วิกฤตทางทุนปัญญา (Intellectual Capital Crisis)


สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะเกิดวิกฤตทางปัญญา คือ ต้องรักษาความรู้สึกของบุคลากร

          ในอนาคต สังคมและประเทศต่างๆ จะหันมาให้ความสำคัญกับมนุษย์มากขึ้น 

จะเกิดวิกฤตทางปัญญาของมนุษย์ (Intellectual Capital Crisis)

เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุด

ผมเชื่อว่าตอนนี้หลายๆ องค์กรยังไม่สำนึกถึงทรัพยากรมนุษย์

ตราบใดที่องค์กรขาดแคลนบุคลากร

ผมเชื่อว่าเมื่อนั้นแหละครับถึงจะเห็นความสำคัญของบุคลากร

 

          ตอนนี้เป็นเพียงคำพูดสวยหรูเท่านั้นว่า

คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด

แต่ในทางปฏิบัติ มิได้เป็นอย่างที่พูดหรืออย่างที่สัมภาษณ์เท่าใด

ทุกอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม

บริหารงานแบบเดิมๆ

คือแบบไทยๆ (แบบไทยๆ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุด ถูกต้องเสมอ)

โดยไม่ฟังเสียงใดๆ ทั้งสิ้น

นี่แหละครับ กำลังจะเกิดวิกฤตทางปัญญา

 

          สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะเกิดวิกฤตทางปัญญา

ต้องรักษาความรู้สึกของบุคลากร

สร้างความรัก ความเป็นห่วงให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรมากที่สุด

ซึ่งส่วนนี้เองครับ

ที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถเกิดพลังปัญญา (Wisdom Power)

พร้อมที่จะพัฒนาองค์กรในลำดับต่อไป

 

          โดยเฉพาะเรื่องของการเรียนรู้

องค์กรจะต้องเน้นให้เกิดการเรียนรู้ (Learning)

มากกว่าการสอน (Teaching)

เพราะบุคลากรเป็นผู้ใหญ่เป็นผู้ที่กำลังพัฒนาโครงสร้างต่างๆ

ต้องรู้จักการสร้างโปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่

ว่าจะออกแบบอย่างไร สร้างโปรแกรมอย่างไร

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

และใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนพัฒนามนุษย์

ใช้ทรัพยากรทั้งด้านภายในและภายนอกให้เกิดประโยชน์

เน้นหลักๆ ในเรื่องของการ Re-engineering

ซึ่งในอนาคตหลายๆ องค์กรจะให้ความสำคัญกับเรื่อง Re-engineering

 

          Career Development

เป็นการพัฒนาอาชีพให้เกิดความเชี่ยวชาญเชิงลึก

สามารถทำได้โดยการ Coaching & Training

ซึ่งแต่ละสาขาวิชาก็มีทักษะที่แตกต่างกันออกไป

ขึ้นอยู่กับนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human developer)

จะ Design ให้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ

เปรียบเสมือนว่านักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะต้องเป็นนักการตลาด

โดยมีกลุ่มลูกค้าคือบุคลากรภายในองค์กรเอง

ต้อง Design ให้โดนใจผู้ที่เข้าอบรม เกิดความหลากหลาย

มีหลายรูปแบบ และผู้บริหารต้องเห็นด้วยกับ Design นั้นๆ

 

แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป จนต้องมานั่งปวดหัว

กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) เพราะเป็นเรื่องเดิมๆ

ที่จำเป็นต้องทำ บางครั้งอาจจะเป็นงาน Routine ด้วยซ้ำครับ

แต่งานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD) นั้น

เป็นงานที่ต้องเข้าใจในตัวของบุคคลนั้นจริงๆ

ต้องคิดที่จะสร้างให้เขาเกิดการพัฒนา

โดยเฉพาะการพัฒนาด้านความคิด

ไม่ใช่คิดเพื่อจะให้องค์กรเติบโตอย่างเดียวครับ

ต้องใส่ใจในเรื่องจิตใจของคนด้วย

ก่อนที่องค์กรของเราจะเกิดวิกฤตทางปัญญาอย่างแก้ไม่ได้

 

นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไม่สามารถแก้ได้แน่ครับ

เพราะต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า

นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็คือมนุษย์เงินเดือนเหมือนกัน

ถึงจะเก่งยังไง ก็ต้องฟังเจ้าของอยู่ดี

ถ้าเจ้าของไม่เอาด้วยก็จบเรื่องแล้วครับ...

แต่ถ้าเรายังไม่ท้อ

หากลยุทธ์ในการหว่านล้อมพูดให้เห็นความสำคัญของคนกับองค์กร

โดยมีข้อแม้ว่า...

จะต้องพูดให้เจ้าของหรือ CEO เห็นว่า

องค์กรจะได้อะไรจากการกระทำดังกล่าว

เพราะผมเชื่อว่ายังไงก็ต้องยอมรับ

ขอให้เนื้อหาในการโต้แย้งเพื่อเปลี่ยนแปลงของเราดีพอครับ

 

ขอฝากอีกนิด ที่ผมใช้เสมอๆ ในการทำงาน

และกลายเป็นคติประจำใจของผมแล้วคือ

 

Great change always…Start from within

การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่...เริ่มต้นจากข้างใน

 

แล้ววันนี้เราเปลี่ยนความคิดของเราแล้วหรือยังครับ??

คำสำคัญ (Tags): #hr#hrd#hrm#od#trainerpatt#training
หมายเลขบันทึก: 320346เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 03:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรื่องจิตใจนี่สำคัญมากเลยครับ มนุษย์เงินเดือนหลานคนที่ผมรู้จักก็ย้ายงานเพราะ หมดใจ หรือ ถูกทำลายความรู้สึก

คุณน่าจะเขียนบันทึก "องค์กรควรรักษาความรู้สึกอย่างไร" เสนอเฉยๆ แต่อยากอ่านครับ

ผมเห็นด้วยกับเรื่อง "วิกฤตปัญญาของมนุษย์ (Intellectual Capital Crisis)" ผมได้แง่คิดจากคุณไปเรียนรู้ต่อครับ ขอให้เขียนมาเยอะๆเป็นธรรมทานให้สังคมนะครับ

อ.โย

ขอบคุณกับหัวข้อของบทความครับ เดี๋ยวจะคิดดูว่า มีอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยหลักที่จะรักษาความรู้สึกได้อย่างไร? ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท