เรื่องเล่าเบาๆของนักเรียนกฏหมาย ....


ทำไมต้องเรียน กฏหมาย

เหนื่อยจัง เริ่มคำเเรกก็งง กับศัพท์ที่แปลกใหม่

เอ..เหมือนเริ่มเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ A B C งั้นๆแหละ

เขาว่าเรียนกฏหมายต้องท่อง ต้องมีปฏิภาณไหวพริบดี

........ไม่มีคุณสมบัติเลยเรา..........จะไหวไหม?

หมายเลขบันทึก: 322776เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 07:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

มาเป็นกำลังใจให้นะคะ ขึ้นเวรด้วย สงสารจังไม่หลับตอนเรียนเหรอ อิๆๆ

เรียนเพื่อนำไปใช้ ให้รู้กฏหมายมากขึ้นไง

ทนงทนายไม่ต้องหรอก

อัยการ ฝันลมๆแล้ง

ยิ่งผู้พิพากษา(ยิ่งห่าง)

สรุปว่าเรียนเพื่อรู้  จบ....แบบมีความสุขด้วย

คะแนนออกมาก็อยู่ในระดับ  C อิๆๆ แฮปปี้จะตาย

(แต่ค่าเทอม23,000นี่สิ มันไม่ม่วนเล้ย)

JUDY GARLAND "GET HAPPY" (SUMMER STOCK, 1950)

http://www.youtube.com/watch?v=2U-rBZREQMw

อยากแนะนำเพื่อนๆฟังเรื่องนี้น่าสนใจมาก

What's The Right Thing To Do? Episode 12: "DEBATING SAME-SEX MARRIAGE

ที่

http://www.youtube.com/watch?v=EzD9P-9sj4M&feature=PlayList&p=30C13C91CFFEFEA6&playnext_from=PL&playnext=2

วันนี้ขี้เกียจอ่านหนังสือมากกกกก ยิ่งรู้ว่ากฏหมายเอกเทศสัญญา 1 เลื่อนสอบไม่ได้เลยยังไม่อ่านเซ็งจัดเลยมานั่งฟังเทปบิลเกต ดีก่า เพื่อนๆลองฟังดูนะจ๊ะ

Bill Gates Speech at Harvard (part 1)

http://www.youtube.com/watch?v=AP5VIhbJwFs&feature=related

วันนี้เรียนกับท่าน สุรสีห์ โกศลนาวิน

 อาจารย์ ท่านสอนให้เราเข้าใจความงดงาน ความมีคุณค่าของแต่ละชีวิต  ความหมายของ Human right

น่าสนใจมากค่ะที่มนุษย์ต้องรู้จักทั้งสิทธิ และหน้าที่  การใช้สิทธิ เรียกร้องสิทธิต้องไม่กระทบสิทธิของคนอื่นด้วย ค่ะ หน้าที่ของพลเมืองที่ไม่รบกวนสิทธิของคนอื่น

สังคมไทยต้องเรียนรู้กับสิ่งใหม่และนำมาใช้ให้ถูกรู้จักคิดอย่างมีวิจาณญาณ

.........  เรียนวันนี้ไม่ง่วงเลย...............

Youth For Human Rights - We Are All Born Free & Equal

http://www.youtube.com/watch?v=ixjACBvv2mE

ลองเข้าไปฟังดูนะคะเอามาฝากค่ะ

20/6/53  วันนี้ก็เรียนกับท่านอาจารย์ สุรสีห์  โกศลนาวินค่ะ

เรื่องสิทธิพลเมืองและคนชายขอบ คนเร่ร่อนกับสิทธิมนุษยชน

แต่ถ้ามุมมองของคนทำงานอย่างดิฉันกับเรื่องการรักษาพยาบาล(คนไทยที่ยากจนที่มีบัตรสุขภาพได้รับการดูแลเรื่องการรักษาพยาบาลเพียงพอรึยัง)

ปัญหาสุขภาพของคนไทยที่ขาดปัจจัยด้านการเงินสนับสนุนมีมากมาย โดยเฉพาะโรคที่สามารถตรวจคัดกรองได้ แต่ทำไมเมืองไทยไม่ทำ.....เพราะขาดงบสนับสนุน

หลายๆโรคที่สามารถฟื้นฟูสุขภาพให้เขาช่วยเหลือตนเองได้ไม่เป็นภาระของสังคมหรือสาธารณสุขไทยทำงานขาดช่วงขาดความต่อเนื่องอย่างมาก

หันมามองการทำงานของภาคราชการในเมืองไทยและการใช้งบประมาณเหมาะสมไหม ก่อนที่เราเรียกร้องหาแต่เรื่อง สิทธิให้คนชายขอบ...ก็เรียนอาจารย์ว่าไม่เห็นด้วยเลย

ประเทศที่ร่ำรวยทำไมไม่ทุ่มเงินมาช่วยประเทศ หรือ พลเมืองที่ไม่มีสวัสดิการเหล่านี้

แค่นี้ประเทศไทยก็จะย่ำแย่อยู่แล้ว

หลักการสิทธิมนุษยชนดีมาก แต่ผู้ปฏิบัติลำบากใจ  แต่ไม่ใช่ว่าจะดี หรือเลวไปเสียหมดเราต้องมาวิเคราะห์ทีละประเด็น

ที่สำคัญดิฉันว่าการที่เรารู้ทั้งสิทธิแต่อย่าลืมปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ก็ไม่มีปัญหาแล้วค่ะ

ว่าแต่ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มใจหรือให้หมดแค่เวลาทำงานคะ?

มาฟัง ดร. มาร์ติน  ลูเธอร์คิงส์ พูดเรื่องสิทธิมนุษยชน   ผิวสีดีกว่าค่ะ

Martin Luther King "I have a dream

  http://www.youtube.com/watch?v=PbUtL_0vAJk&feature=related

เมื่อวานไปสอบวิชาการบริหารงานยุติธรรมมาค่ะ

ข้อสอบไม่ยากค่ะแต่ยอมรับว่า 2สัปดาห์ที่ผ่านมาต่อเวรเช้า ต่อ ดึก ต่อ บ่ายต่อเช้า จนแทบไม่ได้นอน ทั้งHA จะมาตรวจเยี่ยมรับรองโรงพยาบาล งานเลยมาก(โดยเฉพาะเอกสาร) แต่เราก็เตรียมผู้ป่วยดีกว่าเพราะเป็นงานที่เราถนัดทำกับผู้ป่วยและญาติ มีญาติผู้ป่วยเป็นจิดอาสาให้เราหลายคน สนุกค่ะแบบว่าไม่เครียดแต่นอนไม่พอ ไปสอบเกือบแย่ มึนหัวมาก

ข้อสอบออกเรื่องการบริหารงานยุติธรรม

ปัญหาและอุปสรรคท่าน.....(ส่วนนี้เป็นความคิดเห็น แต่ต้องอิงระบบงานยุติธรรมนะห้ามเดาสุ่ม)

ระบบงานยุติธรรมอาญาแบ่งเป็น....อะไรบ้างแต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร(ประมาณนี้)

เรื่องสถิติอาชกรรมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

นำมาใช้ประโยชน์อะไรบ้าง

ยกตัวอย่างการแก้ไขระบบงานบริหารยุติธรรมมา4 ประการ.....

(พอจำได้แค่นี้ค่ะ)

วันนี้ไปร่วมประชุม  โครงการแก้ไขปัญหาความไม่ยุติธรรมแก้ด้วยงานยุติธรรม จัดโดยกระทรวงยุติธรรม จัดเป็นครั้งที่6  เราไปในนามนักเรียนกฏหมายเพราะท้ายกระดาษข้อสอบ  การบริหารงานยุติธรรม   ให้นักศึกษาภาคพิเศษ เข้าร่วมและจัดทำรายงานด้วย

พวกเราไม่รู้อะไรเลยว่างานนี้เริ่มเมื่อไหร่ที่คณะนิติศาสตร์ก็ไม่มีรายละเอียดอะไรให้  พอถึงวันไปหาเอาข้างหน้าว่างั้นเถอะ

คนเข้าร่วมประชุมเยอะมากค่ะ ชาวบ้านมามากมาย

แต่ระบบเสียงไม่ค่อยได้ยิน และไม่มีการฉายภาพโปรเจคเตอร์ให้รู้ว่าขณะนี้ใครกำลังอภิปรายอยู่ วิทยากรนั่งระดับเวทีก็ไม่สูง คนข้างหน้าบังหมดเลย   ไม่ค่อยได้ยินเสียงชัดเจน ไม่น่าสนใจได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า(สำหรับเรานะ วิจารณ์ในนามส่วนตัว) เสียดายที่เราอุตส่าห์แลกเวรเพื่อมางานนี้โดยเฉพาะ

ถ้าจะเป็นประโยชน์คงเป็นคลินิคที่ช่วยเหลือกับผู้มายื่นเรื่องราวร้องทุกข์นะคะ

 

วันนี้น้องแบงค์ แคะข่าวมาบอกนิดๆว่า  สอบเอกเทศสัญญา 1  ตกประมาณ หกคน

ทำเอาพวกเราเหล่านักเรียนเรียน D...แย่งตำแหน่งเป็นว่าเล่น

ถึงน้องแอบเปิ้ล จะมาสมัครต่อท้าย พวกเราปิดรับสมัครแล้ว

(เกือบขนมปังติดคอเลย.....ก็ข่าวร้ายแต่เช้าจริงจิ๊ง)

 

เพื่อนๆวันนี้สอบ สิทธิมนุษยชน 5 โมงเย็นเจอกันนะจ้า

วันนี้ สอบกฏหมายสิทธิมนุษยชนค่ะ ดีใจจัง(ไม่ใช่ว่าทำได้หมด อะไรปานนั้นนะคะ)แต่ดีใจเหมือนเอาตำราสิทธิมนุษยชนที่เราค้น ค้นแล้วได้มาใช้ ฝากเพลงให้ฟังดีกว่าค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=hTlrSYbCbHE

What are human rights?
 
Human rights are rights inherent to all human beings, whatever our nationality, place of residence, sex, national or ethnic origin, colour, religion, language, or any other status. We are all equally entitled to our human rights without discrimination. These rights are all interrelated, interdependent and indivisible.

 

Universal human rights are often expressed and guaranteed by law, in the forms of treaties, customary international law , general principles and other sources of international law. International human rights law lays down obligations of Governments to act in certain ways or to refrain from certain acts, in order to promote and protect human rights and fundamental freedoms of individuals or groups.

 

Universal and inalienable

The principle of universality of human rights is the cornerstone of international human rights law. This principle, as first emphasized in the Universal Declaration on Human Rights in 1948, has been reiterated in numerous international human rights conventions, declarations, and resolutions. The 1993 Vienna World Conference on Human Rights, for example, noted that it is the duty of States to promote and protect all human rights and fundamental freedoms, regardless of their political, economic and cultural systems.

 All States have ratified at least one, and 80% of States have ratified four or more, of the core human rights treaties, reflecting consent of States which creates legal obligations for them and giving concrete expression to universality. Some fundamental human rights norms enjoy universal protection by customary international law across all boundaries and civilizations.

 

Human rights are inalienable. They should not be taken away, except in specific situations and according to due process. For example, the right to liberty may be restricted if a person is found guilty of a crime by a court of law.

 

Interdependent and indivisible

All human rights are indivisible, whether they are civil and political rights, such as the right to life, equality before the law and freedom of expression; economic, social and cultural rights, such as the rights to work, social security and education , or collective rights, such as the rights to development and self-determination, are indivisible, interrelated and interdependent. The improvement of one right facilitates advancement of the others. Likewise, the deprivation of one right adversely affects the others.  

 

Equal and non-discriminatory

Non-discrimination is a cross-cutting principle in international human rights law. The principle is present in all the major human rights treaties and provides the central theme of some of international human rights conventions such as the International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination and the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women.  

 

The principle applies to everyone in relation to all human rights and freedoms and it prohibits discrimination on the basis of a list of non-exhaustive categories such as sex, race, colour and so on. The principle of non-discrimination is complemented by the principle of equality, as stated in Article 1 of the Universal Declaration of Human Rights: “All human beings are born free and equal in dignity and rights.”

 Both Rights and Obligations

 Human rights entail both rights and obligations. States assume obligations and duties under international law to respect, to protect and to fulfil human rights. The obligation to respect means that States must refrain from interfering with or curtailing the enjoyment of human rights. The obligation to protect requires States to protect individuals and groups against human rights abuses. The obligation to fulfil means that States must take positive action to facilitate the enjoyment of basic human rights. At the individual level, while we are entitled our human rights, we should also respect the human rights of others.

 http://www.ohchr.org/en/issues/Pages/WhatareHumanRights.aspx

เคยฟังเพลงนี้ไหม?

ลูกเทวดา

http://www.youtube.com/watch?v=a8dYUyY0cYw

 

พอมาอ่านบทความนี้

ลูกเทวดา ในสังคมม้ง

http://hmongasia.com(ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ)

มันเศร้าจังค่ะ คิดไม่ถึงเลยว่าคนบนเขาสูงกับคนพื้นราบพฤติกรรมของวัยรู่นผู้ซึ่งจะนำชาติไทย(พัฒนา?)

ท่าน สุรสีห์โกศลนาวิน  (อาจารย์สอนสิทธิมนุษยชน)ท่านอยู่เชียงใหม่ ท่านบอกว่า 

"พาเพื่อนไปเที่ยวเชียงใหม่สิ เราเรียนที่นั่น พาเพื่อนไปดูงานแถวเชียงใหม่ ไปดูเรื่องสิทธิฯ ก็ได้"

เมื่อวาน(แอบแคะข่าวนิดๆ)ว่า   คณะอาจจะพานิสิตไปดูงานเรื่องสิทธิของชนเผ่าปะกากะยอ

เลยไปหารูปมาให้น้ำลายหกนะ

ตามเด็กดอยไปเลี้ยงอาหารกลางวัน...ที่บ้านปะกากะยอตีนผา.... ดอยอินทนนท์

http://www.thailandoffroad.com/jeepmilitary/jeepmilitary/Question.asp?ID=3735

เด็กปากะญอ  สามารถเดินเท้าจากที่ทำการอุทยานแค่เพียง 500 ม    จาก

อุทยานแห่งชาติแม่เมย บ้านเกร๊ะดีหมู่บ้าน เกร๊ะดี  ต. แม่สองยาง  จ. ตาก

  เทือกเขาสูงที่กางกั้นดินแดน ไทยและพม่า ทอดตัวยาว ตลอดชายแดนด้านตะวันตก    อุทยานแห่งชาติแม่เมย 

ไปดูเล้ย

http://www.oknation.net/blog/nida/2007/11/17/entry-1

มีเรื่องขำๆมาฝากนะ

Lawyer Joke

Q: What's the difference between a good lawyer and a bad lawyer?

A: A bad lawyer can let a case drag out for several years. A good lawyer can make it last even longer..

กฎหมายฮาๆของอเมริกา ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า(จะถามกลุ่มที่ทำรายงานการบริหารงานยุติธรรมประเทศ อเมริกาให้ค่ะ)

คัดลอกมา

http://webboard.zubzip.com/?webboard

FLORIDA - ผู้ชายห้ามสวมเสื้อคลุมแบบไม่มีสายคาดเอวทุกชนิดในที่สาธารณะ

Logan, COLORADO - ไม่อนุญาตให้จูบผู้หญิงในขณะที่หล่อนหลับ

Port Madasn, IOWA - หน่วยดับเพลิงจำเป็นต้องซ้อมก่อนการปฏิบัติการจริง 15 นาที

St. Louis, MISSOURI - นักดับเพลิงช่วยชีวิตหญิงที่สวมชุดนอนถือว่าผิดกฎหมาย

Pensacola, FLORIDA - หากหญิงคนใดใช้เครื่องไฟฟ้าเสริมแต่งความงามในขณะที่อยู่ในอ่างน้ำ แล้วเกิดเหตุไฟฟ้าช็อตตาย ต้องโดนปรับเงิน (หลังจากที่หล่อนซี้แหงแก๋ไปแล้ว) อีกด้วย

Ottumwa, IOWA - ห้ามชายใดขยิบตาให้กับหญิงที่ตนไม่รู้จัก

FLORIDA - การมีสัมพันธ์สวาททางเพศกับ 'เม่น' เป็นเรื่องที่ผิดกฏหมาย

Oxford, OHIO - ห้ามหญิงใดเปลื้องผ้าในขณะที่อยู่หน้ารูปผู้ชาย

Marshel, IOWA - ไม่อนุญาตให้ม้ากินก๊อกน้ำประปาสาธารณะที่ถูกไฟไหม้

FLORIDA - ห้ามผายลมในที่ชุมชน หลังหกโมงเย็นของวันอาทิตย์

RHODE ISLAND - มีข้อบัญญัติห้ามเจ้าของร้านขายยาสีฟันและแปรงสีฟันให้กับลูกค้าคนเดิมในวันอาทิตย์

Daytona Beach, FLORIDA - ห้าม ทุบ ยุบ บด บี้ หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการทำร้าย 'กระป๋อง'

South Bend, INDIANA - ใครทำให้ลิงสูบบุหรี่ถือว่าผิดกฏหมาย

FLORIDA - ได้รับการพิจารณาแล้วว่า การแก้ผ้าอาบน้ำเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมาย

Indianola, IOWA - ห้ามมีคนขายไอศครีม กับรถเร่ขายไอศครีม

Saratosa, FLORIDA - ถ้าทำร้ายคนเดินเท้าตามถนน จะถูกปรับเป็นเงิน 78 ดอลลาร์

Saratosa, FLORIDA - ห้ามประชาชนจับปู

OHIO - ห้ามมิให้ตกปลาวาฬในวันอาทิตย์ และห้ามเมาเวลาตกปลา

Gaery, INDIANA - ห้ามมิให้บุคคลที่กินกระเทียมเข้าไปภายใน 4 ชั่วโมง เข้าโรงหนัง โรงละคร หรือขึ้นรถราง

Alexsandria, MINNESOTA - เป็นการผิดกฎหมายที่สามีมีเซ็กซ์กับภรรยาหากมีกลิ่นกระเทียม ปลาซาร์ดีน หรือหัวหอมใหญ่อยู่ในลมหายใจ

Aims, IOWA - ผู้ชายมีสิทธิ์จิบเบียร์ได้แค่ 3 อึก ในขณะที่อยู่บนเตียงกับภรรยา

OKLAHOMA - แค่ทำหน้าล้อเลียนใส่สุนัข คุณก็อาจถูกโยนเข้าคุกได้

Baltimore, MARYLAND - ใครทะลึ่งพา 'สิงโต' เข้าโรงหนัง ถือว่าผิดกฏหมาย

WASHINGTON - ใครตอแหลแสร้งว่ามีพ่อแม่เป็นคนรวย ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย

เวปราชทัณฑ์ต่างประเทศ

รวมเว็ปราชทัณฑ์ต่างประเทศ

From: คุณภาสกร เลาหวณิช <[email protected]> Add

http://www.correct.go.th/comnet1/intercorrect/

มุมมองใหม่

พูดก็พูดนะคะ (พวกเราภาคบัณฑิตรุ่น2) เคยเรียนเฉพาะกลุ่มตนเอง พอมาเรียนกับเด็กๆ

เอ้าบอกก็ได้วิชาแรก การบริหารงานยุติธรรม เรียนไม่รู้เรื่อง อาจารย์ พันตำรวจโท ดร. พงษ์ธร ธัญญสิริ

ท่านบอกว่า พวกเรามีประสบการณ์(สรุปว่าแก่)มากกว่า เรียนกับเด็กต้องไปช้านิดนึงต้องอธิบายเพราะเด็กไม่ค่อยเข้าใจ

อย่างว่าแหละเนาะเด็กใสๆดี

แต่ยอมรับว่าเด็กปี4 มีหลายก๊วน เฮ้วสุดๆอยู่ฝั่งขวามือของผู้เรียน กลุ่มสาวๆแรงๆก็อยู่ฝั่งซ้าย เอ..

แต่ไหงเรานั่งอยู่กลุ่มขวาตลอดแฮะ

น้องปี 4 มีแนวความคิดดีๆเยอะค่ะ (บางครั้งการวางตัว แต่งตัวไม่เหมาะสม..ก็ต้องถือว่าต้องปรับปรุงอีกเยอะ )

เรื่องเสียงคุยกันในห้องด้วย....ข้างหลังมักจะเสียงค่อนข้างดัง

ดังนั้นปัญหากี่ยวกับผู้เรียนรวมกันทั้ง ปี4 ภาคบัณฑิตรุ่น 1 และ 2 บางวิชาก็ยังไม่ได้เรียนค่ะ อาจารย์ถามว่า เรียนอันนี้ อันนี้ มารึยัง ภาคบัณฑิตรุ่นสองเรา ไม่ค่ะ ๆ ...เฮ้อ

อยากถามอาจารย์หลายๆปัญหาคาใจ(ก็คนแก่นี่เนาะ เห็นโลกมาเยอะปัญหาเยอะว่างั้นเถอะ)

ก็ติดตรงที่...เด็กไม่มีประสบการณ์เรียนรู้เดี๋ยวตามไม่ทัน(หารู้ไม่เด็กน่ะสอนง่ายนะ)

แต่ เอ๋...............ทำไมเรียนกฏหมายปกครองมิมีปัญหาแฮะ เด็กเงียบทั้งห้อง (ลองไม่ฟังสิ...F แบบไม่ปราณีแน่)

แต่ถึงยังไงเรียนกับน้องปี 4 ทำเอาหนุ่มๆภาคบัณฑฺตมาเรียนสม่ำเสมอค่ะ

การแต่งตัวต้องให้หล่อเข้าไว้ เสื้อผ้าดูผู้ใหญ่เก็บใส่ตู้ไว้เลยค่า

วันเสาร์ที่ผ่านมาการนำเสนอรายงานคนละ 3-5 นาที(ส่วนใหญ่เกินเวลา)

ทำได้ดีทีเดียวน้องๆค้นข้อมูลมาเยอะค่ะ

แต่ยังไงก็อยากให้ปรับปรุงเรื่อง เสียง และสุดท้าย แอร์ ร้อนจริงๆค่ะ

หนุ่มๆมีความสุขที่ได้เรียนกับเด็กค่ะ น่ารักดี

มีเวปไซด์มาฝากค่ะโครงสร้างงานบริหารยุติธรรมของประเทศฟินแลนด์ค่ะ

http://www.oikeus.fi.

http://www.poliisi.fi/poliisi/home.nsf/ExternalFiles/Poliisi_09_thai/$file/Poliisi_09_thai.pdf.

http:// www.poliisi.fi.

http://www.rikosseuraamus.fi/16019.htm#top

http://www.poliisi.fi/poliisi/home.nsf/pages/index_eng.

httpwww.oikeus.fi/8854.htm.

http://www.rikosseuraamus.fi/14994.htm.

FW: ส่ง file เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนมาให้อ่านพอขำๆๆ นะค๊า....‏

From: Molly Su ([email protected])

ปฎิญญาสากลว่าด้วยเรื่อง สิทธิมนุษยชน

ด้วยเหตุที่การยอมรับศักดิ์ศรีประจำตัว และสิทธิที่เสมอกันไม่อาจโอนแก่กันได้ของสมาชิกทั้งปวงแห่งครอบครัวมนุษย์ เป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพ

ด้วยเหตุที่การเฉยเมยและดูหมิ่นเหยียดหยามสิทธิมนุษย์ด้วยกันเอง ได้ก่อให้เกิดการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนทารุณ กระทบกระเทือนมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างรุนแรง โดยเหตุที่ได้มีการประกาศปณิธานสูงสุดของสามัญชนว่า ถึงวาระแห่งโลกแล้วที่มนุษย์จะมีเสรีภาพในการพูด ในความเชื่อถือ และทั้งมีเสรีภาพจากความกลัวและความต้องการ

ด้วยเหตุที่เป็นสิ่งจำเป็นที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับการคุ้มครองโดยหลักนิติธรรม ถ้าไม่ต้องการให้มนุษย์ถูกบีบบังคับ ให้หาทางออกโดยการกบฎต่อทรราชย์และการกดขี่อันเป็นที่พึ่งสุดท้าย

ด้วยเหตุที่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างชาติต่างๆ

ด้วยเหตุที่บรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตร ถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตัวบุคคล และความเสมอกันแห่งสิทธิทั้งชายหญิง และได้ตัดสินใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้า ทางสังคมตลอดจนมาตรฐานแห่งชีวิตให้ดีขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น

ด้วยเหตุที่รัฐสมาชิกได้ปฏิญาณที่จะให้ได้มา โดยการร่วมมือกับสหประชาชาติ ซึ่งการส่งเสริม การเคารพ และการถือปฏิบัติโดยสากลต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

ด้วยเหตุที่ความเข้าใจตรงกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ มีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้คำปฏิญาณนี้เกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างเต็มเปี่ยม

ดังนั้น ณ บัดนี้ สมัชชา จึงขอประกาศให้....

ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จ สำหรับประชาชนทั้งหลายและประชาชาติทั้งปวง ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้ปัจเจกบุคคล ทุกผู้ทุกนามและองค์กรของสังคมทุกหน่วย โดยการรำลึกเสมอถึงปฏิญญานี้ พยายามสั่งสอนและให้การศึกษาเพื่อส่งเสริม การเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ ด้วยมาตรการที่เจริญก้างไปข้างหน้า ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและถือปฏิบัติต่อสิทธิเหล่านั้น อย่างเป็นสากลและได้ผล ทั้งในหมู่ประชาชนของรัฐสมาชิกเอง และในหมู่ของประชาชนแห่งดินแดน ที่อยู่ภายใต้ดุลอาณาของรัฐสมาชิกดังกล่าว.

“ปฏิญญา” หมายถึง การให้คำมั่นสัญญาหรือแสดงการยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง ส่วนคำว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หมายถึง การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันถึงสิทธิหรือำนาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เมื่อพิจารณาความหมายของปฏิญญาฯ จะเห็นได้ว่า ปฏิญญาฯ มิใช่กฎหมาย แต่เป็นเพียงคำประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันของบรรดารัฐสมาชิกเพื่อที่จะกำหนด มาตรฐาน แห่งการอยู่ร่วมกัน ที่ควรจะเป็น ของมวลมนุษยชาติเท่านั้น (อำนวย ยัสโยธา. 2541. กระบวนทัศน์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในพุทธศาสนา ศึกษาโดยวิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวคิดแบบตะวันตก)

ปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ

(1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน

(2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น และ

(3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบางเรื่อง

คำประกาศ หรือ ปฏิญญา

ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดหลักการ ทั่วไปและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีพันธะผูกพันในแง่กฎหมายระหว่างประเทศ โดยที่ประชุมสมัชชา สมัยที่ 3 (ค.ศ.1948) ได้รับรองและประกาศปฏิญญาสากล ฯ โดยการลงคะแนนเสียง (สนับสนุน 48 ประเทศ รวมทั้งไทย ไม่มีเสียงคัดค้าน งดออกเสียง ได้แก่ ยูโกสลาเวีย โปแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย เช็คโกสโลวาเกีย แอฟริกาใต้ สหภาพโซเวียต และยูเครน)

เนื้อหาโดยสรุปของปฏิญญาสากล ฯ

ข้อ 1 - 3 เป็นเกณฑ์กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เบื้องต้นที่สำคัญ 3 ประการคือ สิทธิในการดำรงชีวิต (right to life) สิทธิที่จะมีเสรีภาพ (right to liberty) และสิทธิที่จะมีความมั่งคง แห่งตัวตน (right to security of person) และเสรีภาพ ขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เมื่อเกิดมาพึงได้รับโดยเท่าเทียมกันและไม่มีการเลือกปฏิบัติทางเพศ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ข้อ 4 - 21 ได้กล่าวถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (civil and political rights) ข้อ 22 - 27 ได้กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (economic, social and cultural rights) ได้พึงได้รับการยอมรับ ซึ่งสิทธิทั้งสองด้านได้มีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง กำหนดรายละเอียดและการคุ้มครองไว้ ข้อ 28 - 30 กล่าวถึงทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อระเบียบสังคมและ ประชาชนระหว่างประเทศที่มีการรับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานกล่าวคือ อยู่ภายใต้กฎหมายที่รับรองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ของผู้อื่น

ปัจจุบัน ประชาคมระหว่างประเทศถือว่าปฏิญญาสากล ฯ เป็นเอกสารหลักเริ่มแรก ที่สำคัญที่สุดฉบับหนึ่งในการกำหนดสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ ที่ควรได้รับการส่งเสริม และคุ้มครอง และเป็นจุดกำเนิดของตราสาร ปฏิญญาด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ในเวลาต่อมา

เปรียบเทียบปฏิญญาสากล 30 ข้อ+รัฐธรรมนูญ ปี 2550

ปฎิญญาสากล รัฐธรรมนูญ ปี 2550

ข้อ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

ข้อ 2 ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพทั้งปวงตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใด อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น พื้นเพทางชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน การเกิด หรือสถานะอื่น นอกเหนือจากนี้ จะไม่มีการแบ่งแยกใด บนพื้นฐานของสถานะทางการเมือง ทางกฎหมาย หรือทางการระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนที่บุคคลสังกัด ไม่ว่าดินแดนนี้จะเป็นเอกราช อยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเอง หรืออยู่ภายใต้การจำกัดอธิปไตยอื่นใด

ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล

ข้อ 4 บุคคลใดจะตกอยู่ในความเป็นทาส หรือสภาวะจำยอมไม่ได้ ทั้งนี้ ห้ามความเป็นทาส และการค้าทาสทุกรูปแบบ

ข้อ 5 บุคคลใดจะถูกกระทำการทรมานหรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีไม่ได้

ข้อ 6 ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย

ข้อ 7 ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันจากการเลือกปฏิบัติใด อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และจากการยุยงให้มีการเลือกปฏิบัติดังกล่าว

ข้อ 8 ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาลที่มีอำนาจแห่งรัฐ ต่อการกระทำอันล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งตนได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

ข้อ 9 บุคคลใดจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศตามอำเภอใจไม่ได้

ข้อ 10 ทุกคนย่อมมีสิทธิในความเสมอภาคอย่างเต็มที่ในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระและไม่ลำเอียง ในการพิจารณากำหนดสิทธิและหน้าที่ของตนและข้อกล่าวหาอาญาใดต่อตน

ข้อ 11

(1) ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามี ความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาคดีที่เปิดเผย ซึ่งตนได้รับหลักประกันที่จำเป็นทั้งปวงสำหรับการต่อสู้คดี

(2) บุคคลใดจะถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญาใด อันเนื่องจากการกระทำหรือละเว้นใด อันมิได้ถือว่าเป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายแห่งชาติหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่ได้กระทำการนั้นไม่ได้ และจะกำหนดโทษที่หนักกว่าที่บังคับใช้ในขณะที่ได้กระทำความผิดทางอาญานั้นไม่ได้

ข้อ 12 บุคคลใดจะถูกแทรกแซงตามอำเภอใจในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย หรือการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายต่อการแทรกแซงสิทธิหรือการลบ หลู่ดังกล่าวนั้น

ข้อ 13

(1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของแต่ละรัฐ

(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศใด รวมทั้งประเทศของตนเอง และสิทธิที่จะกลับสู่ประเทศตน

ข้อ 14

(1) ทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหา และที่จะได้ที่ลี้ภัยในประเทศอื่นจากการประหัตประหาร

(2) สิทธินี้จะยกขึ้นกล่าวอ้างกับกรณีที่การดำเนินคดีที่เกิดขึ้นโดยแท้ จากความผิดที่มิใช่ทางการเมืองหรือจากการกระทำอันขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติไม่ได้

ข้อ 15

(1) ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่ง

(2) บุคคลใดจะถูกเพิกถอนสัญชาติของตนตามอำเภอใจ หรือถูกปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติของตนไม่ได้ ::

ข้อ 16

(1) บรรดาชายและหญิงที่มีอายุครบบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและก่อร่างสร้างครอบครัวโดยปราศจากการจำกัดใด อันเนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา ต่างย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการสมรส ระหว่างการสมรส และในการขาดจากการสมรส

(2) การสมรสจะกระทำโดยความยินยอมอย่างอิสระและเต็มที่ของผู้ที่จะเป็นคู่สมรสเท่านั้น

(3) ครอบครัวเป็นหน่วยธรรมชาติและพื้นฐานของสังคม และย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ

ข้อ 17

(1) ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยตนเอง และโดยร่วมกับผู้อื่น

(2) บุคคลใดจะถูกเอาทรัพย์สินไปจากตนตามอำเภอใจไม่ได้

ข้อ 18 ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความคิด มโนธรรม และศาสนา ทั้งนี้ สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการเปลี่ยนศาสนาหรือความเชื่อ และอิสรภาพในการแสดงออกทางศาสนาหรือความเชื่อถือของตนในการสอน การปฏิบัติ การสักการะบูชา และการประกอบพิธีกรรม ไม่ว่าจะโดยลำพังหรือในชุมชนร่วมกับผู้อื่น และในที่สาธารณะหรือส่วนบุคคล

ข้อ 19 ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก ทั้งนี้ สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และที่จะแสวงหา รับและส่งข้อมูลข่าวสารและข้อคิดผ่านสื่อใด และโดยไม่คำนึงถึงพรมแดน

ข้อ 20

(1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ

(2) บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมหนึ่งได้

ข้อ 21

(1) ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศตน โดยตรงหรือผ่านผู้แทนซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยอิสระ

(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศตนโดยเสมอภาค

(3) เจตจำนงของประชาชนจะต้องเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจการปกครอง ทั้งนี้ เจตจำนงนี้จะต้องแสดงออกทางการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาและอย่างแท้จริง ซึ่งต้องเป็นการออกเสียงอย่างทั่วถึงและเสมอภาค และต้องเป็นการลงคะแนนลับ หรือวิธีการลงคะแนนโดยอิสระในทำนองเดียวกัน

ข้อ 22 กคน ในฐานะสมาชิกของสังคม มีสิทธิในหลักประกันทางสังคม และย่อมมีสิทธิในการบรรลุสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อันจำเป็นยิ่งสำหรับศักดิ์ศรีของตน และการพัฒนาบุคลิกภาพของตนอย่างอิสระ ผ่านความพยายามของรัฐและความร่วมมือระหว่างประเทศ และตามการจัดการและทรัพยากรของแต่ละรัฐ

ข้อ 23

(1) ทุกคนมีสิทธิในการทำงาน ในการเลือกงานโดยอิสระ ในเงื่อนไขที่ยุติธรรมและเอื้ออำนวยต่อการทำงาน และในการคุ้มครองต่อการว่างงาน

(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกัน สำหรับงานที่เท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด

(3) ทุกคนที่ทำงานมีสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเอื้ออำนวยต่อการ ประกันความเป็นอยู่อันควรค่าแก่ศักดิ์ศรีของมนุษย์สำหรับตนเองและครอบครัว และหากจำเป็นก็จะได้รับการคุ้มครองทางสังคมในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมด้วย

(4) ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้งและที่จะเข้าร่วมสหภาพแรงงานเพื่อความคุ้มครองผลประโยชน์ของตน

ข้อ 24 ทุกคนมีสิทธิในการพักผ่อนและการผ่อนคลายยามว่าง รวมทั้งจำกัดเวลาทำงานตามสมควร และวันหยุดเป็นครั้งคราวโดยได้รับค่าจ้าง

ข้อ 25

(1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตน และของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน

(2) มารดาและเด็กย่อมมีสิทธิที่จะรับการดูแลรักษาและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งปวงไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกสมรส จะต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน

ข้อ 26

(1) ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับประถมจะต้องเป็นภาคบังคับ การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพจะต้องเปิดเป็นการทั่วไป และการศึกษาระดับสูงขึ้นไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสำหรับทุกคนบนพื้น ฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม

(2) การศึกษาจะต้องมุ่งไปสู่การพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่ และการเสริมสร้างความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพขั้นพื้นฐาน การศึกษาจะต้องส่งเสริมความเข้าใจ ขันติธรรม และมิตรภาพระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือศาสนาทั้งมวล และจะต้องส่งเสริมกิจกรรมของสหประชาชาติ เพื่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ

(3) ผู้ปกครองมีสิทธิเบื้องแรกที่จะเลือกประเภทการศึกษาที่จะให้แก่บุตรของตน

ข้อ 27

(1) ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าร่วมโดยอิสระในชีวิตทางวัฒนธรรมของชุมชน ที่จะเพลิดเพลินกับศิลปะ และมีส่วนในความรุดหน้า และคุณประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์

(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองผลประโยชน์ทางจิตใจและทางวัตถุ อันเป็นผลจาก ประดิษฐกรรมใดทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปกรรมซึ่งตนเป็นผู้สร้าง

ข้อ 28 ทุกคนย่อมมีสิทธิในระเบียบทางสังคมและระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นกรอบให้บรรลุสิทธิและอิสรภาพที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้อย่างเต็มที่

ข้อ 29

(1) ทุกคนมีหน้าที่ต่อชุมชน ซึ่งการพัฒนาบุคลิกภาพของตนโดยอิสระและเต็มที่ จะกระทำได้ก็แต่ในชุมชนเท่านั้น

(2) ในการใช้สิทธิและอิสรภาพของตน ทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัด เพียงเท่าที่มีกำหนดไว้ตามกฎหมายเท่านั้น เพื่อวัตถุประสงค์ของการได้มาซึ่งการยอมรับและการเคารพสิทธิและอิสรภาพอัน ควรของผู้อื่น และเพื่อให้สอดรับกับความต้องการอันสมควรทางด้านศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย

(3) สิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ไม่อาจใช้ขัดต่อวัตถุประสงค์ และหลักการของสหประชาชาติไม่ว่าในกรณีใด

ข้อ 30 ไม่มีบทใดในปฏิญญานี้ ที่อาจตีความได้ว่า เป็นการให้สิทธิใดแก่รัฐ กลุ่มคน หรือบุคคลใด ในการดำเนินกิจกรรมใด หรือกระทำการใด อันมุ่งต่อการทำลายสิทธิและอิสรภาพใดที่กำหนดไว้ ณ ที่นี้ ::

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน

การสั่งปิด... สื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามนี้จะกระทำมิได้

การห้าม... สื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วนหรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามนี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง

การให้นำข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำไปโฆษณาใน สื่อมวลชนอื่นจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง

มาตรา 56 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่นหรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย

(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ

(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

มาตรา 123 ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความ เอกสาร หรือสิ่งใดๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี

มาตรา 124 ผู้ใดกระทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้หรือได้ไปซึ่งข้อความ เอกสาร หรือสิ่งใดๆ อันปกปิดไว้เป็นความลัดสำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี

มาตรา 133 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัฐทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 134 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระหว่างโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 287 ผู้ใด

(1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการจ่ายแจกหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไป หรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก

(2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น

(3) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว โฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใดๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่าวัตถุ หรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษรกระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

มาตรา 421 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืน ต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดย ประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อ ความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้

ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเอง หรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่า เพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม ทดแทนไม่

ข้อ 1

มนุษย์ทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง

ข้อ 2

บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพตามที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด

นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่าง โดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมือง ทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราช อยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเอง หรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด

ข้อ 3

บุคคลมีสิทธิในการดำเนินชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย

ข้อ 4

บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ในภาระจำยอมใดๆมิได้ การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม้ได้ทุกรูปแบบ

ข้อ 5

บุคคลใดจะถูกทรมานหรือได้รับการปฏิบัติ หรือลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหด ไร้มนุษยธรรมหรือเหยียดหยามเกียรติมิได้

ข้อ 6

ทุกๆคนมีสิทธิที่จะได้รับ การยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมาย ไม่ว่า ณ ที่ใดๆ

ข้อ 7

ทุกๆคน ต่างเสมอกันในกฎหมายและชอบที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ ทุกคนชอบที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าจากการเลือกปฏิบัติใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และต่อการยุยงส่งเสริมให้เกิดการเลือกปฏิบัติเช่นนั้น

ข้อ 8

บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างได้ผล โดยศาลแห่งชาติซึ่งมีอำนาจเนื่องจากการกระทำใดๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย

ข้อ 9

บุคคลใดจะถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศโดยพลการมิได้

ข้อ 10

บุคคลชอบที่จะเท่าเทียมกันอย่างบริบูรณ์ ในอันที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย โดยศาลที่เป็นอิสระและ ไร้อคติ ในการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนข้อที่ตนถูกกล่าวหาใดๆ ทางอาญา

ข้อ 11

บุคคลที่ถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญา มีสิทธิ์ที่จะได้รับการสันนิฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะจะมีการพิสูจน์ว่า มีความผิดตามกฎหมาย ในการพิจารณาโดยเปิดเผย ณ ที่ซึ่งตนได้รับหลักประกันทั้งหมดที่จำเป็นในการต่อสู้คดี

บุคคลใดจะถูกถือว่ามีความผิดอันมีโทษทางอาญาใดๆ ด้วยเหตุที่ตนได้กระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆ ซึ่งกฎหมายของประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่ได้กระทำนั้นมิได้ถูกระบุว่ามีความผิดทางอาญามิได้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นหนักกว่าโทษที่ใช้อยู่ในขณะที่การกระทำความผิดทางอาญานั้นเกิดขึ้นมิได้

ข้อ 12

การเข้าไปสอดแทรกโดยพลการในกิจส่วนตัว ครอบครัว เคหะสถาน การส่งข่าวสาร ตลอดจนการโจมตีต่อเกียรติยศและ ชื่อเสียงของบุคคลนั้นจะทำมิได้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายจากการสอดแทรก และการโจมตีดังกล่าว

ข้อ 13

บุคคลมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและในถิ่นที่อยู่ภายในขอบเขตดินแดนของแต่ละรัฐ

บุคคลมีสิทธิที่จะเดินทางออกนอกประเทศใดๆ รวมทั้งของตนเอง และมีสิทธิที่จะกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน

ข้อ 14

บุคคลมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ เพื่อลี้ภัยจากการถูกกดขี่ข่มเหง

สิทธินี้จะถูกกล่าวอ้างมิได้ในกรณีการฟ้องคดี ซึ่งโดยจากความจริงเกิดจากความผิดที่ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง หรือจากการกระทำที่ขัดต่อความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ

ข้อ 15

บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ

การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติ ของบุคคลใดนั้น จะกระทำมิได้

ข้อ 16

ชายหญิงเมื่อเจริญวัยบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและสร้างครอบครัว โดยไม่มีการจำกัดใดๆเนื่องจาก เชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา บุคคล ชอบที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องการสมรส ในระหว่างการสมรส และในการขาดจากการสมรส

การสมรสจะกระทำได้โดยการยินยอมอย่างเสรี และเต็มใจ ของคู่ที่ตั้งใจจะกระทำการสมรส

ครอบครัวคือ กลุ่มซึ่งเป็นหน่วยทางธรรมชาติและพื้นฐานทางสังคม และชอบที่จะได้รับความคุ้มครองโดยสังคมและรัฐ

ข้อ 17

บุคคลมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยลำพังตนเอง และโดยการร่วมกับผู้อื่น

การยึดเอาทรัพย์สินของบุคคลใดไปเสียโดยพลการจะกระทำมิได้

ข้อ 18

บุคคลมีเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะเปลี่ยนศาสนา หรือความเชื่อ และเสรีภาพที่จะแสดงให้ศาสนาหรือความเชื่อประจักษ์ในรูปแบบการสั่งสอน การปฏิบัติกิจ การเคารพสักการะบูชา สวดมนต์ และพิธีกรรม ไม่ว่าจะโดยลำพังตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่นในประชาคม ในที่สาธารณะหรือในที่ส่วนตัว

ข้อ 19

บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในความเห็น และการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่น ในความคิดเห็นโดยปราศจากการสอดแทรก และที่จะแสวงหารับ ตลอดจนการแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นโดยผ่านสื่อใดๆ โดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน

ข้อ 20

บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม และสมาคมโดยสงบ

การบังคับให้บุคคลเป็นเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมจะกระทำมิได้

ข้อ 21

บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลของตนไม่ว่าจะโดยหรือผู้แทนที่ผ่านการเลือกอย่างเสรี

บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน

เจตจำนงของประชาชน จะเป็นฐานอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้ง เป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง โดยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมและโดยการลงคะแนนลับ หรือ

อยากรู้ไหมว่าบัตรประจำตัวประชาชนเป็นมายังไง น่าสนใจมาก

(และเพื่อนๆเชื่อไหมว่าเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเลขศูนย์ทั้ง 13 หลักน่ะ)

มาดูเรื่องวิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชนดีกว่าเนาะ

วิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน

"บัตรประจำตัวประชาชน" เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเพื่อใช้พิสูจน์ทราบและยืนยันตัวบุคคลนับได้ว่าเป็นเอกสารที่มี เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้งการสมัครงาน การติดต่อธุรกิจการค้า การทำนิติกรรมสัญญา และการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการหรือภาคเอกชน

นอกจากนั้นยังเป็นหลักฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ตรวจสอบบุคคลเพื่อประกอบการออกหนังสือสำคัญต่าง ๆ เฉพาะด้าน เช่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง หรือแม้แต่บัตรเครดิตประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้กันในวงการของสถาบันการเงิน และการธนาคาร ซึ่งหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ความยุ่งยากสับสนในการยืนยันตัวบุคคลย่อมเกิดขึ้นอีกทั้งจะส่งผลทำให้การติดต่อดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ไม่อาจดำเนินการไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว"หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร": ต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่าคนไทยเริ่มมีการใช้หนังสือยืนยันตัวบุคคลปรากฎอยู่ใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยในมาตรา 90 บัญญัติว่า "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น"

วัตถุประสงค์ของการออกหนังสือเดินทางรับรองราษฎรดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยตรง เพราะการมีหนังสือเดินทางของทางราชการไว้แสดงตัวบุคคลว่า ตัวเขาเป็น ใคร มาจากแห่งหนตำบลใด ย่อมทำให้การเดินทางในต่างท้องที่เป็นไปด้วยความสะดวก และหากเจ้าหน้าที่เกิดความสงสัยขอตรวจค้นตัว ก็สามารถใช้หนังสือเดินทางที่ออกให้ เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้ว่า เป็นคนบริสุทธิ์ที่ทางราชการรับรองแล้ว ไม่ได้เป็นพวกมิจฉาชีพหรือพวกโจรแต่อย่างใด

หนังสือดังกล่าวจึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในสมัยนั้นและเหมาะสมกับสภาพการเวลาของสังคมเมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้ว ความสำคัญของหนังสือเดินทางตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ จึงไม่แตกต่างไปจากความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชนมีที่มาจากหนังสือเดินทางสำหรับราษฎร เพื่อใช้เดินทางไปท้องที่ที่อื่นสำหรับการค้าขายติดต่อกันโดยมีกรมการอำเภอ(หรือนายอำเภอปัจจุบัน) เป็นพนักงานทำหนังสือดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486 : กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกของไทย

ผลของการออกหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ทำให้ทางราชการเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำเอกสารเป็นหลักฐาน เพื่อแสดงว่าใครคือใคร อยู่ที่ไหน รูปพรรณเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการปกครองท้องที่และการควบคุมราษฏรของทางราชการ รวมทั้งประชาชนก็จะได้ประโยชน์ในการติดต่อซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการทำมาค้าขาย

ดังนั้นในปี พ.ศ. 2486 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่8 รัฐบาลโดยการนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอออกกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486"นับเป็นกฏหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่คนไทย แต่ประกาศและบังคับใช้เฉพาะราษฎรในจังหวัดสองจังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น 4 ตอนคล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด 8 หน้า แต่ละตอนกว้าง 4 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง2ด้านด้านหน้า(ปกหน้า) จะมีรูปครุฑและคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร ด้านหลัง (ปกหลัง) เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร ให้ระลึกถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนอาทิเช่น ต้องพกบัตรติดตัวและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอต้องขอเปลี่ยนบัตรเมื่อบัตรหมดอายุต้องแจ้งขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในบัตรเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่ เป็นต้น

ในแต่ละหน้าต่อมาจะมีการบอกลำดับเลขไว้ดังนี้

หน้าที่ 1 ระบุข้อความว่า เลขทะเบียนที่ออกบัตร วันที่ออกบัตรออกให้ ณ ที่อำเภอ จังหวัด พร้อมปิดรูปถ่ายของผู้ถือบัตรนาด 2 นิ้ว และมีลายมือผู้ถือบัตรและลาย พิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา

หน้าที่ 2 เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร ได้แก่ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล วันเดือน ปีเกิด อายุ ตำหนิแผลเป็น รูปพรรณเชื้อชาติ สัญชาติ ชื่อบิดา มารดา ชื่อภริยา หรือ สามี

หน้าที่ 3 เป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฎร ได้แก่ ที่เกิด บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดประเทศที่อยู่บ้านเลขที่ ถนนหมู่บ้าน ตำบลอำเภอ จังหวัดอาชีพ และมีตราประจำตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่

หน้าที่ 4 - 6 มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ถือบัตร ลักษณะพื้นบัตร เป็นสีฟ้าอมเขียว มีลายเทพพนมตลอดใบ ด้านหน้าและด้านหลัง ในแต่ละหน้าจะมีรูปแผนที่ประเทศไทย และรูปเรือสุพรรณหงส์กับวัดอรุณราชวราราม เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางรูปประเทศไทย

บัตรประจำตัวประชาชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีอายุการใช้ 10 ปี เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว ต้องทำคำร้องขอปลี่ยนบัตรโดยเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25 สตางค์ ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีบัตรตามกฎหมาย คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์จนถึง 70 ปีบริบูรณ์ และกำหนดให้ยื่นคำร้อง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2505: กฎหมายที่บังคับให้คนไทยทั่วประเทศต้องมีบัตร

ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองโดยเฉพาะความเจริญของภูมิภาคส่งผลให้ราชการ และประชาชนคนไทยต้องปรับตัวและ ปรับวิถีทางของความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การติดต่อทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนก็เปิดกว้างขวางขึ้น

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีจุดอ่อนในด้านการพกพา ทั้งนี้เนื่องจากมีลักษณะใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความไม่สะดวก ต่อผู้ใช้ที่จะต้องนำพกพาติดตัวไปด้วยเสมอ ประกอบกับลักษณะของบัตร หลักการ และวิธีการทางกฎหมายในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ล้าสมัยรัฐบาลในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและให้สามารถบังคับใช้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ

ในที่สุดจึงได้ออก "พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505" ซึ่งให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เป็นต้นมาโดยการออกบัตรจะมี "กรมการปกครอง" เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการออกบัตรประจำตัวประชาชนทั่วประเทศ

สาะระสำคัญที่แตกต่างไปฉบับปี พ.ศ. 2486 มีหลายประการ อาทิ เช่น กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องมีบัตรต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ บัตรมีอายุ 6 ปี กำหนดค่าธรรมเนียมในการออกบัตรหรือเปลี่ยนบัตร ไว้ฉบับละ 5 บาท และให้ยกเลิกบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก เปลี่ยนมาใช้บัตรรุ่นใหม่แทน

ลักษณะของบัตรรุ่นที่สองเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เซ็นติเมตร ยาว 9 เซ็นติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปตราครุฑอยู่ตรงกลาง มีข้อความ "สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย" วันที่ออกบัตรและวันบัตรหมดอายุด้านหลังจะเป็นรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย รูปถ่ายที่มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุต ใต้รูปจะมีเลขและคัวอักษรแสดงถึงอำเภอที่ออกบัตรและเลขทะเบียนบัตรและตราประจำตำแหน่งเจ้าพนักงานออกบัตร ปรากฎอยู่ทางด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะมีชื่อตัวชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สองนี้เป็นบัตรรูปขาว-ดำ รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา คนไทยได้ทำบัตรรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี 2506 จนถึงสิ้นปี 2530 รวม 24 ปี ประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบัตรจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายของคนไทยในช่วง ระหว่างปีดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526 : กฎหมายฉบับปัจจุบัน

พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ใช้บังคับได้ประมาณ 21 ปีพบจุดอ่อนหลายประการข้อสำคัญคืออายุของผู้ที่จะต้องมีบัตรที่กำหนดไว้17ปีบริบูรณ์ ไม่สัมพันธ์กับกฎหมายคุ้มครองแรงงานประกอบกับกฎหมายฉบับนี้กำหนดการให้นับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้จำนวนประชาชนผู้ขอยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จะมายื่นทำบัตรกันมากในช่วงตั้งแต่วันที่1มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปัญหาทางข้อกฎหมายทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง

ในสมัยรัฐบาลที่มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้ยกเลิก พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 และตรา "พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526" ขึ้นใช้บังคับแทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กฎหมายฉบับนี้ มีข้อเด่นในเรื่องการปรับปรุงจุดอ่อนของกฎหมายฉบับก่อน ได้แก่ การลดอายุของผู้ที่จะต้องขอมีบัตรจาก17 ปีบริบูรณ์ เป็น15ปีบริบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานการนับอายุผู้ขอมีบัตร15ปีบริบูรณ์ให้นับชนวันเดือนปีเกิดของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการนับอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนั้น ได้ขยายระยะเวลาการขอมีบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 60 วัน เป็น 90 วัน กำหนดให้บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ70ปีบริบูรณ์ สามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับบัตรและบทลงโทษเพิ่มขึ้น และไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการขอมีบัตรครั้งแรกหรือขอมีบัตรใหม่เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ

การเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนในครั้งนี้มิได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และลักษณะของบัตรประจำตัวประชาชนแต่อย่างใด ลักษณะของบัตรยังคงเหมือนเดิมทุกประการ

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 3 : การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตบัตร ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสูงขึ้น ทั้งประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตย ค่ายสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และค่ายประเทศที่สาม ทำใหมีบุคคลต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในลักษณะของผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบ ความต้องการบัตรประจำตัวประชาชนในหมู่ของคนต่างด้าวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยได้เยี่ยงคนไทย ก่อให้เกิดปัญหาการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนระบาดอย่างหนัก

นอกจากนี้ตัวแปรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคเอกชนและราชการไทย สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องกระตุ้นให้มีการเรียกร้องปรับปรุงรูปโฉมของบัตรประจำตัวประชาชนให้สวยงาม ก้าวหน้า ทันสมัย และสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้มากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติรสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีมติเมื่อวันที่30 เมษายน 2529เห็นชอบโครงการปรับปรุงระบบการผลิตบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และอนุมัติให้ดำเนินการได้ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกโฉมหน้าของบัตรประจำตัวประชาชน มาสู่รูปแบบใหม่เป็นบัตรรุ่นที่ 3

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 3 นี้ ลักษณะบัตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 5.4 เซ็นติเมตร ยาว8.4เซ็นติเมตร ตัวบัตรจะเป็นสีขาวและมีลายพื้นเป็นเส้นสีฟ้าทั่วบัตรทั้งสองด้าน ด้านหน้าของบัตรมีรูปครุฑอยู่ตรงกลาง มีตัวอักษรคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" <อยู่ด้านบนครุฑคำว่า "กรมการปกครอง" อยู่ด้านซ้าย คำว่า "กระทรวงมหาดไทย" อยู่ด้านขวา ส่วนด้านล่างครุฑมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตรและตราประจำตำแหน่ง

สำหรับด้านหลังของบัตรแถวบนสุดจะมีเลขประจำตัว13หลักซึ่งเป็นเลขชุดเดียวกับที่ปรากฎในทะเบียนบ้าน ถัดมาจะมีเลข8 หลัก ซึ่งเลข 2 หลักแรกบ่งบอกถึงรอบของการออกบัตร ส่วนเลข6หลักต่อมาหมายถึงลำดับที่ของการทำบัตร ถัดลงมาด้านซ้ายจะมีรูปถ่ายของผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ โดยมีเส้นแสดงส่วนสูงเป็นเซ็นติเมตร ส่วนด้านขวาจะมีรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด วันออกบัตร วันบัตรหมดอายุ และที่อยู่

ลักษณะที่พัฒนาซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของบัตรรุ่นนี้ คือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสี พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีการป้องกันการปลอมแปลงด้วยการเคลือบวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ มีลายสัญญลักษณ์รูปสิงห์ และคำว่า"กรมการปกครอง" ฝังอยู่ในเนื้อวัสดุไม่สามารถมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า การจัดเก็บข้อมูลผู้ทำบัตรและการตรวจสอบรายการบัตรเดิมถูกดำเนินการในรูปของฐานข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์

บัตรประจำตัวประชาชนระบบนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 4: บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค

การพัฒนาระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน มิได้หยุดนิ่งแค่บัตรรุ่นที่สามเท่านั้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุคโลกาภิวัฒน์ประกอบกับความสมบูรณ์ของระบบฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนและแรงผลักดันในเรื่องการให้บริการประชาชน ก่อให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ทันสมัย ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอ "โครงการจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ฯ" โดยเป้าหมายหลักที่จะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนอย่างสมบูรณ์แบบทั้งระบบเปลี่ยนแปลงรูปโฉมของบัตรให้ทันสมัย และเพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชน ให้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องทั้งนี้การผลิตบัตรจะกระจายไปถึงสำนักทะเบียนแต่ละแห่ง ประชาชนที่มาทำบัตร สามารถรอรับบัตรได้ทันทีด้วยความรวดเร็ว ภายในวันที่ติดต่อขอทำบัตร โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับ บ.ป.2 หรือใบเหลืองอีกต่อไป

โครงการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 หลังจากติดตั้งระบบและให้บริการด้านทะเบียนราษฎรแล้ว กรมการปกครองจึงสามารถเปิดระบบให้บริการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่เป็นครั้งแรก ณที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร โดยถือปฐมฤกษ์ในวันที่5ธันวาคม 2539 เพื่อเป็นสิริมงคลในวโรกาสฉลองปีกาญจนาภิเษกและเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ในด้านกฎหมายนั้น ยังคงใช้ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชนพ.ศ. 2526 เพื่อบริการประชาชนในการขอทำบัตรในกรณีต่างๆ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อรองรับการจัดทำบัตรระบบใหม่ ได้แก่ การออกกฎกระทรวง กำหนดลักษณะของบัตร และการประกาศกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการเท่านั้น

ลักษณะของบัตรรุ่นใหม่นี้มีดังนี้

1.ลักษณะของบัตร ตัวบัตรทำด้วยพลาสติก มีความยืดหยุ่นและแข็งแรงขนาดมาตรฐานสากล (ISO) กว้าง 5.4 เซ็นติ-เมตร ยาว 8.6 เซ็นติเมตร หนา 0.76 มิลลิเมตร พื้นบัตรทั้งสองด้านเป็นสีขาว มีลายสีฟ้า

2.ด้านหน้าของบัตร มีรูปถ่ายเจ้าของบัตร พร้อมรายการเกี่ยวกับประวัติของเจ้าของบัตร ได้แก่เลขประจำตัวประชาชน 13หลัก ชื่อตัว ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หมู่โลหิต วันที่ออกบัตร วันที่บัตรหมดอายุ และมีลายมือชื่อเจ้าพนักงานผู้ออกบัตร

3. ด้านหลังของบัตร มีคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย"รูปครุฑ และแถบแม่เหล็ก สำหรับบันทึกข้อมูลของเจ้าของบัตร นอกจากนี้จะมีรหัสกำกับบัตร ซึ่งเป็นชุดของตัวเลขผสมตัวอักษร เพื่อควบคุมกำกับการออกบัตรของแต่ละสำนักทะเบียนด้วย

บัตรรุ่นใหม่นี้ เรียกกันว่า"บัตรประจำตัวประชาชนไฮเทค" เนื่องจากทุกขั้นตอนตั้งแต่การพิมพ์คำขอมีบัตร รายการบุคคลของผู้ขอมีบัตร ซึ่งรวมถึงภาพใบหน้า การลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานออกบัตร และการตรวจสอบหลักฐานรายการบัตรเดิมดำเนิน การด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

การให้บริการจัดทำบัตรระบบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์นั้น จะดำเนินการในรูปแบบของการตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ภาค จำนวน9ภาค เพื่อควบคุมและดูแลระบบการดำเนินงานของสำนักทะเบียนทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งตามโครงการฯ กำหนดเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี2539-2544 โดยมีแผนปฏิบัติการขยายเขตให้บริการ ดังนี้

- 5 ธันวาคม 2539 ได้เปิดบริการแล้วที่ อำเภอเมืองปทุมธานี และ กรุงเทพมหานครทุกเขต

- ประมาณเดือน เมษายน 2540 จะเริ่มเปิดระบบให้บริการเพิ่มอีก 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นครราชสีมาเชียงใหม่ และสงขลา

-ประมาณเดือนธันวาคม2540 บริการเพิ่มอีก4จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม อุดรธานี พิษณุโลกและสุราษฎร์ธานี

-ปีพ.ศ.2541-2544 จะดำเนินการเพิ่มใน67จังหวัดที่เหลือทั่วประเทศ การขยายบริการเป็นการดำเนินการภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ

บทสรุป

ตั้งแต่เริ่มมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกปีพ.ศ.2486 จนถึงฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นฉบับที่สาม ในปีพ.ศ.2526 ประชาชนคนไทยมีบัตรประจำตัวประชาชนใช้มาแล้ว 4 รุ่นดังนี

บัตรรุ่นแรก มีลักษณะคล้ายแผ่นพับขนาดเล็ก 4 ตอน มีทั้งหมด 8 หน้า เริ่มใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2486จนถึงสิ้นปีพ.ศ.2505 ออกให้เฉพาะประชาชนในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพและธนบุรี(กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)

บัตรรุ่นที่สอง มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพกพาติดตัวได้ สะดวกมี 2 ด้าน รูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปขาว-ดำ พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา และเคลือบด้วยพลาสติกใส เริ่มใช้ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ.2506 จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2536รวมทั้งสิ้น 30 ปี

บัตรรุ่นที่สาม มีลักษณะคล้ายกับบัตรรุ่นที่สอง จุดแตกต่างคือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสีธรรมชาติ พิมพ์รายการผู้ถือบัตรด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และเคลือบด้วยวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่1มกราคม2531เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันขณะนี้ยังให้บริการทั่วประเทศยกเว้นเขตท้องที่ซึ่งเปิดให้บริการทำบัตรรุ่นที่สี่

บัตรรุ่นที่สี่ มีลักษณะคล้ายบัตรเครดิตมีแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลเจ้าของบัตร และผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งระบบรายการใหม่ที่เพิ่มเติมขึ้นมาในบัตรรุ่นนี้คือ การระบุหมู่โลหิต เพื่อประโยชน์ในเรื่องคลังข้อมูลแหล่งโลหิตของสภากาชาดไทยบัตรรุ่นนี้ <เริ่มทยอยใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่5ธันวาคม2539 ในเขตท้องที่อำเภอเมืองปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร และจะขยายการบริการเพิ่มขึ้นตามลำดับ

ในอนาคตบัตรประจำตัวประชาชนจะทวีความสำคัญและเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อเจ้าของบัตรในด้านต่างๆมากขึ้นเช่น อาจใช้แทนทะเบียนบ้าน เป็นบัตรเสียภาษีหรืออาจจะรวมทั้งเป็นใบขับขี่ด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะกำหนดให้ดำเนินการในลักษณะใด และถ้าจะว่าไปแล้วน่าจะมุ่งสู่วลีที่ว่า "อยู่เมืองไทย พกบัตรใบเดียวก็พอ" ซึ่งก็หมายถึง"บัตรประจำตัวประชาชน" นั่นเอง

http://www.dopa.go.th/card/card.htm

บัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน(บัตรเลขศูนย์) - what is its status?

From: http://www.ranongpoc.com

บัตร ประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือบัตรที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ที่นำหน้าด้วยเลข 0 เป็นบัตรที่ใช้แสดงตนสำหรับบุคคลที่ไม่มีชื่อในระบบทะเบียนราษฎร หรือบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยผู้ที่มีบัตรแสดงตัวดังกล่าว เป็นกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวพันกับผู้ที่ได้รับ การจัดทำทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อยไว้เดิมแต่ตกสำรวจ

โดยบุคคลใน กลุ่มหมายเลขนี้ เป็นบุคคลที่จะต้องอยู่ในเขตที่ทางราชการผ่อนผันเท่านั้น หมายถึง จะต้องอยู่ในเขตอำเภอที่ได้ลงทะเบียนสำรวจไว้ในขณะที่ทำการสำรวจทางทะเบียน ประวัติ แต่บัตรฯดังกล่าวไม่ใช่บัตรประจำตัวประชาชน บุคคลดังกล่าวจะมีบัตรประจำตัวประชาชนเมื่อได้สัญชาติไทยเท่านั้น โดยจะต้องได้รับการกำหนดสถานะตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของ บุคคล ตามที่ทางราชการจะได้กำหนด และประกาศให้ทราบต่อไป

http://kawthoung.blogspot.com/2008/06/what-is-its-status.html

ข้อสอบกฎหมายปกครอง ของ อาจารย์ ดร. ฤทัย หงษ์สิริ(รีบบันทึกเดี๋ยวลืม)

 

1.ลูกจ้างประจำหน้าที่ขับรถ(ปฏิบัติงานในหน้าที่)ขับรถ(ด้วยความประมาทอย่างร้ายแรง)ไปส่งหนังสือให้ผู้ว่าราชการแล้วชนคน คนถูกชนฟ้องคนขับรถได้ไหม?

 

2.เจ้าของโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงอุสาหกรรมให้ประกอบกิจการ แต่

ปัญหาส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่อยู่รอบๆโรงงานเกิดการเจ็บป่วยปลัดกระทรวงอุสาห

กรรมมีคำสั่งให้ปิดกิจการ พรบ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2535 ไม่มีข้อกำหนดให้โต้แย้งคำสั่ง

(ไม่มีโอกาสให้อธิบาย) เจ้าของโรงงานฟ้องว่าคำสั่งไม่ชอบเพราะไม่เปิดโอกาสชี้แจง

 

ถามว่าเจ้าของโรงงานสามารถโต้แย้งคำสั่งได้ไหม ฟังขึ้นไหม?

 

3.กฎหมายปกครองของไทยที่ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษรมีที่มาอย่างไร ?

ให้อธิบาย ยกตัวอย่าง ด้วยนะ เขียน 4 บรรทัด ก็ 4 คะแนนส่วน 25 อิๆๆ

 

 4.คำสั่งทางปกรครอง มีความสำคัญอย่างไร ?

 

เขียนมาเยอะๆๆนะ พี่รุ่นหนึ่งบอกว่าคิดไม่ออกให้ยกตัวอย่างในที่ทำงานนะ ที่สำคัญ

เขียนให้อาจารย์อ่านออกด้วย คัดลายมือน่ะ

เด็กๆปี4 บอกว่ากระดาษไม่พอเขียน   (ทำให้ใจป้าอยู่ตาตุ่มเลยหนู)

 

นอนเอาแรงไว้อ่านกฎหมายมรดกของอาจารย์ แม่ พรชัยดีกว่า คิดถึงอาจารย์มากๆๆๆๆๆ

 

ถ้าอาจารย์มาสอนตอน ฟิล์มกับแอนนี่กำลังดัง รับรองจำข้อกฎหมายได้หมดแน่นอนเล้ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท