ระบบอุดมศึกษากับความรับผิดชอบต่อสังคม (๑)


          นี่คือหัวข้อของการประชุมแบบ retreat ครั้งที่ ๒ ของ กกอ.   เป้าหมายของการประชุมก็เพื่อร่วมกันหาทางที่จะให้ระบบกำกับดูแล (governance) ต่อระบบอุดมศึกษา เป็นระบบที่ได้ผล    ทำให้อุดมศึกษาเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไปในทางที่ดี   เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมที่เป็นสังคมเรียนรู้   มีพัฒนาการต่อเนื่อง   มีความเข้มแข็งยั่งยืน   ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          การประชุมนี้จัดระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ที่สวนสามพราน

          ในฐานะประธาน กกอ. ผมได้รับมอบหมายให้กล่าวเปิด   จึงได้ให้ความเห็นดังต่อไปนี้

๑. ขอให้การประชุมลงสู่สาระด้านการลงมือทำ และผลของการลงมือทำให้มากที่สุด   อย่ามัวเสียเวลาพูดกันแต่หลักการและทฤษฎีโดยไม่ไปถึงการลงมือทำ


๒. อุดมศึกษาเพื่อสังคม ต้องไม่ใช่อุดมศึกษาเพื่ออุดมศึกษา   ไม่ใช่อุดมศึกษาเพื่อคนในวงการอุดมศึกษา   จะเป็นเช่นนี้ได้ การกำกับดูแลระบบอุดมศึกษาต้องพุ่งเป้าของกิจกรรมไปที่ประโยชน์ที่จะเกิดต่อสังคม และต้องหาทางวัดผลเพื่อเอามาใช้ปรับวิธีการกำกับดูแล


๓. น่าจะได้ตรวจสอบว่าได้กำกับดูแลโดยใช้ทั้ง fiduciary mode, strategic mode และ generative mode   ที่สำคัญคือ ต้องไปให้ถึง strategic mode และ generative mode   ต้องไม่หยุดอยู่แค่ fiduciary mode   เรื่อง 3 modes of governance นี้ อ่านได้ที่นี่ 


          ซึ่งหมายความว่า การทำหน้าที่กำกับดูแลนั้น ต้องใช้ creative mode ของการกำกับดูแล   และต้องเปิดช่องให้สถาบันอุดมศึกษาร่วมใช้ creativity   แล้วจึงหาทางวัดผล และกำกับระบบให้เคลื่อนไปในทางที่ก่อคุณประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้น  

 
          นั่นคือ ในอิสระในการสร้างสรรค์เพื่อสังคมแก่สถาบัน   ภายใต้การตรวจสอบผล   และรายงานผลการตรวจสอบให้สังคมรับรู้

  

 

วิจารณ์ พานิช
๑๔ ธ.ค. ๕๒
            
        

หมายเลขบันทึก: 322816เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท