การระวังรักษาเครื่องหม้อไอน้ำ


การระวังรักษาเครื่องหม้อไอน้ำ

การระวังรักษาเครื่องขณะเดินหม้อไอน้ำ

                 *        เมื่อเราทำการจุดแบบ    Manual   นั้น  ทุกครั้งให้หมั่นดูด้วยว่า  ไฟที่จุดยังติดอยู่หรือเปล่า  เพราว่าถ้ากรณีจุดไปแล้วดับ   จะมี  Alarm  บอกให้ทราบ  แต่ในขณะเดียวกันนี้หัวฉีดก็ยังคงฉีดน้ำมันเข้าไปอยู่เรี่อย ๆ ซึ่งอันตรายมากในการที่จะจุดในครั้งตอไป

                *             ห้าม   On  Switch   Ignition  ค้างไว้นานเกินกว่า    10  วินาที     เพราะจะทำให้หม้อแปลงไฟไหม้ได้

                *             หมั่นสังเกตระดับน้ำทั้งในหม้อไอน้ำและที่ถังเติมน้ำ   (   Cascade  Tank  )  อยู่เสมอ

                *             หมั่นสังเกตการทำงานของ   Feed  Pump    ให้ทำงานเป็นปกติเสมอ     

 

                 ปัญหาที่พบในระหว่างที่   Boiler   ยังเดินอยู่    อาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นเนื่องจากหลายสาเหตุ   ซึ่งจะยกตัวอย่างที่พบบ่อย ๆ และการแก้ไขดังต่อไปนี้

           1.       Priming  Foaming  Over   คือ  ลักษณะของไอน้ำที่มีฟองอากาศผสมออกมาทำให้ประสิทธิภาพของ  Steam  ลดลง

                สาเหตุที่   1   เกิดจากการเปิด  Main  Steam  Stop  Valve  เร็วเกินไปในการเปิดใช้ไอน้ำ

                การแก้ไข    ก่อนทำการเปิดไอน้ำไปใช้งานให้ค่อย ๆ เปิด    Main  Steam  Stop  Valve    ทีละนิด

 

                สาเหตุที่   2   เกิดจากน้ำมัน  หรือสิ่งสกปรกผสมอยู่ในหม้อไอน้ำ

                การแก้ไข       ให้ทำการ   Blow  Down  ทั้ง  Surface  Blow  Down  และ  Bottom     Blow  Down 

 

          สาเหตุที่   3   เกิดจากการเปิดใช้ไอน้ำมากเกินไปภายในเวลารวดเร็ว

                การแก้ไข       ให้ค่อย ๆ  ทำการเปิด   Steam   ใช้งานที่ละน้อยแล้วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   สังเกตจาก       Pressure   ของ   Steam   ที่   Pressure   Gauge    

 

          2        Over   Heat     คือ   การเกิดความร้อนสูงภายในหม้อไอน้ำ

          สาเหตุที่   1   มีตะกรัน   (  Scale  ), Oil , Fat   อยู่ภายในหม้อน้ำมากเกินไปทำให้เกิดการสะสมของความร้อนเพิ่มขึ้น

                การแก้ไข       ทำความสะอาดพื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อน  และหมู่หลอดต่าง ๆ อย่าให้มีตะกรัน  ( Scale )มาเกาะ

 

          3   Water  Hammering   คือ   ลักษณะของ   Steam   ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเสียงดังเหมือนเอาค้อนทุบกับเหล็ก

                สาเหตุที่   1   เกิดจากการเปิด    Steam   ไปใช้งานแล้วมีน้ำค้างอยู่ในระบบท่อ  ทำให้เกิดการประทะกันระหว่าง  Steam  กับน้ำ    ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้บ่อย ๆ  จะทำให้ท่อเกิดการุกร่อน หรือแตกได้

                การแก้ไข       ในกรณีที่จะเปิดนำเอา    Steam  ไปใช้งาน  ให้ทำการเปิดอย่างช้า ๆ  และทำการ   Drain  Accumulate  Steam  ที่ท่อทางกลับจนกว่าน้ำในระบบท่อจะหมดแล้วค่อยเปิดเอาSteam   ไปใช้งาน

 

รายการการบำรุงรักษาและการตรวจสอบ ( Maintenance  and  Inspection  Check  List )

                  การทดสอบ  (  Test   )

          1.       ทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมเกี่ยวกับสัญญาณเตือน   (   Alarm  )  ของระบบ  Feed  Water   ทุก ๆ  1- 2  สัปดาห์

          2.       ทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมเกี่ยวกับสัญญาณเตือน   (   Alarm  )  ของระบบ    Oil  Burning   ทุก ๆ  1  สัปดาห์

          3.       ทดสอบ   Safety  Valve  ทุก ๆ   1 – 2  ปี   ทดสอบโดยการดึงกระเดื่องที่กำลังดัน   ในการทำงานของ     Safety  Valve 

          4.       ทดสอบเกจวัดระดับน้ำทุก   1- 2   วัน    ทดสอบโดยการทำ   Blow  Off   ภายใน   Sight Glass

แล้วเปิดวาล์วเติมน้ำเข้ามาใหม่   สังเกตระดับน้ำว่าอยู่ในระดับปกติที่ถูกต้องหรือไม่

               

                การตรวจสอบ   (   Inspection  )

          1.       การตรวจสอบ  กำลังดันในหม้อไอน้ำ   (  Pressure  )  อุณหภูมิ   (   Temperature  )  และ  จำนวนน้ำเลี้ยงหม้อไอน้ำ  (   Feed  Water  )  ทุก ๆ วัน

          2.       ตรวจสอบระดับของน้ำมันเชื้อเพลิงในถังงาน  (   F.O.  Tank   )   และระดับของน้ำเลี้ยงหม้อไอน้ำในถัง  (   Cascade  Tank  )  ทุกๆ วัน

          3.           ตรวจสอบคุณภาพของน้ำภายในหม้อไอน้ำ  ทุก ๆ     2 ­­-  3   วัน

          4.       ตรวจสอบการรั่วไหลที่วาล์วและข้อต่อต่าง ๆ  ทุกวัน

          5.       ตรวจสอบความผิดปกติทั่วไปเช่น   เสียง  (   Noise  )   , การสั่นสะเทือน  (   Vibration  )  และ ความร้อน  (  Heat  )  ทุกวัน

          6.       ตรวจสอบ    Heat  Transfer  Surface  ทุก ๆ     2 ­­-  3   ปี

          7.       ตรวจสอบ  Spark  Past    ทุก ๆ  เดือน

 

การบำรุงรักษาประจำวัน

                1.       การ     Blow  Down   ประโยชน์ของการทำ   Blow  Down    เพื่อเป็นการกำจัดสิ่งสกปรกที่อยู่บนผิวหน้าของน้ำในตัว  Boiler  เรียกว่า  “  Surface  Blow  Down  ”    เช่น  คราบน้ำมัน  และสิ่งสกปรกลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำใน  Boiler  ส่วนการทำการ   Blow  Down  จำพวกโดลน และตะกอนสนิมต่างๆ   ที่สะสมอยู่ด้านล่างของหม้อไอน้ำ       Boiler   เราเรียกการ   Blow  Down   นี้ว่า  “   Bottom  Blow  Down ”  การ Blow  Down  นี้จะทำทุกวันโดยทำการ    Blow  น้ำออกประมาณ  ¼    ของระดับน้ำปกติ

 

                2.          การตรวจสอบคุณภาพของน้ำ และการเติมสารเคมีเพื่อปรับปรุงคุณภาพของน้ำใน    Boiler   การตรวจสอบคุณภาพน้ำจะทำทุก ๆ  2 – 3  วัน   ค่าที่ทำการวัดออกมาได้จะมีการตรวจสอบดังต่อไปนี้   “ P” Alkaline, Sulphite   Test ,  Nitrite  Test ,  และ  Chloride  Test  ซึ่งขั้นตอนการทดสอบอธิบายไว้ในหัวข้อ  Boiler  Water  Treatment   การเติมสารเคมีจะเติมทุกวัน และมีการเติมบางชนิดที่ต้องเติมตามค่าที่วัดได้  เช่น

                -        ค่า   “ P” Alkaline   จะเติมเมื่อค่าของ   “ P” Alkaline   ลดลงต่ำกว่า   100   PPM  ใน  Low  Pressure  Boiler   ควรรักษาระดับของค่า “ P” Alkaline   ให้อยู่ในระดับที่ใช้จะอยู่ที่  100 – 300  PPM   (  Part  Per   Million  )

            -       Condensate   Treatment    จะเติมประมาณ    0. 35  ml   ทุกวันที่  Cascade  Tank

          -        B.W.T   Boiler  Water  Treatment   จะเติมประมาณ    0. 35  ml   ทุกวันที่  Cascade Tank

          -        Catalty   Sulphite    จะเติมที่ทางดูดของ   Boiler  Water  Feed  Pump  ทุก ๆ วัน  วันละ  0. 35  ml  

 

          3.       การตรวจสอบรอยรั่วของน้ำมันตามจุดต่าง ๆ  ตลอดจนตรวจสอบสภาพภายนอกของ    Boiler  เช่น  ดูการสึกหรอของ  วัสดุ  หรือ  โครงสร้างถ้าพบปัญหาให้รีบดำเนินการแก้ไขทันที

 

การบำรุงรักษาทั่ว ๆ ไป   (   General   Maintenance  )

                1.       ทำความสะอาดกรอง  (  Filter  )  ของระบบ  Feed  Water  System   ทุก   1 – 2   เดือน  หรือ  เท่าที่จำเป็น

                2.       ทำความสะอาดกรอง   (  Strainer  )  ของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง     Fuel  Oil  System   ทุก ๆ 1    เดือน   (  ใช้น้ำมัน   Diesel  Oil   ในการทำความสะอาด  )

                3.       ทำความสะอาด   Photo  Tubes  และ  Igniter   ทุก ๆ   1  สัปดาห์

                4.       เติมน้ำมันหล่อ    Auxiliary  Bearing   ทุก ๆ    1   ปี

                5.       ทำความสะอาด  Burner  Tile    ทุก ๆ    1   ปี  ตรวจสอบสภาพของ    Burner  Tile    ว่ามีสิ่งสกปรกหรือไม่

                6.       ทำความสะอาด   Water  Level  Gauge    ทุก ๆ  วัน

                7.       ทำความสะอาดบริเวณที่ติดตั้ง  Boiler   ถ้าเห็นว่าสกปรก  เช่น  คราบน้ำมัน ,  ขยะ , และอื่น ๆ 

 

การตรวจสอบการรั่วของน้ำทะเลที่เข้าสู่ระบบ     (   Sea  Water  Leaks  and  Measure  )

          เมื่อมีการรั่วไหลของน้ำทะเลปนเข้ามาในระบบของหม้อน้ำ  เราจะสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้

          1        ค่า   Chloride   เพิ่มขึ้นผิดปกติ

          2        ค่า    Phosphate   ลดลงอย่างรวดเร็ว  ถ้าไม่มีการแก้ไขอย่างทันท่วงทีก่อนที่จะทำให้เกิดหินปูน  (  Csale  )  มาเกาะติดแน่นภายในหม้อไอน้ำ

          3        ค่า   P  Alkaline  และค่า  PH  ลดลง  ทำให้น้ำภายในระบบมีสภาพความเป็นกรดเพิ่มขึ้น  ทำให้เกิดการกัดกร่อนได้   (  Corosive  )

 

การแก้ไขเมื่อมีน้ำทะเลปนเข้ามามาในระบบ(  Measures  Against  Sea  Water  Leakage  )

          1        ทำการ     Blow  Down 

          2        เติม    Chemical   รักษาค่าต่าง ๆ ให้อยู่ในมาตรฐาน

          3        ตรวจสอบท่อทางกลับของ    Exhaust   Steam    และตรวจสอบการรั่วของหลอดน้ำภายใน  Condenser

  

น้ำมันที่ปนเข้ามาในระบบและการตรวจสอบ  (  Oil  Inclusion  and  Measure  ) 

                1                   ถ้ามีน้ำมันรั่วเข้ามาในระบบจะสังเกตจากสิ่งต่อไปนี้

-     ค่า     P  Alkaline   ลดลงผิดปกติ

                2        การแก้ไข

                                -     ทำการ     Blow  Down    (   Surface   Blow  Down  )

                                -     เติม   P  Alkaline  Treatment   ให้ค่าอยู่ในช่วง 100 – 300   PPM

 

ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดการ   Over   Heat   ใน  Boiler

          เมื่อเกิดการ     Over   Heat   ใน  Boiler   ให้ทำการหยุดการเผาไหม้ทันทีและ   ทำการ   Blow  Air  ออกจากระบบโดยวิธีแบบ  Manual  Operation  รอจนกว่า   Pressure  ของ   Steam   จะลดต่ำลงสุดแล้วทำการ     Blow  Down    เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของการเกิด

 

Exhaust   Gas   Economizer  Boiler

          Exhaust   Gas   Economizer  Boiler   เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่คล้ายกับ   Boiler   กล่าวคือ   ทำหน้าที่ผลิตไอน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ บนเรือเหมือนกัน  แต่แตกต่างกันตรงที่      Exhaust   Gas   Economizer  Boiler   จะใช้ความร้อนจากแก๊สเสียของเครื่องจักรใหญ่ในการผลิตไอน้ำ  โดยที่ไอน้ำที่ผลิตได้นี้   ก็จะนำไปเก็บไว้ใน   Steam  Drum  ของหม้อน้ำเหมือนกัน

                 สำหรับ   Exhaust   Gas   Economizer  Boiler  นี้จะเริ่มใช้ในการผลิตไอน้ำในขณะที่อุณหภูมิแก๊สเสียของเครื่องจักรใหญ่    ประมาณ   150 C   ขึ้นไป    โดยก่อนเรือออกจากเมืองท่าประมาณ   1   ชั่วโมง ( O.H.N. )จะต้องทำการเดิน  Boiler  Water  Circulate  Pump  เมื่อ   Circulate น้ำจากถังพักเพื่อไปเข้า    Aux.  Boiler  ไปผ่านหมู่หลอดภายในตัวของหม้อไอน้ำเอง

                Aux.  Gas  Economizer   เป็นการ  Warm  Up  หมู่หลอดผลิตไอน้ำให้ค่อย ๆ  ได้รับความร้อน  และหลังจากเรือจอดประมาณ   1   ชั่วโมง   จึงทำการเลิก      Boiler  Water  Circulate  Pump    ไอน้ำที่ผลิตได้ใน     Exhaust   Gas   Economizer  Boiler    นี้  จะเป็นชนิดไออิ่มตัว  (  Saturated  )  เหมือนกับในตัว 

Aux.  Boiler

 

          การทำการ  Soot  Blow   Exhaust   Gas   Economizer  Boiler   การ   Soot  Blow    เป็นวิธีการทำความสะอาดหมู่หลอดที่ใช้ในการผลิตไอน้ำ  โดยจะใช้   Steam   ในการทำความสะอาดโดยการพ่นผ่านหมู่หลอดเพื่อขจัดคราบเขม่าของแก๊สซึ่งอาจจะเกาะอยู่ตามช่องว่างระหว่างหลอดที่ใช้ในการผลิตไออันเป็นสาเหตุให้การผลิตไอน้ำลดน้อยลง  เพราะเขม่าพวกนี้จะเป็นฉนวนทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนไม่สมบูรณ์    สำหรับเรือ   Thor  Dynamic   นี้  จะทำการ    Soot  Blow   Economizer  Boiler    อาทิตย์ละ  4  ครั้ง    กลางทะเลที่  Full  Speed  Away  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 320957เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท