Copy Thesis ของพยาบาล...เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .. ความเหมือนที่ไม่แตกต่าง


"แล้วจะศึกษาไปทำไมกันเนี่ย"

ในการเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทหลายท่าน ในส่วนของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือบางสถาบันใช้คำว่า การทบทวนวรรณกรรม

พี่พยาบาลจาก รพ.สารคาม ซึ่งกำลังทำการรวบรวมเอกสาร จัดทำเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ซึ่งขณะนี้เสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น เกิดข้อสงสัยเช่นกันกับการรวบรวมเอกสารงานวิจัย เรื่องของการคำนวณหาอัตรากำลังพยาบาลตามภาระงานที่เหมาะสม

ในส่วนของบทที่ 2 ของวิทยานิพนธ์ที่ไปค้นคว้ามา เอกสารที่มีผู้ศึกษามา ทำไมช่างเหมือนกันทุกประโยคนะเนี่ย

วิทยานิพนธ์ที่ไปค้นคว้ามา มีของ มข. มหิดล เชียงใหม่ จุฬา


เหมือนกัน จนนึกว่า คนๆเดียวกันเป็นคนศึกษาค้นคว้าซะอีก อ้างอิงผู้ทำวิจัย วารสาร หรือ วิทยานิพนธ์ ปีที่ทำวิจัย เลขหน้า เดียวกัน ย่อหน้าที่พิมพ์ก็หมือนกันเป๊ะ รวมไปถึงเนื้อหาในส่วนอื่นๆ เช่นวิธีกรดำเนินการวิจัย แทบจะไม่แตกต่างกันเลย เปลี่ยนเฉพาะ สถานที่ และจำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น

"แล้วจะศึกษาไปทำไมกันเนี่ย" พี่พยาบาลซึ่งกำลังเตรียมเค้าโครงเรื่องนี้อยู่ได้ตั้งข้อสังเกตขึ้น

งานวิจัยของนักศึกษาพยาบาลบางหัวข้อ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ดูเหมือนๆกันไปหมด ใส่คำสืบค้นเอกสารในห้องสมุด ได้ผลการค้นคว้าออกมามากมาย

เมื่อได้สอบถามเพื่อนชาวพยาบาลที่กำลังเรียนโทที่ มข. ก็แจ้งว่า มีหลายคนที่ทำงานและเรียนไปด้วย ไม่มีเวลาที่จะศึกษาค้นคว้าได้เต็มที่ เวลาที่จะมาพบอาจารย์ก็มีจำกัด หัวข้อที่ทำการวิจัย จึงไม่สามารถที่จะคิดให้แตกต่างกว่านี้ได้

"ความจริงก็อยากที่จะทำวิจัยหัวข้อใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนเหมือนกัน แต่ไม่ไหวจริงๆ แต่ละวันลงเวรที่ตึกแล้ว หยิบหนังสือมาอ่านได้ไม่นานก็เพลียมากๆ แต่พยายามต่อสู้อุปสรรคต่างๆ เรียนให้จบได้ก็ถือว่า สุดๆแล้ว"

แต่อีกหลายคน ที่ค้นคว้าเอกสารงานวิจัย และเรียบเรียงด้วยตัวเองจริง

ดูเหมือนว่า ทาง มมส. ได้พยายามปรับปรุงคุณภาพของงานวิจัยนิสิตปริญญาโทให้มีคุณภาพมากขึ้น ในเรื่องของเอกสารงานวิจัย สิ่งที่อ้างอิงมานั้นจะต้องหาต้นฉบับมาแสดงให้ดูได้ ต้องระบุเลขหน้าที่อ้างอิงจากเอกสารนั้นได้อย่างถูกต้อง จะได้ไม่ต้องลอกข้อความจากงานวิจัยที่มีผู้ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว

งานวิจัยของปริญญาโท จะมีคุณภาพมากขึ้น

ปล. หัวข้องานวิจัยของพี่พยาบาล รพ.สารคาม ได้ปรับปรุงมาทำในแนวของ การพัฒนาแบบจำลองการจัดอัตรากำลังบุคลากรโดยการวิเคราะห์ภาระงาน เพื่อให้ตรงกับปัญหาวิจัยใน รพ.สารคามมากขึ้นแล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 31673เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2006 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท