Child Center


การสอน การเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือการจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัดและยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน
เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤติทางการศึกษา และวิกฤติของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ
ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการศึกษาและวิกฤติของผู้เรียนต่อไป

 

หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้จัดให้สอดคล้องตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทางปัญญา โดยการบูรณาการคุณธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์ ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัด ความสนใจ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ทั้งในและนอกห้องเรียน

ธรรมชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีของบุคคล


บทบาทของครู

1. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยการศึกษาค้นคว้า วิจัยให้สามารถจัดการเรียนรู้
2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นหลัก
3. จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน
4. สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยยึดหลักว่า ทุกสถานที่ ทุกแห่ง เป็นแหล่งเรียนรู้ และทุกสิ่งที่พบล้วนเป็นสื่อการเรียนรู้
5. ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ความคิด ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง


รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

รูปแบบการสอน
1. แบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิด
2. แบบการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วม
3. แบบการสอนที่เน้นการพัฒนาพฤติกรรมและค่านิยม


   1. แบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิด


      การใช้กระบวนการแก้ปัญหา


      หลักการ
          1. ทำความเข้าใจปัญหา
            -  ต้องการรู้อะไร
            -  มีข้อมูลใดที่เกี่ยวข้อง


          2. การวางแผนแก้ปัญหา นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาวางแผนกำหนดวิธีการหาคำตอบ


          3. การดำเนินการตามแผน เป็นขั้นปฏิบัติตามแผนโดยใช้ทักษะที่เคยเรียนมา


          4. การตรวจคำตอบ พิจารณาว่า ได้แก้ปัญหาเรียบร้อย ครบถ้วนหรือไม่ (P.D.C.A)


   2. การเรียนรู้ "ฉลาดรู้"


   เป็น รูปแบบที่ได้จากการสังเคราะห์แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการเรียนรู้ โดยมีหลักการ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเกิดความสมดุลทั้งทางกาย ปัญญา คุณธรรม และทักษะการใช้ชีวิต จุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย มีเป้าหมาย สามารถคิดใคร่ครวญด้วยตนเอง จากการปฏิบัติฝึกฝนจนชำนาญ พัฒนาลักษณะการเรียนรู้ที่รู้จริง รู้แจ้ง รู้ลึกซึ้ง และเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งให้ผู้เรียนเกิด

      1. ความมุ่งมั่นด้วยศรัทธา
     2. ใฝ่หาความรู้คู่คุณธรรม
     3. นำไปใช้อย่างฉลาด
     4. ไม่ประหมาด หมั่นตรวจสอบพัฒนา


   (3) การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความคิด -  อาศัยหลักการ เรียนรู้ คิด ทำ นำไปใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ -  ยุทธวิธีการเรียนรู้ ใช้การตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ


   (4) การสอนตามแนวพุทธวิธี
        1. วิธีสอนแบบอุปมา อุปไมย สอนโดยการบรรยายเนื้อหาเปรียบเทียบกับคน สัตว์ หรือสิ่งของ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและมองเห็นภาพ เกิดมโนทัศน์ชัดเจน และสมจริง
        2. วิธีสอนแบบปุจฉา วิสัชนา วิธีสอนที่ใช้การถาม ตอบ โดยผู้สอนเป็นผู้ถาม นักเรียนตอบ หรือนักเรียนถาม นักเรียนเป็นผู้ตอบ (ครูจะตอบคำถามเอง แต่จะเร้า ส่งเสริมให้นักเรียนช่วยกัน)
        3. วิธีสอนแบบธรรมสากัจฉา
      วิธีสอนที่ ผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหาของการปฏิบัติศีล หรือการขาดหลักธรรม ให้ นักเรียนสนทนาจนได้ข้อสรุปความรู้ทางธรรม โดยมีลักษณะการสนทนา ดังนี้


           (1) อภิปรายตามหัวข้อธรรมในหมู่นักเรียน จนนักเรียนสรุปหลักธรรมได้
           (2) ซักถามกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู โดยนักเรียนเป็นฝ่ายถาม


     4. วิธีสอนแบบอริยสัจ 4


          (1) กำหนดปัญหา หรือขั้นทุกข์ ครูช่วยนักเรียนให้ได้ศึกษาพิจารณาดูปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง ด้วยความรอบคอบ และพยายามกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งนักเรียนจะต้องหัดแก้ไขได้


          (2) ขั้นตั้งสมมุติฐาน หรือขั้นสมุทัย
               (??) ครูช่วยนักเรียนให้ได้พิจารณาตัวเองว่า สาเหตุของปัญหาที่ยกขึ้นมาในขั้นที่ 1 มีอะไรบ้าง
               (??) ครูช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจว่า ในการแก้ปัญหาใด ๆ จะต้องกำจัดหรือจับที่ต้นตอ หรือแก้ที่สาเหตุของปัญหาเหล่านั้น
               (??) ครูช่วยนักเรียนให้คิดว่าการแก้ที่สาเหตุนั้นอาจทำอะไรได้บ้าง กำหนดสิ่งที่กระทำเป็นข้อ ๆ


          (3) ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล หรือนิโรธ
               (ก) ขั้นทำให้แจ้ง ครูต้องสอนให้นักเรียนได้กระทำ หรือทำการทดลองด้วยตนเอง ตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 2 ข้อ (ค)
               (ข) เมื่อทดลองได้ผลประการใด ต้องบันทึกการทดลองแต่ละอย่าง หรือที่เรียกว่าข้อมูล


          (4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล หรือมรรคผล
               วิเคราะห์สรุปผลดังวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผล แก้ปัญหาได้จริง ๆ แล้วสรุปการกระทำที่ได้ผลนั้นเป็นข้อ ๆ


          (5) วิธีสอนแบบไตรสิกขา
               (1) ขั้นศีล (ศีลสิกขา) คือ การควบคุมให้นักเรียนอยู่ในระเบียบ วินัย ทั้งกาย วาจา ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นปกติ พร้อมที่จะเรียน
               (2) ขั้นสมาธิ (จิตสิกขา) คือการฝึกสมาธิขั้นต้น ในการควบคุมสติ รวมจิตใจความคิดแน่วแน่เป็นจุดเดียว
               (3) ขั้นปัญญา (ปัญญาสิกขา) คือขั้นนักเรียนใช้สมาธิ ทำความเข้าใจในปัญหา การหาสาเหตุ พิจารณาผลที่เกิดขึ้น เกิดปัญญาญาณ มีมโนทัศน์


            สรุป ตนจะเกิดปัญญาเกิดจากการฝึกกำลังใจให้แน่วแน่ มีสมาธิ

ผลผลิต คือ ผู้เรียน ความรู้คู่คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 321361เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 03:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท