ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

อยากเป็นนักเขียน ไม่ยากอย่างที่คิด


 เพราะเหตุใดจึงจำเป็นต้องมีหลักสูตรนี้

         ในการจัดการประชุมและสัมมนาทั้งในระดับชาติ และนานาชาติของมหาวิทยาลัยในหลายครั้งที่ผ่านมา เช่น การประชุมผู้นำชาวพุทธโลก การประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) และการประชุมวันวิสาขบูชาโลก ได้มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไปรวมทั้งคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุม แต่ปรากฏว่ายังมีคณาจารย์และนักวิชาการทั่วไปนำเสนอบทความและได้รับการตีพิมพ์ไม่มากนัก ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจาก "นักวิชาการไทยหลายท่านขาดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการให้ได้มาตรฐาน" และในขณะเดียวกัน เป็นที่ประจักษ์ว่า เราไม่ได้ไม่ได้เตรียมหลักสูตรเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้สนใจใฝ่รู้ในประเด็นเหล่านี้อย่างเพียงพอ

          ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัย ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม และเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพการศึกษา จึงสมควรจัดให้มีกระบวนการในการพัฒนาคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย และบุคคลที่สนใจทั่วไปให้สามารถเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ และนำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ จึงสมควรให้มีการจัดการพัฒนาและฝึกอบรมเทคนิคการเขียนบทความทางให้ได้มาตรฐานมากยิ่ง ขึ้น

 

ขอบข่ายเนื้อหาในหลักสูตร

๑.การเขียนบทความทางวิชาการกับการเขียนบทความทั่วไปต่างกันอย่างไร

๒. ความหมาย คุณค่าและความสำคัญของการเขียนบทความทางวิชาการ

๓. โครงสร้างของการเขียนบทความที่ดีและได้มาตรฐาน เช่น Title, Introduction, Body และ Conclusion

๔. เทคนิคของการเขียนบทนำ การวางเนื้อหา และการสรุปเนื้อหา

๕. เทคนิคการอ่าน และย่อยเนื้อหาเพื่อนำไปเขียนบทความ

๖. ภาษาไทย และภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับการเขียนบทความทางวิชาการ

๗. เขียนบทความอย่างไรจึงจะได้รับการตีิพิมพ์

ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 324562เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2010 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนใจเสียยิ่งกระไร เป็นการเปิดโอกาศการพัฒนาตนเองในด้านการเขียนได้ดีมากจริง ๆ ครับ

อาจารย์พิมล

  • อนุโมทนาขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม
  • ถูกต้องอย่างมากที่บอกว่า "นี่คือโอกาส"
  • เราไม่ค่อยมี "โอกาส" แต่เมื่อ "มีโอกาส" ควรใช้ให้เกิดประโยชน์
  • คำถามคือ "เราจะใ้ช้หรือไม่?"

ขอบใจครูณัฐที่แวะมาเยี่ยม โอกาสดีๆ เชิญมาเยี่ยมมหาวิทยาลัยพวกเราด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท