บุหรี่กี่มวนทำDNAเดี้ยง [EN]


การศึกษาใหม่พบ คนที่สูบบุหรี่มีการกลายพันธุ์ (mutation) ของรหัสพันธุกรรมหรือ DNA 1 ครั้งต่อบุหรี่ที่สูบ 15 มวน [ Mailonline / Dailymail.co.uk ]  

...

คณะวิจัยสหราชอาณาจักร (UK) ทำการศึกษาร่วมกับทีมวิจัยนานาชาติ ทำให้พบว่า บุหรี่ทำลายรหัสพันธุกรรม หรือ DNA ได้ 23,000 ตำแหน่ง

เซลล์ในร่างกายจะพยายามทำการซ่อมแซน DNA ที่เสียหาย ซึ่งถ้าซ่อมได้... กระบวนการกลายพันธุ์จะหายไป ทว่า... ความเสียหายจำนวนมากเป็นชนิดที่ซ่อมได้ยาก หรือซ่อมไม่ได้

...

การกลายพันธุ์ (mutation) อาจทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ ตาย เกิดโรคเรื้อรัง มะเร็ง หรืออาจส่งต่อความผิดปกติไปยังคนรุ่นต่อไปได้

ข่าวดีคือ คนที่เลิกสูบบุหรี่มีความเสี่ยงมะเร็งปอดลดลงช้าๆ จนใกล้เคียง (แต่ไม่เท่ากับคนที่ไม่สูบ) หลังเลิกสูบประมาณ 15 ปี

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Smoking just 15 cigarettes harms your DNA, finds cancer study on gene mutation' = "การสูบบุหรี่เพียง 15 มวนทำร้าย DNA ของคุณ, จากผลการศึกษาการกลายพันธุ์ของยีนส์มะเร็ง" 

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@@ [ smoke ] > [ s - โมค - k ] > http://www.thefreedictionary.com/smoke > verb = สูบบุหรี่ รมควัน; noun = ควัน ควันบุหรี่

...

@@ [ cigarette ] > [ ซิก - เก่อ - เร็ท - t ] > http://www.thefreedictionary.com/cigarette > noun = 

@@ [ harm ] > [ ฮ่าม; เสียงจริงๆ คือ "ฮ่าม - อื่อ" โดยต้องออกเสียง "อื่อ" ไปด้วย-ปิดปากไปด้วย ] > http://www.thefreedictionary.com/harm > verb = 

...

@@ [ cancer ] > [ แค้น - เส่อ ] > http://www.thefreedictionary.com/cancer > noun = มะเร็ง

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 17 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 321224เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท