การจัดหมู่หนังสือห้องสมุดโรงเรียนกบินทร์วิทยา


การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้

ระบบทศนิยมของดิวอี้  (Dewey  Decimal  Classification)  เรียกย่อ ๆ  ว่า  ดี  ซี (D.C.)  หรือ  ดี  ดี  ซี  (D.D.C.)  จัดพิมพ์ใน  พ.ศ.  2419  (ค.ศ.  1876)  และได้มีการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเป็นครั้งที่  20  แล้ว  ผู้คิดระบบการจัดหมู่ระบบนี้  คือ  เมลวิล  ดิวอี้  (Melvil  Dewey  พ.ศ.  2394 – พ.ศ. 2474)  เป็นบรรณารักษ์ชาวอเมริกันอยู่ที่วิทยาลัย แอมเฮอร์ล (Amherst  Clooege)  ในรัฐ  Massachusette  ประเทศสหรัฐอเมริกา  เป็นระบบที่ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อเรื่องของหนังสือ  เหมาะสำหรับจัดหนังสือในห้องสมุดขนาดเล็ก  ห้องสมุดขนาดกลาง  และห้องสมุดประชาชน  เพราะมีวิธีการแบ่งเนื้อหาไม่ยุ่งยากซับซ้อน  และสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือเป็นตัวเลขจึงสะดวกต่อการจดจำ

                การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่จากหมวดใหญ่ไปหาหมวดย่อย  ดังนี้

                1  หมวดใหญ่  (Classes)  หรือการแบ่งครั้งที่  1

                คือ  การแบ่งสรรพวิชาออกเป็น  10  หมวดใหญ่  โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นสัญลักษณ์  ดังต่อไปนี้

                หมวด  000  เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป

                หมวด  100  ปรัชญาและจิตวิทยา  (Philosophy  and  Psychology)

                หมวด  200  ศาสนา 

                หมวด  300  สังคมศาสตร์

                หมวด  400  ภาษา

                หมวด  500  วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

                หมวด  600  เทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์

                หมวด  700  ศิลปะและนันทนาการ

                หมวด  800  วรรณคดี

                หมวด  900  ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์

                2  หมวดย่อย  (Division)  หรือการแบ่งครั้งที่  2

                คือ  การแบ่งหมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็น  10  หมวดย่อย  รวมเป็น  100  หมวดย่อย  โดยใช้ตัวเลขหลักสิบแทนสาขาวิชาต่างๆ  ดังต่อไปนี้

    000  เบ็ดเตล็ด

010  บรรณานุกรมและแค็ตตาล็อกหนังสือ

020  บรรณารักษศาสตร์

030  สารานุกรมทั่วไป

040  (เลขหมู่นี้ในหนังสือระบบการจัดหมู่ของดิวอี้ครั้งที่ 20  เว้นว่างไว้)

050  สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องและดรรชนีของสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง

060  องค์กรต่างๆ  และพิพิธภัณฑวิทยา

070  วารสารศาสตร์  การพิมพ์  หนังสือพิมพ์

080  รวมเรื่องทั่วไป

090  ต้นฉบับตัวเขียนและหนังสือหายาก

                   100  ปรัชญาและจิตวิทยา

                                110  อภิปรัชญา

                                120  ทฤษฎีแห่งความรู้   ความเป็นมนุษย์

                                130  จิตวิทยานามธรรม  ศาสตร์เกี่ยวกับความลึกลับ

                                140  ความคิดทางปรัชญาเฉพาะกลุ่ม

                                150  จิตวิทยา

                                160  ตรรกวิทยา

                                170  จริยศาสตร์  จริยธรรม  ศีลธรรม

                                180  ปรัชญาสมัยโบราณ  ปรัชญาสมัยกลาง  และปรัชญาตะวันออก

                                190  ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่

                    200  ศาสนา

                                210  ศาสนาธรรมชาติ

                                220  คัมภีร์ไบเบิล

                                230  เทววิทยาเชิงคริสต์ศาสนา

                                240  เทววิทยาเชิงปฏิบัติ

                                250  เทววิทยาเกี่ยวกับบรรพชิต

                                260  เทววิทยาทางการศาสนา

                                270  ประวัติคริสต์ศาสนาในประเทศต่าง ๆ

                                280  คริสต์ศาสนาและนิกายต่าง ๆ

                                290  ศาสนาเปรียบเทียบและศาสนาอื่น ๆ

                   300  สังคมศาสตร์

                                310  สถิติทั่วไป

                                320  รัฐศาสตร์

                                330  เศรษฐศาสตร์

                                340  กฎหมาย

                                350  รัฐประศาสนศาสตร์  การบริหารรัฐกิจ  การบริหารกองทัพ

                                360  บริการสังคม  สวัสดิภาพสังคม

                                370  การศึกษา

                                380  การพาณิชย์  การสื่อสาร  การขนส่ง

                                390  ขนบธรรมเนียม  ประเพณี  คติชนวิทยา

                   400  ภาษา

                                410  ภาษาศาสตร์

                                420  ภาษาอังกฤษ

                                430  ภาษาเยอรมัน

                                440  ภาษาฝรั่งเศส

                                450  ภาษาอิตาเลียน

                                460  ภาษาสเปน  ภาษาโปรตุเกส

                                470  ภาษาละติน

                                480  ภาษากรีก

                                490  ภาษาอื่น ๆ

                    500  วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

                                510  คณิตศาสตร์

                                520  ดาราศาสตร์

                                530  ฟิสิกส์

                                540  เคมี

                                550  ธรณีวิทยา

                                560  ชีวิตโบราณศึกษา

                                570  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

                                580  พฤกษศาสตร์

                                590  สัตววิทยา

                   600  เทคโนโลยีหรือ 

                                610  แพทยศาสตร์

                                620  วิศวกรรมศาสตร์

                                630  เกษตรศาสตร์

                                640  คหกรรมศาสตร์

                                650  การจัดการธุรกิจ

                                660  วิศวกรรมเคมี

                                670  โรงงานอุตสาหกรรม

                                680  สินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักร

                                690  การก่อสร้าง

                   700  ศิลปะและนันทนาการ

                                710  สถาปัตยกรรมนอกอาคาร

                                720  สถาปัตยกรรม

                                730  ประติมากรรม

                                740  มัณฑนศิลป์และการวาดเขียน

                                750  จิตรกรรม  การเขียนภาพ

                                760  ศิลปะการพิมพ์  ศิลปะกราฟิก

                                770  การถ่ายภาพ  และภาพถ่าย

                                780  ดนตรี

                                790  ศิลปะการแสดง  นันทนาการ  การกีฬา

                    800  วรรณคดี

                                810  วรรณคดีอเมริกัน

                                820  วรรณคดีอังกฤษ

                                830  วรรณคดีเยอรมัน

                                840  วรรณคดีฝรั่งเศส

                                850  วรรณคดีอิตาเลียน

                                860  วรรณคดีสเปน  วรรณคดีโปรตุเกส

                                870  วรรณคดีละติน

                                880  วรรณคดีกรีก

                                890  วรรณคดีภาษาอื่น ๆ

                   900  ภูมิศาสตร์  และประวัติศาสตร์

                                910  ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว

                                920  ชีวประวัติและสกุลวงศ์

                                930  ชีวประวัติสมัยโบราณ

                                940  ประวัติศาสตร์ทวีปยุโรป

                                950  ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชีย

                                960  ประวัติศาสตร์ทวีปแอฟริกา

                                970  ประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ

                                980  ประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้

                                990  ประวัติศาสตร์ส่วนอื่น ๆ  ของโลก

                3  หมู่ย่อย  (Section)  หรือการแบ่งครั้งที่  3

                คือ  การแบ่งหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็น  10  หมู่ย่อย  รวมเป็น  1,000  หมู่ย่อย  โดยใช้เลขหลักหน่วยแทนสาขาวิชา  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                หมวดย่อย  650  การจัดการธุรกิจ

651  บริหารสำนักงาน             

652  การสื่อสารด้วยภาษาเขียน                      

653  ชวเลข                                 

654  ไม่ได้กำหนดใช้

655  ไม่ได้กำหนดใช้                            

656  ไม่ได้กำหนดใช้       

657  การบัญชี                 

658  การบริหารจัดการองค์การ                      

659  การโฆษณา  การประชาสัมพันธ์

                4  จุดทศนิยม  หรือการแบ่งครั้งที่  4

                หลังจากการแบ่งเป็นหมู่ย่อยแล้ว  ยังสามารถแบ่งย่อยละเอียดเพื่อระบุเนื้อหาวิชาให้เฉพาะเจาะจงลงไปได้อีก  โดยการใช้ทศนิยมหนึ่งตำแหน่งไปจนถึงหลายตำแหน่ง  ตัวอย่าง  เช่น

                624  วิศวกรรมโยธา

                                624.2  การสร้างสะพาน

                                                624.252  การรับน้ำหนักแรงกดแรงดัน  โครงสร้างสะพาน

                                                624.253  ระบบของพื้นสะพาน

                                                624.254  ฐานรากของสะพาน

                สรุป

                แนวคิดในการแบ่งหมู่หนังสือของดิวอี้  ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก  ประมาณ  135  ประเทศ  และได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า  30  ภาษา  สามารถใช้ได้กับห้องสมุดขนาดเล็ก  และขนาดกลาง  เช่น  หอสมุดแห่งชาติ  หอสมุดระดับวิทยาลัย  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดประชาชน

               บรรณานุกรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  คณะอักษรศาสตร์.  ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์.  

          การค้นคว้าและเขียนรายงาน.  พิมพ์ครั้งที่ 8.  กรุงเทพฯ : โครงการ

          เผยแพร่ผลงานวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

ลมุล  รัตตากร.  การใช้ห้องสมุด.  พิมพ์ครั้งที่  8.  กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุด

          แห่งประเทศไทย, 2539.

สมมารถ  มีศรี  สุทธาริณี  วาคาบาซิ  และนฤมล  เทพชู.  ห้องสมุดกับการรู้

          สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์ ก. วิวรรธน์, 2547.

สุนี  เลิศแสวงกิจ  และพิศิษฐ์  กาญจนพิมาย.  ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ. 

          กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์, 2546.

สุปรียา  ไชยสมคุณ.  ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ.  กรุงเทพฯ : ประสานมิตร,

          2546.

อำไพวรรณ  ทัพเป็นไทย.  การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด = Report 

          Writing  Library  Usage.  กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2538.

หมายเลขบันทึก: 326552เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2010 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2018 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท