จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

คุยความจริงเพื่อไปข้างหน้า


อัลฮัมดุลิลลาห์ครับ ผ่านกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันเวทีแรกไปแล้ววันนี้ งานนี้ต้องขอบคุณคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยเฉพาะ รองบริหารและหัวหน้าสำนักงานคณะครับที่มาช่วยสร้างประเด็นแลกเปลี่ยนกัน ที่สำคัญก็ต้องขอบคุณทางฝั่งคณะอิสลามศึกษาด้วยครับ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนอย่างครบครัน

ความรู้สึกแรกของเจ้าบ้านคือ อาจารย์ครับวันนี้เหมือนวันประเมินคณะเลย ผมเลยต้องรีบแก้ข่าวครับ ไม่ใช่การประเมินครับ แต่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันจริงๆ กติกาการแลกเปลี่ยนรอบนี้มีข้อเดียวครับ คือ พูดเฉพาะความจริงเท่านั้น ห้ามปั้นแต่ง ใส่สีใส่ลีลา เพราะสิ่งที่เรากำลังดำเนินการตอนนี้คือ เรียนรู้สภาพจริงของเราเอง เพื่อการขับเคลื่อนไปข้างหน้า เมื่อทุกคนยอมรับกติกา กิจกรรมการเริ่มต้นขึ้นครับ

เวทีวันนี้เริ่มต้นด้วยการนำเสนอวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและกระบวนการจัดทำ sar ของคณะวิทย์ครับ สองท่านช่วยกันนำเสนอบทเรียนดีๆ ให้กับอิสลามศึกษา ซึ่งต้องการองค์ความรู้ในเรื่องนี้อยู่มากทีเดียว

ผมประมวลความสำเร็จของคณะวิทย์ฯ เพื่อเป็นแบบให้ักับอีกหลายๆ หน่วยงานนะครับ อย่างแรกที่เห็นคือ ผู้บริหารลงคลุกเรื่องนี้ด้วยตัวเอง ติดตามและตามจี้ทุกองค์ประกอบ ส่วนผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบที่ชัดเจนในการส่งข้อมูล จะเห็นว่า คณะวิทย์ฯ มีเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลที่น่าสนใจ และคิดว่ามีประสิทธิภาพที่น่าพอใจมากครับ เครื่องมือที่คณะวิทย์ฯ ใช้ทำให้ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน ซึ่งทำให้ผู้บริหารง่ายในการตัดสินใจครับ

อีกประการที่สำคัญคือ เป้าหมายการดำเนินงานชัดเจน ตอบได้ว่า องค์ประกอบไหน แค่ไหนอย่างไร อันนี้สำคัญมากครับ และเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าทุกๆ หน่วยงานต้องสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้

สำหรับคณะอิสลามศึกษา จุดเด่นสำคัญคือ การบริหารในรูปแบบคณะกรรมการ เกือบๆ จะทุกประเด็นเป็นการตัดสินใจจากที่ประชุม แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ มีหลายรูปแบบการดำเนินงานที่ยังไม่ได้ปรับตัวเพื่อรับการประเมินที่จะมาถึงครับ ซึ่งเรื่องที่ทางคณะจะต้องตัดสินใจเพื่อสร้างคุณภาพมีหลายประเด็นครับ เช่น การกระจายความรับผิดชอบไปยังสาขาวิชาหรือจะใช้รูปแบบเดิมแต่ส่งข้อมูลผลการดำเนินงานไปยังหน่วยที่ถูกประเมิน

ปัญหาโครงสร้างหน่วยงานของคณะ เป็นอีกประเด็นที่ทางผู้บริหารต้องขบคิดหนักครับ ซึ่งในส่วนตัวผมคิดว่า แก้ไขไม่ยาก อยู่ที่คณะจะมองไปมุมไหนเท่านั้นเอง ซึ่งหากยึดเอาหลักคุณภาพมาเป็นตัวหลักในการตัดสินใจ คำตอบก็ชัดมากเลยว่าจะต้องทำอย่างไร ผมคิดว่าผลจากการคุยวันนี้ ประเด็นนี้ข้อมูลชัดเจนแล้ว เหลือแค่การตัดสินใจเท่านั้นเอง

ประเด็นการเก็บรวบรวมข้อมูล อันนี้ผมได้ข้อสรุปแล้วว่าเป็นปัญหาโดยรวมของหน่วยงานส่วนใหญ่เลยครับ ส่วนใหญ่มองไม่ออกว่า อะไรคือหลักฐานที่จะสามารถใช้อ้างอิงในตัวบ่งชี้ได้บ้าง ทั้งๆ ทำไปแล้ว แต่ไม่คิดว่าสิ่งนั้นคือหลักฐานสำคัญสำหรับการนำไปสู่การประกันคุณภาพ (อันนี้เลยทำให้คะแนนตกโดยใช่เหตุ)

ปัญหาสำคัญที่มีการหยิบมาถกกันคือ ในบางภารกิจยังไม่สามารถระบุชัดถึงคนรับผิดชอบ จะบอกว่า สาขาวิชาดำเนินการเอง หรือว่าหน่วยงานอื่นของมหาวิทยาลัยเป็นคนรับผิดชอบ ฮือ อันนี้ไม่รู้เหมือนกันครับ

ข้อเรียกร้องของคณะต่อหน่วยงานประกัน คือ สำนักประกันต้องให้ข้อมูลที่ชัดเจนต่อผู้ปฏิบัติ ทุกคำถามควรมีคำตอบ ต้องมีการพัฒนาความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ในเรื่องนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างวันนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากต้องให้มีอย่างต่อเนื่อง

บรรยากาศวันนี้ดีมาก เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เยอะครับ ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีเวทีอีกครั้ง แต่รอบหน้าผมต้องขอตัว เนื่องจากนัดอีกสถาบันภาษานานาชาติไว้แล้วครับว่าจะขอเข้าไปเรียนรู้สถาพเพื่อช่วยการพัฒนาระบบประกันของสถาบัน เลยต้องขอรบกวนทางคณะวิทย์ต่ออีกสัปดาห์ครับ เสร็จจากสถาบันภาษาฯ ก็จะเป็นคณะศิลปศาสตร์ฯ ครับ กำลังให้ทางคณะฯ หาวันอยู่ คิดว่ารอบคณะศิลปศาสตร์คงจะมีคณะอิสลามศึกษาไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ อินชาอัลลอฮ์

หมายเลขบันทึก: 327182เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2010 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ตามติดภารกิจสำคัญ...ภาพคงจะชัดขึ้นครับหากเราเรียนรู้ซึ่งกันและกันแล้วร่วมกันผลักดันพัฒนา

ขอเอาใจช่วยและดุอาอฺให้ภารกิจนี้ผ่านพ้นด้วยดีครับ

ภาพความจริงจังและจริงใจชัดมากครับ

ก่อนหน้านี้ภาพลักษณะเกิดขึ้นแล้วหรือยัง ผมไม่เคยรู้ครับ

เกิดขึ้นแล้วขาดการประชาสัมพันธ์ หรือว่า ยังไม่เกิดขึ้น

อ.จะไปสำนักวิทยฯ เมื่อไรบอกได้เลยครับ ผมอยากให้ไปในแนวทางเดียวกัน

ขอบคุณครับอาจารย์ เสียงเล็กๆ فؤاد 

จากที่ได้คุย คิดว่าเราน่าจะยิ้มออกมานิดหนึ่งครับ แต่ต้องยอมรับว่า เส้นทางอีกยาวไกลครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

ภาพแบบนี้ ถ้าถามอิสลามศึกษา เขาบอกว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลยครับ แต่จำได้ว่า ผมเคยถูกสถาบันภาษาฯ เชิญไปให้คำปรึกษาในลักษณะนี้มาแล้วครับ

สำหรับสำนักวิทยฯ คิดว่าจะใช้กระบวนการอื่นครับ แต่ตอนนี้ยังคิดไม่ออก ดังนั้นต้องรอไปสักนิดหนึ่งครับ หน่วยงานที่อยู่ในกำหนด คือหน่วยงานที่ผมคิดออกแล้วว่าจะไปทำอะไรได้บ้าง ฮิฮิ

  • ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนบล็อกครับ อาศัยเวลาว่างแวะเข้ามาติดามข่าวสารในรั้ว มอย.ผ่านบล็อกของอาจารย์จารุวัจน์
  • เห็น "แนวโน้มบนความตั้งใจที่ดี"ของหลายๆฝ่ายอดดีใจไม่ได้ครับ
  • ขอเป็นกำลังใจต่อความพยายามเพื่อความสำเร็จร่วมกันของทุกคนทุกฝ่าย สู้ๆครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ อ.อาลัม 

ช่วงนี้ผมคิดว่า ผมจำเป็นต้องเขียนบล็อกบ่อยครับ เพราะอยากใช้เป็นสถานที่สำหรับการเรียบเรียงความคิดพิชิตโจทย์สำคัญของมหาวิทยาลัย และที่สำคัญเพื่อสื่อสารกับอีกหลายๆ คนที่เข้ามาอ่าน เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนในวงกว้างครับ

อยากให้อาจารย์มาสร้างความเข้าเกี่ยวกับงานประกันให้กับเจ้าหน้าที่คณะศิลปศาสตร์เร็วๆครับ เพราะตอนนี้นับได้ว่างานประกันของคณะต่างคนต่างเดินครับไม่สามารที่จะเชื่อมโยงข้อมูลได้กันเลยครับ และอีกอย่างครับ ผมบอกตรงๆเลยครับว่ายังบอดในเรื่องของเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน องค์ประกอบไหน แค่ไหนอย่างไร และหลักฐานไหนใช้ได้หรือไม่ได้ ผู้บริหารควรจะรู้หรือไม่อย่างไร? ขอบคุณครับ

คณะศิลปศาสตร์ฯ กำหนดวันแล้วครับ ซุลกอรนัยน์ 

วันที่ 26 นี้ครับ 10 โมงถึงเที่ยง

แล้วเจอกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท