นับเป็นเวทีการจัดกระบวนการ KM ให้กับ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิทยุชุมชน โดยเลือก จ.ราชบุรี เป็นสถานที่นัดคุยกัน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นนักจัดรายการ ช่างเทคนิค ผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชน แกนนำเครือข่าย ความเป็นจริง คือ คน 1 คน อาจทำหลายหน้าที่ไม่ได้แยกแยะอย่างชัดเจน
การเล่าเรื่องความประทับใจที่เป็นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิทยุชุมชน
ในกลุ่มที่ 4 มี 4 ท่าน พบว่า
1. คุณพัฒนพงศ์ จากพิษณุโลก (คุณอำนวย)
นั้นคาดหวังอยากมาเรียนรู้เทคนิคการตัดต่อทำ Spotโฆษณา
และเทคโนโลยีการถ่ายทอดเสียงผ่าน Internet เป็นต้น
โดยส่วนตัวท่านเรียนด้านเทคนิคมาจึงมองทะลุวงจร
2. คุณชุติมา จากสระแก้ว ไม่รู้เรื่องเทคนิค
คาดหวังอยากมาฟังเรื่องงานช่างเทคนิค
เพราะมีปัญหาเครื่องเสียงไม่เพราะ คนไม่อยากฟัง
3. คุณชาลี จาก กาฬสินธุ์
เป็นแกนนำในการฝ่าฟันทุกรูปแบบขอให้มีเสียงวิทยุ ท่านบอกว่า
ท่านแค่เปิดเครื่องได้ ถ้าเสียก็ยกไปให้ช่างซ่อม
ไม่มีความรู้ด้านเทคนิคในการซ่อม หรือไม่รู้ว่าเครื่องหมดอายุ
เพียงแต่เกิดฟ้าผ่า แล้วท่านพยายามไปเก็บของมาส่งช่างซ่อม
4. คุณอรรถพล จากภาคใต้ เป็นนักเรียนปวช.
เข้ามาฝึกงานช่างเทคนิค ยังไม่ถึงเดือน
ติดสอยห้อยตามทีมงานมาเรียนรู้เรื่องเทคนิค
คุณกิจของเรา น่าจะเป็นคุณพัฒน์พงศ์เพียงท่านเดียว
แต่ก็ดูท่านผิดหวังว่าไม่มีคุณกิจในกลุ่มจะสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านได้
ผู้เขียนจึงให้กำลังใจว่า ยังมีกลุ่มเทคนิคอีก 1 กลุ่ม
ที่ท่านสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้
เวทีวิทยุชุมชน
เป็นนักจินตนาการ สังเกตได้จาก
เขาวาดรูปในหัวข้อความคาดหวังในศักยภาพคนวิทยุชุมชน
และอธิบายรูปได้ดี
เขาเป็นตัวของตัวเองในช่วงเวลาที่ร่วมกิจกรรม
หลังจาก AAR แล้ว
เราและเขาต่างได้เรียนรู้บทเรียนที่ดีซึ่งกันและกัน
เมื่อจบงานยังมีการพูดคุยที่มีรสชาติสนุกสนานอีกหลายเรื่องราวที่เป็นข้อคิด
ก่อนแยกย้ายเดินทางกลับ
ทำให้ผู้เขียนต้องยิ้มเมื่อนึกถึงประเด็น
“มวยวัดเจอมวยสากล” และชกกันคนละรุ่นด้วย
ผู้เขียนซื้อ
CDเพลงวิทยุชุมชนทางภาคตะวันออก 1 แผ่น
ด้วยอยากจะช่วยวิทยุชุมชนบ้าง
ดูพวกเขาพกพาปัญหามากมายที่อึดอัดใจ
และเห็นว่าแกนนำท่านหนึ่งมาช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ช่วงกำลังขมวดปม
และคอยติดตามดูทีมวิทยากรตลอดหลังจากนั้น ด้วยความเป็นห่วง
ทั้งที่ก่อนหน้าแกนนำท่านนี้ไม่ยอมเข้าร่วมวงประชุม
แต่คอยสังเกตการณ์อยู่ด้านนอกเวที ภายหลังท่านมอบ CD
บ้านซ่องให้ผู้เขียน 1 แผ่น
ผู้เขียนทราบเรื่องราวที่น่าประทับใจของท้องถิ่นนี้แล้วเมื่อเปิดดู...
มีอีกหลายท่านที่แสดงออกอย่างเซียนน้ำใจ
ในแง่มุมแตกต่างกันที่ผู้เขียนคงไม่สามารถอธิบายในพื้นที่เขียนนี้ได้หมด
แต่คงอยู่ในความทรงจำผู้เขียนทุกๆท่าน
การแลกเปลี่ยนประสบการเรียนรู้ของผู้เขียนตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน ปรากฏเป็นภาพฉายชัดขึ้นมา.....
เมื่อ 2 ธ.ค. 2542 ผู้เขียนถูกสอน เรื่อง “จินตนาการ”
ในขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่เป็น ผู้เรียนรู้งานประกันคุณภาพ (QA)
โดยติดตามดูเจ้าหน้าที่ QA วัตถุดิบ รุ่นพี่ท่านหนึ่ง
ดูเขามีความสุขในการทำงาน และมีสไตล์เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
สอนเข้าใจง่าย ถ้าเปรียบเปรยกับเจ้าหน้าที่ QA วัตถุดิบ
ท่านก่อนหน้าที่ดูไร้ชีวิตชีวา สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ
พวกเล่น In-coming
ต้องมีจินตนาการ (Immage)
คือ มีความคิดเป็นของตัวเอง มีความเป็นอิสระ
ถ้าถูกล็อกความคิดจะทำให้ขาดอิสระ ขาดความสวยงาม
เหมือนนักเขียน นักวาดภาพ จึงควรวางกรอบกว้างๆให้แก่เขา
เพื่อมาประยุกต์เข้ากับจินตนาการได้
ถ้าไปกักขังความคิดและจินตนาการของเขา ทำให้เขาทำงานแบบมีเท่าไร
ก็ทำเท่านั้น ดังนั้นความก้าวหน้าไม่มีวันเกิด
จินตนาการของศิลปิน คือ มีความกล้า กล้าคิด กล้าทำ เพราะจะไม่อยู่ใต้อาณัติของผู้ใด โดยผู้ที่ต้องการให้เกิดจินตนาการนั้นต้องวางกรอบว่าต้องการอะไร และต้องการอย่างไร เขาจะแต่งตัวตามสไตล์ของตัวเองเมื่อต้องการ เขาจะมีเอกลักษณ์ (คือ ลักษณะที่เป็นเอก) เป็นของตัวเอง เขาจะไม่ยึดติดกับภาพลักษณ์ของสังคมอันจอมปลอม ถ้าเขายึดติดกับสังคมอันจอมปลอม จินตนาการของเขาไม่เกิด
จินตนาการของผู้บริหารเป็นอีกแบบหนึ่ง
จินตนาการของศิลปินเป็นอีกแบบหนึ่ง
เมื่อผู้เขียนถูกโยนเข้าไปอยู่กับเสือสิงห์กระทิงแรดโดยตัวเองที่ประกาศว่าต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่
ทักษะการปรับตัวให้ไวต่อสถานการณ์ก็เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
4 เดือน นับว่าคุ้มค่า
กระบวนท่าเราสามารถพลิกแพลงได้ ในขณะที่เราชกมวยสากลแล้ว
ไม่มีใครเล่นกับเรา ผู้เขียนต้องคิดใหม่ว่าทำอย่างไร
? ที่แท้ เรื่องการสื่อสารที่แยกแยะระดับเป็นเรื่องสำคัญมาก
สำหรับ KM รวมถึงการจัดการ หรือการแสดงภาวะผู้นำ
เราต้องเป็นทั้งมวยวัดและมวยสากล
ในการเริ่มงานที่แรก ผู้เขียนได้เจอ อาจาย์ไพเดช
อภิสิทธานุรักษ์ ที่ปรึกษาระบบคุณภาพ
ก็คิดว่าเราอยากมีบุคลิกภาพการทำงานแบบท่าน
จึงขอคำปรึกษาตลอดเวลาที่มีปัญหาเรื่องระบบงาน ISO
9002 :1994 เดินตามท่านต๊อกๆในสายการผลิต
เพื่อเรียนรู้การ Audit แบบที่ท่านทำ การตั้งคำถาม
การหาหลังฐาน และการแจก CAR
ต่อมา
ผู้เขียน เจอคุณกฤษณ์ อิ่มแสง ผู้บริหารฝีมือดี จาก
ปตท. รู้สึกประทับใจที่ท่านเอาจริง ติดตามงานจริง
ซ่อมเครื่องฉายสไลด์เป็น เมื่อท่านเจอปัญหาก่อนทำการอบรม
ท่านพูดว่า “ที่มาสอน 5ส เพราะบริษัทฯนี้เป็นของคนไทย”
วันนั้นจิตสำนึกผู้เขียนถูกปลุกขึ้นมา
ท่านเล่าว่า... ท่านทำงานหนัก ในฐานะ Facilitator
5ส ไม่ใช่จะมีคนร่วมมือกับเราทั้งหมด
ท่านกลับบ้านไปนอนแผ่จนหลับไปเพราะทำงานหนัก
เป็นสิ่งยืนยันว่าคนมีฝีมือต้องทำงานหนักจริง
เมื่อเราติดตามไปท่องเที่ยวเดินป่า ปีนเขา หรือล่องแพ กับท่าน
ท่านจะอธิบายเรื่องการเตรียมตัวหลังเลิกงานแล้วตอนเย็น
แล้วขับรถกลับไปทำงานต่อ ที่ปตท. จนงานเสร็จ
จะกี่ทุ่มผู้เขียนไม่ทราบได้
เมื่อไปขอคำปรึกษาที่ทำงานท่าน
จะพบว่างานท่านเยอะตลอดเวลาแต่โต๊ะทำงานเรียบร้อยพร้อมต้อนรับ
ท่านเกรงใจที่เราไปแสดงความตั้งใจจะขอให้เป็นที่ปรึกษาจริงๆ
ทั้งๆที่ท่านทำงานเยอะทุกวัน วันเสาร์ก็มีคิวให้คำปรึกษา
จนแทบจะต้องยกคิววันอาทิตย์ให้เรา ทั้งที่ท่านมีครอบครัว
โชคดีไม่เป็นบาปเพราะเราลาออกจากงานเสียก่อนที่จะเชิญท่านเป็นที่ปรึกษาจริงๆ
จำได้ว่ามีวันหนึ่งไปนั่งรอหน้าห้องทำงานท่านนานมาก
เพราะท่านกำลังประชุมกับลูกน้อง 1 ท่าน อย่างจริงจังมาก
เมื่อน้องคนนั้นเดินออกมาจากห้องดูไร้เรี่ยวแรง เราถึงบางอ้อ
! ผู้บริหารฝีมือดี เขาพลังมากอย่างนี้นี่เอง
แต่ต้องผ่านการฝึกฝนมา มิใช่ง่ายนัก
..................................................
บทสรุป
การทำงานจะเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน
ถ้ากำลังใจเราเข้มแข็ง เราย่อมชนะ
เหมือนที่นักจัดรายการวิทยุชุมชนท่านหนึ่งได้กล่าวว่า
“คุณภาพงานเมื่อเริ่มจัดรายการอยู่ที่จิตใจแท้ๆ(จิตวิญญาณ)
ซึ่งเกิดจากกำลังใจที่มาจากคำติชม ไม่ใช่เงินทุน
ถ้าจัดรายการแบบไร้จิตวิญญาณ
คนฟังรู้มิใช่เพียงเรารู้” ผู้เขียนมองว่า
เขาต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมายในการทำงาน ทำให้เข้มแข็ง
เมื่อคนเรามีจิตใจที่เข้มแข็ง และนิ่งสงบแล้ว
เราจะรู้ว่าร่างกายเราตอนไหนทำมากได้ ตอนไหนทำน้อย
ตอนไหนควรหยุดพัก ตอนไหนควรเร่ง
ตอนไหนใช้สมองคิดวางแผน
ตอนไหนใช้กำลังกาย ตอนไหนควรใช้คำพูด
เป็นว่า...เราจัดการงานได้
ตามความเข้าใจของตนเอง ...
· การแก้ไขปัญหา หรือจัดการปัญหาเฉพาะหน้าอาจรวมถึงการจัดการซ่อมบำรุง เป็นทักษะแบบหนึ่ง ต้องเก็บรายละเอียดข้อมูล ต้องทดลองพิสูจน์หาเหตุ พิสูจน์วิธีการแก้ไขหรือป้องกัน ต้องยับยั้งอาการเป็น ผู้เขียนเริ่มเป็นทักษะนี้ เมื่อทำงานคุณภาพในองค์กรที่ 3 และ 4 โดยตั้งโจทย์ว่า ต้องการเรียนรู้การแก้ไขปัญหา
· ทักษะการเป็นนักวิชาการ ผู้เขียนใช้ในองค์กรแรก ทำได้ไม่ดีเลย เพราะเพิ่งเรียนจบ จึงนำสิ่งที่เรียนจากมหาวิทยาลัยและที่ปรึกษา มาสอนคนมีประสบการณ์ทำงาน ประกอบกับพูดไม่เป็น เราจะทำให้เขาเข้าใจได้อย่างไร? แต่เขาก็อุตส่าห์ทนฟังเรา เราจึงต้องไปปรับปรุงตัวเอง ต่อมาผู้เขียนทดสอบตนเองอีกครั้งตอนบริหารงาน HR ปรากฏว่าสามารถพูดวิชาการให้ช่างเทคนิคเข้าใจได้ เขาบอกว่า “เจ๊พูดเข้าใจง่าย” เป็นอันว่าเราผ่านการเรียนรู้ตรงนี้แล้ว
· การประสานงาน ผู้เขียน เริ่มเรียนรู้ในการทำงานที่แรก โดยไม่รู้ตัว ได้รับคำชม จากหัวหน้าและบุคคลภายนอก จึงเข้าใจว่าเรามีทักษะการประสานงาน
· ในงานจัดการฝึกอบรมผู้เขียนต้องใช้สติ เนื่องจากเป็นงานที่ละเลยรายละเอียดไม่ได้เลย เราจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ต้องดึงเอาทักษะด้านการตลาด การจัดเก็บข้อมูล ศิลปะ และเทคนิคหลายด้านมาใช้ในการทำงาน ผู้เขียนเริ่มเรียนรู้การทำสื่อที่จะช่วยให้ได้รับการตอบรับ
· การบริหารจัดการเป็นทักษะแบบหนึ่ง เมื่อเราเป็น ผู้บริหารงานด้านบุคลากร ต้องใช้คนเป็น รู้จักใช้คน คือต้องพูดแยกแยะระดับคนได้ การเข้าใจมนุษย์ จริงๆแล้วผู้เขียนไม่เคยคิดจะเข้าใจใคร แต่การนั่งฟังเรื่องความยากลำบาก หรือความทุกข์ ของคนที่แตกต่างชั้นวรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา ทำให้เริ่มมองโลกกว้างขึ้น มิใช่ว่าแค่การเดินทางออกนอกพื้นที่จะทำให้เรามีโลกทัศน์ ผู้เขียนได้เรียนรู้ขณะนี้ว่าเราต้องเรียนรู้คนที่หลากหลาย“ เราจะผสมผสานทักษะเหล่านี้อย่างไร? อย่างลงตัว ”
ผู้เขียนตั้งคำถามกับตนเอง เพื่อพัฒนา รวมมิตร KM ปฏิบัติ ของตัวเอง
ไม่มีความเห็น