ออกกำลังแบบไหนทำฉลาด+รวย [EN]


การศึกษาทำใน กลุ่มตัวอย่างผู้ชายอายุน้อยมากกว่า 1 ล้านคนพบว่า คนที่ฟิตที่สุดทำคะแนนทดสอบความฉลาด (intelligence tests) หรือไอคิว (IQ) ได้ดีที่สุด นั่น คือ แข็งแรงกว่าน่าจะฉลาดกว่า [ Telegraph ]

...

ผลการศึกษานี้ สอดคล้องกับความเชื่อสมัยโรมันที่ว่า 'Physical and mental health go hand in hand.' = "สุขภาพกายและใจไปด้วยกัน" คือ สุขภาพกายดีทำให้สุขภาพใจดีไปด้วย

ฝรั่งมีคำกล่าวว่า 'Sound mind in sound body' = "ใจที่ดี (sound = ดี) อยู่ใน (มาจาก) กายที่ดี"

...

อ.ดร.มาเรีย อาแบร์ก และคณะจากมหาวิทยาลัยโกเตนบวร์ก เยอรมนี ทำการศึกษาในข้อมูลสุขภาพผู้ชายสวีเดน (Swedes) ซึ่งเข้ารับราชการทหารที่อายุ 18 ปี

ผลการศึกษาพบว่า ความฟิตของระบบหัวใจ-หลอดเลือด (นิยมวัดด้วยการวิ่งบนลู่วิ่ง-เดินไฟฟ้า / treadmill) บอกถึงความฉลาดที่เหนือกว่า และโอกาสประสบความสำเร็จในการศึกษาชั้นสูงกว่าด้วย

...

การศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ ทั้งในสัตว์และในคน แต่การศึกษาก่อนหน้านี้เกือบทั้งหมดทำในเด็ก และคนสูงอายุ

การศึกษาที่ทำในผู้ใหญ่อายุน้อยมีเพียง 2-3 รายงาน รายงานนี้จึงมีความสำคัญมาก เพราะทำให้เรารู้เรื่องที่ไม่ค่อยรู้มาก่อน

...

อ.ดร.อาแบร์กก ล่าวว่า สมรรถภาพในการปรับตัว (adapt) ให้เข้ากับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือผลกระทบจากการบาดเจ็บที่แปลกใหม่ ขึ้นกับ 'brain plasticity; brain = สมอง; plasticity = ความสามารถในการปรับเปลี่ยน หรือปรับตัว)' หรือ "ความสามารถในการปรับตัวของสมอง"

การศึกษาในสัตว์กัดแทะ (rodents) เช่น หนู ฯลฯ พบว่า การออกกำลังเพิ่มสมรรถภาพสมอง รวมทั้งเพิ่มความจำ

...

ความฟิตตอนอายุ 15-18 ปีใช้ในการพยากรณ์ไอคิว หรือระดับความฉลาดที่อายุ 18 ปีได้ 

แถม ความฟิตทางด้านหัวใจ-ระบบหลอดเลือดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นยังใช้ในการพยากรณ์ ฐานะการเงิน-สังคม (socioeconomic status; socio- = สังคม; economic = เศรษฐกิจ การเงิน; status = ฐานะ) และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จทางการศึกษาในอนาคตได้ด้วย

...

การศึกษาทำใน กลุ่มตัวอย่างผู้ชาย 1,221,727 คน วัดการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นหัวใจ (ชีพจร) โดยใช้จักรยานออกกำลังอยู่กับที่ (stationary bicycle; station = สถานี; stationary = อยู่กับที่) 

ที นี้ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย... ข่าวร้ายที่ว่า คือ พวกแรงดี เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวท เล่นกล้าม ฯลฯ ทำให้กล้ามเนื้อมีแรงมาก (muscle strength) ก็จริง ทว่า... ความฉลาดไม่เพิ่ม

...

สรุปง่ายๆ คือ กล้ามใหญ่ไม่ได้ทำให้สมองดีเสมอไป แต่ถ้าความฟิตของระบบหัวใจ-หลอดเลือดดี เช่น คนที่วิ่ง เดิน เดินเร็ว ขึ้นลงบันได ขี่จักรยาน ว่ายน้ำต่อเนื่อง (ไม่ใช่ว่าย 1 เที่ยวพักกินไอศกรีม) ฯลฯ  

การศึกษาอื่นๆ พบว่า การออกแรง-ออกกำลังในระยะยาว (long term) ช่วยต้านความชรา หรือชะลอชรา (anti-ageing) ลึกไปจนถึงระดับเซลล์

...

การศึกษา อีกรายงานหนึ่งจากมหาวิทยาลัยซาลันท์ เยอรมนี ตีพิมพ์ในวารสารการไหลเวียนเลือด (Circulation) พบว่า การออกแรง-ออกกำลังช่วยป้องกันโครโมโซม หรือสายรหัสพันธุกรรม (DNA) 

ทำให้ DNA แข็งแรงขึ้น ถูกทำลายได้ยากขึ้น และทำให้เซลล์อายุยืนขึ้น 

...

สรุปคือ ถ้าอยากฉลาด + ประสบคามสำเร็จในการเรียน + รวยในระยะยาวแล้ว... ต้องออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำตั้งแต่เด็ก หรืออย่างช้าตอน 15-18 ปี

การออกแรง-ออกกำลังควรเน้นความแข็งแรง โดยเฉพาะความแข็งแรงของระบบหัวใจ-หลอดเลือด

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Physical health leads to mental health' = "สุขภาพกายนำไปสู่สุขภาพใจ (ในที่นี้หมายถึงความฉลาด ความจำ และสมองดี)" 

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

...

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

@@ [ physical ] > [ ฟิส - ซี - เข่า - L; ตัวสะกดที่ลงท้ายด้วย 'L' ออกเสียงกลางๆ ใกล้ไปทางสระ 'เอา' และมีเสียง 'L' ปนอยู่นิดหน่อย ขอให้ออกเสียงตามเจ้าของภาษาให้ได้ ] > http://www.thefreedictionary.com/physical > adjective = เกี่ยวกับร่างกาย

...

@@ [ mental ] > [ เม้น - เถ่า - L ] > http://www.thefreedictionary.com/mental > adjective = เกี่ยวกับใจ (ในเรื่องนี้หมายถึงสมอง)

@@ [ health ] > [ เฮ้ว - L - th; วิธีออกเสียง 'th' คือ ให้นำลิ้นไปแตะปลายฟันหน้าด้านบน พ่นลมรั่วออกมา] > http://www.thefreedictionary.com/health > noun = สุขภาพ

คำ 'health' ห้ามออกเสียง "เฮลล์ (เสียงต่ำ)" เพราะแปลว่า "นรก"

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 1 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 317973เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท