น่าแปลกใจ


ผมค่อนข้างแปลกใจว่า ทำไมหมออายุรกรรมโรงพยาบาลจังหวัดจึงรักษาโรคแบบนี้ไม่ได้ .. งง?

       เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้กลับบ้านเพื่อไปร่วมงานคืนสู่เหย้าโรงเรียนเก่าสมัยมัธยม(สารคามพิทยาคม) ได้พบเพื่อนหลายคนจำได้บ้างไม่ได้บ้าง รู้สึกว่าสมองทำงานช้าลง แต่สิ่งที่ได้มากคือความรู้สึกผูกพัน จากเพื่อนๆและอาจารย์ซึ่งส่วนใหญ่จะเกษียณแล้ว เหลือไม่กี่ท่าน ได้เห็นรุ่นพี่รุ่นน้องมากมายทำความรู้จักไม่หมด อาจต้องมีการพบปะอีกบ่อยครั้งก่อนที่ความรู้สึกจะจางหายไปตามกาลเวลา..

    กลับบ้านคราวนี้ผมได้มีโอกาสไปดูน้าซึ่งไม่สบาย ป่วยมาได้หลายเดือน มีอาการปวดบวมตามข้อ ไปหามาหลายคลินิกดีขึ้นชั่วคราว ไม่นานก็เป็นอีก ผมพยายามซักประวัติและตรวจร่างกาย นึกว่าหลักๆคงต้องแยก ข้ออักเสบรูมาตอย เก๊าท์ ให้ออกก่อนที่จะต้องนึกไปถึงโรคพวก SLE แต่วันที่ผมไปหาปัญหาใหญ่คือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กินอาหารไม่แซบ รู้สึกเหนื่อยเพลียมาก ผมจึงแนะนำให้ ไปรพ. ปรากฏว่าไป รพ.แล้วแพทย์ให้ยากลับมากินที่บ้าน (ซึ่งที่บ้านก็มียาเยอะแล้ว..หลายหมอด้วย) ผมจึงตัดสินใจให้ไปเจาะเลือดที่ แลปเอกชน ผมกลับมาก่อนที่ผลจะได้เพราะผมส่ง ANA ต้องรออีกวัน เจ้าหน้าที่แลปบอกน้าว่าผลเลือดเป็นภูมิตัวเองบกพร่องต้องไปรักษาที่ขอนแก่นเท่านั้น เมื่อโทรกลับมาถามผมผมก็ยังรู้สึกว่า เอ....ไม่น่าจะต้องลำบากไปถึงขอนแก่นอีกเกือบร้อยกิโล! หมออายุรกรรมที่บ้านเราก็น่าจะดูแลได้ จึงบอกผ่านทางโทรศัพท์ว่าอย่าพึ่งเสียเวลาไปเลยไป รพ.บ้านเราก่อนดีกว่า น้าและญาติๆต่างมีความเห็นว่าไปแล้วคงได้ยาเดิมกลับมากิน อยากไปหาหมอดังๆที่คลินิกขอนแก่นดีกว่า(ทราบว่ามีรายชื่อหมอที่เพื่อนบ้านแนะนำว่าไปแล้วดีอยู่หลายคน) บังเอิญว่ามีอาจารย์หมออายุรกรรมท่านหนึ่งที่เคยดูแล พ่อและแม่ผมประจำ ผมจึงแนะนำให้เอาผลเลือดไปปรึกษาท่านดู......เมื่อสักครู่ผมโทรกลับไปถามข่าวทราบว่า หมอแนะนำว่าให้ไปรักษาที่รพ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น ผมค่อนข้างแปลกใจว่า ทำไมหมออายุรกรรมโรงพยาบาลจังหวัดจึงรักษาโรคแบบนี้ไม่ได้  .. งง?

หมายเลขบันทึก: 319948เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แม้แต่หมอ...ยังงง !!!
  • ยินดีที่ได้รู้จักคุณหมอครับ

สงสัยเหมือนกันค่ะ รออ่านตอนต่อไปนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ไปตามสายมั้ยคะอาจารย์ อาจจะรู้จักว่าเพื่อนร่วมวิชาชีพของท่านรักษาเก่ง

แต่เห็นด้วยค่ะ ว่าทำไม Med ใกล้บ้านจึงไม่แนะนำให้ไปรักษา คิดได้หลายกรณีนะคะ

สุดท้ายก็ได้ยาไม่ต่างกัน แต่คำพูด คำแนะนำ การบริการ การตรวจ Investigate ต่างกันเล็กน้อย บางครั้งแค่นี้ก็ทำให้ผู้ป่วยประทับใจ แล้วใจว่าได้ค้นหาตรวจอย่างละเอียดแล้ว แต่คำแนะนำและความรู้ความเข้าใจสำคัญสุด

แต่ความเชื่อที่ฝังลึกของชาวบ้าน(เขาว่ามา ที่นั่นดี ที่โน่นดี อันมีก็มีส่วนไม่น้อย)

คุณแม่หนูเองทุกวันนนี้ยังไม่ยอมผ่าตัด เพราะคุณหมอชวนแต่ว่า "ผ่าเถอะป้า" แต่ไม่ยอมอธิบาย ให้รายละเอียด หรือซักถามสิ่งที่ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล แม้เราจะอธิบายอย่างละเอียด บางครั้งถ้าได้คำอธิบายจากแพทย์ผู้รักษาโดยตรงผู้ป่วยจะมีความเชื่อมากยิ่งขึ้น

สาเหตุ หรือคะ แพทย์ไม่มีเวลาอธิบาย ตรวจคนไข้ก็มากพอแล้ว ยิ่งแพทย์เชิงลึก (เฉพาะทาง) ยิ่งพูดน้อย (อาจมีแค่บางคน) ซึ่งสวนทางกับการบริการด้วยหัวใจ การให้ความรู้ และการสือสาร

ขอบคุณค่ะ

สิ่งที่ผมงง! ก็คือว่าตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ก็เรียนมามากมาย ยิ่งเป้นแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมยิ่งเรียนมาก แต่พอออกมาทำงานกลับรักษากันได้ไม่เท่าไหร่ ...ผมเข้าใจว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบของเราทำให้แพทย์เป็นอย่างนั้น....ดังเช่นกรณีตัวอย่างเหตุผลที่แพทย์อายุรกรรมโรงพยาบาลจังหวัดแนะนำไปโรงเรียนแพทย์อาจเป็นเพราะสาเหตุต่อไปนี้(ผมคิดเอง)

๑.หวังดีอยากให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแม่นยำ....จบความสงสัย?(ทั้งคนไข้และหมอเพราะอาจารย์แพทย์คือที่สุดของระบบเราอยู่แล้ว)

๒.จะรักษาก็ได้ความรู้แพทย์มีอยู่แล้ว...แต่อย่าเสี่ยงเลยเดี๋ยวมีข้อผิดพลาด ๓.รักษาได้อยู่แล้วเรื่องเด็กๆ...แต่คนไข้ที่มีอยู่เดิมก็เยอะแล้วส่งให้คนอื่นบ้าง

๔.อยากรักษา...แต่ตามแนวทางการรักษาใหม่ๆต้องใช้ยาที่โรงพยาบาลไม่มี

๕......

๖.......

๗.......????

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท