ปุ๋ยอินทรีย์...มาตรฐานนี้เพื่อใคร


มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ.2548 , การตรวจวิเคราะห์ ,อินรียวัตถุ

 ปุ๋ยอินทรีย์...มาตรฐานนี้เพื่อใคร

       จากกระแส การลดการใช้ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์กันให้มากขึ้น ทำให้เกิดคำถามต่างๆ เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นอย่างมากมาย      วันนี้มีโอกาสดีที่ได้อ่านพบคอลัมน์ตอบปัญหา GAP ของจดหมายข่าวเพื่อนเกษตรกรของกรมวิชาการเกษตร ฉบับเดือนตุลาคม 2548    จึงคิดว่าคงเป็นคำถามของผู้ที่ต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือเพื่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ หรือผู้ที่ต้องการความรู้ด้านนี้ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ   ข้อความนี้เป็นคำตอบจาก นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ท่านได้ให้ข้อมูลว่า 
        จากการที่กรมวิชาการเกษตรได้เก็บตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์จากร้านค้าและโรงงานผู้ผลิตจำนวน 18 จังหวัด  ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2548  มาตรวจวิเคราะห์จำนวน 328  ตัวอย่าง ปรากฏว่า  
   ตัวอย่างประมาณ  88 % ไม่พบปริมาณอินทรียวัตถุ และประมาณ 30 ตัวอย่าง นอกจากไม่มีอินทรียวัตถุแล้วยังไม่มีธาตุอาหารหลักด้วย นอกจากนี้ตัวอย่างอีกส่วนหนึ่งยังมีการนำปุ๋ยเคมีมาผสม ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพในการปรับปรุงบำรุงดินอย่างแท้จริงกรมวิชาการเกษตรจึงได้ออก  ประกาศกำหนดมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ.2548มาควบคุมผู้ที่จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้า
            การกำหนดมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว ใช้หลักเกณฑ์ทางวิชาการที่เป็นมาตรฐานสากล ทั้งมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐานสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และมาตรฐานของต่างประเทศ ซึ่งการออกมาตรฐานดังกล่าวไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุนหรือเอกชนรายใดรายหนึ่ง เนื่องจากสำรวจแล้วพบว่า เกษตรกรกว่า 80% สามารถผลิตได้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดได้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32663เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2006 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ปุ๋ยยี่ห้อไหน มีอินทรียวัตถุเท่าไหร่ มีจริงหรือไม่ และคิดว่าจากข้อมูลการผลิตของเกษตรกร เราน่าจะช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยใช้เอง และหามาตรการมาจูงใจให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์

มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ.2548 กำหนดให้ผู้ผลิตเพื่อการค้าต้องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้ได้มาตรฐาน ดังนี้

- ขนาดของปุ๋ย ไม่เกิน 12.5 x 12.5 มม.

-ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ ไม่เกิน 35% โดยน้ำหนัก

- ปริมาณหินและกรวด ขนาดใหญ่กว่า 5 มม.ไม่เกิน 5% โดยน้ำหนัก

-พลาสติก แก้ว วัสดุมีคมและโลหะอื่น ต้องไม่มี

-ปริมาณอินทรีย์วัตถุต้องไม่น้อยกว่า 30% โดยน้ำหนัก

-ค่าความเป็นกรด-ด่าง 5.5-8.5 pH

-อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ไม่เกิน 20 :1

-ค่านำไฟฟ้า ไม่เกิน 6 เดซิซีเมน/เมตร

-ปริมาณธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจนไม่น้อยกว่า 1% โดยน้ำหนัก ฟอสฟอรัสไม่น้อยกว่า 0.5% โดยน้ำหนัก และโพแทสเซียมไม่น้อยกว่า 0.5% โดยน้ำหนัก

-การย่อยสลายที่สมบูรณ์ มากกว่า 80%

-สารหนู ไม่เกิน 50 มก./กก.

-แคดเมียม ไมเกิน 5 มก./กก.

-โครเมียม ไม่เกิน 300 มก./กก

-ทองแดง ไม่เกิน 500 มก./กก.

-ตะกั่ว ไม่เกิน 500 มก./กก.

-ปรอท ไม่เกิน 2 มก./กก.

ทั้งหมดนี้เป็นข้ อมูลที่ได้จาก วารสารเพื่อนเกษตรกร ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2548 ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ ข้อมูลนี้อาจจะดูเหมือนยุ่งยาก แต่จะเป็นการช่วยให้เกษตรกรได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ซึ่งข้อความเหล่านี้อาจจะสังเกตได้จากข้างกระสอบ อย่าลืมว่าต้องระบุแหล่งผลิตที่ชัดเจนด้วย

อยากทราบวิธีทำป๋ยอินทรีย์แบบชาวบ้านๆ จะนำไปใช้กับสวนมะม่วงหิมพานต์

อยากทราบว่าในกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์  โดยการผสมป๋ยเคมีหรือแม่ปุ๋ยเพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพดีขึ้นนั้นมีข้อดีและข้อด้อยอย่างไร  และเหตุใดจึงไม่สนับสนุนให้มีการเพิ่มเติมปุ๋ยเคมีหรือแม่ปุ๋ยลงในปุ๋ยอินทรีย์  ทั้ง ๆ ที่ภาครัฐหรือแม้แต่กรมวิชาการเกษตรหรือกรมพัฒนาที่ดินยังรณรงค์ให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเป็นการเพิ่มเติมอินทรียวัตถุและได้ธาตุอาหารพืชที่มีในปุ๋ยเพียงพอต่อความต้องการของพืช

 

ต้องการคำตอบมากถ้ากรูณาตอบจะเป็นพระคุณอย่างสูงและขอข้อเสนอแนะจากผู้มีความรู้ทางด้านนี้เป็นอย่างดีด้วย

การที่เพิ่มปุ๋ยเคมีลงในปุ๋ยอินทรีย์ ไม่น่าจะผิดอะไรไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีข้อห้ามแบบนี้ทั้งที่ผลิตออกมาผู้ใช้ก็ใช้ง่ายไม่ต้องการทำการคลุกเคล้าผสมอันเองอีกน่าจะเป็นการประหยัดเวลา ...

บางครั้งเห็นกรมวิชาการเกษตรกำหนดอะไรๆ มาเหมือนนั่งเทียนไม่ได้เข้าไปสัมผัสกับผู้ใช้ หรือเกษตรกรเลย ภูมิปัญญาบางครั้งช้ากว่าชาวบ้านเราๆซะอีกแหะ เฮ่อ ....

การกำหนดมาตรฐานปุ๋ยขึ้นมาก็เพื่อที่จะควบคุมคุณภาพให้ได้ปุ๋ยที่ดี เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร อาจทำให้คนบางกลุ่มเสียประโยชน์ไปบ้าง โดยเฉพาะพวกเห็นแก่ตัวที่หวังจะกอบโกยผลประโยชน์จากการจำหน่ายปุ๋ยที่ตนผลิตออกมาแบบชุ๋ยๆอย่างที่ทราบกันอยู่โดยไม่ได้มีจิตรสำนึกในสิ่งที่ตัวเองกระทำ เพราะตลาดปุ๋ยอินทรีย์ในประเทศไทยมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีการควบคุมการผลิตที่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดการผลิตปุ๋ยที่ด้อยคุณภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์ปลอมออกมา สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรการที่ไม่มีความรู้ทางด้านปุ๋ยอินทรีย์ ดังเช่นในปัจจุบันที่นำปุ๋ยอินทรีย์มาผสมกับปุ๋ยเคมีในลักษณะของการปั้นเม็ดปุ๋ยแล้วฉีดพ่นด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต ก่อนบรรจุกระสอบ ซึ่งจะมีกลิ่นเหม็น และจะเห็นผลในระยะสั้นๆ และผิด พรบ.ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมกับเคมี ต้องขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ผสมในอัตราส่วนที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด (http://ionique.blogspot.com)

อยากทราบว่า จากการเก็บตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์จากผู้ผลิต18จังหวัด328ยี่ห้อมีปุ๋ยยี่ห้อใดบ้างที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรในปี2548 ใครรู้ตอบที

อยากที่จะทราบว่ามีโรงงานปุ๋ยที่ไหนบ้างที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน ช่วยตอบทีนะครับ

อยากทราบว่า ในการวิเคราะห์มาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ ที่ว่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ มากกว่า 80% ในวิธีอะไรวิเคราะห์คะ แล้วเอาวิธีนี้อ้างอิงมาจากไหนคะ ช่วยตอบทีนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

นายศราวุฒิ ก้อนศรี

ถามเรื่องมาตรฐานความชื้นฃองปุ๋ย

ผมเคยไปนั่งคุยกับหัวหน้า... ในกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ชาย เดาเอาเองว่าเป็นใคร ลองดูมุมมองและแนวคิดของท่านกันนะครับว่าประเทศไทยเราจะเป็นอย่างไร

Q. ทำไมต้องกำหนด O.M. เป็นไม่ต่ำกว่า 20% เพราะแค่ 10% ก็ยากแล้ว บางช่วงบางเดือนมันต่ำกว่า 10% ควรเป็นเข้มงวดกับพวกผลิตปุ๋ยอินทรีย์ปลอมมากกว่า

A. เพราะต้องการให้เกษตรกรได้ใช้ของดี การกำหนดมาตรฐานนี้ก็เอามาจากผลทดสอบในอดีตที่โรงงานนำมาขึ้นทะเบียน พบว่าโรงงานส่วนใหญ่ทำได้

Q. ทราบหรือไม่ว่าการขึ้นทะเบียน ส่วนใหญ่จะจ้างพนักงานในกรมเป็นผู้ขึ้นทะเบียนให้ เขาพยายามทำตัวอย่างให้ดีที่สุด ซึ่งในการผลิตจริงไม่มีใครทำได้ ดูได้จากผลทดสอบตัวอย่างที่สารวัตรเกษตรเก็บมาทดสอบ

A. ไม่ทราบ ไม่มีใครบอก

Q. ก็ผมบอกอยู่นี่ไง คนอื่นๆ เขาก็บอกกัน แต่คุณไม่เคยฟัง

A. ไม่รู้ ไม่เห็นมีใครบอก

Q. ถ้าจะทำได้อย่างนี้ต้องทำเป็นปุ๋ยผงยังพอทำได้ แต่ปุ๋ยเม็ดทำไม่ได้ การปั้นเม็ดต้องผสมดินด้วย

A. แล้วคุณปั้นเม็ดทำไม คุณก็ทำปุ๋ยผงขายสิ

Q. ผมทำปุ๋ยผงไปแจกลูกค้าให้ทดลองใช้กันแล้ว ราคาถูกกว่า ได้ผลดีกว่า แต่ลูกค้าไม่ชอบ ใช้ยาก ผงมันปลิว

A. ก็พวกคุณทำให้ลูกค้าเคยตัว

Q. การค้าขายต้องตามใจลูกค้า ถ้าระเบียบเป็นแบบนี้โรงงานก็ตายหมด

A. ไม่เห็นมีโรงงานไหนตาย รอให้ตายสักครึ่งหนึ่งก่อนค่อยว่ากัน

Q. ทำไมบังคับไม่ให้ปุ๋ยอินทรีย์เติมปุ๋ยเคมี

A. เติมทำไม แพงเปล่าๆ เกษตรกรควรแยกซื้อไปเติมเองจะถูกกว่า

Q. แต่เกษตรกรถูกนักวิชาการไปหลอกว่าใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีได้ เขาเลยไม่ซื้อปุ๋ยเคมีอีก ส่วนพวกที่รู้ ก็ไม่อยากผสมเอง มันยุ่งยาก ไม่อยากผสมเอง และไม่อยากซื้อปุ๋ยหลายชนิด

A. ทำให้เกษตรกรเคยตัว

Q. ปุ๋ยอินทรีย์ผสมปุ๋ยเคมี เป็นทางเลือกที่เกษตรกรชอบใจและใช้ได้ผล

A. ถ้าคุณเติมปุ๋ยเคมีก็ต้องขออนุญาตผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี

Q. ปุ๋ยอินทรีย์เคมีกำหนดธาตุอาหารขั้นต่ำ 12% ราคาจะสูงเกินไป ราคารไปชนกับปุ๋ยเคมีปลอม เกษตรกรก็จะไม่ซื้อ ที่เหมาะสมคือธาตุอาหารประมาณ 7-9

A. คุณต้องให้ความรู้เกษตรกร

Q. แล้วเมื่อไหร่จะปราบปุ๋ยเคมีปลอมหมด ถ้าไม่หมด อินทรีย์เคมีขายไม่ได้

A. เดี๋ยวก็หมด

Q. รัฐมนตรีสั่งให้กรมฯ ทบทวนมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์แล้วไม่ใช่หรือ

A. ใช่

Q. เมื่อไหร่จะทบทวนเสร็จ

A. คงไม่ทบทวน เพราะรัฐมนตรีไม่ได้สั่งว่าให้ทบทวนเรื่องอะไร

Q. ผมเห็นคำสั่งให้ทบทวนค่ามาตรฐานไงครับ โรงงานผลิตไม่ได้ ผู้ส่งออกก็มีปัญหา

A. แต่รัฐมนตรีไม่ได้บอกว่าให้ทบทวนเป็นเท่าไหร่ แล้วใครจะทบทวน (อ้าว.. เปลืองภาษีชาวบ้านจริงๆ)

Q. ท่านรัฐมนตรีเป็นห่วงผู้ส่งออก ถ้าไม่รีบแก้ไขผู้ส่งออกก็ส่งออกไม่ได้

A. ดี จะได้เก็บไว้ใช้ในประเทศ

ฯลฯ

ยังมีอีกยืดยาวครับ แต่สรุปได้ง่ายๆ สั้นๆ ว่า

โง่ !!

กรรมของชาวบ้าน ชาวสวนหรือพี่น้องเกษตรกรครับ

อย่างนี้ไม่ใช่เกียร์ว่างครับ

เขาเรียกว่าเข้าเกียร์ถอย แล้วดับเครื่องเลยครับ 555

กำลังขอจดทะเบียนปุ๋ยผลการวิเคราะห์ ออกมาแล้วถึงจะช้าแต่ว่าก็ดูดี

ก็คิดว่าเจ้านาย(ข้าราชการ) คงฟังเสียงจากประชาชนบ้าง ในการปรับปรุง

แก้ไขรายละเอียดบางอย่าง อย่ามัวแต่ลอกของนอก 100%อยูเลยเอาแบบไทยๆบ้าง

ตอนประกาศสมุนไพรอันตราย 13 ชนิด คนต่างชาติที่เข้าใช้และขาย้สมุนไพรไทย

เลิกสั่งไปหลายราย เพราะเขาคิดว่ามีพิษ นี่คือข้อเลียในการที่ข้าราชการเอาใจนายทุน

ขายยาเป็นเหตุเงินเข้าประเทศลดลง

หจก. พรจันทร์มาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป

จำหน่ายปุ๋ยปลาปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตราชาวประมง

ปุ๋ยปลา คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น สารละลายเข้มข้น ที่ได้จากปลาสดโดยกระบวนการหมักซึ่งมีกลุ่มจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย มีธาตุอาหารหลักและรองครบตามที่พืชต้องการ

วัตถุดิบ

ปลาสดจากทะเล : ให้ ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แก่ต้นพืช

ส่าเหล้า : สารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ มีสีน้ำตาลเข้ม และมีธาตุอาหาร N: P: K ซึ่งเป็นสารอาหารที่พืชต้องการ

จุลลินทรีย์ : สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นตัวกลางช่วยเร่งปฏิกิริยาการดูดซึมธาตุอาหารของพืชได้เร็วขึ้น

ใช้ได้กับทุกชนิดพืช ไม้ผล,ไม้ดอก-ไม้ประดับ,พืชสวน,พืชไร่,พืชผัก,นาข้าว,โรงเพาะเห็ด,หัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักแห้ง, ปาล์มน้ำมัน, ยางพารา

ประโยชน์ของปุ๋ยปลาตราชาวประมง

- ปรับสภาพดินและฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมจากการทำเกษตกรรมมายาวนาน และจากการใช้ปุ๋ยเคมีที่เกินขนาด ช่วยให้ดินโปรง ร่วนซุย

- ปรับความเป็นกรด-ด่างในดิน สร้างความต้านทานโรครากเน่าโคนเน่า

- ช่วยเปิดรากพืชเสริมการดูดซึมธาตุอาหารแก่พืช

- เพิ่มความเขียวสดเป็นมันวาวให้ไม้ใบ ยืดอายุการบานของไม้ดอก

- มีกลิ่นและสารช่วยไล่แมลง พวกแทนนิน ลิกนิน

มีจำหน่ายขนาด 1 ลิตร 20 ลิตร มีทั้งราคาส่งและปลีก

อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อมานะครับ ขอบคุณครับ

ภาคใต้ ติดต่อ คุณกัญญา สารแก้ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร โทร 077-541347’544473

หรือ คุณสามารถ แสงจันทร์ โทร 0831062524

ภาคอิสาน กรุงเทพฯและปริมณฑล ติดต่อ คุณโกรัน คำโสภา 0819794783

http://www.paknamlangsuan.com/forum/index.php?board=25.0

พร้อมจัดส่ง

เราขอเสนอขายปุ๋ยปลาเพื่อเป็นหัวเชื้อในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แห้ง และรับผลิตปุ๋ยปลาตามสูตรของท่าน ในราคาต่ำ และเรายังมีสูตรพิเศษโดยผสมไคโตซานอีกด้วย สนใจติดต่อฝ่ายขาย คุณ สามารถ แสงจันทร์ 0831062524

บริษัทไออนิค จำกัด ปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน สคว. มาตรฐาน Q ตรานกอินทรีคู่

www.tarad.com/wungkasat

อยากทราบวิธีการเก็บตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด และปุ๋ยน้ำชีวภาพค่ะ

ไม่ควรใช้เป็นพื้นที่โฆษณา ต้องการความรู้

เข้ามาพบบทสนทนานี้วันที่ 7 มีนาคม 53 สรุปได้ว่าชาวบ้านตาดำดำต้องใช้ปุ๋ยไม่มีมาตรฐานอีกต่อไป มีแต่ว่าปุ๋ยปลอมแต่ไม่ระบุยี่ห้อ มีข่าวลงหนังสือพิมพ์เอาไปตรวจสอบไม่มีมาตรฐาน ร้อยละ 88 ก็ไม่บอกยี่ห้อ กี่วันกี่ปีก็เป็นแบบนี้ อย่าหวังว่าจะดีขึ้นยิ่งสหกรณ์การเกษตร ธกส. ยิ่งน่าเป็นห่วง ขายแบบยัดให้ ลูกไก่ในกำมือ ไม่มีมาตรฐาน และขายแพงกำไรเป็นทอด คุณภาพไม่คำนึง รัฐควรเข้ามาตรวจสอบดูแล อย่างเร่งด่วน เน้นให้ความรู้ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ดูประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างชาวนาแบบอินเตอร์ ทำการเกษตรบนพื้นฐานข้อมูลความรู้ แก้ปัญหาดิน ปรับโครงสร้างดินใหม่ โดยเฉพาะภาคอีสาน เราก็บ่นให้ตัวเองฟัง ร่วมแจมค่ะ

ผมเองก็เป็นเกษตรกร และขายปุ๋ย เคยเจอปุ๋ยปลอม ปุ๋ยปั้น ในพื้นที่นอกเมือง เห็นขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ไม่เห็นหน่วยงานอะไรไปตรวจสอบ นั่งตรวจสอบปุ๋ยยา ที่ขายดี ราคาถูก ปุ๋ยปั้นแถวบ้านผม ยี่ห้อ Noname แต่เพราะเพิ่งเข้ามางามในช่วงแรก ๆ แต่ไม่ได้เพิ่มอะไรเลยเก็บเกี่ยวทีน้ำตาแทบกระเด็น ผลผลิตไม่ได้อย่างที่คิด ใส่กันสั่งเป็นตัน ๆๆ แต่ก็ยังมีขายนะ คนก็ยังซื้อกันอยู่

เกษตรกรที่มีความรู้ใช้อย่างถูกวิธี น่าจะเป็นผู้ถ่ายทอดกับคนอื่น ๆ ให้สามารถใช้อย่างถูกวิธี อย่าไปเชื่อเลยนักวิชาการเกษตร หัวหน้าในกรม เรียนแต่ในตำราที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มองในประเทศเลยว่าชีวภาพดีที่สุด ตามหลักในหลวง เกษตรพอเพียง สารเคมีมีแต่แพง แต่รัฐบาลช่วยเหลือบ้างไหม ดีแต่ตีกัน แบ่งสีกัน แล้วเราจะเอาอะไรกันกันหาก แม....ยังใช้เงินภาษีของพวกเรา เพื่อเลือกมันเข้ามาบริหาร หากแต่เราไม่ช่วยเหลือตัวเอง ผมอยากเห็น bloc ที่ให้ความรู้เกษตรกร นะครับ ไม่อยากหวังให้คนหนึ่งคนใดมา โฆษณาบริษัทโน้นดี นั้นดี ทุกบริษัทนั้นดีหมด แล้วแต่เกษตรกรจะใช้นะครับ แต่อยากให้ความรู้เรื่องของการใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างถูกขั้นตอน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ผลผลิตดีขึ้นนะครับ

ขายปุ๋ยอินทรีตราดาวปูแดงมีธาตุอาหารหลักครบที่พีชต้องการ มีสารปรับสภาพดินทำให้ดินร่วนซุยและมีไคโตซาน ทำให้พืชเจริญเติบโตใด้ง่าย ราคาพร้อมส่งเพียงตันละ 7100 บาท สนใจติดต่อ คุณรัชฎาภรณ์ 0819191546 0819191548

ก็ควรที่จะจริงจังกันให้มากกว่านี่ พวกสาราวัตรเกษตรออกพื้นที่จับตามร้านจริง แต่ทำไมไม่ยอมไปดูที่โรงงานผลิตบ้างปล่อยให้ปุ๋ยปลอมๆออกมากันทุกวัน กรมวิชาการเองก็ไม่ยอมที่จะเปิดเผยว่าปุ๋ยอันไหนได้มาตรฐาน อันไหนไม่ได้ โทรไปถามแล้วก็ไม่ค่อยอยากจะตอบ ทั้งๆที่ผู้บริโภคควรที่จะรู้สิว่าอันไหนควรใช้หรือไม่ควรใช้ ถ้ากฏหมายมันศักสิทธินะ ไม่มีปุ๋ยปลอมหรอก

ผมไม่เข้าใจจริงๆ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตแล้วคุณภาพดี แถมทำง่ายจะตาย คือ มูลไส้เดือนดิน ทำไมไม่คิดกันบ้างล่ะครับ ถ้าไม่เชื่อคุณลองเซิสหาข้อมูลดู พอหาข้อมูลแล้วลองซื้อมาใช้กับต้นไม้ดู แล้วคุณจะรู้เองว่าใช้ดีแค่ไหน ของดีๆ มีอยู่ลองแสวงหาดูเอาน่ะครับ ผมเองก็เลี้ยงและใช้อยู่ ผมไม่ได้โฆษณาสินค้าผมหหรอกน่ะครับเพราะผมไม่ได้ระบุตราหรือที่อยุ่ผมเลย แค่อยากให้ลองใช้กันดู

ปุ๋ยดีๆ ก็มีเยอะครับ แต่ทำตลาดสู้ปุ๋ยด้อยคุณภาพไม่ได้ หากเกษตรกรไทยหันมาทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองได้จะดีมากๆ แต่ผมว่าเป็นไปไม่ได้ คนไทยส่วนใหญ่ชอบง่ายเข้าว่า ไม่ชอบยุ่งยาก ผมเคยไปคุยกับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร อบรมปุ๋ยเบื้องต้นครับ เขาบอก กฏหมายปุ๋ยขึ้นอยู่กับโรงงานปุ๋ยเคมี … เจ้านายทำตามเขาหมด ตีความเองครับ บางคนชอบพูดรักประชาชนเพื่อพี่น้อง ผมว่ามันเพื่อท้องของใคร เหมือนกับบอกว่า เพื่อเกษตรกร จริงๆ แล้วเพื่อใคร

สรุปให้นะคับ

- ปุ๋ยอินทรีย์ ผสมปุ๋ยเคมี ตอนนี้ ก็มีกฏหมาย ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ออกมาแล้ว สาเหตุที่ต้องกำหนดสูตร เพราะจะได้เป็นมาตรฐาน ให้เกษตรกร ได้ตัดสินใจเลือกใช้สูตรที่เหมาะสม กับพืช ที่จะใช้ปุ๋ยครับ ไม่ใช่ว่า นึกจะใส่แม่ปุ๋ยตัวไหน ก็ใส่ ไม่มีหลักเกณฑ์

- ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด โดยทั่วไปแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ 100% ไม่สามารถปั้นเม็ดได้คับเพราะมีความร่วน ไม่จับตัว จึงต้องผสมดินเข้าไปด้วย แต่ ด้วยความเอาเปรียบผู้บริโภคของโรงงานผลิตปุ๋ย ที่ต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ในการหมักปุ๋ย แล้วต้องรอให้วัตถุดิบย่อยสลาย กินเวลานาน จึงใช้วิธี ปั้น ดินผสมแอมโมเนี่ยมซัลเฟต (ปุ๋ยน้ำตาลทราย) แล้วสถาปนาตัวเองเป็น "ปุ๋ยอินทรีย์"

ปุ๋ยอินทรีย์ โดยทั่วไป ไม่มีธาตุอาหารเพียงพอ ต่อความต้องการของพืชครับ จึงต้องใช้ควบคู่กับุป๋ยเคมี หน้าที่ที่แท้จริงของปุ๋ยอินทรีย์ คือปรับสภาพดินมากกว่า

ส่วนที่สงสัยว่าทำไม เกษตรกรไม่ทำปุ๋ยหมักใช้เอง เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก ไม่ได้มีมากพอ ในทุกพื้นที่ครับ หรือถ้าจะใช้ปุ๋ยหมักให้มีธาตุอาหารเพียงพอ แทนปุ๋ยเคมี ต้องใช้วัตถุดิบมหาศาล จึงเป็นเรื่องที่ เป็นไปได้ยากคับ

ส่วนเรื่องปุ๋ยปลอม...บอกได้เลย ว่าเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ปฏิบัติในการตรวจสอบ โดนซื้อไปตั้งแต่หน้าโรงงานแล้วคับ คือ ถ้าปุ๋ยออกจากโรงงานนี้ ห้ามเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์

ทั้งหมด มั้งมวลนี้ ขึ้นอยู่กับเกษตรกร จะเป็นผู้เลือกครับ...เราต้องให้ความรู้แก่เกษตรกร มากกว่านี้!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท