ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

การเขียนบทความทางวิชาการ


ข้อสังเกตจากดำเนินกิจกรรมการเขียนบทความทางวิชาการ ๑. ผู้เขียนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนบทความในประเด็นต่างๆ เช่น หัวข้อ เนื้อหา ภาษา เอกภาพ สารัตถภาพ สัมพันธภาพ และการอ้างอิง ๒. ผู้เขียนบทความอ่านหนังสือทางวิชาการในจำนวนที่น้อยมาก จึงไม่มีเนื้อหาเพื่อนำมาเขียนบทความ ๓. ผู้เขียนขาดกระบวนการในการย่อยข้อมูลทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ จึงทำให้เนื้อหาที่จะเีขียนขาดสัมพันธภาพของเนื้อหา ๔. ผู้เขียนไม่มีสนาม หรือหนังสือวารสารรองรับการเขียนบทความ ฉะนั้นก่อนเขียนจึงไม่มั่นใจว่าจะได้ัรับการตีติมพ์หรือไม่ อย่างไร

ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะทำงานในจัดพัฒนาและฝึกอบรมการเีขียนบทความทางวิชาการ  เรื่อง “การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลกตามทัศนะของชาวพุทธ”  ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒  ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยเขตขอนแก่น นั้น

การดำเนินการโครงการดังล่าวนั้น สามารถสรุปที่ได้ดังนี้

๑. วิทยากรที่เข้าร่วมให้ความรู้ และวิจารณ์หัวข้อร่วมไปถึง Contains ประกอบด้วย   ผศ.  ดร. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ดร.พระมหาสมบูรณ์  วุฒิกโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และรศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

๒. จำนวนผู้เข้าอบรม  ๖๑ รูป/คน ประกอบด้วย  คณาจารย์ ๕๓ รูป/คน  และนิสิตปริญญาเอก สาขาพุทธศาสนศึกษา มจร. จำนวน ๘ รูป/คน

๓. ผลการดำเนินงาน  ได้รับโครงร่างบทความ  จำนวน  ๓๒ แบ่งเป็น

หัวข้อย่อย (Sub-Theme)

๑.การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการพัฒนาทางจิต     ๖  บทความ

๒.การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการศึกษาเชิงพุทธ   ๘ บทความ

๓.การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ๔ บทความ

๔.การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยนิเวศวิทยาเชิงพุทธ   ๖ บทความ

๕.การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม   ๘ บทความ

 

แผนงานต่อไป 

              วันที่ ๑๕ – ๑๖  มกราคม  ๒๕๕๓  ติดตามฉบับสมบูรณ์ ณ วิทยาเขตขอนแก่น

              วันที่ ๑๓ – ๑๕ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓ รวมบทความทั้ง ๔

              วันที่ ๒๖ – ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓  นำเสนอในงานมหาจุฬาวิชาการ

เนื้อหาหลักในการพัฒนาและฝึกอบรม
๑. เป็นการเรียนรู้ร่วมกันว่า บทความ (Academic articles) สำคัญต่อการพัฒนางานด้านวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างไร ในขณะเดียวกัน การเขียนบทความมีความสำคัญต่อการพัฒนางานด้านวิชาการของคณาจารย์ และส่งต่อไปยังนิสิตได้อย่างไร
๒. เป็นการเรียนรู้ร่วมกันว่า บทความที่ดีนั้นควรมีลักษณะอย่างไร และเขียนบทความอย่างไรจึงจะได้ตีพิมพ์ รวมไปถึงหากจะต้องเขียนบทความนั้น สิ่งแรกที่ควรตระหนักรู้และทำความเข้าใจคืออะไร
๓. เป็นการเรียนรู้ว่า องค์ประกอบของบทความ คือ Title Introduction Boday and Conclusion นั้น มีสาระสำคัญ และมีรายละเอียดข้อปลีกย่อยอย่างไร

ข้อสังเกตจากดำเนินกิจกรรม
๑. ผู้เขียนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนบทความในประเด็นต่างๆ เช่น หัวข้อ เนื้อหา ภาษา เอกภาพ สารัตถภาพ สัมพันธภาพ และการอ้างอิง
๒. ผู้เขียนบทความอ่านหนังสือทางวิชาการในจำนวนที่น้อยมาก จึงไม่มีเนื้อหาเพื่อนำมาเขียนบทความ
๓. ผู้เขียนขาดกระบวนการในการย่อยข้อมูลทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ จึงทำให้เนื้อหาที่จะเีขียนขาดสัมพันธภาพของเนื้อหา
๔. ผู้เขียนไม่มีสนาม หรือหนังสือวารสารรองรับการเขียนบทความ ฉะนั้นก่อนเขียนจึงไม่มั่นใจว่าจะได้ัรับการตีติมพ์หรือไม่ อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 321448เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ

 

ผมชอบอ่านบทความหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับศาสนาอย่างน้อยที่สุดนอกจากจะได้รับความรู้ใหม่ๆ แล้วยังสามารถนำปรับไปใช้ในงานที่ทำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

   

ที่โรงพักพาน เชียงราย ที่ผมทำงานอยู่ก็เช่นเดียวกันคือทุกวันพุธช่วง ๔ โมงเย็นผมจะนำเจ้าหน้าที่สายตรวจของผมไปรับฟังธรรมะจากพระสงฆ์ที่วัดใกล้ๆ โรงพักเพื่อนำไปเป็นหลักปฏิบัติงานซึ่งคิดว่าได้ผลค่อนข้างดีครับ ซึ่งเรื่องนี้ผมเคยนำออกเผยแพร่ที่ http://learners.in.th/blog/supotematcha/325265 

ขอกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าเป็นอย่างสูงนะครับสำหรับสิ่งดีๆ ที่ได้รับในวันนี้

  • นมัสการพระคุณเจ้า
  • ผมก็เพิ่งจัดอบรมไปเมื่อวันที่ 16-17 ธันวาคมที่ผ่านมาครับ
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฐลำปาง ก็พบปัญหาการเขียนบทความน้อยเหมือนกัน

นมัสการพระคุณเจ้า

  • ครูอ้อย ตามมาอ่านด้วยความสนใจเจ้าค่ะ  ครูอ้อย กำลังเขียน และพักไปเจ้าค่ะ
  • อ่านบทความของพระคุณเจ้า แล้ว สงสัยคงต้องไปสานต่อเจ้าค่ะ

กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท