ก้าวผ่านภาวะคุกคามที่ถาโถม ตอนที่ 2


ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของสถาบันผู้ผลิตนั้นๆก็จะค่อยๆลดลงไป ในที่สุดก็อาจจะถึงขนาดที่ว่าไม่มีนักเรียนสมัครเข้ามาเรียน เหตุเพราะจบแล้วเป็นบัณฑิตแบบหมาหางด้วนนั่นเอง

ภาวะคุกคามจาก ก.ช. ต่อสถาบันผู้ผลิตนักรังสีเทคนิค

     การขอให้ ก.ช. รับรองสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิคนั้นเป็นภาวะคุกคามที่มีเงื่อนเวลาชัดเจน หากสถาบันใดไม่ดำเนินการภายในระยะเวลากำหนด ไม่เกินปลายปี 2553 ผลที่เกิดขึ้นชัดเจนคือ บัณฑิตที่จบจากสถาบันนั้น ก็เป็นบัณฑิตเพียงแค่มีคุณลักษณะตามที่กระทรวงศึกษาธิการหรือ ส.ก.อ. กำหนด แต่ขาดคุณสมบัติที่จะไปสมัครสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะ ดังนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วบัณฑิตเหล่านั้นจะสามารถประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคได้ไหม ในความเห็นของผมก็ว่าน่าจะได้ แต่ต้องทำงานภายใต้การกำกับดูแลของผู้มีใบประกอบโรคศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม คือเป็นบัณฑิตรังสีเทคนิคที่ไม่เต็ม หรือเป็นแบบหมาหางด้วน ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของสถาบันผู้ผลิตนั้นๆก็จะค่อยๆลดลงไป ในที่สุดก็อาจจะถึงขนาดที่ว่าไม่มีนักเรียนสมัครเข้ามาเรียน เหตุเพราะจบแล้วเป็นบัณฑิตแบบหมาหางด้วนนั่นเอง

     ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหน่อยนะครับ  คือในส่วนของการเตรียมตัวเพื่อขอให้ ก.ช. รับรองสถาบันนั้น ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผมรับผิดชอบอยู่ในฐานะหัวหน้าภาควิชา ได้ฟอร์มคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งตั้งแต่ต้นปี 2552 เรียกว่า คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพภาควิชารังสีเทคนิค ประกอบด้วยคณะกรรมการ 11 คน แทบจะหมดภาควิชาแล้วครับ มี รศ.พญ.วรรณา ตรีวิทยรัตน์ เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ที่สำคัญมากคือ วางนโยบายแนวทางการดำเนินงานและแผนงาน    ดำเนินงานในเรื่องการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้ของภาควิชารังสีเทคนิค   ให้มีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ให้สามารถรองรับการประเมินจากระบบการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอก

Wanna

     มหาวิทยาลัยมหิดลมีการตรวจเยี่ยมหน่วยงานทุกปี โดยใช้มาตรฐานคุณภาพที่เราชาวมหิดลรู้จักกันว่า MUQD เป็นระบบการประเมินภายใน ระบบนี้ทำให้ภาควิชารังสีเทคนิคได้พัฒนาระบบและกลไกขึ้นมาชัดเจนขึ้นมาก มีการวางแผนงานและติดตามประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในหลายกิจกรรม ส่วนการประเมินภายนอกโดย ก.ช. นั้นก็เป็นอันหนึ่งที่ภาควิชารังสีเทคนิคต้องดำเนินการ ผลลัพธ์จะออกมาอย่างไรนั้นผมไม่ห่วง เพราะผมมั่นใจในทีมงานครับ
     นี่แหล่ะครับที่บอกไว้ในตอนที่ 1 ว่าเป็นเรื่องดีๆที่เกิดขึ้น ดีสำหรับวิชาชีพรังสีเทคนิค ดีสำหรับประชาชนครับ และดีกับเราที่ทำงานครับ เพราะผมเห็นทีมงานทำงานนี้อย่างสนุกและมีความสุขที่ได้ทำงานนี้ครับ

 

อ่าน "ก้าวผ่านภาวะคุกคามที่ถาโถม ตอนที่ 1"    click

         "ก้าวผ่านภาวะคุกคามที่ถาโถม ตอนที่ 3"   click

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ประกายรังสี
หมายเลขบันทึก: 316887เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2009 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เปิ้ลเห็นด้วยกับอาจารย์นะคะ ที่เราจะได้มีโอกาสในการทำงานต่างๆ ให้เป็นระบบและชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นภาวะคุกคามที่อาจจะช่วยสร้างโอกาสอะไรดีๆ ก็ได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท