วันเด็ก เขาคิอย่างไร เราคิดอย่างไร


วันเด็กแห่งชาติ

วันเด็ก

      พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า พ.ร.บ. เยาวชนฯ) ให้นิยามของคำว่า "เด็ก" และ "เยาวชน" ไว้ในมาตรา ๔ ดังนี้
"เด็ก" หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกินเจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ "เยาวชน" หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกินสิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์
ความหมายของ "เยาวชน" ใน พ.ร.บ. เยาวชนฯ เปลี่ยนแปลงจากความหมายในกฎหมายเด็กและเยาวชนเดิม เพราะตามกฎหมายเดิม ไม่ให้หมายรวมถึง บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วด้วยการสมรส
( ที่มาhttp://law.tu.ac.th/law_center/law_document/book2/b2-6.html)
เด็กที่วันๆ เอาแต่เล่นเกมส์ออนไลน์ ไม่อ่านหนังสือเรียน การบ้านก็ไม่ทำ งานบ้านก็ไม่เคยคิดจะหยิบจับช่วยเหลือพ่อแม่ ทานอาหารแล้วไม่รู้จักล้างจานชาม เหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างพฤติกรรมของ "เด็กไม่เอาถ่าน"
         ทำไมจึงเรียก "เด็กไม่เอาถ่าน" คาดกันว่าคำนี้มีที่มาจากคำเดิม คือ "เหล็กไม่เอาถ่าน" เพราะในสมัยก่อนนั้น การหลอมเหล็กหรือตีอาวุธจากเหล็กให้แข็งแกร่งนั้น จำเป็นต้องใช้ถ่านในการก่อเปลวไฟจนลุกโชน เพื่อให้ความร้อนแก่เหล็ก แล้วถ่านหรือคาร์บอนจะแทรกตัวเข้าไปอยู่ในเนื้อเหล็กหลังจากการถลุง ถ้าเหล็กไม่มีถ่านผสมอยู่เลย เหล็กนั้นจะมีคุณภาพต่ำ ไม่แข็งและเหนียวพอที่จะเรียกว่า เหล็กกล้า แต่หากมีมากเกินไปจะทำให้เหล็กเปราะ เหล็กที่ดีควรมีคาร์บอนเข้าไปผสมอยู่ประมาณ 0.1 - 1.8%
         ช่างตีอาวุธจากเหล็กในสมัยโบราณ จำเป็นต้องคิดค้นหากลวิธี เพื่อขจัดปัญหาดาบหัก เพราะแสดงถึงกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ดีทำให้เหล็กไม่เอาถ่าน จนกลายเป็นคำพูดติดปาก เปรียบเทียบนิสัยคนกับอาวุธว่า "เหล็กไม่เอาถ่าน"
ขอบคุณข้อมูล : lib.ru.ac.th
ครูบุญส่งเขียนเองบ้าง
            เราเป็นครู ก็หากินอยู่กับเด็ก  มีเด็กก็มีงาน   ไม่มีเด็กก็ต้องเปลี่ยนอาชีพ  เมื่อมีเขาแล้วอยู่ในความดุแลของเรา ต้องสร้างเขาเป็นคนที่มีคุณภาพ สร้างอย่างไร ถึงจะประสบความสำเร็จ สร้างอย่างไร เขาจึงจะให้ความร่วมมือตลอดรอดฝั่ง สังคมถึงจะยอมรับ  เป้นคนดี  อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข   หากเขาเป็นคนไม่ดี เราก็คงโทษใครไม่ได้ นอกจากตัวครูเอง สิ่งแวดล้อมก้เป้นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ผ่านเข้ามา  และก้น่าจะผ่านเลยไป หาก ครูชี้เขาเขารู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี  ส่วนการตัดสินใจ แยกแยะ  เขาแหละน่าจะเป็นคนเลือก ตัดสินบนข้อมูลที่เราเป็นส่วนที่จะบอกเขาได้อะไรดี อะไรชั่ว
คำสำคัญ (Tags): #วันเด็ก
หมายเลขบันทึก: 325600เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2010 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

            

" ถ้าบุคคลได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นพลเมืองดี อยู่ในศีลในธรรม เคารพในตัวบทกฏหมายของบ้านเมือง ตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อเติบโตขึ้น พลเมืองของประเทศ ก็จะมีแต่คนดี และประเทศจะเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ก็โดยต้องมีพลเมืองดีดั่งว่านี้ "

(พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสเปิดศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง และสถานพินิจเด็กกลาง วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๕)

-เด็กจะดีหรือไม่ดี ก็อยู่ที่ครูทั้งหลาย เริ่มต้นตั้งแต่ครูคนแรกคือพ่อแม่  ครูคนที่สองคือครูบาอาจารย์ พระสงฆ์ และครูที่สามก็คือ ผู้ที่แนะนำสั่งสอนวิชาชีพให้เรามีความสามารถ ความชำนาณในการทำมาหากิน มีอาชีพจนยืนหยัดใช้ชีวิตอยู่ได้

-และที่สำคัญบุคคลทั้งสาม จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี การเป็นแบบอย่างดีกว่าคำสอนใช่ไหมคะ ถ้าทำแต่สิ่งดีๆเป็นตัวอย่างดี ๆ เด็กเห็นเด็กก็จะทำตาม ซึ่งมีแต่สิ่งดีดีคะ

-เห็นด้วยคะ หากินกับเด็ก ด้วยความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นที่จะสร้างเด็กให้เป็นคนดีคะ ถ้าไม่ชอบเด็ก ก็คงเป็นครูไม่ได้คะ ต้องไปทำอย่างอื่นแทนคะ

-แม้สิ่งแวดล้อมจะเลวร้ายอย่างไร แต่ถ้าครูได้ตักเตือนให้ข้อคิด ในสิ่งดีไม่ดี ให้เด็กได้รู้ได้ตระหนัก อย่าไปโทษแต่สิ่งแวดล้อม ครูควรยอมรับว่า ตนผู้เป็นครูสำคัญที่จะต้องตักเตือนดูแลให้ดี ด้วยความมุ่งมั่น แม้สิ่งแวดล้อมจะเป็นเช่นไร เด็กถ้าจะรักดีเพราะเชื่อฟังผู้ใหญ่ ก็ใช่ว่าเด็กจะเลวเพราะสิ่งแวดล้อมเสมอไป สำคัญที่ครู ก็เป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท