รู้ความจริงของชีวิต ===>จิตก็เป็นสุขได้


ถ้าเรารู้ความจริงของชีวิต ===>จิตก็เป็นสุขได้

เรียนเพื่อนชาวBlogที่เคารพ

    วันนี้พี่เปิ้นขอคุยเรื่องรู้ความจริงของชีวิต =====> จิตถึงจะเป็นสุขได้ โดยขอคุยเรื่องที่อยู่ “ใกล้ ๆตัวเรานะคะ” คือ เรื่องของมรรค = การดับทุกข์ นั้นเอง พี่เปิ้นขอคุยดังนี้นะคะ มรรค คือวิธีการดับทุกข์ แยกแยะเป็น
            1. สัมมาฐิติคือความเห็นชอบ เห็นในทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค หรือเข้าใจอันถูกต้อง ว่าทุกสิ่งในโลกล้วนเป็นสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและไม่มีความถาวรอย่างแท้จริง เช่นเมื่อ 30 ปีที่แล้วปีเปิ้นอายุ 21 ปี ผิวหนังสดใส สวยงาม(มุมมองของพี่เปิ้น) แต่ในปัจจุบันนี้มีอายุ 51 ปี มีแต่เหี่ยวย่น >>> ไม่อะไรถาวร&มีแต่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนะคะ

            2. สัมมาสังกัปปะ คือการพูด การกระทำ มีความคิดมุ่งหมาย “อันถูกต้อง”  ว่าเมื่อเห็นทุกสิ่งในโลกเป็นเช่นไร โดยแท้จริงแล้วก็ถอยห่างออกมาเสีย อย่าไปคลุกคลี อย่าไปหลงใหล คิดออกจากกาม(ความยาก) ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียนทางทั้งทาง กาย+วาจา+กระทำ
            3. สัมมาวาจา คือวาจาชอบ การพูดจาที่ถูกต้อง พูดเพราะ พูดให้เกิดความรักใคร่สามัคคี พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียดยุยง ไม่กล่าวคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
            4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำที่ถูกต้อง ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักขโมย การล่วงเกินของรักผู้อื่น(ในปัจจุบันหมายถึงการไปพรากสามี/ภรรยาของคนอื่น>>>ปัจจุบันนี้เป็นปัญหามากมีเกือบทุกแห่ง) การดื่มน้ำเมา
            5. สัมมาอาชีวะ คือการประกอบอาชีพ เพื่อเลี้ยงชีวิตให้ได้ในสังคมปัจจุบัน และไม่ทำอันตรายต่อ ตัวเรา คนรอบข้าง พ่อ แม่ ลูก เพื่อนร่วมงาน
            6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรอย่างถูกต้อง(บางทีพากเพียรแต่ไม่ถูกต้องทั้งผิดกฎหมาย + ผิดศีลธรรม) พากเพียรทำความดี พยายามบังคับความคิด&ความรู้สึกกระทำชั่วไม่ให้เกิดขึ้น

            7. สัมมาสติ คือความระลึกอย่างถูกต้อง สำนึกเสมอว่าร่างกายของเรานี้แท้จริงคืออะไร ? (ตอบคะคือการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)  อย่าหลงผิดเกินไปกว่าความเป็นจริง ระลึกอย่างถูกต้องว่าทุกส่วนของร่างกายล้วนแต่เปลี่ยนไปตามธรรมชาติ ทั้งยังต้องระลึกว่าจิตของเรานั้นเป็นสิ่งเปลี่ยนแปลงทั้งความคิดและความรู้สึก มีการรุดหน้าไปเรื่อยไม่หยุดนิ่ง จนถึงขั้นสุดท้ายคือการระลึกโดยไม่หลงลืมในข้อปฏิบัติที่มีระดับต่าง ๆนะคะ    

            8. สัมมาสมาธิ คือการดำรงจิตไว้อย่างถูกต้อง รู้จักการควบคุมให้ถูกต้องมั่นคงไม่ฟุ้งกระจาย จนเกิดผล และเป็นความรู้ความเข้าใจอันถูกต้อง ความตั้งใจชอบมี 3 ชนิดคือ สมาธิมั่นเป็นขณะ สมาธิมั่นพอเฉียดสงบ และสมาธิมั่นแน่วแน่ หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่สำคัญที่สุดคือ อริยสัจ === >> การทำให้ใจห่างไกลจาก “กิเลส”หรือ ความยาก&ความต้องในสิ่งที่เกินจริง ไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้อง ความไม่รู้ว่าควรหรือไม่ควรนั้นเองนะคะ หรือบางที่รู้ แต่ ความอยาก & กิเลส มีมากกว่านั้นเอง ทำให้กิเลส ===>>ชนะเรา ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่นะคะ  คุยมากแล้วขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ

(ที่ประเทศญี่ปุ่นคะ อยากเห็นบ้านเราเป็นเช่นนี้จังเลยคะ)

ขอบคุณนะคะที่ให้เกียรติอ่าน 

สมศรี นวรัตน์ รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

 

หมายเลขบันทึก: 318390เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

*** ส่งภาพมาช่วยย้ำว่าบ้านเมืองเขาสะอาดสดชื่นจริงๆค่ะ

*** ขอบคุณวิธีทำให้จิตเป็นสุขค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท