หัวใจของทุกงาน


การให้เกียรติ

หัวใจของทุกงานคือการใหเกียรติ

ครั้งหนึ่ง มีโยมคนหนึ่งจากนครสวรรค์ไปหา "ท่านพุทธทาส" จ.สุราษฎร์ธานี ถือชะลอมไปด้วย พอไปถึงท่านพุทธทาสจำวัด ลูกสิษย์หน้าห้องไม่ให้พบ เพราะพระอาจารย์กำลังจำวัด  แต่โยมก็บอกว่า ไหน ๆ ก็มาแล้ว ขอพบสักหน่อยไม่ได้หรือ ไม่คุยก็ได้ ขอไปโผล่ดูหน้าต่างได้ไหม โยมก็เลยชะโงกกระโดดเต้นหย่อง ๆ แหย่ง ๆ อยู่ริมหน้าต่าง ของท่านพุทธทาส  แล้วกฏิท่านอยู่กับพื้น พอโยมชะโงกไปดู ชะลอมมันไปถูกับผนังห้องของท่าน ท่านพุทธทาสตื่นห่มจีวรออกมานั่งรับแขก  คุยสักพัก โยมก็ลากลับไปด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม แต่หน้าห้องของท่านยังโกรธเป็นยักษ์อยู่เลย ท่านพุทธทาสก็ถามว่า

  "โยมก็กลับแล้ว  คุณโกรธใครกัน"

ลูกศิษย์ท่านบอกว่า  "ผมโกรธโยมครับหลวงพ่อ  ผมบอกว่าอย่าไปกวนหลวงพ่อ โยมก็ยังไปกวนจนได้ แหมคนอย่างนี้มันน่าสั่งสอนนัก"

  ท่านพุทธทาสบอกว่า "โยมมาหาใคร"

   "มาหาหลวงพ่อครับ"

   "แล้วผมโกรธไหม"

   "หลวงพ่อไม่โกรธครับ"

   "แล้วคุณโกรธแทนผมทำไม"

ตั้งแต่นั้นมาลูกศิษย์ท่านนั้น เวลามีใครมาหาหลวงพ่อก็ไม่เคยแสดงอาการตั้งแต่ก่อนอีกเลย นี่ก็เรียกว่า ท่านพุทธทาสให้เกียรติคน  แม้ท่านจะพักผ่อน พอรู้ว่ามีโยมมาแม้จะจำวัดท่านก็ลุกขึ้นมาจากเตียงออกมาต้อนรับ นี้ภาษาพระเรียก "เคารพในปฎิสันถาร" คือ "การต้อนรับ"

                                    จากหนังสือ งานสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์ ของท่าน ว.วชิรเมธี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 321180เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ข้อคิดที่ดีมาก ขอบคุณ

ขอบคุณหลาย ๆ สำหรับข้อคิด

สวัสดีครับ แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ที่ได้รับด้วยนะครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำว่า "หัวใจของทุกงานคือการใหเกียรติ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท