หนึ่งปีกับการต่อสู้กับทัศนคติของสังคม


การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เพื่อรองรับสภาพปัญหาที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุด คือ การสื่อสารสาธารณะเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคม ที่มองว่า คนเหล่านี้ ขี้เกียจ หลักลอย ไม่เอาไหน ให้มองเสียใหม่ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ เมื่อคนเหล่านี้มีความพร้อมที่จะคืนกลับสู่สังคม เพราะเมื่อสังคมได้รับการเตรียมความพร้อมแล้ว ก็จะสามารถยอมรับซึ่งกันและกันได้ ที่สำคัญ ต่างฝ่ายจะเกื้อหนุนกัน จนเกิดเป็นพลังในการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนและมีความสุข

หนึ่งปีกับการต่อสู้กับทัศนคติของสังคม

                วันนี้ก็ถือเป็นวันที่สิ้นสุด หนึ่งปี ในปี 2552 พรุ่งนี้ก็เริ่มต้นใหม่ในปี 2553 มาย้อนมองตัวเองหนึ่งปีเต็มแล้วที่เข้ามาเปลี่ยนบทบาทการทำงานกับคนไร้บ้านและ Street Sex worker (หญิงขายบริการยืนตามถนนหรือที่สาธารณะ) เพราะก่อนหน้านี้เข้ามาในนามอาสาสมัคร

            ถ้าย้อนกลับไปในวันแรกที่มาเยือนที่สนามหลวง ในปี 2549 ในฐานะนักศึกษาฝึกงาน ยอมรับเบื้องต้นว่ากลัวมาก กลัวที่จะทำตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรกับคนที่เราจะลงมาฝึกงานด้วย กลัวจะไปทำอะไรที่ผิดพลาด แต่สิ่งที่ได้พบ คือ ความเป็นกันเองการคนที่เราจะต้องลงมาทำงานด้วย มาเรียนรู้ ตอนนั้นเป็นกลุ่มใหญ่ของสนามหลวง มีพี่นาง (ตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว) และมีลูกประมาณ ขวบกว่า ๆ (ในเวลานั้น) ในกลุ่มนี้ก็จะมีประมาณ 10 กว่าคน ที่เย็นมาจะต้องมานั่งดื่มเหล้าหลังจากผู้ชายออกไปทำงาน ได้เงินมา พี่วัตร เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดูแลพี่นางและลูกสาวอีกคนหนึ่ง ตอนลงพื้นที่ในครั้งนั้นจะพูดคุยและสนิทกับพี่นางเป็นมากที่สุด เพราะอาจเป็นผู้หญิงเหมือนกัน พี่นางไม่มีวันไหนเลยที่เจอแก่แล้วไม่เมา คืนวันแรกที่ลงพื้นที่นั้น นั่งฟังพี่นางฉายเทปภาพเดิม ๆ 10 กว่ารอบ ว่าตนเองไปทำงานที่ไหน ถูกกล่าวว่าเป็นเมียน้อย โดนนายจ้างโกง เล่าไปร้องไป 10 กว่ารอบกับประโยคเดิม ๆ จนหลับไปในกลางดึกนั้น

            ความผูกพัน ความเป็นกันเอง ความห่วงหาอาทร ความมีน้ำใจของคนสนามหลวง จนเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่จางหาย ถึงแม้ตองมีอีกหลายชีวิตที่ต้องจบลงในพื้นแผ่นดินกลางสนามหลวง หลายศพได้นำกระดูกกลับสู่ถิ่นบ้านเกิดเมืองนอน บ้านศพกลายเป็นศพไม่มีญาติ บ้างศพมีญาติแต่ญาติไม่เอา ถามแต่ว่ามีเงินเก็บไหม เรื่องกระดูกฝากไปลอยที่ ต่าง ๆ นาน เหล่านี้ที่เราชาวอิสรชนพบเจอมาโดยตลอด ทำให้หลาย ๆ ปีที่ผ่านมาการพิสูจน์หลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ จึงเป็นเรื่องแรกที่อิสรชนเจอ Case แล้วต้องถามถึงบัตรประชาชนหรือชื่อ ที่พอจะรู้จัก จำได้ เพราะคนสนามหลวงจำนวนมากตายเหมือนไม่ได้ตาย หรือเมื่อหายสาบสูญไปจากบ้านหลายปีเกิดการสมทะเบียนได้ เมื่อมีคนมาขอเข้าชื่อคนนี้ที่หายจากบ้านไปนานหลายสิบปีโดยญาติก็ไม่สามารถติดต่อได้ เอาเงินมาให้ญาติเพื่อสวมเข้าทะเบียนราษฎร์คนนี้ กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่จะตามมา

            มีคนเคยถามว่าการทำงานกับคนไร้บ้าน หรือสังคมบางส่วนมองว่าเขาเป็นขยะของสังคม ยากไหม ตอบตามความจริงที่ว่าการทำงานกับ Case ไม่ยาก แต่การทำงานกับภาครัฐหรือสังคมบางส่วนที่ยังมีทัศนคติที่กดทับ แบ่งชนชั้น เป็นการทำงานที่ยากมาก เหมือนมีความรู้สึกว่าเราเป็นตัวอะไรที่สามารถคุยกับคนบ้าได้ สิ่งที่พบคือ เวลาไปประชุมกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะภาครัฐ พอเล่าถึงสถานการณ์เหตุการณ์ในพื้นที่แล้ว กลับมาเสียงหัวเราะออกมา กลายว่าเป็นเรื่องตลก แต่ถามกลับมีใครกล้าหรือลงมาทำงานในพื้นที่ไหม กลับเงียบ

            คนสนามหลวงหลายคนที่ถูกทำให้ได้รับบาดเจ็บ แต่ก็ไม่ได้รับการดูแลหรือเยียวยาจากผู้กระทำ กรณีนี้จากการที่คนสนามหลวงหลายคนที่นอนในสนามหลวง ถูกรถเยียบเท้าบ้าง มือบ้าง แต่ไม่ได้รับการรักษา หรือดูแลจากคนที่กระทำ อย่างล่าสุดรถถอยมาทับเท้า เข้าเฝือกเป็นเดือน แต่ดีที่พี่คนนี้เข้ามีบัตรในการรักษาพยาบาลแต่ถามว่าคนทำรับผิดชอบไหม กลับไม่มี เพราะสังคมบางส่วนยังมองว่าเขาเป็นขยะอะไรเกิดขึ้นกับเขาไม่สำคัญ ตายไปก็เท่านั้น แต่ไม่ได้มองว่าเขาเป็นพลเมืองคนหนึ่งเหมือนกัน

            การที่คนออกมาอยู่ที่สาธารณะนั้นย่อมอมีเหตุการณ์หรือปัจจัยบางอย่างที่ต้องออกมาเร่ร่อน แต่สังคมไม่มอง ไม่ฟัง แต่กลับพิพากษาเขาก่อนที่จะได้เริ่มเรียนรู้ อิสรชนหรืออาสาสมัครที่เข้ามานั่งฟังแล้วชีวิตคนหนึ่งคนเหมือนนิยายน้ำเน่าที่ต้องผ่านมรสุมอะไรบ้าง สิ่งที่อย่างบอกจากประสบการณ์ทำงานคือ อย่างพิพากษาหรือมองคนแต่ภายนอกและโทษเขา ทั้งที่พูดกันตามจริงคนที่ออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะนั้น เป็นปลายเหตุของปัญหาที่เราต้องกลับไปหาต้นตอของปัญหา แล้วมาพาเขากลับสู่บ้าน เพียงแค่คุณให้โอกาสเขาในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง เท่านั้นเอง

            การทำงานในปี 2552 ที่ผ่าน อิสรชนคิดว่าประสบความสำเร็จตามเป้าที่วางไว้ในระดับหนึ่งที่ขยับขยายงานขึ้นมาเรื่อย ๆ ถึงแม้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้สูงสุด แต่หลายคนในสังคม สื่อมวลชน เมื่อพูดถึงงาน  คนไร้บ้าน (ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ)และ Street Sex worker (หญิงขายบริการยืนตามถนนหรือที่สาธารณะ) จะนึกถึงอิสรชน การทำงาน มีสังคมเริ่มเข้าใจในการทำงานของเรามากขึ้น มีคนพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยเหลืองานของอิสรชนตลอดเวลาที่ขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น ยารักษาโรค อาหาร เงินทุน แม้จะจำนวนไม่มาก แต่ก็ช่วยให้งานเราขยับไปได้ โดยเฉพาะพี่น้องชาว Feacbook และตามเว็บไซด์ ต่าง ๆ ที่ได้ดู ได้อ่าน งานของเรา ขอบคุณทุกกำลังใจ ทุกความช่วยเหลือ ที่ทำให้อิสรชนได้ทำงานเพิ่มมากขึ้น การต่อสู้ของเราชาวอิสรชนในวันนี้ เริ่มเห็นผลในแง่ที่ดีขึ้น หน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะ บ้านมิตรไมตรี หันมาทำงานในเชิงบวกกับคนไร้บ้านมากขึ้น  โดยทุกวันอังคารตอนเย็นพี่เขาก็จะพาเจ้าหน้าที่ มาลงพื้นที่ มานั่งฟังมานั่งคุยและเอาเสื้อผ้ามาให้ จนมี Case หนึ่งที่เดินมาเพื่อขอเข้าไปอยู่ฟืนฟูที่บ้านมิตรไมตรีและฝึกอาชีพ สิ่งที่อิสรชนพยายามบอกกับสังคม คือ “เพียงแค่คูรมองเห็นเขา แต่ต้องเห็นด้วยใจ แล้วการช่วยเหลือ การฟืนฟูจะมาเอง ภายใต้การให้โอกาสกัน และเชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง เพียงแค่ให้โอกาส”

            การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม เพื่อรองรับสภาพปัญหาที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุด คือ การสื่อสารสาธารณะเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคม ที่มองว่า คนเหล่านี้ ขี้เกียจ หลักลอย ไม่เอาไหน ให้มองเสียใหม่ ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ เมื่อคนเหล่านี้มีความพร้อมที่จะคืนกลับสู่สังคม เพราะเมื่อสังคมได้รับการเตรียมความพร้อมแล้ว ก็จะสามารถยอมรับซึ่งกันและกันได้ ที่สำคัญ ต่างฝ่ายจะเกื้อหนุนกัน จนเกิดเป็นพลังในการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนและมีความสุข

            ในปี 2553 นี้การขยายงานของอิสรชนเพื่อคนในพื้นที่สาธารณะจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการปิดสนามหลวง 300 วันและ การทำงานในวันข้างหน้า อิสรชนจึงขอ ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการก้าวเดินของงานเพื่อผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ  จงสานต่อความฝันอันยิ่งใหญ่ แม้วันนี้ไม่มีสิทธิ์พิชิตชัย ก็ยังมีวันใหม่ให้ท้าทาย  

            สนใจร่วมเป็นอาสาสมัครกับเราได้ ติดต่อเราได้ ที่ 086 – 628 -2817 หรือสนับสนุนการทำงานของเราได้ ที่ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า
เลขที่บัญชี 031-0-03432-9 ชื่อบัญชี สำนักบริหาร สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน

 

อัจฉรา อุดมศิลป์ : เขียนและเรียบเรียง          

หมายเลขบันทึก: 324283เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2009 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาเยี่ยมเยียนขอรับ..

ขอให้สุขสันต์วันที่ยังหายใจอยู่.

ขอบคุณที่เสียสละ และ เขียนให้อ่าน

สวัสดีปีใหม่ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท