ชื่นชมคณาจารย์สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิจิตรศิลป์ มช. ลุกขึ้นมาโต้แย้ง (๓)


 
ตอนที่ ๑


ตอนที่ ๒

          บทความเรื่อง “คุณภาพอุดมศึกษา การจัดอันดับมหาวิทยาลัย และความเป็นเลิศทางวิชาการ” โดย ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (ต่อ – จบ)

Scopus และปัญหาการวัดความเป็นเลิศทางวิชาการ


           ตัวชี้วัดความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอีกประการหนึ่งที่กระทรวง ศึกษาธิการและสกอ.เลือกใช้ คือ ดัชนีฐานข้อมูลอ้างอิงของ Scopus อันที่จริงไม่ใช่แต่อุดมศึกษาในไทยเท่านั้นที่เลือก Scopus เป็นตัวชี้วัดคุณภาพงานวิชาการที่สำคัญ แต่ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น  The Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD) ก็ได้ประกาศให้ Scopus Custom Data เป็นฐานหลักในงานวิจัย เพราะ “การครอบคลุมข้อมูลนานาชาติอันหลากหลาย ข้อมูลที่ยืดหยุ่นและสะอาดและก้าวหน้า”  Australian Research Council (ARC) ก็เลือก Scopus เป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลอ้างอิงสำหรับการพิจารณาความเลิศทางการวิจัยของออสเตรเลีย (ERA) และในห้าสิบสุดยอดมหาวิทยาลัยที่จัดอันดับโดย THE World University Ranking 50% นั้นอาศัย Scopus และเปอร์เซ็นต์ของมหาวิทยาลัยที่ใช้ Scopus นั้นเพิ่มขึ้นทุกปี
          สำหรับในไทยแล้ว Scopus ได้กลายเป็นฐานอ้างอิงสำคัญไม่เพียงในการวัดความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ หากแต่ยังถูกใช้ในการตัดสินทุนสนับสนุกการวิจัยในศาสตร์ทุกๆ สาขาอีกด้วย
          คำถามที่สำคัญคือ Scopus อันเป็นฐานข้อมูลอ้างอิงนานาชาตินั้น เป็นตัวแทนของความเป็นเลิศของงานวิชาการทั้งหมดทั้งปวงจริงหรือไม่ และหากไม่ใช่แล้ว การใช้ Scopus เป็นมาตรฐานเดียวในการวัดความสุดยอดทางวิชาการนั้นก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างไรบ้าง
          สิ่งที่น่าสนใจในกรณีของ Scopus คือ เช่นเดียวกับระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก การใช้ Scopus เป็นมาตรฐานสากลประเภทเดียวในการวัดความเป็นเลิศทางวิชาการนั้น ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากศาสตร์ในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปะ ซึ่งไม่ได้ผลิตงานวิชาการผ่านการเขียนบทความลงตีพิมพ์ในวารสาร (ต่างประเทศ) เพียงอย่างเดียว จึงย่อมไม่ได้ประโยชน์และถูกตัดสินคุณค่าอย่างผิดๆ จากระบบดังกล่าว
          Elsevier นั้นสร้าง Scopus ขึ้นโดยดึงเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลดัชนีและบทคัดย่อที่มีอยู่เดิม เช่น GEOBASE, BIOBASE, EMBASE, และทำการขยายฐานข้อมูลเหล่านี้ด้วยการอ้างอิง แนวทางเช่นนี้ต่างไปจากแนวทางดัชนีการอ้างอิงของ ISI ที่สร้างขึ้นจากข้อมูลการอ้างอิงที่มีอยู่ในระบบและด้วยจุดเน้นที่เนื้อหาบทความทั้งหมด ข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อ Scopus คือ ฐานข้อมูลดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมแหล่งข้อมูลด้านศิลปะและมนุษยศาสตร์ และมีจำนวนฐานข้อมูลทางด้านสังคมศาสตร์ที่น้อยมาก โดยรวมแล้ว Scopus ครอบคลุมวารสารต่างประเทศเพียง 14,000 ฉบับและด้วยจุดเน้นที่วิทยาศาสตร์สุขภาพ(ประมาณ 38%) และวารสารทางด้านเคมี ฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ประมาณ 29%  ขณะที่แหล่งข้อมูลทางสังคมศาสตร์ด้านต่างๆ นั้นรวมกันแล้วมีประมาณ 17% (ข้อมูล ณ ปี 2005)
          นอกเหนือจากวารสารแล้ว Scopus ยังได้รวมเอาหนังสือและบทความที่ตีพิมพ์จากงานประชุมต่างๆ เข้าไว้ด้วย โดยครอบคลุมหนังสือประมาณ 20,000 เล่ม ซึ่งส่วนใหญ่จำกัดอยู่ในวิศวกรรมศาสตร์ และศาสตร์เกี่ยวกับโลกและสิ่งแวดล้อม โดยมีหนังสือเกี่ยวกับเคมีและฟิสิกส์เพียงเล็กน้อย หนังสือที่มีอยู่ในฐานข้อมูล ก็มีแบบแผนการรวบรวมที่ไม่ค่อยสม่ำเสมอนักโดยมีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา
         จากการศึกษาของ Etxebarria และ Gomez-Uranga (2009) เรื่อง “Use of Scopus and Google Scholar to measure social sciences production in four major Spanish universities"เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการใช้ดัชนีฐานข้อมูล Scopus และ Google Scholar ที่มีต่อสถาบันการศึกษาในโลกที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักนั้น ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า งานจำนวนมากของนักวิชาการของมหาวิทยาลัยในสเปนซึ่งมีชื่อเสียงและสร้างผลสะเทือนอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมและภูมิภาคที่ใช้ภาษาสเปนเป็นสื่อกลาง1  ในการสื่อสารในชุมชนวิชาการทั้งในลาตินอเมริกาและแคริบเบียน กลับไม่ปรากฎและไร้ร่องรอยในระบบฐานข้อมูลของ Scopus  นอกจากนี้แล้ว ผลงานซึ่งอยู่ในรูปของหนังสือ monograph ข้อเขียนหรืออื่นๆ ของสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ก็ไม่มีสถานะใดๆ ในฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งสร้างข้อกังขาอย่างยิ่งว่า Scopus นั้นเป็นตัวแทนตัวชี้วัดที่สามารถครอบคลุมความหลากหลายของวิชาการที่ดำรงอยู่ในสถาบันการศึกษาได้อย่างแท้จริงได้อย่างไร เพราะไม่เพียงแต่มีความโน้มเอียงอยู่ในโลกของวิทยาศาสตร์แล้ว ยังเป็นตัวแทนของความเป็นนานาชาติที่มีเพียงภาษาอังกฤษเป็นตัวแทนเท่านั้น2
          การเน้นการวัดเชิงปริมาณ (จำนวนและความถี่ของการถูกอ้างอิงบทความในวารสารที่อยู่ในดัชนีฐานขัอมูล) ของ Scopus การพิจารณาเพียงแค่บทคัดย่อ (ที่ไม่อาจสะท้อนเนื้อหาหรือคุณภาพของงาน) ตลอดจนความโน้มเอียงด้านภาษาและการเป็นตัวแทนของศาสตร์บางประเภทได้สร้างปัญหาอย่างสำคัญต่อศาสตร์ในด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ที่ไม่ได้มีธรรมชาติการประเมินระบบคุณค่าของวิชาการด้วยฐานคิดเชิงปริมาณหรือความถี่ของการค้นพบนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ หากแต่สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะให้ความสำคัญกับคุณภาพและกระบวนการในสร้างเสริมความคิด การวิเคราะห์และทัศนะคติที่ตอบสนองต่อสังคม อันเป็นกระบวนการที่สั่งสม ยาวนาน และอาจแสดงออกในผลลัพธ์ประเภทอื่นๆ ที่อาจสร้างผลสะเทือนได้มากกว่าการเป็นกลจักรในการเพิ่มปริมาณบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร  3
          ศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์นั้น มีนัยยะที่เชื่อมโยงโดยตรงและตอบสนองกับบริบทของสังคมที่ศาสตร์นั้นๆดำรงอยู่ ตลอดจนชุมชน กลุ่มชน และสถาบันทางสังคมต่างๆ ที่นักวิชาการสังคมศาสตร์ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย คุณูปการทางความคิดและงานวิชาการที่แพร่กระจายไปยังสังคมและชุมชนอย่างกว้างขวาง ที่บ่อยครั้งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและยกระดับสังคมในเชิงคุณภาพ ย่อมไม่อาจใช้มาตรวัดเพียงการอ้างอิงบทความมาตัดสินคุณค่าในทางวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว และยิ่งสร้างข้อกังขาหนักขึ้นไปอีก หากคุณูปการต่อท้องถิ่นและสังคมที่สร้างสรรค์โดยงานวิชาการในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะนั้นจะถูกให้ค่าว่า “ต่ำกว่า” หรือ “ให้ค่าคะแนนของ impact factor” น้อยกว่างานที่ไปปรากฎในโลกของฐานข้อมูลต่างประเทศ (ภายใต้ภาษาอังกฤษ)
          ข้อจำกัดของ Scopus นั้นเป็นที่กล่าวถึง วิพากษ์วิจารณ์ และได้รับการเรียกร้องให้มีการทบทวนจากนักวิชาการในหลากหลายสาขานอกโลกวิชาการภาษาอังกฤษ การจะวัดความเป็นเลิศทางวิชาการที่แท้จริงนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นอันหลากหลาย และละเอียดอ่อนต่อความแตกต่างของคุณลักษณะของศาสตร์ในแต่ละสาขา เพื่อที่จะได้สามารถค้นหาแนวทางที่จะเชื่อมต่อช่องว่างอันมหาศาลในการการพิจารณาคุณค่าทางวิชาการที่ดำรงอยู่ ก่อนที่จะรีบทำการตัดสินถึงความเด่น ความด้อยของศาสตร์สาขาใด หรือสถาบันใด และก่อให้เกิดการเบียดขับสาขาวิชาอื่นๆ ออกไปโดยไม่ตั้งใจ


 1 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและลักษณะเฉพาะเป็นประเด็นที่จำเป็นที่ต้องเอาใจใส่ ทั้งนี้เพราะภาษาบางภาษานั้นมีอิทธิพลมากในบางสาขาวิชา จากการศึกษาของ Kousha and Thelwall (2008:284) พบว่า 36% ของการอ้างอิงในเคมีนั้นอยู่ในภาษาจีนในขณะที่ 96%ของบทความในฟิสิกส์นั้นอยู่ในภาษาอังกฤษ ในโลกของสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์นั้นงานส่วนใหญ่จะอยู่ในภาษาท้องถิ่น (non-English) ทั้งนี้เพราะบริบทและลักษณะของศาสตร์นั้นตอบสนองและสื่อสารกับสังคมที่ศาสตร์นั้นดำรงอยู่

2 Scopus เองก็ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและมีความพยายามที่จะแก้ไขจุดอ่อนในเรื่องนี้ ด้วยการผนวกเอางานในท้องถิ่นเข้าอยู่ในระบบฐานข้อมูลด้วย เช่นความพยายามเมื่อเร็วๆนี้ในการร่วมมือกับสกว.ในการขยายฐานข้อมูลไปสู่วารสารภาษาไทย เป็นต้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ความพยายามดังกล่าวจะมีผลในการเปลี่ยนแปลงมาตรวัดในระดับนานาชาติที่ภาษาอังกฤษยังคงเป็นสื่อสำคัญที่ถูกให้ค่าสูงที่สุดได้อย่างไร

3โปรดดูบทวิจารณ์ที่น่าสนใจทางด้านมนุษย์ศาสตร์โดย  Stefan Collini ใน “Impact on humanities: researchers must take a stand now or be judged and rewarded as salesman”, TLS November 13,2009

 


 

บทสรุป
          ใน How Professors Think: Inside the Curious World of Academic Judgment เขียนโดย Michèle Lamont (2009) ได้ตั้งโจทย์สำคัญต่อสิ่งที่เรียกว่า ความเป็นเลิศทางวิชาการ (academic excellence) ซึ่งเป็นกลไกขับดันชีพจรของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สำหรับ Lamont แล้ว การนิยามความเป็นเลิศด้วยมาตรฐานเดียว หรือด้วยวิธีการเดียว และใช้วิธีการนั้นเป็นมาตรฐานสากลเพื่อเป็นมาตรวัดคุณค่าทางปัญญาของศาสตร์ในทุกสาขานั้น ไม่เพียงแต่เป็นแนวทางที่ขัดต่อธรรมชาติของโลกทางปัญญาของวงการวิชาการที่ดำรงอยู่ด้วยความหลากหลาย หากแต่ยังเป็นทิศทางที่รังแต่จะทำลายความงามของความเป็นวิชาการลงอย่างน่าเสียดาย
เป็นที่แน่ชัดว่า ระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัย และดัชนีฐานการอ้างอิงข้อมูล ที่ถูกเลือกขึ้นเป็นตัวแทนของมาตรวัดการทำงานทางปัญญาและวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาในโลกที่ไทยสมาทานมาใช้เป็นแม่แบบนั้น ไม่เพียงแต่วางอยู่บนฐานการมองปรัชญาการศึกษาที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องเท่านั้น หากยังอยู่บนการเลือกที่จะนิยามความเป็นเลิศของอุดมศึกษาไว้กับความมีชื่อเสียง ตัวเลขเชิงปริมาณ และการแข่งขันกันเป็นที่หนึ่งในโลกเท่านั้น ซึ่งทิศทางเช่นนี้ ได้ละทิ้งและเบียดขับคุณค่าอื่นๆ ที่สำคัญ ซึ่งอุดมศึกษาพึงมีต่อสังคม จิตวิญญาณและสุนทรียะอันสร้างสรรค์ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างสรรค์มนุษย์ไปอย่างน่าเสียดาย
บทความชิ้นนี้ทำหน้าที่ในการประมวลปัญหาและข้อวิพากษ์ที่มีต่อทิศทางอันน่าจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคตของอุดมศึกษาไทยที่ดำเนินรอยตามตัวแทนการจัดอันดับอุดมศึกษาโลกโดยปราศจากการศึกษาถึงข้อดีข้อเสียอย่างถี่ถ้วน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การชี้ให้เห็นปัญหาในเบื้องต้นนี้จะนำไปสู่การแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์เพื่อช่วยยกระดับอุดมศึกษาไทยไปในแนวทางเชิงคุณภาพต่อไป


ภาคผนวก 1

Table 1: Criticism on the ranking systems

  
ภาคผนวก 2


Times Higher Education - QS World University Rankings -Methodology
DEFINITION OF INDICATORS


Peer Review: Over 190,000 academics were emailed a request to complete our online survey this year. Over 1600 responded - contributing to our response universe of 3,703 unique responses in the last three years. Previous respondents are given the opportunity to update their response. Respondents are asked to identify both their subject area of expertise and their regional knowledge. They are then asked to select up to 30 institutions from their region(s) that they consider to be the best in their area(s) of expertise. There are at present approximately 540 institutions in the initial list. Responses are weighted by region to generate a peer review score for each of our principal subject areas which are:
               • Arts & Humanities
               • Engineering & It
               • Life Sciences & BioMedicine
               • Natural Sciences
               • Social Sciences
The five scores by subject area are compiled into a single overall peer review score with an equal emphasis placed on each of the five areas.

Recruiter Review: Over 375 recruiters responded this year contributing to a total response universe of 738 in the last two years. The recruiter review will operate on the same three year latest response model that the peer review utilises - so we will be operating on a number in excess of 1000 next year. Recruiter names are sourced through QS databases, media partners and partner schools & universities. Responses are weighted by region to reach a final score.

International Students: Score calculated based on the proportion of Full Time Equivalent (FTE) faculty that are international

International Faculty: Score calculated based simply on the proportion of total students that are international.

Student Faculty: Score based simply on the student faculty ratio, the higher the number of faculty per student the higher the score. Whilst not as directly reflective as we might hope, this is intended as a measure of 'commitment to teaching'.

Citations per Faculty: There is a database maintained by Thomson called the Essential Science Indicators (ESI). It collates numbers of papers published and citations received by the research staff at most institutions in the world. We factor these results by the faculty number to, essentially, scale the score according to the size of the institution. Citation data is taken for the last five years. (Note: this is a change from last year's 10 years in an effort to enhance the 'topicality' of the research)

Additional Data: Although not used to compile the rankings we also collect a range of additional data… some of these may be introduced to the rankings in the future, some of them are used simply as additional info, some just for the book and some not at all, but may be interest to journalists. These are
               • Average fees
               • Average undergraduate fees
               • Average postgraduate fees
               • Annual Library Spending
               • Physical Address
               • Web addresses
               • Average Entry Requirements
               • Percentage of graduates employed
               • Course Titles (over 65,000 courses)
               • Scholarship Information
               • Various Contact Details

 

DATA SOURCES



Aside from the online surveys used for the Peer and Recruiter Reviews for which in addition to our own lists data was used from World Scientific, Mardev, JobsDB (Philippines) and JobStreet (Malaysia), a range of other sources of data have been used. Our team of interns do a lot of work contacting universities directly and we also, where possible, use national statistics agency such as HESA in the UK or NCES in the US. A full list of these will be included in the book


ภาคผนวก 3


ตัวอย่างแผนของบางมหาวิทยาลัยในไทยในการวางแผนเพื่อปรับตนเองให้ติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเพื่อให้การติดอันดับ QS Ranking ดีกว่าเดิม มีดังนี้


1. Peer Review 40% Peer Review ประมาณ 75% เป็นผู้อยู่ในวงการศึกษาประมาณ 40% เป็น Prof & Assoc Prof รองลงมาเป็น Lecturer Senior Lecturer และ Head of Department ประเทศที่ Peer Review ตอบมากที่สุด 10 อันดับ คือ


กลยุทธ์ในการเพิ่มคะแนน Peer Review (40%)

 2.  Student Faculty Ratio 20%
ในส่วนของนักศึกษา 1.งดการขยายรับนักศึกษาปริญญาตรี 2. ลดจำนวนนักศึกษาปริญญาตรีในบางสาขา 3. ไม่เปิดหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาตรี
ในส่วนของอาจารย์ 1. รักษาอาจารย์ใกล้เกษียณที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก และหรือตำแหน่งทางวิชาการไว้ 2. รับอาจารย์ปริญญาเอกเพิ่มสำหรับหลักสูตร/คณะที่ยังมีปริญญาเอกต่ำกว่าเกณฑ์ 3.ส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

3. Employer Review (10%)
ประเทศที่ Employer Review ตอบมากที่สุด 10 อันดับคือ

 อาชีพ 5 อันดับแรกที่ตอบมากที่สุดคือ
     1. Financial service and Banking
     2. Consulting /Professional services
     3. Manufacturing and Engineering
     4. IT & computer services
     5. Recruitment and HR Services
     6. Public Sector/Govt./Non Profit

กลยุทธ์ในการเพิ่มคะแนน


Employer Review (10%)

     1. สำรวจรายชื่อหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิต (ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับมหาวิทยาลัย) แจ้งไปยัง QS
     2. พัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพ/ความเข้มแข็งทุกด้านตามลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
     3. พัฒนานักศึกษากลุ่มเก่งให้มีคุณภาพโดดเด่น สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ทุกระดับ (ทั้งปริญญาตรี โท เอก)
     4. พัฒนารายวิชา สหกิจศึกษา ให้นักศึกษามีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในประเทศ และต่างประเทศกับองค์กรที่มีคุณภาพ
     5. พัฒนานักศึกษาให้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันในกิจกรรมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติ เช่น การแข่งขันการสร้างผลงานนวัตกรรม การมีโอกาสร่วมนำเสนอผลงานวิจัย)

 

4. Internationalization 10%
     International Faculty (5%) ส่งเสริมโครงการ One Department One Foreign Lecture (ODOFL) ให้เป็นจริง

     International Student (5%) ประชาสัมพันธ์หลักสูตรนานาชาติสำหรับกลุ่มเป้าหมาย เปิดสอนรายวิชาที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองไทย/ภาคใต้ในช่วงฤดูร้อน

 

มีต่อ

 

วิจารณ์ พานิช
๑๑ ธ.ค. ๕๒


        
       


 

หมายเลขบันทึก: 321181เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท