วันเพ็ญ / Wanpen
วันเพ็ญ / Wanpen อ้วน อำนาจกิติกร / Amnajkitikorn

ความหมายของการบำบัดรักษา แบบชุมชนบำบัด


ความหมายของชุมชนบำบัด

   ชุมชนบำบัด            (Therapeutic Community) หรือ T.C.)

        หมายถึงรูปแบบหนึ่งของการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดในขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยออกแบบให้ เป็นชุมชน หรือ หมู่บ้าน หรือ ศูนย์จำลอง (Community, Village or Center) เพื่อให้ ผู้ติดยาและสารเสพติดซึ่งเรียกว่าสมาชิกเข้ามาอยู่ร่วมกันเสมือนบุคคลในหมู่บ้าน หรือ ครอบครัว เดียวกัน  การดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมชนบำบัดอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ที่มีสมาชิกร่วมช่วยกันกำหนดเอาไว้ หลักการปกครองระบบประชาธิปไตย  สมาชิกปกครองดูแลกันเอง  ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพภายใต้ระเบียบเท่าเทียมกัน  แต่มีความรักผูกพันกันแบบครอบครัวที่มีการเคารพเชื่อฟังสมาชิกรุ่นพี่ตามลำดับ ใช้เวลาเก้าถึงสิบสองเดือนขึ้นไป มีสี่ระยะ คือ ระยะแรกเข้า ระยะบำบัด ระยะฝึกกลับสู่สังคม และ ระยะติดตาม ดูแลหลังการบำบัดรักษา 

อ้างอิงจาก : วันเพ็ญ อำนาจกิติกร,2550 การศึกษาผลการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดเรื้อรังและรุนแรงด้วยรูปแบบชุมชนบำบัดของศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่

  

หมายเลขบันทึก: 317233เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้องซิลเวียแวะมาเรียนรู้..เรื่องชุมชนบำบัดค่ะ
  • รู้สึกว่าต้องใช้เวลานานพอสมควรเหมือนกันในการบำบัดดังกล่าว..
  • แต่ระยะเก้าถึงสิบสองเดือนนี้ ถ้าการบำบัดได้ผล..ก็จะส่งผลดีต่อชุมชนในระยะยาวได้มากทีเดียวค่ะ
  • ขอบคุณค่ะอาจารย์สำหรับความรู้ดีๆที่แบ่งปันค่ะ

สวัสดีค่ะน้องซิลเวีย กว่าจะมาเป็นชุมชนบำบัด(Therapeutic community) พี่เริ่มจากการลองผิดลองถูกมาหลายปี เริ่มตั้งแต่การถอนยาแค่ 21 วัน การปรับพฤติกรรมด้วยกลุ่มต่างๆ ฯลฯ หลายปีค่ะ เพราะที่ผ่านมาศาสตร์การรักษายาเสพติดไม่มีให้เรียนรู้เหมือนสมัยนี้ค่ะ

สวัสดีครับ เข้ามาเรียนรู้ชุมชนบำบัด นำไปประยุกกับการไกล่เกลี่ยชุมชนที่นี้ครับ

http://gotoknow.org/blog/bangheem/250573

สวัสดีค่ะ คุณวอญ่า

              ชุมชนบำบัด(TherapeuticCommunity:TC) เป็นการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยสมาชิกจะได้รับการพิจารณาในเรื่องพฤติกรรม ทัศนคติและการพัฒนาตนเองโดยประเด็นดังกล่าวต้องได้รับการเห็นชอบและพิจารณาจากเจ้าหน้าที่และเพื่อนสมาชิกค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ วันเพ็ญ

  • มาเรียนรู้ชุมชนบำบัดค่ะ
  • ขอถามค่ะ ว่า ...การเตรียมความพร้อมให้เด็กกลับไปอยู่ในสังคมและการติดตามผลการรักษาทำอย่างไรคะ
  • แล้วในส่วนของสถานบริการปฐมภูมิ (สถานีอนามัย) ควรมีรูปแบบการดูแลต่ออย่างไร
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณ สีตะวัน
  • ผู้ที่เข้ามาอยู่ในชุมชนบำบัดจะเรียกว่าสมาชิก
  • เมื่ออยู่ร่วมกันในหมู่มากย่อมมีกฏ กติกา ฝึกให้มีความรับผิดชอบโดยใช้วิธีงานบำบัด
  • ปรับเปลี่ยนทัศนคติ โดยใช้กลุ่มต่างๆ
  • เมื่อประเมินเห็นว่าสมาชิกคนใดมีความรับผิดชอบ ขยัน ทำงานได้ดี รวมทั้งมีความประพฤติดี ก็สามารถเลื่อนให้เป็นหัวหน้าและเลื่อนระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
  • และผู้ที่ได้เลื่อนระดับเป็นหัวหน้าแล้วต้องรักษาความดี ขยัน และรับผิดชอบได้ตลอดเวลา
  • เมื่อใดที่การทำงานหรือความประพฤติหย่อนยานลงหรือทำผิดสิ่งใด ก็สามารถปลดจากตำแหน่งให้ลงมาเป็นสมาชิกทั่วไปและไต่ระดับขึ้นไปใหม่ได้ ซึ่งตรงกับความเป็นจริงในการใช้ชีวิตกับสังคมภายนอก ถ้าทำงานดีขยันก็ได้เลื่อนขั้น ถ้าเมื่อใดทำผิดหรือความสามารถลดลง เอาใจใส่งานน้อยลง ก็ถูกปลด หรือถูกย้าย เป็นต้น
  • จึงทดสอบโดยลองฝึกงานในสังคมจริงภายนอก
  • เมื่อมีทักษะ สร้างเครือข่ายทางครอบครัว และสังคมได้แล้ว ทำข้อตกลงกันในการดูแลหลังการบำบัด ติดตามผล โดย สร้างเครือข่ายมีแกนนำเป็นรุ่นพี่ที่เลิกยาได้ก่อน นัดมาทำกลุ่ม คอยให้การปรึกษาทุกเรื่อง เป็นต้น 
  • ในส่วนของสถานบริการปฐมภูมิ (สถานีอนามัย) หากส่งต่อมาบำบัด น่าจะประสานงานรับทราบผลการบำบัด และทำข้อตกลงกันร่วมกับครอบครัว สร้างสัมพันธภาพมาพบกลุ่ม หรือรับการปรึกษาประคับประคองให้เลิกยาได้ยาวนานที่สุด จะได้เกิดนิสัยใหม่ในการเลิกยาอย่างถาวรค่ะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท