Hyperuricemia and Gout


ประมาณ 20% ของผู้ที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงที่จะเกิดเป็นโรคข้ออักเสบเกาต์

Hyperuricemia and Gout

    ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง หมายถึง มีระดับกรดยูริกในซีรั่มมากกว่า 7mg/dlในผู้ชาย 6mg/dlในผู้หญิง
    โรคเกาต์ หมายถึง อาการข้ออักเสบ จากการที่มีการตกผลึกยูเรตในข้อ โดยประมาณ 30%ของคนเป็นเกาต์ ตรวจไม่พบ hyperuricemia



การจะวินิจฉัยโรคเกาต์นั้น ต้องอาศัยประวัติ หรือ การเจาะข้อตรวจพบผลึก ร่วมด้วยและ 20% ของผู้ที่มีภาวะกรดยูริกสูงเท่านั้นที่จะเกิดเป็นโรคข้ออักเสบเกาต์


ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทั้งสองภาวะมีความสัมพันธ์กันก็จริง แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกันและมีแนวทางการให้ยาที่ต่างกัน

ภาวะแทรกซ้อนจาการมีกรดยูริกในเลือดสูง
1. gouty arthritis คือการมีการอักเสบของข้อ(โรคเกาต์)
2. tophi ก้อนโทฟาย เกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดสูงมากเป็นเวลานาน มักตรวจพบได้ในเวลาประมาณ 11 ปีหลังจากการอัเสบข้อครั้งแรก(ไม่เสมอไปอาจพบก้อนโดยไม่เคยสังเกตการอักเสบก็ได้)
3. renal disease พบได้ทั้งแบบ acute,chronic or uric acid stone

การรักษาโรคเกาต์ มี 5 ขั้นตอน
1.การให้ความรู้และการปฏิบัติตน
    เช่นการลดน้ำหนักตัว หยุดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด หยุดยาขับปัสสาวะ จำกัดอกาหารประเภทไขมันและอาหารที่มีสารพูรีนมากเช่น เครื่องใน ขนมที่มีเนยหรือไขมันสูง การดื่มน้ำมากๆและออกกำลังกาย
2.การรักษาข้ออักเสบเฉียบพลัน
    ได้แก่การใช้ยา colchicine, NSAID, steroid
cholchicine ได้ผลดีถ้าเริ่มได้ยาเร็วในสองชั่วโมงหลังเกิดอาการปวดอักเสบ โดยให้  0.5-0.6 mg t.i.d ระวังการให้คู่กับ ยาstatin,gemfibrozil, cyclosporin, erythromycin ผลข้างเคียงคือท้องเสีย ในระยะยาวอาจเกิด neuromyopathy ได้
NSAID ควรให้ในระดับ full dose ดังนั้นอาจพิจารณาให้ PPI ร่วมในรายที่มีความเสี่ยง โดยเลือกพวกที่มีshort acting เช่น indometacin
steroid จะพิจารณาให้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา colchicine or NSAID ได้ โดยให้เป็นระยะสั้นๆไม่เกิน 7-14 วัน เนื่องจากมีผลข้างเคียงมากและมี rebound effectหลังหยุดยาด้วย
prednisolone 30-60 mg/day
3.การป้องกันเป็นซ้ำ
    ยาที่นิยมได้แก่ colchicine ขนาดต่ำ คือ วันละเม็ด ในช่วง 6-12  เดือน ขึ้นกับระดับยูริกว่าได้เป้าหมายหรือไม่
4.การลดระดับยูริกในระยะยาว
    ยาที่ใช้มีผลข้างเคียงสูงและมีปัญหากับยาอื่นได้บ่อย จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนเริ่มให้ เนื่องจากบางคนสามารถลดลงได้เองจากการควบคุมข้างต้น โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 5.5-6.8 mg/dl ถ้ามีก้อนโทฟายใหญ่ ให้รักษาให้ต่ำกว่า 5mg/dl
    ข้อบ่งชี้ในการให้ ได้แก่ การเกิดข้ออักเสบ มากกว่า 3 ครั้งต่อปี,หรือมีก้อน tophi,หรือมี urinary uric acid > 800mg
    ระยะเวลาการให้ยาลดกรดยูริกยังไม่มีข้อตกลง แต่อากจให้ไปตลอดเนื่องจากพบการกลับมาเป็นใหม่ได้บ่อย
    allopurinol มีเมตาบอไลท์ที่ออกฤทธิ์ได้นาน จึงสามารถให้วันละครั้งได้ โดยเริ่มที่ 100mg/day เห็นผลใน 7วัน แล้วจึงค่อยๆปรับยา ทุก 7-14 วัน
    ยาอื่นๆที่มีผลเพิ่มการขับกรดยูริกได้แก่ losartan, fenofibrate, atorvastatin ไม่ได้ใช้เป็นยาหลักแต่อาจเลือกใช้ถ้ามีโรคอื่นอยู่แล้ว
5.การรักษาภาวะแทรกซ้อน

 

     ส่วนการรักษาภาวะกรดยูริกสูงที่ไม่มีปัญหาอื่นๆนั้นจะทำเมื่อ มีค่าสูงมากๆ คือ มากกว่า 13mg/dlในผู้ชาย 10mg/dlในผู้หญิง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดกับไตนั่นเอง

 

สรวุฒิ

คำสำคัญ (Tags): #hyperuricemia and gout
หมายเลขบันทึก: 327773เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 02:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 06:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เคยพบผู้ป่วยรายหนึ่ง(นานมากจนไม่อยากบอกว่านานแค่ไหน) เขามี ก้อนโทฟัส (tophus) ขึ้นตามข้อต่างๆ ทั่วไปหมด ด้วยความเข้าใจผิด เขาดันไปเจาะก้อน ทำให้มีผงสีขาวคล้ายชอล์ค หลุดออกมา บางก้อนก็เหนียวๆ คล้ายยาสีฟัน (ทีแรกเราก็ไม่รู้หรอกว่ามันเป็น Tophi/Tophus อะไร เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน) ทำแผลอยู่นานเป็นเดือน ดีที่ไม่ติดเชื้อ ดังนั้นเราคงต้องแนะนำผู้ป่วยโรคเกาต์ เพิ่มว่า ถ้ามีก้อนขึ้นตามผิวหนัง ห้ามบีบแกะ หรือใช้เข็มเจาะให้แตก เพราะอาจทำให้กลายเป็นแผลเรื้อรังได้ แต่ทางที่ดีควรป้องกันไม่ให้เป็นดีกว่านะคะ/By Jan

ได้ประเด็นเชิง practical point มากเลยครับ มีอย่างอื่นอีกก้ดีครับ / boss

ขออนุญาติเสริมนิสนึงนะคะ........ผู้ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนมากจะมีอาการปวด อาจมี บวม และร้อนได้ ซึ่งมันเป็นอาการแสดงว่ามันอักเสบขึ้นมา สิ่งหนึ่งที่สามารถบรรเทาอาการปวดนี้ได้คือ น้ำแข็งค่ะ ประคบประมาณ 15-20 นาที จะสามาบรรเทาอาการปวดได้ค่ะ/ชมพู่_เจ้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท