ถึงนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์


ตามที่เราเรียนไปแล้วนในหลัการและวิธีการจัดทำแผน ขอให้นศ ทุกท่าน มาเพิ่มเติมเนื้อหา และขยายความเข้าใจต่อกันและกันมากขึ้นในส่วนนี้นะคะ

ถึงนักศึกษาที่รักทุกท่าน (สัตวศาสตร์)

ตามที่เรียนไปแล้วนะคะ  ให้ นศ.เพิ่มเติมเนื้อหา ให้ความหมาย ตาม key word ที่ อาจารย์ได้มอบหมายไปแล้วนะคะ โดยเพิ่มเติมในส่วนการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมนะคะ แล้ว ในวันที่ 28 มกราคม เราจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติม และเติมเต็มข้อมูลให้แก่กันและกัน รวมถึงการทบทวนให้กับเพื่อนที่ไม่ได้มาเรียนในวันนี้ด้วยนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 325695เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2010 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

มาดูแผนของนักศึกษาหายไปนานสบายดีไหมครับ

นาย สิทธิวัช นาหมื่น

Swot Analysis

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร

SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่

   * S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
   * W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
   * O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
   * T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

นายนพรัตน์ ไชยยงค์

แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map)

แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) เป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ตามแนวคิดของ Balanced Scorecard ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยที่เราจะต้องเข้าใจถึงหลักการของ Balanced Scorecard หรือ BSC ซะก่อนซึ่ง กพร.ปค. ได้เคยนำเสนอในจดหมายข่าวฉบับก่อน ๆ แล้ว แต่อย่างไรก็ตามเพื่อความเข้าใจอย่างต่อเนื่องกับเนื้อหาของ Strategy Map จึงขออนุญาตที่จะทบทวนแนวคิดดังกล่าวโดยย่อ ๆ อีกครั้งนะครับ

Balanced Scorecard เป็นแนวความคิดของ Professor Robert Kaplan อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Harvard และ Dr.David Norton ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ ซึ่งทั้ง 2 ท่านพบว่าองค์กรส่วนใหญ่โดยเฉพาะในภาคธุรกิจของอเมริกานิยมใช้ตัวชี้วัดทางด้านการเงิน (Financial Indicators) เป็นหลักเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ต่อมาเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1992 ทั้ง 2 ท่านจึงได้นำเสนอแนวความคิดในเรื่องการประเมินผลขององค์กร ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Harvard Business Review โดยมีแนวความคิดว่าแทนที่องค์กรจะประเมินโดยมุ่งเน้นเฉพาะตัวชี้วัดทางด้านการเงินเพียงอย่างเดียว ควรเปลี่ยนมาประเมินและพิจารณาในมิติอื่น ๆ ด้วย ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้นำเสนอแนวทางการประเมินองค์กรใน 4 มิติคือ คือ

1. มิติด้านการเงิน (Financial Perspective)

2. มิติด้านลูกค้า (Customer Perspective)

3. มิติด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective)

4. มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)

โดยในแต่ละมิติจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรเพราะจะทำให้ทราบว่าสิ่งที่องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนความสำเร็จขององค์กรนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง ? และในขณะเดียวกันในแต่ละมิติยังต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงเหตุและผล (cause and effect relationships) อีกด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า BSC เป็นเครื่องมือที่ช่วยนำกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการวัดหรือการประเมินอันจะช่วยให้องค์กรมีความสอดคล้องและมีทิศทางเดียวกัน ซึ่งการมุ่งเน้นความสำเร็จขององค์กร จะต้องพิจารณาจากตัวชี้วัดทั้ง 4 มิติ นั่นเอง

ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติว่าท่านผู้อ่านเปิดร้านขายกาแฟขึ้นมาสักร้านหนึ่ง ซึ่งแน่นอนครับว่าการทำธุรกิจก็ต้องมุ่งหวังผลกำไร นั่นก็คือ มิติด้านการเงิน (Financial Perspective) โดยมีตัวชี้วัดคือ ผลกำไร ซึ่งวัดจาก ยอดขาย และ ต้นทุน (หรือเขียนในรูปของสมการอย่างง่ายคือ ผลกำไร = ยอดขาย – ต้นทุน) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้นก็ต้องพิจารณาถึงยอดขาย และต้นทุน ด้วย ทีนี้ถ้าเราจะเพิ่มยอดขาย สิ่งที่เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญ คือ การเพิ่มของส่วนแบ่งการตลาดหรือเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น ถ้าหากเป็นลูกค้ารายเดิมเราก็ต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า รายเดิมกลับมาซื้อสินค้าจากเราอีก แต่หากเป็นลูกค้ารายใหม่เราก็ต้องนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมิติด้านลูกค้า (Customer Perspective) และนอกจากนี้ในเรื่องของการลดต้นทุน ก็จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลกำไร ดังนั้น การควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าให้มีของเสียน้อยที่สุด การบริหารด้านวัตถุดิบ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนผลิต ซึ่งก็เป็นมิติทางด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาพในปัจจุบันคงเป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านผู้อ่านจะเปิดร้านขายกาแฟ โดยไม่มีคู่แข่งขัน ดังนั้น หากเราสามารถสร้างความแตกต่างของสินค้าให้เหนือกว่าคู่แข่งก็จะส่งผลต่อการเพิ่มของส่วนแบ่งการตลาดอันจะนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในที่สุด ลองดูคิดซิครับว่าถ้าท่านต้องการจะไปซื้อกาแฟ โดยมีร้านให้เลือกอยู่ 2 แห่ง ร้านแรกมีกาแฟหลากหลายชนิด มีอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายไว้คอยให้บริการ ในขณะที่อีกร้านมีกาแฟไม่กี่ชนิด แต่มีราคาที่ใกล้เคียงกันท่านจะเลือกเข้าร้านไหน ? ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพของสินค้า การพัฒนาทักษะความสามารถของพนักงานให้มีความหลากหลาย การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน ก็จะเป็นกระบวนการในการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) นั่นเอง คงพอจะเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าในแต่ละมิติจะมีความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงเหตุและผล (cause and effect relationships) ซึ่งอาจเขียนอยู่ในรูปของแผนภาพอย่างง่ายได้ ดังนี้

มิติด้านการเงิน

(Financial Perspective)

…………………………………………………………………………………………………………………………….

มิติด้านลูกค้า

(Customer Perspective)

………………………………………………………………………………………………………………………….

มิติด้านกระบวนการภายใน

(Internal Process Perspective)

…………………………………………………………………………………………………………………………….

มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

(Learning and Growth Perspective)

และนี่แหละก็คือ “แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map)” เพียงแต่เป็นการยกตัวอย่างแบบอย่างง่าย ซึ่งในข้อเท็จจริงนั้นอาจจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่านี้ ซึ่ง Professor Robert Kaplan และ Dr. David Norton ได้อธิบายไว้ว่า แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ก็คือ แผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ขององค์กร ในรูปแบบของความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงเหตุและผล (cause and effect relationships) กล่าวคือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ (Outcome) ที่องค์กรปรารถนา ซึ่งเชื่อมโยงกับทุก ๆ มิติทั้ง 4 มิติ เพื่อให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงเข้ากับสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets) เช่น ความรู้ ทักษะของพนักงาน ให้เข้ากับกระบวนการสร้างคุณค่า (Value-creating processes) ให้แก่องค์กรอันจะนำไปสู่เป้าหมายที่ปรารถนา และที่สำคัญแผนที่ยุทธศาสตร์ก็เปรียบเสมือนเครื่องมือที่จะสื่อสารให้เราได้ทราบถึงยุทธศาสตร์ขององค์กร อันจะทำให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานมีความเข้าใจในยุทธศาสตร์ขององค์กรในภาพรวมได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ชื่อ: ทิพย์สุดาอีเมล: [email protected]

หัวเรื่อง: ส่งการบ้านอาจารย์ เรื่อง ข้อดีของการมีแผนข้อความ:ข้อดีของการวางแผน การวางแผนจะต้องเผชิญกับปัญหาหลายอย่างในแง่ของปัจจัยภายนอกก็คือ ข้อกำหนดของรัฐ เทคโนโลยีที่ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงอัตราค่าแรงงาน การเคลื่อนไหวของเงินทุนและอื่นๆ ส่วนปัจจัยภายในองค์การก็ได้แก่ ประสิทธิภาพในการบริหารงาน โครงสร้างองค์การและระบบงาน ความหลากหลายทางด้านแรงงาน ความรู้ความสามารถของฝ่ายบริหาร การวิจัยและพัฒนา เครื่องจักรอุปกรณ์และชื่อเสียงขององค์การ เป็นต้น การวางแผนจะทำให้องค์การสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับปัจจับภายในและภายนอกองค์การ ประโยชน์ของการวางแผนมีดังนี้1. ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น การปรับปรุงการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารและพนักงานแยกได้เป็น 2 อย่างคือ ควรเน้นอะไรและควรยืดหยุ่นอย่างไร (focus and flexible) ทั้งสองอย่างจะช่วยสร้างอำนาจในการแข่งขันขององค์การ ควรเน้นอะไรนั้นทำให้องค์การรู้ว่าจะทำอะไรจึงจะดีที่สุดต่อลูกค้าและควรให้บริหารแก่ลูกค้าอย่างไร ในแง่ของผู้ปฏิบัติงานก็รู้ว่าควรทำอะไร และทำอย่างไรจึงบรรลุเป้าหมายขององค์การ ควรยืดหยุ่นอย่างไรก็จะทำให้องค์การสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถเตรียมรับมือให้เข้ากับอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น ในส่วนของพนักงานก็ทำให้รู้ว่าควรปรับตัวเองอย่างไรให้เข้ากับโอกาสและอุปสรรคที่กำลังจะเกิดขึ้นการปรับปรุงการปฏิบัติงานอาจสรุปได้ 4 หัวข้อคือ ประการแรกจะมุ่งไปทางไหนจึงจะบรรลุเป้าหมายสูงสุด ประการที่สอง ควรจะทำอะไรก่อนหลังจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด ประการที่สาม จะจัดสรรทรัพยากรอย่างไรจึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ประการที่สี่ จะปรับตัวอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับสถานการณ์และก่อให้เกิดผลดีที่สุด2. ปรับปรุงการประสานงานให้ดีขึ้น ในองค์การย่อมประกอบด้วยระบบย่อยและกลุ่ม (subsystem and group) หลายระบบและหลายกลุ่ม แต่ละระบบแต่ละกลุ่มต่างมีเป้าหมายของตัวเองและต่างทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเองทั้งนั้น การที่จะไม่ให้ระบบย่อยและกลุ่มต่างๆ ขัดแย้งกันก็ต้องอาศัยการวางแผนที่ดี การวางแผนได้จัดแยกวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายต่างๆ ของระบบย่อยและกลุ่มคนออกมาเป็นลำดับขึ้นของวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายลดหลั่นกันลงมาตั้งแต่สูงสุดไปจนถึงต่ำสุด แต่ละเป้าหมายต่างๆ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นของระบบใดกลุ่มใดและต้องอาศัยหน้าที่หรือกิจกรรมอย่างของแต่ละระบบและแต่ละกลุ่มจึงบรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้ เมื่อมีการวางแผนอย่างดีกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละระบบและแต่ละกลุ่มจะสอดรับกันอย่างเหมาะสม โดยเป้าหมายในระดับสูงเป็นเสมือนจุดหมายปลายทาง (end) และเป้าหมายในแต่ละระดับล่างเป็นเสมือนวิธีการ (mean)3. ปรับปรุงการควบคุมให้ดีขึ้น กิจกรรมของการควบคุมก็คือ การวัดผลการปฏิบัติงานและการแก้ไขการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น การวางแผนจะช่วยให้การควบคุมมีประสิทธิภาพเพราะการวางแผนจะต้องกำหนดเป้าหมายขึ้นมาก่อน นั่นก็คือ มาตรฐานที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานหรือกำหนดว่าจะต้องทำอย่างไร ถ้าผลการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานก็ต้องแก้ไขที่การปฏิบัติงานและมาตรฐานที่ใช้วัดหรือระบบการควบคุมใหม่ ดังนั้น การวางแผนกับการควบคุมจะต้องทำหน้าที่กันอย่างใกล้ชิดในฐานะที่เป็นกระบวนการบริหาร หากไม่มีระบบการควบคุมที่ดี การวางแผนก็ขาดการติดตามว่างานบรรลุเป้าหมายหรือไม่ หากไม่มีระบบการวางแผนที่ดี การควบคุมก็ขาดกรอบการวัดผลงานว่า ได้มีการปฏิบัติงานดีขึ้นหรือไม่ ดังนั้น จึงมีเทคนิคการบริหารงานอีกอย่างที่เชื่อมต่อการวางแผนและการควบคุมเข้าด้วยกันคือ การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) ซึ่งจะกล่าวต่อไป4. ปรับปรุงการบริหารเวลาให้ดีขึ้น คนส่วนใหญ่จะประสบกับความยากลำบากในการใช้เวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำวิธีบริหารเวลาอย่างง่ายๆ ก็คือ การกำหนดตารางเวลาไว้ในสมุดบันทึกหรือในปฏิทินเพื่อเตือนความจำว่าวันไหนจะต้องทำอะไร แต่ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นบ่อยๆ ที่ผู้บริหารใช้เวลาไปกับกิจกรรมหนึ่งมากเกินไปและในอีกกิจกรรมหนึ่งน้อยเกินไป หรือลืมทำกิจกรรมบางอย่าง ก็มีการวางแผนก็ทำให้การใช้เวลาดีกว่าการไม่วางแผนมีการสมดุลของการใช้เวลามากขึ้นและการสูญเสียเวลาก็ลดลง อย่างไรก็ตาม การบริหารเวลาเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการวางแผน ดังนั้น จึงขอกล่าวเรื่องการบริหารเวลาในหัวข้อต่อไป -----------------------------------------------------------อีเมลนี้ส่งมาจาก: [email protected]

เรียนท่านพี่ขจิต

น้องสอนวิชาการวางแผนอยู่นะพี่

ว่าแต่วาปีใหม่ไปเที่ยวใหนหรอ คิดถึงกันบ้างมั้ยเนี้ย

ปีใหม่สุข สวัสดีปีใหม่นะคะ

ว่างๆ แวะมาเท่ยวนครพนมเด้อ

ถึง นักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ ทุกท่านนะคะ

มีบางสาวนที่มาตอบประเด็นคำถามแล้ว แต่ก็เหลืออีกหลายคน

ว่างๆ แวะมาตอบด้วยนะคะ และให้เก็บข้อมูลส่วนของตัวเองไว้ด้วย เพราะเราจะคุยกันอีกครั้งหนึ่งนะคะ

Dsc07782

Dsc07855

เมื่อวานรอเหว่าอยูนะ ยุ่งมากจนลมวันเลยนะ คราวหน้าอย่าลืมจ้ะ งวดนี้เลยอดชิมกล้วยหอมทองปลูกเองที่บ้านพี่เกดเลย อร่อยมาก

นายจรัญ เมืองโคตรอีเมล

ชื่อ: นายจรัญ เมืองโคตรอีเมล: [email protected]

หัวเรื่อง: ส่งงานแผนชาติฉบับ10

ข้อความ:แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 วิสัยทัศน์ประเทศไทย มุ่งพัฒนาสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรม นำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชน เข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรีพันธกิจเพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เห็นควรกำหนดพันธกิจของการพัฒนาประเทศ ดังนี้(1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรมนำความรอบรู้อย่างเท่าทัน (2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม (3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มา: http://www.moph.go.th/ops/iprg/news_pic หัวข้อ • วัตถุประสงค์ • เป้าหมาย • ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ • การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล วัตถุประสงค์(1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม(2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน(3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม(4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน ตลาดปัจจัยการผลิตตลาดแรงงาน และการลงทุน (5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและ การลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ(6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ(7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เป้าหมาย(1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคนและความ เข้มแข็งของชุมชน(1.1) การพัฒนาคน1) คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข2) เพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี พัฒนากำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็น 60% ของกำลังแรงงานทั้งหมด และเพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ควบคู่กับการลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ใน 5 อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง นำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และลดรายจ่ายด้านสุขภาพของบุคคลลงในระยะยาว(1.2) การพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณเพิ่มกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมและบรรเทาปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลงเหลือร้อยละ 4 ภายในปี 2554(2) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ(2.1) โครงสร้างเศรษฐกิจ สัดส่วนภาคเศรษฐกิจ ในประเทศต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 75% ภายในปี 2554 และสัดส่วนภาคการผลิตเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 15% ภายในปี 2554(2.2) เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 3.0-3.5% ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกิน 50% และความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ยไม่เกิน 1:1 ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10(2.3) ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สัดส่วนรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด 20% แรก ต่อรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด 20% ไม่เกิน 10 เท่าภายในปี 2554 และสัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่ต่ำกว่า 40% ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10(3) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม(3.1)รักษาความสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีพื้นที่ป่าไม้ไว้ไม่น้อยกว่า 33% และต้องเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่า 18% ของพื้นที่ประเทศ รวมทั้งรักษาพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทานไว้ไม่น้อยกว่า 31 ล้านไร่(3.2)รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงคุณภาพชีวิตที่ดีและไม่เป็นภัย คุกคามต่อระบบนิเวศ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนไทย(4) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล(4.1) มุ่งให้ธรรมาภิบาลของประเทศดีขึ้น มีคะแนนภาพลักษณ์ของความโปร่งใสอยู่ที่ 5.0 ภายในปี 2554 ระบบราชการมีขนาดที่เหมาะสม และมีการดำเนินงาน ที่คุ้มค่าเพิ่มขึ้น ลดกำลังคนภาคราชการให้ได้ 10% ภายในปี 2554(4.2)สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในบริบทไทย ให้มีการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมประชาธิปไตย วัฒนธรรมธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมสันติวิธีเพิ่มขึ้นในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เหมาะสม ดังนี้(1)ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้(2)ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ(3)ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตให้สมดุลและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการ บนฐานการเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการจากองค์ความรู้สมัยใหม่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์(4)ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม(5)ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ มุ่งเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคมอย่างยั่งยืน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สู่การปฏิบัติ ต้องให้ภาคีพัฒนาทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน(1) เสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนาจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ(2) กำหนดแนวทางการลงทุนที่สำคัญตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10(3)เร่งปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล(4)ศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สู่การปฏิบัติ(5)พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีความสำเร็จของการพัฒนาในทุกระดับ(6)สนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกระดับและการเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานกลางระดับนโยบาย ตลอดจนระดับพื้นที่และท้องถิ่น

ถุงนักศึกษาที่รักทั้งหลาย

ขณะที่อาจารย์เขียนบันทึกนี้ เวลา14:48น.

ก็ยังไม่มเห็นผู้ไดมาตอบคำถาม มาเพิ่มเติมข้อมูลเลย

และท่านได ที่เห็นว่างานที่ส่งมาถูกลบ หายไป

ก็อย่าตกใจว่าส่งมาไม่ได้ เนื่องจากอาจารย์คือผู้ที่ลบงานท่านออกไปเอง เพราอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง

ไม่เข้าใจ เห็นว่าถ้ายังปลอยไว้บนโลก space แห่งนี้จะเป็นการประจานนักศึกษามากไปกว่านี้ อาจารย์ก็เลยตัดสินใจลบ

คำตอบของนักศึกษาเสีน โปรดอน่าเสียใจ แต่ให้รีบศึกษาและเพิ่มเติมคำตอบอันใหม่ มาส่งซะดีดี

และ นศ.ท่านได ที่มาอ่านบันทึกนี้แล้ว ช่วยบอกต่อเพื่อนๆ ไปด้วยนะคะ

หมายเหตุ : นศ. ทุกท่าน ส่งงานโดยด่วน

โอ้ย พิมพ์ตกเยอะแยะเลย น่าอายจัง ทนๆ อ่าน ทำความเข้าใจเอาเองนะคะ นศ ทั้งหลาย

การพัฒนาคนไทยให้มีคุณธรรมนำ ความรู้ โดยพัฒนาจิตใจควบคู่กับการพัฒนาการเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มทุกวัยตลอดชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กให้มี ความรู้พื้นฐานเข้มแข็ง มีทักษะชีวิต พัฒนาสมรรถนะ ทักษะของกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับความ ต้องการ พร้อมก้าวสู่โลกของการทำงานและการแข่งขันอย่างมีคุณภาพ สร้างและพัฒนากำลังคนที่เป็นเลิศ โดยเฉพาะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต จัดการองค์ความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สมัยใหม่ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงประเทศ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม วัตถุประสงค์ (๑) สร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา และเสริมสร้างสมรรถนะกำลังคน สามารถประกอบอาชีพเพื่อ ดำรงชีวิตและสนับสนุนการแข่งขันของประเทศ เป้าหมายเชิงคุณภาพ คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการ ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป้าหมายเชิงปริมาณ (๒.๑) จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น ๑๐ ปี (๒.๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักของทุกระดับสูงกว่าร้อยละ ๕๕ การพัฒนาคนไทยให้มีคุณธรรมนำ ความรู้ โดยพัฒนาจิตใจควบคู่กับการพัฒนาการเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มทุกวัยตลอดชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กให้มี ความรู้พื้นฐานเข้มแข็ง มีทักษะชีวิต พัฒนาสมรรถนะ ทักษะของกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับความ ต้องการ พร้อมก้าวสู่โลกของการทำงานและการแข่งขันอย่างมีคุณภาพ สร้างและพัฒนากำลังคนที่เป็นเลิศ โดยเฉพาะในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต จัดการองค์ความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สมัยใหม่ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงประเทศ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

๒.๑ วัตถุประสงค์

(๑) เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และ

ยกระดับการสร้างคุณค่า และคุณภาพชีวิตของประชาชน

(๒) เพื่อเสริมสร้างทุนเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมให้เป็นฐานการพัฒนาประเทศที่มั่นคง สมดุลและยั่งยืน

(๓) เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ

ในระยะยาว

(๔) เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจและมีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ทั้งใน

ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รวมทั้งรักษาผลประโยชน์ของประเทศจากข้อตกลงในพันธกรณีระหว่าง

ประเทศ

๒.๒ เป้าหมาย

(๑) การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

(๑.๑) คุ้มครองพื้นที่ป่าให้คงความอุดมสมบูรณ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๓ พื้นที่

ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๘ ของพื้นที่ประเทศ ฟื้นฟูป่าอนุรักษ์ ๒,๙๐๐,๐๐๐ ไร่

(๑.๒) ฟื้นฟูพื้นที่ดินที่มีปัญหา เช่น พื้นที่ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินขาดอินทรีย์

ไม่ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ และลดพื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐,๐๐๐ ไร่

(๒) การตอบสนองความต้องการและความจำเป็นในการดำรงชีวิต

(๒.๑) ออกกรรมสิทธิ์ที่ดิน (โฉนด) ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ จัดสรรที่ทำกินให้ผู้ไร้ที่

ทำกินไม่น้อยกว่า ๗๐๐,๐๐๐ ราย

(๒.๒) มีการบริหารจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการ ๒๕ ลุ่มน้ำ และเพิ่มพื้นที่

ชลประทานไม่น้อยกว่า ๘ แสนไร่

(๒.๓) มีการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของปริมาณ

มูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ของเสียอันตรายจากชุมชนและอุตสาหกรรมได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ของปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีระบบเรียกคืนซากของเสียอันตรายจาก

ผลิตภัณฑ์ใช้แล้วโดยผู้ผลิตและผู้นำเข้า

(๒.๔) ลดการนำเข้าปุ๋ยและสารเคมีทางการเกษตรให้ไม่เกินปีละ ๓.๕ ล้านตัน

รวมทั้งมีระบบจัดการสารเคมีอย่างครบวงจรตั้งแต่การผลิต การนำเข้า จนถึงการกำจัดทำลาย

(๒.๕) ควบคุมรักษาคุณภาพน้ำ ในลุ่มน้ำต่างๆ และแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้อยู่ใน

เกณฑ์พอใช้และดี รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ ฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก โดยเฉพาะเจ้าพระยา

ตอนล่าง ท่าจีนตอนล่าง ลำตะคองตอนล่าง และทะเลสาบสงขลา ไม่ให้อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก และ

ควบคุมคุณภาพอากาศทั้งในเขตเมือง ชนบท และเขตอุตสาหกรรม ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

(๓) การวางรากฐานด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การพัฒนาบนฐานความ

หลากหลายทางชีวภาพ

(๓.๑) มีระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ระดับประเทศ

๑ ระบบ รวมทั้งมีกลไกระเบียบควบคุมการเข้าถึง การใช้ และการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม

(๓.๒) เกิดเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเองที่มีความมั่นคงด้านอาหารและสุขภาพ

จากการจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ ชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท