หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปํญหาการคอร์รัปชั่น


หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปํญหาการคอร์รัปชั่น

หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปํญหาการคอร์รัปชั่น

     

              สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) องค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ รวมทั้งมีองค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ)ที่ช่วยตรวจสอบการทำงานภาครัฐ

 ศาลยุติธรรม เป็นสถาบันตุลาการที่ตัดสินคดีความ เนื้องานที่จะตกเป็นข่าวส่วนใหญ่จึงเป็น “คดีความ” ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง  ขณะเดียวกันศาลมีหน่วยงานบริหารบุคคลบริหารงบประมาณคือ “สำนักงานเลขาธิการศาลยุติธรรม” เนื้องานที่จะตกเป็นข่าวในส่วนนี้จึงเป็นข่าวเกี่ยวกับการบริหารองค์กรบริหารบุคคล ซึ่งประเด็นของการทุจริตคอรัปชั่นอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของ “ผู้พิพากษา” หรือ “เจ้าหน้าที่ธุรการศาล” จึงอาจเกิดมีได้จากสาเหตุการวิ่งเต้นคดี หรือการคอรัปชั่นงบประมาณ และสำนักงานเลขาธิการศาลยุติธรรมจะต้องเป็นฝ่ายตรวจสอบส่วนการพิจารณาลงโทษเป็นหน้าที่ “คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม” ก.ต.ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาและคนนอก ฉะนั้น “แหล่งข่าว” ที่สำคัญในศาลก็คือ สำนักงานเลขาธิการศาลยุติธรรม และ ก.ต. มิใช่ตัว “ผู้พิพากษา” ผู้ตัดสินคดีซึ่งมีกฎหมายและระเบียบกำหนดห้ามให้ข่าวหรือพูดถึงงานคดีของตน ขณะเดียวกันศาลมีกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาลอันเป็นกฎหมาย ที่ทรงอิทธิพลในการปิดปากสื่อมวลชนและคนทั่วไปมิให้สามารถวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินคดีของศาลได้

สำนักงานอัยการสูงสุด สังกัดกระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน มีโครงสร้างองค์กรสัมพันธ์กับศาล  แบบที่ไหนมีศาลที่นั่นต้องมีอัยการ  แต่อำนาจหน้าที่ของอัยการนอกจากทำคดีความเหมือนศาลแล้วแต่มีส่วนที่แตกต่างจากศาลคือ ด้านหนึ่งอัยการต้องเป็นหน่วยงานรับใช้ฝ่ายบริหารหรือการเมืองด้วยในตัว เช่นเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐ   ประเด็นการคอรัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นก็คล้ายคลึงกันกับองค์กรศาลคือ วิ่งเต้นคดีและคอรัปชั่นงบประมาณ  กระบวนการตรวจสอบทุจริตคอรัปชั่นของอัยการจะมี “คณะกรรมการข้าราชการอัยการ” หรือ ก.อ.ประกอบด้วย อัยการและคนนอก เป็นผู้พิจารณา  สำหรับอัยการนี้ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบห้ามให้ข่าว  ตลอดจนไม่มีบทบัญญัติเรื่องละเมิดการทำงานของอัยการ  “อัยการ” ทุกตำแหน่งจึงเป็น“แหล่งข่าว” ได้หมด  สื่อมวลชนสามารถติดตามสอบถามข่าวคดีสำคัญและหรือข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเมืองจากทางอัยการได้มากกว่าศาล

กระทรวงยุติธรรม เป็นฝ่ายบริหารและการเมือง รัฐมนตรีจึงเป็นแหล่งข่าวอันดับแรก อธิบดีกรม เป็นแหล่งข่าวอันดับสอง  เช่น กรมราชทัณฑ์  กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ฯลฯ ประเด็นการทุจริตคอรัปชั่นจึงหนักไปในด้านการบริหารงบประมาณ โครงการจัดซื้อจัดจ้างสร้างหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวง

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 326378เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2010 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2018 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท