กระบวนการสื่อสารในการสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน


ทุกภาคส่วนล้วนมีเป้าหมายเพื่อส่วนรวมร่วมกัน ต่างกันเพียงมุมมองและแนวทางการปฏิบัติ ณ วันนี้ความร่วมมือจึงปรากฎขึ้นมากมายเพียงสื่อสารกันให้มากขึ้นและเหมาะกับรูปแบบที่เป็น

       อภิชา คุณวันนา : กระบวนการสื่อสารในการสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน. (COMMUNICATION PROCESS IN DEVELOPING COOPERATION BETWEEN BUSINESS ORGANIZATIONS AND NGO ON ENVIRONMENTAL ISSUES)  อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก : รศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์, 232 หน้า.

 

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)ศึกษามุมมองจุดยืนเป้าหมายของการบริหารโครงการด้านสิ่งแวดล้อมบนความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน(2)วิเคราะห์แนวทางในการประสานความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน(3)วิเคราะห์กระบวนการสื่อสารในการบริหารโครงการบนความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนและ(4)วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการบริหารโครงการบนความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ด้วยการศึกษาแบบสัมภาษณ์เจาะลึก(Indepth-Interview) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ(Informal Interview) และการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง(Documentary Research) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ให้สัมภาษณ์เป็นผู้บริหารองค์กร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คนจากคู่ความร่วมมือ 3 คู่ทั้งองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน

 

                ผลการวิจัยพบว่า

 

(1)            ในเชิงมุมมองและเป้าหมายบนความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนพบว่ามีส่วนที่เหมือนกันคือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างกันเชิงการประชาสัมพันธ์ที่องค์กรภาคธุรกิจให้ความสำคัญเป็นหลักขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชนในความสำคัญในระดับรอง ในเชิงจุดยืนระยะแรกองค์กรภาคธุรกิจสนับสนุนเงินและทรัพยากร ระยะกลางสนับสนุนความรู้ความสามารถเฉพาะด้านและระยะยาวสนับสนุนองค์ความรู้ในการพัฒนาองค์กร ส่วนองค์กรพัฒนาเอกชนในระยะแรกและระยะกลางเป็นผู้ลงมือปฏิบัติโดยยึดมั่นภารกิจหลักขององค์กรส่วนในระยะยาวมีบทบาทสำคัญในการผลักดันองค์กรภาคธุรกิจให้เป็นองค์กรที่ดี(Good corporate citizen)

(2)            แนวทางในการประสานความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนมี 3 แนวทาง คือ การสื่อสารผ่าน “แม่สื่อ” หรือองค์กรสนับสนุนที่เป็นผู้ประสานงานกลาง การสื่อสารโดยต่างฝ่ายต่าง “แสวงหา” และการสื่อสารของ “คนคอเดียวกัน”

(3)            กระบวนการสื่อสารในการบริหารโครงการบนความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนอยู่บนพื้นฐานของหลักการวิจัย การปฏิบัติ การสื่อสาร และการประเมินผล

(4)            ปัญหาอุปสรรคพบว่าในระยะต้นเป็นเรื่องความแตกต่างของวิธีคิด วิธีการทำงาน ความเข้าใจในเนื้อหาสารที่สื่อสารไม่ตรงกัน ระยะกลางเป็นเรื่องของความเกรงใจ ส่วนระยะยาวขาดการบริหารเวลาและกำลังคน

(5)            ส่วนทางออกในระยะเริ่มต้นทั้งสองฝ่ายต้องการผู้ประสานงานกลาง ระยะกลางเน้นการกระชับความร่วมมือ ระยะยาวต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจนอย่างสม่ำเสมอทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

..................................................................................

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ข้างต้น หากท่านใดอ่านแล้วต้องการเนื้อหาเพิ่มเติมสามารถขอเพิ่มเติมได้ที่เจ้าของบล๊อคค๊า...

หมายเลขบันทึก: 322750เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

น่าสนใจค่ะ ครูอ้อย ต้องการอ่านค่ะ ขอบคุณมากค่ะ โชคดีเสมอนะคะ

Pkhunpicha

วิทยานิพนธ์ "กระบวนการสื่อสารในการสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน" มีในห้องสมุด "พอช."หรือเปล่า

เผื่อจะได้แวะอ่านครับ

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ ไก่ยังไม่ได้เอาไปไว้ที่ห้องสมุดพอช.ค่ะ ถ้าพี่สุเทพอยากอ่านเดี๋ยวไว้ไก่ส่งไฟล์ไปให้ หรือปีหน้าจะเอาเล่มไปให้อ่านนะคะ

ถือโอกาส ส่งท้ายปีเก่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้สุขภาพแข็งแรงตลอดไปนะคะ

ไก่

สวัสดีค่ะพี่หนานเกียรติ

สวัสดีปีใหม่เช่นกันค่ะ ขอให้สุขสันต์ตลอดปี โชคดีตลอดไป สุขภาพใจกายแข็งแรง ทั้งครอบครัวนะคะ

น้องไก่

จำนวน 20 คนจากคู่ความร่วมมือ

มีใครบ้างครับ..

อยากอ่านงานวิจัยนี้เหมือนกันครับ

ไก่ แล้ว CSR กับกระบวนการที่ไก้ทำมัรคล้ายกันอะเป่า ตั้งประเด็นชวนตีไปด้วยเลย แล้ว เมื่อมันเกิดการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรและมันจะเป็นการสรางกระแสมากกว่าจิตสำนึกหรือเปล่านา อิอิ แต่ขอชื่นชมนะประเด็นนี้น่าสนใจมากเลยไก่เราชอบไว้จะไปขอความรู้นะ

กิจกรรมที่ 12 ม.ค.2553....  “ พวกเรามีนัดพบกับอ.เอกและทีมงานครับ” ณ.ห้องประชุมชั้น 1 กับกิจกรรมการสัมมนาติดตามผลและการยกระดับการเรียนรู้ในเรื่อง“การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา” (AAR&R)

  ช่วงเช้า

  •  กิจกรรมสานสัมพันธ์ร้อยรัดหัวใจ CODI. โดย ดร.ขจิต ฝอยทอง
  • นำเสนอผลงาน "โชว์ แชร์ และ เชียร์การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา  (AAR. การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา  จาก ภูเขางามจนถึงวันนี้ที่ พอช. /นำเสนอ Show & Share บทเรียนความสำเร็จที่เริ่มต้น /แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้)

ช่วงบ่าย

  • กิจกรรมผ่อนพัก ตระหนักรู้ โดย ดร. ขจิต  ฝอยทอง
  • Dialogue “การถอดบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนา” และ จากบทเรียนองค์ความรู้ในงานพัฒนาสู่การจัดทำเป็นเรื่องเล่าเร้าพลัง
  • กระบวนการ AAR.
  •  รูปแบบการเคลื่อนงาน CODI_KM จะขับเคลื่อนไปอย่างไร

ทีมวิทยากรกระบวนการ  3 หนุ่มสามมุมครับ ( อ.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร / ดร.ขจิต ฝอยทอง/ อ. เกียรติศักดิ์  ม่วงมิตร)

สถานที่ :  มีการอำนวยความสะดวกด้านไอที รวมไปถึงการจัดลานชุมชน ที่อาจปูด้วยผ้า หรือ เสื่อ ที่สามารถนอน นั่งได้

การแต่งกาย : ให้ผู้เข้าร่วมแต่งกายตามสบาย ผู้หญิงให้สวมกางเกงจะสะดวกต่อการนอนและนั่งระหว่างการสัมมนา

อุปกรณ์ : โน้ตบุ้ก(ส่วนตัว), ส่วนอุปกรณ์อื่นๆใช้ของเดิมจากที่เคยทำกระบวนการในเวทีที่ภูเขางามรีสอร์ต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท