การจัดการโรคเรื้อรัง


มุ่งเน้นให้ครอบครัวมีความรู้ ญาติมีความพร้อม ผู้ป่วยมีความสุข นอกจากนี้ยังเน้นระบบบริการที่เชื่อมต่อถึงกัน การพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง เชื่อว่าผลลัพธ์สุขภาพน่าจะดีขึ้น

การจัดการโรคเรื้อรัง

จากการเข้าร่วมประชุมเรื่องการดูแลรักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เมื่อ 26-29 พ.ย. 52 ที่อยุธยา ได้แนวคิดเรื่องการจัดการโรคเรื้อรังที่เปลี่ยนจากระบบบริการดั้งเดิมเป็นระบบบูรณาการ คือการดูแลแบบดั้งเดิมจะเป็นระยะเฉียบพลัน แยกส่วนการป้องกัน การรักษา การฟื้นฟู ให้บริการเป็นครั้งๆ ตอบสนองตามสถานการณ์ เน้นเฉพาะบุคคล ผู้ป่วยหวังพึ่งพิงผู้ให้บริการ  แต่ระบบบูรณาการจะดูแลอย่างครอบคลุม ทั้งเฉียบพลัน เรื้อรัง ให้บริการเชิงรุก รวมการป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง เป็นองค์รวม โดยทีมสหวิชาชีพ   มุ่งเป็นกลุ่มคน ต้องการให้ผู้รับบริการบริหารจัดการดูแลได้ด้วยตนเอง โดยมีเราเป็นผู้สนับสนุนความรู้ เครื่องมือ  มีแนวทางปฏิบัติ ข้อกำหนดและแนวทางการดูแลที่เป็นมาตรฐาน  ต้องการให้ผู้ป่วยตื่นตัว ได้ข้อมูลชัดเจน เช่น ถ้าคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดเท่านี้ หมายความว่าอย่างไร จะต้องทำตัวอย่างไร ถ้าไม่ทำจะเกิดผลอย่างไร แล้วทีมงานติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้าน มุ่งเน้นให้ครอบครัวมีความรู้ ญาติมีความพร้อม ผู้ป่วยมีความสุข นอกจากนี้ยังเน้นระบบบริการที่เชื่อมต่อถึงกัน การพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง เชื่อว่าผลลัพธ์สุขภาพน่าจะดีขึ้น

     สรุป  การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่เป็นการบูรณาการตลอดกระบวนการดูแลรักษาโรค ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนจากการรักษาเฉียบพลันในสถานพยาบาลไปสู่เชิงส่งเสริม ป้องกัน นอกสถานพยาบาล เน้นการให้ความรู้ คำนึงถึงผลลัพธ์สุขภาพและค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ( ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมเขาบอกว่าหมายถึง สปสช.ให้เป็นรายหัว เราต้องมาบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย เช่นการคิดนวัตกรรมมาใช้กับผู้ป่วย )

  แผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วยทางคลินิกของ เรามีเป้าหมายว่า ต้องการให้คนไข้เรื้อรังได้รับการดูแลต่อเนื่อง เป็นองค์รวม ครอบครัวมีส่วนร่วม เป็นไปตามมาตรฐาน โดยมีตัวชี้วัดว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลโดยครอบครัว ชุมชน ร้อยละ 95 การปรับแนวความคิดนี้ จึงตรงประเด็น ที่จะปรับกลยุทธ์ เพื่อตอบสนองตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น..........

                                                                    รัชฎา  ชิตตรงธรรม

 

ธรรมประจำวัน       เปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโชค  เปลี่ยนโรคให้เป็นครู……..

 

 

หมายเลขบันทึก: 319160เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2009 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีครับ จะได้ไม่ต้องนัดคนไข้บ่อยๆ ให้ดูแลตัวเองที่บ้าน แล้วนานๆมาปรึกษาแพทย์สักครั้ง จะได้ไม่ต้องรอกันนาน /boss

เข้าทาง Boss เขาหล่ะ อย่างที่ ER. มีผู้รับบริการทำแผลหลายคนมักจะถามว่าขอยาไปทำเองได้ไหม นั่นแสดงให้เห็นว่า ถ้าเขามีความรู้และมั่นใจ เขาก็ไม่อยากพึงพาคนอื่นหรอก ดังนั้นเราผู้ให้บริการจึงต้องฝึกทักษะที่จำเป็น(ซึ่งเป็นสิ่งส่งมอบตามมาตรฐานบริการสาธารณสุข) ให้แก่เขาด้วย/By Jan

เข้าทาง Boss เขาหล่ะ อย่างที่ ER. มีผู้รับบริการทำแผลหลายคนมักจะถามว่าขอยาไปทำเองได้ไหม นั่นแสดงให้เห็นว่า ถ้าเขามีความรู้และมั่นใจ เขาก็ไม่อยากพึงพาคนอื่นหรอก ดังนั้นเราผู้ให้บริการจึงต้องฝึกทักษะที่จำเป็น(ซึ่งเป็นสิ่งส่งมอบตามมาตรฐานบริการสาธารณสุข) ให้แก่เขาด้วย/By Jan

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท