บันทึก นสพ.มน.ปี 5 การประชุมเสริมพลังเครือข่ายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพอำเภอนครไทย ตอนที่ 2


บันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ

วันรุ่งขึ้น  18 ธ.ค.    พวกเราออกเดินทางจากโรงพยาบาลประมาณเกือบเก้าโมงเช้า สภาพอากาศในวันนี้ค่อนข้างร้อนกว่าเมื่อวาน ระหว่างทางจากโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช นครไทยมาที่ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์ โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ท มีแดดแรงตลอดแม้จะเป็นช่วงเช้าของวัน โดยในวันนี้เป็นวันสุดท้ายของวันประชุม เมื่อมาถึงซึ่งเป็นเวลาสายกว่ากำหนดการเริ่มกิจกรรมไปแล้วถึง 1 ชั่วโมง พวกเรากลุ่มนิสิตแพทย์ซึ่งมีหน้าที่สังเกตการณ์และคณะประชุมคนที่เหลือ 2-3 คน รีบเดินเข้าไปในห้องประชุม สมาชิกคนอื่นๆ เริ่มทำกิจกรรมไปบ้างแล้ว โดยวันนี้เรื่องหลักๆ ที่ผู้เข้าร่วมประชุมระดมสมอง คือ การจัดทำแผนงานโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของตำบล

โดยเริ่มที่กิจกรรมการทำแผนผังความคิดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เพื่อระบุปัญหาและนำไปเป็นแนวคิดเพื่อการไปสู่สุขภาวะของคนนครไทย วิทยากรได้ให้ผู้เข้าประชุมติดสติ๊กเกอร์เลือกปัญหาที่ตนคิดว่าสำคัญที่สุด จากนั้นจะเรียงลำดับคะแนนเพื่อหาปัญหาที่สำคัญที่สุดในมุมมองของคนนครไทย และเป็นโจทย์สำหรับกิจกรรมต่อไป เมื่อนับรวมคะแนนและเรียงลำดับเพื่อค้นหาปัญหาสำคัญ 11 ลำดับแรกของคนนครไทย  พบว่ามีดังนี้

 

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย ลดพุง
  2. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร
  3. การสร้างทีมงาน
  4. การจัดการสุขภาพชุมชน
  5. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  6. หมู่บ้านปลอดอบายมุข
  7. ปัญหาเด็กวัยรุ่น
  8. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและหมู่บ้านน่าอยู่
  9. การสร้างแกนนำ
  10. การสื่อสารและการจัดการการเรียนรู้
  11. การจัดการแหล่งน้ำ

ในช่วงแรกในฐานะผู้สังเกตการณ์  พวกเรารู้สึกสงสัยว่า “ทำไมจึงต้องค้นหาปัญหาสำคัญ 11ลำดับ ทำไมไม่เป็น 3 ลำดับหรือปัญหา 5 ลำดับแรก” แต่แล้วก็ได้ทราบคำตอบว่า เนื่องจากอำเภอนครไทยมี 11 ตำบล กิจกรรมดังกล่าวเป็นกุศโลบายเพื่อค้นหาปัญหาและนำมาเป็นโจทย์เพื่อให้ทั้ง 11 ตำบลนำมาหาวิธีแก้ไข ดังนั้นการค้นหาปัญหาจึงมีการเรียงลำดับหา 11 ปัญหาแรกที่สำคัญ  

ในเวลานี้ได้โจทย์มาครบทั้ง 11 ข้อแล้ว วิทยากรได้เปิดโอกาสให้แต่ละตำบลสามารถเลือกเรื่องที่ตนอยากแก้ไขเพื่อนำไประดมสมองภายในกลุ่มและออกมานำเสนอต่อสมาชิกกลุ่มอื่นๆเป็นการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เมื่อแต่ละตำบลได้เลือกโจทย์ที่ต้องการแก้ไขไปแล้ว วิทยากรจึงเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มนั่งล้อมเป็นวงเล็กๆ เพื่อปรึกษาหารือกันภายในกลุ่มโดยให้แสดงความคิดเป็นรูปแบบ “บันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ”  และเขียนสรุปความคิดของตนลงในแผ่นกระดาษเตรียมนำเสนอต่อไป  ช่วงเวลานี้ใช้เวลานานพอสมควร จนวิทยากรต้องเตือนผู้เข้าร่วมประชุมว่า “วันนี้เราจะปิ๊กบ้านกันตอนเที่ยง มีข้าวเที่ยงให้กิน แต่ไม่ได้จองอาหารว่างตอนบ่ายเอาไว้นะ ใครอยากกินต้องจ่ายตังเอง” เรียกเสียงหัวเราะได้ไม่น้อย 

ระหว่างนี้พวกเราเดินถ่ายรูปและสังเกตการณ์ไปเรื่อยๆ จนถึงเวลาอาหารว่างทุกคนจึงได้รับประทานอาหารว่างและได้ผ่อนคลายความคิดชั่วครู่ เสร็จแล้ววิทยากรจึงเรียกรวมกลุ่มและให้แต่ละตำบลออกนำเสนอผลงานที่ตนได้คิดสร้างสรรค์เพื่อช่วยแก้ปัญหาสำคัญของนครไทยทั้ง 11 ข้อ  แต่เนื่องด้วยเวลาที่จำกัดทำให้แต่ละกลุ่มมีการนำเสนอผลงานโดยใช้เวลาไม่นานนัก    โดยรายละเอียดของแต่ละโครงการมีดังนี้

 

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ : โดยตำบลยางโกลน

บันไดขั้นที่ 1

  • สำรวจหาปัญหาสุขภาพและสาเหตุ โดยการทำประชาคมหรือแบบสอบถาม  นำข้อมูลที่มีอยู่มานำเสนอต่อประชาชน

บันไดขั้นที่ 2

  • วิเคราะห์ปัญหา  รวบรวมข้อมูลสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

บันไดขั้นที่ 3

  • วางแผนงาน  จัดโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพ

บันไดขั้นที่ 4

  • ฝึกอบรม   มีต้นแบบบุคคลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

บันไดขั้นที่ 5

  • ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น80%

 

2.การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร : โดยตำบลห้วยเฮี้ย  (ตั้งเป้าหมายโครงการประสบผลสำเร็จภายใน 3 ปี)

บันไดขั้นที่ 1

  • ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

บันไดขั้นที่ 2

  • ลดการใช้สารเคมีจากการเกษตรอย่างน้อย30%
  • ลดผู้ป่วยจากการใช้สารเคมีจากการเกษตรอย่างน้อย30%

บันไดขั้นที่ 3

  • รณรงค์การเลิกใช้การใช้สารเคมีจากการเกษตร
  • ค้นหาเกษตรกรผู้มีความเสี่ยงด้วยการเจาะเลือด
  • ให้ความรู้
    • กลุ่มที่ได้รับผลโดยตรง เช่น ผู้รับจ้างทำการเกษตร
    • กลุ่มที่ได้รับผลโดยอ้อม

บันไดขั้นที่ 4: การเฝ้าระวังการเกิดผู้ป่วยใหม่และบำบัดรักษาสิ่งแวดล้อม

  • ตรวจแหล่งน้ำและดินเพื่อให้มีสารต่างๆอยู่ในมาตรฐาน
  • รักษาผู้ป่วยจากการใช้สารเคมีจากการเกษตรและติดตามเฝ้าระวังการเกิดโรคซ้ำ
  • เปรียบเทียบผลก่อนและหลังทำโครงการ

บันไดขั้นที่ 5: ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์

  • สร้างแรงจูงใจ
  • เลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร , ใช้เกษตรอินทรีย์100%
  • มีชุมชนตัวอย่างและเปิดโอกาสให้ชุมชนอื่นได้ศึกษาดูงาน

 

3.       การสร้างทีมงาน : โดยตำบลนาบัว

บันไดขั้นที่ 1: คัดเลือกตัวแทน

  • จากกลุ่มในหมู่บ้าน(อาชีพ , แม่บ้าน , เยาวชน , ผู้สูงอายุ)

บันไดขั้นที่ 2: อบรมให้ความรู้ในการทำงาน

  • เช่น   การป้องกันโรค , วิธีการทำงาน
  • การใช้เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์

บันไดขั้นที่ 3: แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

  • เกิดกระบวนการจัดการ

บันไดขั้นที่ 4: มีการติดตามและประเมินผล

  • ประชุมเดือนละครั้งเมื่อจบการทำงาน

บันไดขั้นที่ 5: มีการสร้างเครือข่ายประสานงาน   แลกเปลี่ยนความรู้

  • หมู่บ้าน , ตำบล , อำเภอ

 

4.       การจัดการสุขภาพชุมชน : โดยตำบลหนองกระท้าว

บันไดขั้นที่ 1: สำรวจปัญหาและสาเหตุของปัญหาสุขภาพในชุมชน

  • โดยการทำประชาคมหรือแบบสอบถาม

บันไดขั้นที่ 2

  • วิเคราะห์ปัญหา   รวบรวมข้อมูล   สาเหตุพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

บันไดขั้นที่ 3

  • วางแผนงาน  จัดโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพ

บันไดขั้นที่ 4

  • ฝึกอบรม   มีต้นแบบ

บันไดขั้นที่ 5

  • ประชาชนมีการปับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น80%

 

5. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : โดยตำบลนครไทย

บันไดขั้นที่ 1

  • สำรวจและเยี่ยมเยียน   ชี้แจงนโยบายà ถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย80%

บันไดขั้นที่ 2: ตรวจคัดกรองสุขภาพทุก6เดือน

  • แยกประเภทสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ ปกติ , เสี่ยง , มีโรคประจำตัว

บันไดขั้นที่ 3: จัดทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ทำกิจกรรมทุกเดือน

  • อารมณ์
  • อาหาร
  • ออกกำลังกาย

บันไดขั้นที่ 4: จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ 1 ชมรมต่อหมู่บ้าน

บันไดขั้นที่ 5: กระตุ้นให้เกิดความยั่งยืนโดยการ

  • ส่งเสริมกิจกรรมสานสายใยในวัยผู้สูงอายุ
  • เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  • จัดตั้งกลุ่มฌาปนกิจทุกหมู่บ้าน

 

6.หมู่บ้านปลอดอบายมุข(โดยเฉพาะสุรา) : โดยตำบลน้ำกุ่ม
หน่วยงานที่ทำการดำเนินการ à  อสม. , สาธารณสุข , อบต. , โรงเรียน , ผู้นำชุมชน

บันไดขั้นที่ 1: สร้างฐานข้อมูลในชุมชน

  • ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ
  • ข้อมูลการก่อทะเลาะวิวาท
  • ข้อมูลการเป็นหนี้สินในครัวเรือน
  • สถิติการเกิดครอบครัวแตกแยก

บันไดขั้นที่ 2: มาตรการทางสังคมและกฎหมาย

  • ห้ามจำหน่ายสุราแก่เด็กอายุต่ำกว่า18ปี
  • กำหนดเวลาจำหน่ายสุรา
  • ผู้จำหน่ายต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบของโทษของสุรา
  • ห้ามดื่มและจำหน่ายสุราในสถานที่ราชการหรือวัด
  • มีการตัดสิทธิ์ในการกู้ยืม
  • การตัดสิทธิ์ในการออกเสียง

บันไดขั้นที่ 3: การปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนในชุมชน

  • ให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง   เช่น  เยาวชน , ผู้ติดสุรา
  • จำกัดสถานที่ในการดื่ม
  • จัดกิจกรรม   เช่น   ออกกำลังกาย , เล่นกีฬา , ดนตรี
  • ส่งเสริมการสังสรรค์โดยไม่มีแอลกอฮอล์

บันไดขั้นที่ 4: การจูงใจของคนในชุมชน

  • ยกย่องและมีบุคคลต้นแบบ
  • ประกวดชุมชนปลอดสุรา

บันไดขั้นที่ 5: การเป็นหมู่บ้านปลอดอบายมุข

 

7.ปัญหาในเด็กวัยรุ่น : โดยตำบลเนินเพิ่ม

บันไดขั้นที่ 1

  • ครอบครัวพร้อมหน้า   มีเวลาให้กันมากขึ้น

บันไดขั้นที่ 2

  • ครอบครัวอบอุ่น  ลดการเข้าหาอบายมุขของวัยรุ่น   เช่น   ไม่ติดยาเสพย์ติด

บันไดขั้นที่ 3

  • สนับสนุนการรวมกลุ่มทางสังคมของเด็กวัยรุ่นเพื่อทำความดี   เช่น   กลุ่มจิตอาสา , แข่งกีฬา

บันไดขั้นที่ 4

  • ลดการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์และก่อนวัยอันควรàไม่ท้องไม่แท้งในวัยเรียน

บันไดขั้นที่ 5

  • เด็กจบการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคบังคับ   ไม่ออกกลางครัน  เรียนจบแล้วมีงานทำ

 

8.ปัญหาสิ่งแวดล้อมและหมู่บ้านน่าอยู่ : โดยตำบลบ่อโพธิ์

บันไดขั้นที่ 1

  • ประชาสัมพันธ์และมีหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย60%

บันไดขั้นที่ 2

  • หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการมีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านน่าอยู่ 80%ของครัวเรือน

บันไดขั้นที่ 3

  • หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการมีการดำเนินกิจกรรมและผ่านเกณฑ์มาตรฐานหมู่บ้านน่าอยู่ 70%

บันไดขั้นที่ 4

  • หมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการมีการดำเนินกิจกรรมและผ่านเกณฑ์มาตรฐานหมู่บ้านน่าอยู่ 90%

บันไดขั้นที่ 5 -ไม่ได้ระบุ-

 

9.การสร้างแกนนำ : โดยตำบลนครชุม

เป้าหมาย à มีแบบอย่างที่ดี  โดยเป็นผู้ที่เสียสละ ชอบช่วยเหลือ มีใจรัก ยอมรับสมัครใจ

หน่วยงานที่ทำการดำเนินการ : อสม. , หมอพื้นบ้าน , ผู้นำ , ครู , ประชาชน

บันไดขั้นที่ 1: เสริมสร้างความมั่นใจ

  • อบรมความรู้ , ทักษะ , ดูงาน , จัดสรรงบประมาณ

บันไดขั้นที่ 2: สร้างทีมงาน

  • ท้องถิ่น , ท้องที่ ,หน่วยราชการ
  • ผลลัพธ์ , ประโยชน์แก่บุคคล  หน่วยงาน

บันไดขั้นที่ 3: สร้างเครือข่าย

  • ในชุมชน
  • นอกชุมชน

บันไดขั้นที่ 4: ถ่ายทอดสู่ประชาชน

  • ปฏิบัติ , ทำกิจกรรม

บันไดขั้นที่ 5: นำสุขภาพดีสู่ชุมชน

 

10. การจัดการแหล่งน้ำ : โดยตำบลบ้านแยง

บันไดขั้นที่ 1

  • รณรงค์เพื่อการอนุรักษ์แหล่งน้ำอย่างยั่งยืน   อาศัยความร่วมมือทั้งในส่วนของโรงเรียน , ชุมชน , อบต., เทศบาล
  • ลดละการใช้สารเคมีในการเกษตร
  • สร้างจิตสำนึกในการทิ้งขยะ
  • รณรงค์การใช้สินค้าปลอดสารพิษ
  • แยกขยะ
  • สร้างทีมงาน กรรมการ   เช่น  ชมรมคนรักคลองจิก , ชมรมคนรักษ์น้ำ

บันไดขั้นที่ 2

  • มีปริมาณน้ำเพียงพอในการใช้สอยในชีวิตประจำวันและเกษตรกรรม
  • เปลี่ยนจากการใช้สารเคมีในการเกษตร   เป็นเกษตรอินทรีย์
  • ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักการรักษ์น้ำ

 

บันไดขั้นที่ 3

  • มีออกซิเจนอยู่ในระดับปกติของมาตรฐานแหล่งน้ำ

บันไดขั้นที่ 4

  • สามารถนำน้ำในแหล่งน้ำมาใช้ในการสาธารณูปโภค   เช่น  ดื่มน้ำ  ได้อย่างปลอดภัย
  • สามารถสร้างอาชีพอย่างแหล่งน้ำได้   เช่น   สินค้าผักตบชวา

บันไดขั้นที่ 5

  • คลองจิกและแม่น้ำแควน้อยสะอาด  
  • มีปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำสูงตามมาตรฐาน
  • ใช้เกษตรอินทรีย์100%   เลิกใช้สารเคมี
  • สร้างรายได้สู่ชุมชนชนจากแหล่งน้ำ
  • การจัดการแหล่งน้ำสามารถเป็นแบบอย่างกับชุมชนอื่นๆและสามารรถจัดเป็นแหล่งศึกษาได้

 

11. การสื่อสารและการจัดการเพื่อการเรียนรู้ : โดยตำบลบ้านพร้าว

บันไดขั้นที่ 1

  • มีเครื่องมือสื่อสารที่พร้อมใช้งาน   กระจายข่าวประชาสัมพันธ์  โดยประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างน้อยร้อยละ 40   วัดผลโดยสำรวจโดยการใช้แบบสอบถามการรับข้อมูลข่าวสาร  ว่าทราบข้อมูลข่าวสารหรือไม่   ได้รับข่าวสารทางช่องทางใด   เช่น   หอกระจายข่าว , บอร์ดประชาสัมพันธ์หมู่บ้านหรือตำบล , สถานีวิทยุ   พร้อมทั้งสำรวจอุปสรรคในการรับข้อมูลข่าวสาร

บันไดขั้นที่ 2

  • พัฒนาเครื่องมือสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ  เป้าหมายคือประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างน้อยร้อยละ 50

บันไดขั้นที่ 3

  • เพิ่มช่องทางการสื่อสาร   มีวารสารหรือแผ่นพับแจกทุกครัวเรือน , การเพิ่มคลื่นวิทยุชุมชน  เป้าหมายคือประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างน้อยร้อยละ60

บันไดขั้นที่ 4

  • พัฒนาระบบสื่อสาร   เช่น   จัดตั้งสถานีวิทยุเพื่อการเรียนรู้หรือจัดรายการเพื่อการเรียนรู้   โดยต้องมีผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน , มี web site ประชาสัมพันธ์    เป้าหมายคือประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างน้อยร้อยละ70

บันไดขั้นที่ 5

  • ประชาชนอำเภอนครไทยได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างทั่วถึงหลายช่องทาง   เช่น  หอกระจายข่าว , คลื่นวิทยุ , ป้ายประชาสัมพันธ์ , หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น   เป้าหมายคือประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้อย่างน้อยร้อยละ 80

 

หลังจากนำเสนอผลงานโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของทั้ง 11 ตำบล   ในขณะนั้นเวลาได้ล่วงเลยจนมาถึงเกือบ 13.00 น.แล้ว   จึงถึงเวลาอันสมควรที่จะปิดโครงการและไปรับประทานอาหารกลางวัน โดยก่อนกล่าวปิดโครงการ  วิทยากรได้เปิดโอกาสให้สมาชิกบางส่วนแสดงความคิดเห็นต่อการทำเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้   จึงได้ทราบว่าสมาชิกบางท่านก็เต็มใจมา  บ้างก็ไม่อยากมาเข้าร่วมประชุมแต่จำเป็นต้องมีตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมจึงต้องมา  อย่างไรก็ตามหลังจากจบโครงการทุกคนต่างมีทัศนคติที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีต่อการประชุมครั้งนี้  ตัวแทนหมู่บ้านที่เข้าร่วมประชุมต่างก็รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชุมชนและมีความภาคกูมิใจที่ได้เป็นกำลังสร้างและพัฒนาชุมชนของตนเองซึ่งจะนำไปสู่สุขภาวะของคนนครไทยอย่างยั่งยืน        

 

                บันทึกโดย......นสพ.พูนสุข ด่านดำรงรักษ์     นสพ.ปวิตรา จารุสาธิต (เมย์)นสพ.นิธินา ยี่สิบแสน (นุ้ย)

                         นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 รพ.มหาวิทยาลับนเรศวร

            นพ.พรเทพ โชติชัยสุวัฒน  / คุณศศิธร เป้รอด ที่ปรึกษา

หมายเลขบันทึก: 322286เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เขียน blog ด้วยหรือครับพี่

แล้วจะแวะมาอ่านบ่อย ๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท