สาเหตุการคอร์รัปชั่น


สาเหตุการคอร์รัปชั่น

สาเหตุการคอร์รัปชั่น

       การคอร์รัปชั่นที่เกิดจากตัวบุคคล (ธานินทร์ กรัยวิเชียร,2548, หน้า)มาจากความต้องการอำนาจต้องการความมั่งคั่งและต้องการสถานภาพที่ทุกคนยอมรับ ทั้ง 3ประการพร้อมกัน ซึ่งมาจากกิเลสในตัวมนุษย์ อธิบายความเพิ่มเติมได้ว่ามนุษย์ต้องการได้ในสิ่งที่ตนไม่มีทางได้มาด้วยความชอบธรรมตามสังคมกฎหมายและศีลธรรม

ตามหลักพระพุทธศาสนา การคอร์รัปชั่น ความไม่เป็นธรรมในสังคมเกิดขึ้นเนื่องจากขาดหลักธรรมในหัวข้อ “อคติ4”ซึ่งทำให้เกิดความไม่เที่ยงธรรม สังคมจะดีได้ต้องปราศจาก 4 อคติ(อินทรัตน์ ยอดบางเตย,2547,หน้า 57-58) ดังนี้

1.ฉันทาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจแห่งความรัก ความชังเป็นที่มาของการคอร์รัปชั่นในสังคมทุกระดับ

2.โทสาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจความโกรธเป็นที่มาแห่งการกลั่นแกล้งกันในสังคม

3.โมหาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญาทำให้สังคมขาดกฎระเบียบที่แน่นอน

4.ภยาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากความกลัวภัยมาถึงตนก่อให้เกิดการเอาตัวรอดและการผลักภารสู่สังคม

         ผลวิจัยการทุจริตในวงราชการสาเหตุของการฉ้อราษฎร์บังหลวง

 สาเหตุทางวัฒนธรรมและสังคม

สาเหตุทางสังคมของการฉ้อราษฎร์บังหลวงจะรวมถึงความไม่เสมอกันอย่างกว้างขวางในความมั่งคั่งและอิทธิพลระหว่างครอบครัวหรือกลุ่มเพียงไม่กี่รายและในการสืบสวนอย่างไม่เหมาะสมหรือการปกปิดเรื่องอื้อฉาวของการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยสื่อที่เป็นข่าวนอกจากนั้นในบางประเทศปรากฏว่ามีการยอมรับทางสังคมว่าสินบนที่ถูกเรียกร้องเป็นความถูกต้องของเจ้าหน้าที่รัฐบาล

สาเหตุทางการเมือง

สาเหตุทางการเมืองของการฉ้อราษฎร์บังหลวงสัมพันธ์ทั้งกับกระบวนการเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพฤติกรรมของข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในสำนักงานครั้งหนึ่ง การเล่นการเมืองโดยสมบูรณ์ของมาตรการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่กำลังดำเนินการโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจเช่น อัยการและข้าราชการประจำได้แสดงให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้ขาดประสิทธิภาพ

ผลกระทบของสาเหตุทั้งด้านการเมืองและด้านสถาบันถูกทำให้เลวร้ายยิ่งขึ้นโดยการรู้กันระหว่างฝ่ายบริหารฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการของรัฐบาลที่มุ่งเป้าไปที่การเข้าร่วมกับกิจกรรมการเบียดบังหรือการคุ้มครองสมาชิกของพวกเขาจากการฟ้องร้องทางอาญาดังกล่าว

 สาเหตุทางสถาบัน

สาเหตุทางสถาบัน ได้แก่ โครงสร้างและการปฏิบัติงานของข้าราชการอย่างน้อยที่สุดผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ได้กล่าวถึงปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อยบางครั้งรายได้ของข้าราชการต่ำกว่าระดับความยากจนจึงนำพวกเขาบางคนไปสู่การเบียดบัง เพื่อความอยู่รอดถ้าเงินเดือนต่ำเป็นสาเหตุสำคัญของการฉ้อราษฎร์บังหลวงของข้าราชการแล้วปัญหาควรลดลงเมื่อข้าราชการได้ไต่ระดับสูงขึ้นไปตามอาชีพ-แต่จากนั้นก็ชี้ว่านี่ไม่ใช่ประเด็น

สาเหตุทางสถาบันประการหนึ่ง การละเลยของระบบยุติธรรมทั้งระบบรวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย การฟ้องร้อง และการพิพากษาและการขาดซึ่งการบูรณาการระหว่างกลุ่มทั้งหลายในระบบยุติธรรมทำให้มีความยุ่งยากมากขึ้นในการสอบสวนและฟ้องร้องความผิดทางอาญาของการฉ้อราษฎร์บังหลวง

กฎหมาย กฎระเบียบ และการปฏิบัติด้านการบริหารที่อ่อนแอและไม่มีอยู่เป็นผู้ร้ายที่สำคัญในความไร้ความสามารถ ที่จะตรวจหาและป้องกันปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงตัวอย่างประการหนึ่งที่ถูกรายงานไว้คือนโยบายและขั้นตอนที่ไม่เพียงพอเป็นสาเหตุของการควบคุมที่ไม่สมบูรณ์เหนือการจัดซื้อของราชการและการจัดจ้างด้วยวงเงินจำนวนสูง

 

หมายเลขบันทึก: 326374เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2010 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2018 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท