C3THER : การดูแลผู้ป่วย NEURO


การวางแผนการดูแลประจำวันโดยอาศัยแนวทาง C3THER ทำให้ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทีมผู้ดูแล (ทีมสหวิชาชีพเยี่ยมไข้ใกล้เตียง) ได้รับรางวัล ทีมปฏิบัติการดีเด่น จากสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2548

หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทนำแนวคิดการทบทวนขณะดูแลผู้ป่วย (C3THER) ของพรพ.มาใช้ในการค้นหาความเสี่ยงทางคลินิก เมื่อ เม.ย. 44 ซึ่งพบว่าแนวคิดนี้สามารถพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยได้เร็ว ทีมสหสาขาวิชาชีพให้การยอมรับ ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทีมผู้ดูแล (ทีมสหวิชาชีพเยี่ยมไข้ใกล้เตียง) ได้รับรางวัล ทีมปฏิบัติการดีเด่น จากสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2548 การนำแนวคิด C3THER มาสู่งานประจำในครั้งนี้เริ่มโดย ให้ทีมรู้และเข้าใจในแนวคิดและความหมายของตัวย่อ C3THER และนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ป่วย NEURO และในงานประจำนั้นมีการวางแผนการดูแลผู้ป่วย (Pre-conference) ของพยาบาลทุกวัน ซึ่งพยาบาลที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยรายนั้นๆจะมีการวางแผนการดูแลประจำวันโดยอาศัยแนวทาง C3THERได้แก่

     Care = ผู้ป่วยมีปัญหาอะไร มีการวางแผนการรักษาไว้อย่างไร แพทย์จะให้ยาผู้ป่วยกี่วัน ผู้ป่วยมีความเสี่ยงอะไรบ้างเราให้การป้องกันความเสี่ยงนั้นหรือยัง (เช่น ถ้ามีความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ ต้องทราบว่าค่าคะแนนความเสี่ยงเป็นเท่าใหร่ (Braden score) และมีการป้องกันตามแนวทางที่กำหนดหรือยัง) สิ่งที่ควรระวังสำหรับผู้ป่วยรายนี้มีอะไรบ้าง เป็นต้น

     Communication = มีข้อมูลอะไรบ้างที่ผู้ป่วย/ญาติควรทราบ ใครเป็นผู้ให้ข้อมูลนั้น บันทึกไว้ที่ใหนบ้าง มีข้อมูลสำคัญอะไรที่ต้องมีการส่งต่อ เพื่อให้ทีมสามารถดูแลผู้ป่วยรายนี้ได้อย่างต่อเนื่อง (เน้นการสื่อสาร/ประสานงานเป็นหลัก)มีการประเมินผลการรับทราข้อมูลหรือยัง      

     Continuity = ผู้ป่วยรายนี้จะได้กลับบ้านเมื่อใหร่ กลับบ้านในสภาพใหน กลับไปอยู่กับใคร ที่ใหน การเตรียมวางแผนจำน่ายเป็นอย่างไร ข้อมูลที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้ป่วยหรือไม่ ต้องใช้อุปกรณ์อะไรที่บ้านบ้าง จะส่งต่อผู้ป่วยให้สถานบริการสาธารณสุชชุมชนใหนดูแลต่อหลังการจำหน่าย  เป็นต้น

     Team = ต้องมีการปรึกษาวิชาชีพอื่นมาดูแลผู้ป่วยหรือไม่ ปรึกษาเมื่อใหร่ มีการประสานงานกันอย่างไร สหวิชาชีพวางแผนดูแลผู้ป่วยอย่างไร (เช่นผู้ป่วยมีอาการแขน-ขา อ่อนแรง มีการปรึกษานักกายภาพบำบัด) มีแพทย์จากต่างแผนกมาดูผู้ป่วยหรือไม่ แพทย์ชื่ออะไร  เป็นต้น

     HRD = ในการดูแลผู้ป่วยรายนั้นๆต้องใช้ความรู้อะไรบ้าง พยาบาล/พนักงานที่รับผิดชอบมีความสามารถเพียงพอหรือยัง ความรู้อะไรที่จำเป็นและต้องมีในการดูแลผู้ป่วยรายนี้ (เช่น ผู้ป่วยมีสายระบายนำไขสันหลัง ผู้ป่วยทำหัตถการเฉพาะต่างๆ)

     Environment = สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยมีความปลอดภัยหรือไม่ (เช่น ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการพลัดตก-หกล้ม ได้รับการดูแลเรื่องความพร้อมของเตียง การติดป้ายสื่อสารว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยง การดูแลพื้น)

     Equipment = การดูแลเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้กับผู้ป่วย ที่มีการเตรียมความพร้อมให้สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย การดูแลรักษาเชิงป้องกันต่างๆ เป็นต้น

     Economic = สถานะทางการเงินของผู้ป่วย/ญาติเป็นอย่างไร ต้องให้การช่วยเหลือหรือไม่อย่างไร (เช่นญาติผู้ป่วยมีปัญหาด้านการเงิน ได้มีการให้ความช่วยเหลือโดยหางานจ้างรายวันให้ทำ โดยมีการประสานงานกับนักสังตมสงเคราะห์ เป็นต้น)

     Record = มีการบันทึกข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยอย่างไร มีประโยชน์กับทีมในการดูแลผู้ป่วยหรือไม่ การบันทึกที่ทีมต้องการเป็นอย่างไร (ทั้งการสื่อสารที่เตียงผู้ป่วยและในบันทึกทางการพยาบาล) บันทึกในคอมพิวเตอร์มีความถูกต้อง ครบถ้วนหรือยัง เป็นต้น

     ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับกระบวนการพยาบาล และการทำงานประจำในด้านการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพได้อย่างลงตัว ความเสี่ยงทางคลินิกที่ค้นพบสามารถป้องกันและแก้ไขได้ทันที การให้ข้อมูลกับผู้รับบริการและทีมมีประสิทธิภาพมากขื้นค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 32863เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ขอบคุณค่ะ ที่นำมาแบ่งปันใน gotoknow (ตามที่คุณโอ๋ขอไว้)

ส่ง File แนบมาให้แล้วค่ะ

เกษิณี เพชรศรี

หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

ขอดูตัวอย่างc3ther หน่อยได้ไหม๊ค่ะว่ารูปแบบยังไงที่สามารถทำได้ง่ายและสะดวกโดยลดงานเอกสารไม่เพิ่มงานประจำค่ะ (ทำงานอยู่รพ.ตะกั่วทุ่งพังงาค่ะ)รบกวนหน่อยน่ะค่ะ

รบกวนขอดูตัวอย่างการทำC3THER ได้ไหมคะ

ตอนนี้กำลังรวมใบวางแผนการจำหน่าย ดูแลต่อเนื่อง การประเมินสมรรถนะไว้เป็นชุดเดียวกัน

ขอตัวอย่างทีทำแล้วหน่อยได้ไหมค่ะ อยากรู้ว่าเค้าทำออกมาเป็นไง อยากทำบ้างแต่ไม่มีตัวอย่างเราเลยคิดไม่ออกว่าจำทำไง มีแต่แบบฟอร์มอย่างเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท