ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ลดคือเพิ่ม?


 

      อันเนื่องมาจากบทความของครูปิยธิดา (http://gotoknow.org/blog/piyathida-r/326555) ที่ครูนำเสนอว่า่ "ลดลงแต่กลับได้มากขึ้น" จึงเป็นที่มาของการขยายพื้นที่แนวคิดและหลักการ "ลดคือเพิ่ม เพิ่มคือลด" ตามแผนภูมิด้านบน

     ๑. "๕ ส" เน้น "การสะสาง" หรือ "ลดสิ่งที่เป็นขยะ" หรือ "สิ่งที่ไม่จำเป็น" ภายในสถานที่ทำงาน หรือองค์กร เพื่อ "เพิ่ม" พื้นที่ของ "สิ่งที่เป็นบวก" หรือข้อมูลเชิงบวกทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพมากยิ่งขึ้น

     ๒. "Kaizen" เน้น "ลด" หรือ "หยุด"การทำงานที่ไม่จำเป็น ไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีความสำคัญ เราก็จะได้ "ความง่าย" มาตรฐาน" ประสิทธิผล" และ "ความสำเร็จ" เพิ่มมากยิ่งขึ้น

    ๓. "Blue Ocean" เน้น "ลดขั้นตอน และความซ้ำซ้อน" "ลดโครงสร้างด้านราคา" และ "ลดความเสี่ยง" เราจะ "เพิ่มการแข่งขัน" หรือ "มูลค่าของสินค้าและบริการ" ได้มากยิ่งขึ้น

    ๔. "Global Worming" เน้น "ลดการใช้พลังงาน หรือวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดมลภาวะ หรือก๊าซพิษมากเท่าใด" เราก็จะ "เพิ่มพื้นที่ของอากาศบริสุทธิ์ พื้นที่สีเขียวให้แก่โลกและมนุษย์" มากขึ้นเพียงนั้น

    ๕. ในแง่ของ "ธรรมะ" หากเรา "ลดตัวตน หรือความเห็นแก่ตัวมากขึ้นเพียงใด" เราก็จะ "เพิ่มความเห็นแก่เพื่อนมนุย์ สังคม และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมากเพียงนั้น" ในขณะเดียวกัน หากเรา "ลดกิน กาม เกียรติ" มากเพียงใด เราจะ "เพื่มพื้นที่ของความสะอาด สงบ และสว่าง" มากขึ้นเพียงนั้น

    สรุป "ลดคือการเพิ่ม" มีคุณูปการอย่างยิ่งใหญ่ต่อ "การทำงาน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง และการบริหารจัดการตัวเอง " ทุกครั้งที่เรา "ลด" เราจะ "เพิ่มคุณค่าทั้งเิชิงปริมาณและคุณภาพ" และ "สิ่งที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลทั้งกายภาพ และจิตภาพ"

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ปัจจุับันนี้ หาก "ลดความอยาก" ที่ก่อให้เกิด "ความทุกข์ทรมาน" มากเพียงใด เราก็จะ "เพิ่มพื้นที่ของความสุข" ได้มากยิ่งขึ้น เ็ป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัย หรือเป็นทาสของวัตถุและสิ่งเสพ เป็นความสุขนำไปสู่ที่ความ  "หยุดอยาก" "หยุดยุ่ง" และ "อยู่เย็น" ตลอดไป.


ด้วยธรรมะ พร และเมตตา
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

หมายเลขบันทึก: 326759เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 01:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท