การออกแบบหัวเรื่อง


สื่อการสอน

การออกแบบหัวเรื่องให้เกิดความแปลกแตกต่างมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1. การดำเนินการออกแบบขั้นต้น

เป็นการเตรียมพร้อมหรืออุ่นเครื่องก่อนเข้าสู่การสร้างความแปลกแตกต่างอย่างจริงจัง มีข้อปลีกย่อยตามลำดับดังนี้

1.1 แบ่งหัวเรื่องออกเป็น 2 ส่วน

การแบ่งหัวเรื่องออกเป็น 2 ส่วนทำให้เกิดหัวเรื่องระดับที่ 1 และระดับที่ 2 เลือกใช้ตัวพิมพ์แบบแปร และจัดแนวบรรทัด ให้ชิดไปด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างความแปลกแตกต่าง ในขั้นตอนต่อไป

1.2 ใช้ระยะบรรทัดแคบๆ 

ไม่ว่าหัวเรื่องจะมีขนาดใหญ่เท่าใดก็ตามระยะบรรทัดของหัวเรื่องควรจะมีขนาดเท่ากับระยะบรรทัดของตัวพิมพ์ที่เป็นเนื้อเรื่องเพื่อให้หัวเรื่องทั้ง 2 ส่วนจะอยู่ใกล้ชิดกันแบบมีเอกภาพ ถ้ามีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้ระยะบรรทัดที่มากกว่าระยะบรรทัดของตัวพิมพ์ที่เป็นเนื้อเรื่อง ให้เพิ่มระยะบรรทัดแบบเป็นทวีคูณกับระยะบรรทัดเนื้อเรื่อง

1.3 ใช้สัดส่วนตัวพิมพ์ที่ไม่ธรรมดา  

การทำหัวเรื่องให้เป็นตัวกว้างหรือตัวแคบมากกว่าปกติ จะทำให้หัวเรื่องดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

 

 

 

2. การออกแบบให้เกิดความแปลกแตกต่าง

การสร้างความแปลกแตกต่างให้เกิดขึ้นกับหัวเรื่องทำได้หลายวิธีแต่ละวิธีมีหลักการแตกต่างกันออกไปดังนี้

 

2.1 ความแปลกแตกต่างด้านขนาด

การสร้างความแปลกแตกต่างด้านขนาดต้องทำให้ปรากฏอย่างโดดเด่นและชัดเจน การจัดตัวพิมพ์ขนาดใหญ่คู่กับตัวพิมพ์ขนาดเล็กเพื่อให้เกิดความแปลกแตกต่างจะสัมฤทธ์ิผลได้นั้น ไม่ควรสร้างด้วยตัวพิมพ์ขนาด 22 พอยต์ กับ 24 พอยต์ หรือขนาด 24 พอยต์ กับ 26 พอยต์ บ่อยครั้งที่การกระทำดังกล่าวจะกลายเป็นความไม่เข้ากัน ถ้าจะสร้างความแปลกแตกต่างให้กับหัวเรื่องทั้ง 2 ระดับต้องทำให้เห็นอย่างชัดเจนกระจ่างตา

2.2 ความแปลกแตกต่างด้านน้ำหนักของตัวพิมพ์

น้ำหนักของตัวพิมพ์หมายถึง ความหนาของเส้นตัวพิมพ์ ตัวพิมพ์ในสกุลเดียวกันมักจะมีหลายน้ำหนักแตกต่างกันเช่น ตัวธรรมดา ตัวหนา ตัวบาง เป็นต้น เมื่อต้องผสมตัวพิมพ์หลายน้ำหนักเข้าด้วยกัน จงเน้นให้ปรากฏอย่างชัดเจน มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดความสงสัยว่า “ทำไปทำไม” 

2.3 ความแปลกแตกต่างด้านรูปทรง

รูปทรงของตัวพิมพ์หรืออีกนัยหนึ่งก็คือรูปร่างของตัวพิมพ์ ที่อาจจะมีโครงสร้างเส้นลำตัวเหมือนกัน แต่แตกต่างกันเรื่องทรวดทรงองค์เอว

2.4 ความแปลกแตกต่างด้านทิศทาง

การให้ความหมายของคำว่า “ทิศทาง” หมายถึง การจัดตัวพิมพ์ให้หมุนเอียงไปตามมุมต่างๆ ที่ไม่อยู่ในแนวระนาบ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงไว้เสมอก็คือจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า “ทำไมคำๆนั้นจึงต้องวางมุมเอียงทำแล้วเป็นการเพิ่มความสวยงามหรือเพื่อสื่อสารความหมาย”

2.5 ความแปลกแตกต่างด้านส

สีโทนร้อนจะพุ่งเข้าสู่ความสนใจของผู้อ่านทันที ผู้อ่านมักจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับสีโทนร้อน ดังนั้นจึงควรใช้สีแดงในปริมาณน้อยเพื่อสร้างความแปลกแตกต่าง ในทางกลับกันสีโทนเย็นจะทำให้ถอยห่างจากสายตาและผู้อ่านสามารถละสายตาออกจากสีโทนเย็นได้ง่าย ความหมายที่แท้จริงคือจำเป็นต้องใช้สีโทนเย็นในปริมาณที่มากกว่าเพื่อสร้างความแปลกแตกต่างให้สัมฤทธ์ิผล

  • การผสมผสานความแปลกแตกต่างให้กับหัวเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งทำได้มากกว่า 1 วิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ของนักออกแบบสิ่งพิมพ์

 

 

.............................................................................................................

 

 

 

            

คำสำคัญ (Tags): #head
หมายเลขบันทึก: 320446เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
จิตติพงษ์ รุ่งกรุด

กราบขอบพระคุณสำหรับความรู้ดีๆครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท