การต่อสายแลน


วิธีต่อสายแลน

สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล

1.สายบิดคู่ตีเกลียว

(Twisted pair)
         สายบิดคู่ตีเกลียว (Twisted Pairs) เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสายสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) สายคู่บิดเกลียวหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิดเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่รบกวนซึ่งกันและกัน
         สายบิดคู่ตีเกลียวที่มีขายในท้องตลาดมี หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งสายสัญญาณอาจประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวตั้งแต่หนึ่งคู่ไปจนถึง 600 คู่ในสายขนาดใหญ สายบิดคู่ตีเกลียวที่ใช้กับเครือข่าย LAN จะประกอบด้วย 4 คู่ สายคู่บิดเกลียวที่ใช้ในเครือข่ายแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
         - STP (Shielded Twisted Pairs) หรือสายบิดคู่ตีเกลียวหุ้มฉนวน
         - UTP (Unshielded Twisted Pairs)  หรือสายบิดคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวน

Shielded Twisted Pairs (STP)
         สายบิดคู่ตีเกลียวแบบมีส่วนป้องกันสัญญาณรบกวน หรือ STP (Shielded Twisted Pairs) มีส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือ ส่วนที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ซึ่งชั้นป้องกันนี้อาจเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรือใยโลหะที่ถักเปียเป็นตาข่าย ซึ่งชี้นป้องกันนี้จะห่อหุ้มสายคู่บิดเกลียวทั้งหมด ซึ่งจุดประสงค์ของการเพิ่มขั้นห่อหุ้มนี้เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุจากแหล่งต่าง ๆ


รูปสาย Shielded Twisted Pairs (STP)

 

Unshielded Twisted Pairs (UTP)
       สายบิดคู่ตีเกลียวชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน (Unshielded Twisted : UTP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยูทีพี สายสัญญาณประเภทนี้เป็นสายบิดคู่ตีเกลียวที่ให้ในระบบวงจรโทรศัพท์ตั้งเดิม ต่อมาได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น สายยูทีพีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้ปรับปรุงคุณสมบัติจนสามารถใช้กับสัญญาณ ความถี่สูงได้ สายยูทีพีใช้ลวดทองแดง 8 เส้น ขณะที่ในระบบโทรศัพท์จะใช้เพียง 2 หรือ 4 เส้น ซึ่งต่อเข้ากับหัวต่อแบบ RJ 45 ซึ่งเป็นตัวต่อที่มีลักษณะคล้ายกับหัวต่อในระบบโทรศัพท์ทั่วไป แต่ในระบบโทรศัพท์ จะเรียกหัวต่อว่า RJ 11 การที่มีสายทองแดงไว้หลายเส้นก็เพื่อให้หัวต่อ RJ 45 ซึ่งเป็นหัวต่อมาตรฐานสามารถเลือกใช้งานได้ในหลายๆ รูปแบบ เช่น

+ ใช้สายทองแดงตั้งแต่ 3 - 8 เส้น เป็นสายสัญญาณ 10 เมกะบิตของ อีเธอร์เน็ตแบบ 10BASE-T

+ ใช้สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 เมกะบิต ของอีเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T

+ ใช้สายทองแดง 8 เส้น เป็นสายสัญญาณของเสียง                        

+ ใช้สายทองแดง 2 เส้น สำหรับระบบโทรศัพท์        

 คุณสมบัติพิเศษของสายบิดคู่ตีเกลียว
      การใช้สายบิดคู่ตีเกลียวในการรบส่งสัญญาณนั้นจำเป็นต้องใช้สายหนึ่งคู่ในการ ส่งสัญญาณ และอีกหนึ่งคู่ในการรับสัญญาณ ซึ่งในแต่ละคู่สายจะมีทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ในการทำเช่นนี้เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า "Differential Signaling" ซึ่งเทคนิคนี้คิดค้นขึ้นมาเพื่อจะกำจัดคลื่นรบกวน (Electromagnetic Noise) ที่เกิดกับสัญญาณข้อมูล ซึ่งคลื่นรบกวนนี้เกิดขึ้นได้ง่าย และเมื่อเกิดขึ้นกับสายสัญญาณแล้วจะทำให้สัญญาณข้อมูลยากต่อการอ่านหรือแปล ความหมาย
มาตรฐานสายสัญญาณ
      สมาคมอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ หรือ EIA (Electronics Industries Association) และสมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ TIA (Telecommunication Industries Association) ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน EIA/TIA 568 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการผลิตสาย UTP โดยมาตรฐานนี้ได้แบ่งประเภทของสายออกเป็นหลายประเภทโดยแต่ละประเภทเรียกว่า Category N โดย N คือหมายเลขที่บอกประเภท ส่วนสถาบันมาตรฐานนานาชาติ (International Organization for Standardization) ได้กำหนดมาตรฐานนี้เช่นกัน โดยจะเรียกสายแต่ละประเภทเป็น Class A-F คุณสมบัติทั่วไปของสายแต่ละประเภทเป็นดังนี้

          Category 1 / Class A : เป็นสายที่ใช้ในระบบโทรศัพท์อย่างเดียว โดยสายนี้ไม่สามารถใช้ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้ สายโทรศัพท์ที่ใช้ก่อนปี 1983 จะเป็นสายแบบ Cat 1
           Category 2 / Class B : เป็นสายที่รองรับแบนด์วิธได้ถึง 4 MHz ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้ถึง 4 MHz ซึ่งจะประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวอยู่ 4 คู่
           Category 3 / Class C : เป็นสายที่สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 16 Mbps และมีสายคู่บิดเกลียวอยู่ 4 คู่
           Category 4 : ส่งข้อมูลได้ถึง 20 Mbps และมีสายคู่บิดเกลียวอยู่ 4 คู่
           Category 5 / Class D : ส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mbps โดยใช้ 2 คู่สาย และรับส่งข้อมูลได้ถึง 1000 mbpsเมื่อใช้ 4 คู่สาย
           Category 5 Enhanced (5e) : เช่นเดียวกับ Cat 5 แต่มีคุณภาพของสายที่ดีกว่า เพื่อรองรับการส่งข้อมูลแบบฟูลล์ดูเพล็กซ์ที่ 1000 Mbps ซึ่งใช้4 คู่สาย
           Category 6 / Class E : รองรับแบนด์วิธได้ถึง 250 MHz
           Category 7 / Class F : รองรบแบนด์วิธได้ถึง 600 MHz และกำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย
           มาตรฐาน TIA/EIA นั้นได้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของสายสัญญาณ UTP ดังนี้
           - ค่าความต้านทาน (Impedance)  :  โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ที่ 100 Ohm + 15%
           - ค่า สูญเสียสัญญาณ (Attenuation) : ของสายที่ความยาว 100 เมตร หรือ อัตราส่วนระหว่างกำลังสัญญาณที่ส่งต่อกำลังสัญญาณที่วัดได้ที่ปลายสาย โดยมีหน่วยเป็นเดซิเบล (dB)
           - NEXT (Near-End Cross Talk) : เป็นค่าของสัญญาณรบกวนของสายคู่ส่งต่อสายคู่รับที่ฝั่งส่งสัญญาณ โดยวัดเป็นเดซิเบลเช่นกัน
           - PS-NEXT (Power-Sum NEXT) : เป็นค่าที่คำนวณได้จากสัญญาณรบกวน NEXT ของสายอีก 3 คู่ที่มีผลต่อสายคู่ที่วัด ค่านี้จะมีผลเมื่อใช้สายสัญญาณทั้งคู่ในการรับส่งสัญญาณ เช่นกิกะบิตอี เธอร์เน็ต 
           - FEXT (Far-End Cross Talk) : จะคล้ายกับ NEXT แต่เป็นการวัดค่าสัญญาณรบกวนที่ปลายสาย
           - EFEXT (Equal-Level Far-End Cross Talk) : เป็นค่าที่คำนวณได้จากค่าสูญเสียของสัญญาณ (Attenuation) ลบด้วยค่า FEXT ดังนั้น ELFEXT ยิ่งแสดงว่าค่าสูญเสียยิ่งสูงด้วย
           - PS-ELFEXT (Power-Sum ELFEXT): เป็นค่าที่คำนวณคล้าย ๆ กับค่า PS-NEXT คือเป็นค่าที่คำนวณได้จากการรวม ELFEXT ที่เกิดจากสายสามคู่ที่เหลือ
           - Return Loss : เป็นค่าที่วัดได้จากอัตราส่วนระหว่างกำลังสัญญาณที่ส่งไปต่อกำลังสัญญาณที่สะท้อนกลับมายังต้นสาย
           - Delay Skew : เนื่องจากสัญญาณเดินทางบนสายสัญญาณแต่ละคู่ด้วยเวลาที่ต่างกันค่าดีเลย์สกิว คือ ค่าแตกต่างระหว่างคู่ที่เร็วที่สุดกับคู่ที่ช้าที่สุด

หัวเชื่อมต่อ
     สายคู่บิดเกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11 ซึ่งเป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และอีกอย่างหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเลียว 4 คู่ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปจะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45

การทำสายแพทช์คอร์ด หรือสายที่เชื่อมระหว่างฮับกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นปลายสายทั้งสองข้างจะต้องเข้าตามมาตรฐาน
EIA/TIA 568B ส่วนสายครอสส์โอเวอร์ หรือสายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างฮับกับฮับ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์นั้นปลายสายด้านหนึ่งต้องเข้าแบบ EIA/TIA 568A ส่วนปลายสายอีกด้านต้องเข้าแบบ EIA/TIA 568B

 

 

 

 

การเข้าหัวสาย

หลักการและเหตุผล

            ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายคือ สายสัญญาณ UTP ซึ่งเป็นสายสัญญาณทำจากสายทองแดง 8 เส้น พันเป็นคู่ ๆ ได้ 4 คู่อยู่ภายในฉนวน ซึ่งมีราคาไม่แพงแล้วสามารถติดตั้งเองได้อย่างง่ายดาย ซึ่งในการทดลองนี้จะให้นักศึกษาได้รู้จักและได้ทดลองการเข้าหัวสาย UTP ในแบบต่าง ๆ และทราบถึงการเลือกใช้สาย UTP แบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายอย่างถูกต้อง

   อุปกรณ์การเข้าหัวสาย

 

มาตราฐานการเข้าหัวสายแบบ EIA/TIA 568A และ EIA/TIA 568B

 

            สาย UTP (Unshielded Twisted Pairs) เป็นสายสัญญาณที่ผลิตตามมาตรฐาน EIA/TIA 568 ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานต่อ 1 ช่วงสายสัญญาณไม่เกิน 100 เมตร ซึ่งสาย UTP จะประกอบด้วยสายสัญญาณ 4 คู่ (8เส้น) ที่มีสีระบุเพื่อแยกสายออกจากกันอยู่ 4 สี การนำสายสัญญาณไปใช้งานจะต้องมีการนำสายสัญญาณเข้าหัว RJ-45 เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง NIC กับสายสัญญาณ UTP โดยการเข้าหัวสายมีมาตรฐาน 2 แบบ คือ EIA/TIA 568A และ EIA/TIA 568B โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเข้าหัวดังนี้

1.        คีมเข้าหัวสาย (ดังรูปด้านบน)

2.        อุปกรณ์ตัดแต่งสายสาย เช่น คัตเตอร์, มีด, คีม เป็นต้น

3.        เคเบิลแอนาไลเซอร์ ( Cable analyzer ) เครื่องมือวัดสายสัญญาณ

EIA/TIA 568A

EIA/TIA 568B

Pin

Function

สีของสาย

Pin

Function

สีของสาย

1

Transmit

ขาวเขียว

1

Transmit

ขาวส้ม

2

Transmit

เขียว

2

Transmit

ส้ม

3

receive

ขาวส้ม

3

receive

ขาวเขียว

4

Not used

น้ำเงิน

4

Not used

น้ำเงิน

5

Not used

ขาวน้ำเงิน

5

Not used

ขาวน้ำเงิน

6

receive

ส้ม

6

receive

เขียว

7

Not used

ขาวน้ำตาล

7

Not used

ขาวน้ำตาล

8

Not used

น้ำตาล

8

Not used

น้ำตาล

 

ขั้นตอนการเข้าหัวสาย

  1. นำสาย UTP ออกมาคลี่ให้เป็นเส้นเดี่ยวเรียงกัน 8 เส้นโดยเรียงสีตามมาตรฐาน
  2. ตัดปลายสายสัญญาณให้เสมอกันทุกเส้น
  3. หันหัว RJ-45 ตั้งขึ้นและหันด้านที่มีโลหะ 8 ซี่เข้าหาตัว(นักศึกษาจะสามารมองเห็นโลหะสีทองได้)
  4. สอดสายสัญญาณที่เรียงอย่างถูกต้องตามรูป EIA/TIA 568A หรือ EIA/TIA 568B ให้สายเส้นที่ 1 อยู่ด้านซ้ายมือแล้วสอดขึ้นไปเข้ากับหัว RJ-45 (รูปใช้การเข้าหัวสายด้วยมาตรฐาน EIA/TIA 568A)
  5. 5.นำหัว RJ-45 เข้าไปย้ำหัวเพื่อยึดสาย UTP ติดแน่นกับหัว RJ-45 จากรูปด้านบนเห็นได้ว่าส่วน A จะทำการยึดสาย UTP ให้ติดแน่นกับหัว RJ-45 ส่วน B จะทำให้ขาโลหะสี่ทองสัมผัสกับสายทองแดงในสายสัญญาณ

การเข้าหัวแบบสายตรง ( Straight-through cable EIA/TIA 568B )

ปลายสายด้านที่ 1

ลำดับสาย

การเรียงสี

ปลายสายด้านที่ 2

 

1

ขาว-ส้ม

 

2

ส้ม

3

ขาว-เขียว

4

น้ำเงิน

5

ขาว-น้ำเงิน

6

เขียว

7

ขาว-น้ำตาล

8

น้ำตาล

 

อุปกรณ์ต้นทาง

อุปกรณ์ปลายทาง

HUB

computer

Switch

computer

Router

Computer & Switch

 

การใช้งานสาย Through เช่น จาก Swith ไปยัง computer หรือจาก router ไปยัง Swith ให้เชื่อมต่อแบบ EIA/TIA 568B (สาย Through) ทั้งสองข้างหัวท้าย

 

การเข้าหัว RJ-45

 

การเข้าหัวแบบสายไขว้ ( Crossover cable EIA/TIA 568A & 568B )

ปลายสายด้านที่ 1

ลำดับสาย

การเรียงสี

ลำดับสาย

การเรียงสี

ปลายสายด้านที่ 2

 

1

ขาว-เขียว

1

ขาว-ส้ม

 

2

เขียว

2

ส้ม

3

ขาว-ส้ม

3

ขาว-เขียว

4

น้ำเงิน

4

น้ำเงิน

5

ขาว-น้ำเงิน

5

ขาว-น้ำเงิน

6

ส้ม

6

เขียว

7

ขาว-น้ำตาล

7

ขาว-น้ำตาล

8

น้ำตาล

8

น้ำตาล

 

 

 

 

 

อุปกรณ์ต้นทาง

อุปกรณ์ปลายทาง

HUB

HUB

Switch

Switch

Switch

HUB

Computer

Computer

Router

Computer & Switch

 

การใช้งานสาย Cross เช่น จาก Swith ไปยัง Swith , จาก computer ไปยัง computer , จาก router (ethernet) ไปยัง computer การเข้าสายโดยข้างหนึ่งเป็นแบบ EIA/TIA 568B (สาย Through) และอีกข้างเป็น EIA/TIA 568A (สาย Cross)

 

คำสำคัญ (Tags): #วิธีง่ายๆ
หมายเลขบันทึก: 320327เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • วิธีต่อสายแลน...ความรู้ที่ดีของชาว IT ที่เพิ่งเรียนรู้...อย่างผม

ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในชิวิตประจำวันได้คะ

ขอบคุณนะที่มาโพร์ทบอก....อิอิ

เป็นข้อมูลความรู้ที่ดีมากในเชิงวิชาการ เพราะส่วนใหญ่จะรู้แต่ในทางปฎิบัติ

จะต่อ Land Com เข้า HUB RJ45 แบบ A กับ B แบบไหนไหนน่าจะดีกว่า ผมเคยต่อ 150 เมตร แบบ A มองไม่เห็น แต่ B มองเห็น

สายที่แถมมากับ เราเตอร์ ให้มาสำหรับต่อกับคอม เห็นหัวสองข้าง เรียงสีเหมือนกัน แต่ในบทความ บอกให้ต่อ แบบ 568 A อีกข้าง 568B สรุปอันใหนดีกว่ากัน ครับ งง อยู่ครับ ผมกำลังหาข้อมูลที่ถูกต้องครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท