นั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนาน นครเจียงฮาย


นั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนาน นครเจียงฮาย

                

      เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม เป็นวันหยุด จึงมีความคิดที่จะนั่งรถรางที่ทางเทศบาลนครเชียงรายได้ไว้บริการนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดเชียงราย

                  รถรางแอ่วเมืองเจียงฮาย

     ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองเชียงรายเทศบาลนครเชียงรายจึงได้จัดโครงการ “นั่งรถรางแอ่วเมือง เล่าขาน ๙ ตำนาน นครเจียงฮาย” เพื่อเป็นการส่งเสริมนโยบายของรัฐ

        เทศบาลนครเชียงรายได้จัดรถรางไว้บริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  โดยแบ่งออกเป็น ภาคเช้าจำนวน ๒ เที่ยว เวลา ๙.๐๐น.และ ๐๙.๓๐ น. และภาคบ่าย จำนวน ๒ เที่ยวเวลา ๑๓.๐๐ น.และ ๑๓.๓๐ น. ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกควรไปลงทะเบียนเพื่อจองที่นั่งเนื่องรถรางสามารถบรรจุผู้โดยสารได้เพียง ๒๘ ที่นั่งเท่านั้น นักท่องเที่ยวสามารถไปลงทะเบียนได้ที่บริเวณหลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

        ตำนานนครเจียงฮาย ทั้ง๙ แห่งได้แก่

จุดที่๑ อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

 

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกพ่อขุนฯ พ่อขุนเม็งรายฯเป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็งแห่งราชวงศ์ลัวะจักราช ผู้ครองหิรัญนครเงินยางกับพระนางอั่วมิ่งจอมเมือง ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย เจ้าเมืองชียงรุ้ง ทรงสร้างเมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๕ เมืองกุมกาม เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๙ และเมืองเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. ๑๘๓๔

พ่อขุนเม็งรายฯสวรรคต ขณะเสด็จประพาสกลางเมืองเชียงใหม่โดยถูกอสุนีบาตตกต้องพระองค์  เมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๑ รวมพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา

จุดที่หนึ่ง รถจะไม่ได้พาชม ท่านสามารถ ไปสักการะได้ขณะที่รอรถรางที่จอดอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ฯ

เมื่อได้เวลาสัญญาระฆัง จะดังขึ้น พร้อมกับรถรางจะเคลื่อนออกจากที่โดยมีไกด์นำเที่ยวบรรยายให้ความรู้ตลอดเส้นทาง

จุดที่ ๒ หอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ

ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเดิม ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ ภายในอาคารจัดทำเป็นหอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ แสดงนิทรรศการถาวรแบ่งออกเป็น ๖ ห้อง มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อจังหวัดเชียงราย แสดงประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงรายตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ สมัยสถาปนาเมืองเชียงราย สมัยราชอาณาจักรสยามและเชียงรายปัจจุบัน รวมทั้งการแสดงนิทรรศการชนพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธ์ของจังหวัดเชียงราย แสดงทางภาษาและวัฒนธรรม

จากจุดนี้ท่านสามารถเดินไปยังจุดที่ ๓

จุดที่ ๓ วัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์ ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล เป็นอารามหลวงเก่าแก่แต่โบราณกาล เคยเป็นที่ประดิษฐ์พระพุทธสิหิงค์ ปัจจุบันประดิษฐ์อยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่

มีพระอุโบสถรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาสมัยเชียงแสน บานประตูออกแบบโดยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินล้านนาผู้มีชื่อเสียงแกะสลักไม้เป็นเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ นอกจากนั้นบานประตูยังแกะสลักเป็นรูปสัตว์สี่ชนิด และบ่งบอกความเป็นเพศหญิง เพศชาย ท่านสามารทดสอบสายตาว่ามีสัตว์อะไรบ้างและบานไหนเป็นเพศชาย เพศหญิง

บานประตูชาย -หญิง

จุดที่ ๔ วัดพระแก้ว

วัดพระแก้วตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ เป็นเก่าแก่ เดิมชื่อว่า วัดป่าเยียะ เป็นป่าไผ่ชนิดหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๑๙๗๗ ฟ้าได้ฝ่าองค์พระเจดีย์พังทลายลงจึงพบพระแก้วมรกต (ปัจจุบันประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) วัดหนึ่งจึงได้ชื่อว่า “วัดพระแก้ว”

พระอุโบสถของวัดเป็นพระวิหารทรงเชียงแสน ภายในมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย เรียกว่า พระเจ้าล้านทอง

นอกจากนี้ ยังมีหอพระหยก เป็นอาคารทรงล้านนา ภายในประดิษฐานพระหยกเชียงแสน  มีโฮงหลวงแสงแก้ว พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญของวัด ศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่สมัย

จุดที่ ๕ วัดดอยงำเมือง

 

วัดดอยงำเมือง ตั้งอยู่บนดอยงำเมือง ถนนอาจอำนวย  ณ จุดนี้ท่านสามารถทดสอบพละกำลังโดยขึ้นบันได ๗๔ ขั้น เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นที่ตั้งของกู่บรรจุพระอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช สร้างโดยพญาไชยสงคราม โอรสพ่อขุนเม็งรายฯ

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หลังจากที่ พ่อขุนเม็งรายฯ ได้สวรรคตที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๘๖๐ พญาไชยสงคราม พระราชโอรสได้ถวายพระเพลิงพระศพแล้ว พระองค์ไม่โปรดเมืองเชียงใหม่ จึงกลับมาครองเชียงรายได้อัญเชิญพระอัฐิของพ่อขุนเม็งรายฯ มาประดิษฐาน ณ ดอยแห่งนี้ ต่อมาเอ ปี พ.ศ. ๒๐๓๐ พระยาศรรัชฏาเงินกอง ทรงสร้างวัดขึ้น ให้ชื่อว่า วัดงำเมือง และใน พ.ศ. ๒๒๒๐ ได้มีการบูรณะเพิ่มเติมมีการสร้างวิหารและเสนาสนะในวัดโดยเจ้าฟ้ายอดงำเมือง โอรสผู้ครองนครเชียงแสน

จุดที่ ๖ วัดพระธาตุดอยจอมทอง

 วัดพระธาตุดอยจอมทองตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ถนนอาจอำนวย ณ จุดนี้ท่านสามารถทดสอบพละกำลังอีกครั้งโดยขึ้นบันได ๙๒ ขั้น ตามตำนานกล่าวว่าเป็นบริเวณที่พระยาเรือนแก้ว ผู้ครองนครไชยนารายณ์ ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๘๓ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวทำให้พระธาตุองค์เดิมพังทลายลง ต่อมาสมัยที่พ่อขุนเม็งรายฯ สร้างเมืองเชียงราย พระองค์จึงได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นพร้อมกับการสร้างเมือง บริเวณวัดพระธาตุดอยจอมทองมี เสาสะดือเมือง ๑๐๘ หลัก  ตั้งอยู่บนรูปแบบสมมุติฐานของจักรวาล

จุดที่ ๗ วัดมิ่งเมือง

วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่บนถนนไตรรัตน์ สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนเม็งราย มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๕ มหาเทวีอุษาปายะโค ซึ่งเป็นมเหสีของพ่อขุนเม็งรายฯ จะเสด็จมาที่วัดนี้ปีละ ๒ ครั้งคือ วันวิสาขบูชาและวันประเพณียี่เป็ง ของชาวล้านนา เพื่อทรงจุดผางประทีปบูชาพระเจดีย์ และได้ทรงนำอัฐิของมารดามาบรรจุไว้ที่วัดแห่งนี้

วัดมิ่งเมืองยังมีชื่อเรียกว่า วัดช้างมูบ(วัดช้างหมอบ) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าในคราวอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงรายไปเชียงใหม่ ช้างทรงของพระแก้วได้หมอบคอยอยู่หน้าวัดมิ่งเมือง ซึ่งทำให้ชาวบ้านเรียกว่า วัดช้างมูบ  มีบ่อน้ำชาวบ้านเรียกบ่อน้ำนี้ว่า บ่อน้ำช้างมูบ รูปแบบการก่อสร้างมีหลังคาเป็นรูปซุ้มโขงประดับด้วยรูปปั้นของช้างทรงเครื่องหมอบอยู่

จุดที่ ๘ หอนาฬิกา

ตั้งอยู่ถนนบรรพปราการ ออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และก่อสร้างโดยเทศบาลนครเชียงราย เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองเชียงราย หอนาฬิกามีการแสดงแสง สี เสียง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมศิลปะอันงดงามขอหอนาฬิกาวันละ ๓ รอบ คือ เวลา ๑๙.๐๐, ๒๐.๐๐ และ ๒๑.๐๐ น. เพื่อให้เกิดความประทับใจที่ได้มาเยือนเมืองเชียงราย

จุดที่ ๙ สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ

สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนถนนธนาลัย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมีพระชนมายุ ครบ ๗๕ พรรษา โดยเทศบาลนครเชียงรายได้พัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จัดเป็นสถานที่แสดงนิทรรศการชนเผ่า  สถานที่อนุรักษ์ตุงและโคมที่มีเอกลักษณ์ล้านนา

นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่จัดงานประเพณี และสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ และมีการจัดถนนคนเดินทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ -๒๔.๐๐ น.

หลังจากชมทั้ง ๙ จุดเรียบเรียบร้อนแล้ว รถจะพานักท่องเที่ยวมาจอด ที่หลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย เป็นการยุติการนั่งรถรางแอ่วเมืองรายแต่เพียงเท่านี้

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก เอกสารประชาสัมพันธ์ ของเทศบาลนครเชียงราย)

 

หมายเลขบันทึก: 319943เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • มีรูปให้ดูไหม ประกอบการพิจารณาค่ะ
  • รักษาสุขภาพนะคะ

เมื่อปี 2523 (นานมาแล้ว+นานมาก) ผมไปฝึกงานจัดรายการวิทยุ ที่ สวท.เชียงราย

สวัสดีครับครูอ้อย แซ่เฮ

กำลังจัดรูปลงครับผม

สวัสดีครับatozorama

เมื่อหลายปีก่อนผมก็เคยไปจัดรายการที่สวท.เชียงราย เช่นเดียวกันครับ

ไปเชียงราย 3 ครั้ง ไม่เคยผิดหวังทั้งสถานที่ที่สวยงาม ผู้คนมีไมตรีค่ะ

Dmtb1

สวัสดีครับเกด เกศนี บุณยวัฒนางกุล

มีโอกาสมาเที่ยว ปีใหม่ เชียงราย ปีจัดเทศกาลดอกไม้งาม สวยมากครับ ๒๖ธ.ค. ๕๒ ถึง ๔ ม.ค.๕๓ครับ

  • สวัสดีครับ
  • ขอมาแวะเที่ยวด้วยคน
  • ขอบคุณ

สวัสดีครับศรีกมล

ขอบคุณมากที่แวะมาเที่ยวเชียงราย

  • สถานที่งดงามชมกี่ครั้งก็อยากไปเที่ยวชมด้วยตนเองทุกที
  • เชียงรายเมืองแห่งความสมบูรณ์ในการเที่ยวชม
  • ใครได้ไปเยี่ยมชมแล้วต้องหลงไหลอยากไปอีก
  • ขอบพระคุณ

ตามมาเที่ยวด้วยคนครับ

ยังไม่เคยไปเชียงราย

ขอบคุณครับนายประจักษ์ ปานอินทร์

ที่มาเยี่ยมรายแล้วประทับใจตอนนี้ยามค่ำคืนที่เชียงรายมีเสน่ห์มากขึ้นโดยเฉพาะหอนาฬิกา

เจียงฮายรำลึก  คิดถึงเชียงราย

สายหมอก ดอกไม้ กลิ่นอายวัฒนธรรม

ท่านอาจารย์สบายดีนะคะ  มีความสุขค่ะ

สวัสดีครับครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

ถ้ามีโอกาสเชิญมาสัมผัสบรรยากาศหนาวที่เชียงรายนะครับ

สวัสดีครับpoo

ขอให้มีความสุขเช่นกันครับ

ยามนี้เชียงรายน่าเที่ยวมาก มาร่วมสัมผัสบรรยากาศด้วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท