรมและเกมต่างๆ เกี่ยวกับการอ่านและการพัฒนากระบวนการคิด

๑๕.การจัดทำต้นแบบแผนงานภารกิจของ “ครูรากแก้วการอ่าน”

๑๖.การเขียนบันทึกและเขียนเชิงสร้างสรรค์สลับการอ่าน

.

ข้อปฏิบัติ

ข้อปฏิบัติของครูรากแก้วการอ่านให้ใช้ข้อปฏิบัติของโรงเรียนกวีโดยอนุโลม

.

.............................................................................................

 

สิ่งที่ต้องจัดเตรียม

.

ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ทั้งเยาวชน ครู และบุคลากรทางการศึกษาจัดเตรียมสิ่งต่อไปนี้ติดตัวมาด้วย

๑.สมุดบันทึก ดินสอ ปากกา และอุปกรณ์เครื่องเขียนอื่นๆ ที่จำเป็น

๒.เครื่องใช้ส่วนตัว รองเท้าแตะ ไฟฉาย ยาทากันยุง

๓.เสื้อผ้าแบบสุภาพ...เท่าที่จำเป็น (งดกางเกงขาสั้น)

๔.อาหารแห้งสมทบกองกลาง เท่าที่สามารถนำมาได้ เพื่อความมีส่วนร่วม (ข้อนี้เฉพาะนักเรียนโรงเรียนกวี)

.

..............................................................................................

.

การสมัครและการรายงานตัว

.

การสมัครเข้าร่วมเรียนรู้ ให้ผู้สมัครเขียนจดหมายด้วยลายมือ (รูปแบบอิสระ / ไม่จำกัดความยาว) พร้อมแจ้งหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่เพื่อการติดต่อกลับได้สะดวก ส่งถึง “ศูนย์เรียนรู้ทุ่งสักอาศรม” ๓๕ หมู่ ๑๓  ต.จรเข้สามพัน  อ.อู่ทอง  จ.สุพรรณบุรี  ๗๑๑๗๐  โทรศัพท์ ๐๘๑–๙๙๕๖๐๑๖, ๐๘๑-๗๕๗๘๘๕๔ 

.

๑.โรงเรียนกวี-สมัครภายในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓

พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และคำอนุญาตของผู้ปกครอง

๒.ครูรากแก้วการอ่าน-สมัครภายในวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๓

พร้อมแนบสำเนาหนังสืออนุญาตไปราชการของผู้บังคับบัญชา

.

การรายางานตัว ให้เดินทางถึงทุ่งสักอาศรมและรายงานตัวดังนี้

๑.โรงเรียนกวี-รายงานตัวในเช้าวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓ ระหว่างเวลา ๘.๐๐-๑๒.๐๐ น.

๒.ครูรากแก้วการอ่าน-รายงานตัวในบ่ายวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๓ ระหว่างเวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น.

................................................................................................

.

วิทยากร

๑.ผศ.ศิวกานท์ ปทุมสูติ (ครูกานท์-วิทยากรประจำหลักสูตร) : กวี นักคิด และนักวิชาการอิสระ

๒.ศักดิ์สิริ มีสมสืบ (ครูไวท์) : กวีรางวัลซีไรต์ และศิลปินรางวัลศิลปาธร

๓.ชินกร ไกรลาศ : ศิลปินแห่งชาติ

๔.สลา คุณวุฒิ : ครูเพลงแห่งยุคสมัย

๕.ศุ บุญเลี้ยง (จุ้ย) : ศิลปินนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง และนักเขียนอิสระ

๖.พจนาถ พจนาพิทักษ์ (เอก) : กวี ศิลปินนักร้องและนักดนตรี

๗.ท่านจันทร์ (สมณะเพาะพุทธ จันทเสฏฺโฐ) : สมณะนักเทศจากรายการวิทยุและโทรทัศน์หลายรายการ

๘.กิตติศักดิ์ บุตรดีวงศ์ : ศิลปินภาพเขียน

๙.วงเดือน ทองเจียว : นักเขียนและนักวิชาการอิสระ

๑๐.ศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง นักเขียน นักบวช และภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมให้วิทยาทานตามความเหมาะสม

.

หมายเหตุ วิทยากรตามข้อ ๒ ถึงข้อ ๑๐ คือวิทยากรที่แวะเวียนมาร่วมให้วิทยาทานการเรียนรู้ตามโอกาส

...................................................................................

.

นัดพิเศษ ปีนี้

ชุมนุมรุ่นโรงเรียนกวี รุ่น ๑ ถึง ๕ และ ครูรากแก้วการอ่าน รุ่น ๑ ถึง ๕

ระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ เมษายน ๒๕๕๓

ฝากข่าวนักเรียนโรงเรียนกวีและครูรากแก้วทุกคนช่วยบอกข่าวถึงกัน และกรุณาแจ้งการเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ ในดวงตา ปทุมสูติ โทร.๐๘๑-๗๕๗๘๘๕๔

รายละเอียดของกิจกรรมจะแจ้งผ่านเว็บบล็อกนี้ในโอกาสต่อไป

.

หมายเลขบันทึก: 328867เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
  • เป็นโรงเรียนที่อ่านออกเขียนได้
  • อ่าน(ใจตัวเอง)ออก ก็ยอดเยี่ยมแล้ว
  • เขียนหรือลิขิต(ชีวิตตนเอง)ได้ ก็จบหลักสูตรแห่งการศึกษา(คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น)
  • การศึกษาที่มีชีวิต เพราะได้ศึกษาเรื่องชีวิตตัวเอง เรียนของจริงความจริงจากผู้รู้จริง(ชาวบ้าน)
  • น่าอนุโมทนาที่มีผู้คนไปเรียนพิเศษที่บ้านนอก
  • เป็นบ้านนอกศึกษา บ้านนอกวิทยาคม

เจริญพร

สวัสดี ครับ ครู

ตน...เผลอไผลนอนหลับ

ลืม...โลกลับดับสูญ

กาย...เองไม่รู้อยู่

ใจ...อดสูในสังคม

ผมเข้ามาขออนุญาต นำแม่แบบการใช้ชีวิตของอาจารย์ไว้ที่บันทึกนี้ นะครับ

http://gotoknow.org/blog/sangsri/329442

กราบขอบพระคุณอาจารย์ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท