ปัญหาโลกแตก และอำนาจแห่งการคิดบวก


Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (ตอนที่ 31)

วันหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ มีอาจารย์ท่านหนึ่งที่ผมนั่งโสเหร่ ดื่มกาแฟด้วยกันบ่อยข้าง MBA เล่าปัญหาเพื่อนของท่านให้ฟังว่า เพื่อนของท่านนั้นเป็นเจ้าของร้านติดตั้งแอร์ ตอนนี้สติแตกเพราะทะเลาะกับทีมช่างที่เก่งชุดหนึ่ง ลาออกไปทำเอง ตอนแรกก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพราะเป็นลูกจ้างชั้นดี แต่พอรู้ว่าจะออก เจ้าของรู้สึกว่าลูกน้องกลุ่มนี้ ทรยศครับ เลยเริ่มหาเรื่องทะเลาะกดดัน ในที่สุดลูกน้องกลุ่มนี้ก็ทนแรงกดดันไม่ไหว เลยออกไปตั้งร้านใหม่จริงๆเป็นคู่แข่งไปเลยครับ ท่านเล่าให้ฟังดังนี้

ฟังแล้วคุ้นๆไหมครับ คงได้ยินเรื่องนี้บ่อยๆ ผมไม่ได้ให้คำตอบอะไร แต่เล่าเรื่องที่ผมเจอมากับตัว ผมรู้จักอาจรรย์ท่านหนึ่ง ท่านเกษียณไปนานแล้ว แต่เมื่ออายุ 72 ปียังทำงานอิสระจากงานแปลในที่ประชุม รายได้คงเส้นคงว่ามาเกือบ 30 ปีท่านรับงานแปลอิสระให้กับองคืกรชั้นนำเช่น UN ท่านเล่าให้ฟังบ้างว่ามีคู่แข่งที่ชอบตัดราคาคนอื่นๆ ชนิดต่ำเตี้ยติดดินแย่งลูกค้าท่านไปเฉย คนๆนี้เป็นคนที่ท่านฝึกมากับมือเพราะเป็นหลานของอาจารย์ท่าน (เสียชีวิตไปแล้ว) ที่ฝากมาให้ท่านฝึกให้ อีกหลายคนที่มาทำงานร่วมกับท่าน (งานแปลจะทำประมาณ 2 คนร่วมกัน) บางคนก็มีนิสัยรักพวกพ้องตนเอง ประมาณว่าเวลาอาจารย์ได้งานมาอาจารย์จะแบ่งให้ (อาจารย์เอาฝีมือก่อน) แต่ถ้าพวกเขาได้งานพวกเขาจะเรียกหาคนกันเองก่อน (ฝีมือไม่เกี่ยว) 

ผมถามว่าทำไมอาจารย์รู้ก็รูว่าจะถูกเอาเปรียบ อาจารย์ก็ยังฝึกคนอยู่ได้ อาจารย์ยังสอนอยู่ และยังฝึกเด็กรุ่นใหม่ บางคนอาจารย์เห็นแวว ก็จะปั้นให้ทำอาชีพนี้ต่อ อาจารย์ยังต้องต่อสู้กับคนที่แข่งกับอาจารย์ชนิด bidding ทีตัดราคาลง 1 ใน 3 ก็มี

หลังฟังผมพล่ามด้วยความรู้สึกแบบอาจารย์ MBA ไปสักพัก อาจารย์ก็เล่าให้ฟังอย่างสงบว่า "อาจารย์ภิญโญ ดิฉันก็อยู่มาได้สามสิบปีนะ รายได้ไม่เคยตกยังสนุก คนที่ตัดราคาเขาได้งานไปก็จริง แต่ก็ไม่สามารถรักษามาตรฐานได้ งานแปลเป็นงานที่เหนื่อยมากต้องใช้ล่ามสองคน คนๆนี้งกแทนที่จะหา Partner เก่งๆมาช่วย กลับจ้างเด็กไม่มีประสบการณ์มาช่วย ทำให้งานออกมาไม่ดี ในที่สุดบริษัทใหญ่ๆก็กลับมาหาอาจารย์เช่นเดิม แถมไม่ไปหาเขาอีกเลย" "ส่วนเพื่อนงกๆ นั้นก็ร่วมงานกับคนงกด้วยกัน ซึ่งมักจับปลาหลายมือ ในที่สุดก็ทำไม่ไหว ไม่เชี่ยวชาญจริง ก็ต้องแบ่งงานให้อาจารย์ กลายเป็นว่าอาจารย์ได้ลูกค้าใหม่ของพวกเขาอีก" แล้วท่านก็พูดต่ออีก "คนเราจะเก่งแค่ไหน ในงานแบบ Professional ของอาจารย์ยังไงก็ทำได้เต็มที่ไม่เกิน 30 วันต่อเดือนอยู่ดีๆ เขาจะงก จะตัดราคาแค่ไหนก็ทำไปเถอะ  ก็ทำได้สามสิบวันต่อเดือนอยู่ดี เพราะฉะนั้นชีวิตนี้พิสูจน์แล้วว่าอย่าเป็นศัตรูใคร เป็น Partner กันดีกว่า ในส่วนของลูกค้าเอง ลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง เขาต้องการของดีอยู่แล้ว และจะเห็นค่างานของเรา ทำธุรกิจของกับเราในระยะยาว ประเภทต่อ เอาของถูก ไม่สนใจคุณค่างานนั้น เราทำงานด้วยจะเหนื่อย แถมบางทีถูกเบี้ยวอีก"

นี่คือภูมิปัญญาของคนจบอักษรจุฬาครับ เป็นคนที่มองโลกในแง่ดี แหละมีรายได้เกินแสนมานับสิบๆปี เป็นตัวอย่างของผมเวลาคนถามผมว่า อาจารย์ อาจารย์เผยแพร่แบบไม่ปิดปังนี่ ไม่กลัวเหรอ ผมจะเล่าเรื่องที่ผมได้คุยกับอาจารย์ท่านนี้ในวันนั้นให้ฟังครับ

ย้อนกลับไปกรณีข้างบน อาจารย์ท่านนั้นวันหลังก็กลับไปเล่าให้เพื่อนท่านฟัง เพื่อนท่านรู้สึกว่าได้ทำผิดไปครับ เพราะเขาเองก่อนออกมาตั้งตัว ก็เคยเป็นลูกน้องคนอื่นมาก่อน และทำให้นึกถึงร้านแอร์ร้านใหญ่ร้านหนึ่งที่เขาเข้าใจปรากฏการณ์เรื่องคนเก่งแล้วออกไปตั้งตัว นี้ เขาจะไม่ว่าครับ ในที่สุดก็ได้พันธมิตรกัน นับสิบทีม แบ่งลูกค้ากัน เพราะบางครั้งทำไม่ทันหรอกครับ

ในหนังสือเรื่อง The Power of Nice พูดถึงเรื่องนี้ของบริษัท Proctor and Gamble ที่ไม่มองว่าคนออกจากบริษัทคือคนทรยศครับ เพราะเข้าใจว่าคนเก่งเขาจะพยายามเติบโต เอง บางทีองค์กรปัจจุบันไม่ใช่คำตอบ เขาก็ไม่ว่าครับ จนเกิดเป็นเครือข่ายหลวมๆขององค์กรขึ้นมา ศิษย์เก่าที่นี่หลายคนกลายไปเป็น CEO ของบริษัทอื่นๆทำให้เกิดความร่วมมือทางการค้าสำคัญๆหลายอย่างครับ

ในมุมมองของ Appreciative Inquiry เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า Destiny ครับ

อ้างอิง:

The Power of Nice 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#learning organization
หมายเลขบันทึก: 324903เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2010 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ชอบค่ะ

คงเหมือน การมองน้ำครึ่งแก้ว

แทนที่จะมองว่าต้องหามาเติม

แต่เรามองว่า  อืม...ยังมีเหลืออีกตั้งครึ่งแก้ว

Positive Thinking เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนอย่างมากเลยครับ

ผมเองก็กำลังฝึกฝน เรื่อยๆครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ ที่ร้านผมเมื่อก่อนก็เคยเป็นอย่างนี้

ขอให้เราดีจริงสะอย่าง คู่แข่งจะเล่นยังไงก็ไม่ต้องกลัว เดี๋ยวลูกค้าก็กลับมาใช่ไหม๊คะ

บางครั้งหนูก็ซื้อของร้านที่ขายแพงกว่า แต่ว่าคุณภาพเค้าดีกว่า อีกร้านที่ขายถูกกว่าแต่ว่าคุณภาพไม่ได้เรื่องเลย ส่งของก็ช้าบริการก็แย่ จึงยอมที่จะจ่ายแพงกว่าแต่เราได้รับบริการกลับมาที่พอใจมากกว่า

มันเป็นงานฝีมือที่ติดตัวเราครับ ซึ่งถ้าเรากลัวที่ลูกน้องจะแยกออกไปทำร้านแข่ง เราก็ไม่ต้องจ้างลูกน้องพอดี ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เหนื่อยตัวเองเปล่าๆ ผมว่าเราต้องมั่นใจในฝีมือของเราครับ เราสอนให้เค้าเกิดมาได้แล้วจะกลัวอะไรล่ะครับ ฝีมือเค้าดีขึ้นก็จริง แต่เราก็สามารถสอนคนใหม่มาแทนที่ได้ไม่มีวันหมด แต่ถ้าเกิดว่า เราจ้างช่างมาทำงานแทนเรา ทั้งๆที่เราไม่มีความรู้ด้านนี้เลย อันนี้น่าปวดหัวแทนครับ เหมือนกับทำร้านอาหาร แต่ทำอาหารไม่เป็น จ้างพ่อครัวมาทำแทน พอพ่อครัวออกไปทำร้านตัวเอง ร้านก็มีแต่อยู่ไม่ได้ครับแบบนี้ จ้างพ่อครัวใหม่รสชสติก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว

สวัสดี วันเด็กค่ะ อาจารย์

j เอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท