การบริหารนวัตกรรม


การบริหารนวัตกรรม หมายถึง

 

 

การบริหารนวัตกรรม (Innovation Administration)

 

    ความหมายการบริหาร(Administration)

               คำว่า “การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ นิยมใช้กับกระบวนการบริหารงานใดๆ ขององค์การที่ไม่ต้องการผลกำไรหรือผลประโยชน์ขององค์การ เช่น การบริหารราชการ มีหลายท่านได้ระบุดังนี้
       Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
       ไซมอน (“Simon” 1965 : 4) ให้ความหมายไว้ว่า การบริหาร หมายถึง การทำงานของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน

        การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
        การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
        การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1 )

         การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)

ความหมาย  นวัตกรรม (Innovation) 

นวัตกรรม (Innovation)  เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)

Innovate  แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)

 

นวัตกรรม (Innovation)
หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า การบริหารนวัตกรรม (Innovation Administration) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อนำแนวคิด ความคิด แนวการปฏิบัติ การกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้ทันสมัยสอดคล้องและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้และได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

 

อ้างอิง

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา.   กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ

http://gotoknow.org/blog/9nuqa/11973

http://www.kru-itth.com

http://www.kunkroo.com

http://www.suphet.com/

 

 

หมายเลขบันทึก: 323357เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2009 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๓

ขอให้คุณสุนีรัตน์และครอบครัวมีความสุขดังบทบาลีที่ว่า เต อัตถลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสเน อโรคา สุขิตา โหถะ สหสัพเพหิ ญาติภิ. ขอให้ครอบครัวของท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติ จงประสบสุขในสิ่งที่ปรารถนา มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยและเจริญงอกงามไพบูลย์ในพุทธธรรมตลอดไป เทอญ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท