AI+ผู้นำ+การเปลี่ยนแปลง


AI+ผู้นำ+การเปลี่ยนแปลง

ถึงแม้ผมจะชอบบอกชาวบ้านว่าผมสอน Appreciative Inquiry ยังไงยังไงก็จะเชิญผมไปสอนเรื่องอื่นอยู่ดีครับ ตัวอย่างเช่น ผมเคยถูกเชิญไปสอนในหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ ไม่เป็นไรครับว่าไป AI คือกระบวนการค้นหาสิ่งที่ work ที่สุดในระบบในทุกสิ่งครับ ผมตั้งตัวจาก Common Sense ครับ ผู้นำทำให้เกิดอะไรขึ้นครับ ตอบง่ายๆมันอยู่ที่โจทย์แล้วครับ "ผู้นำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง" เปลี่ยนอะไรครับ เท่าที่ผมสัมผัสกับผู้นำครับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงมีอย่างนี้ครับ

เปลี่ยนตัวเองได้ก่อน เลยไปเปลี่ยนคนไกล้ตัวมากที่สุด เช่นลูกค้า ลูกน้อง ต่อมาก็ผู้มีอำนาจสูงกว่า

เปลี่ยนแล้วเกิดอะไรดีขึ้น ก็ขั้นต้นงานราบรื่นขึ้น ส่งผลให้เกิดอะไรขึ้น Productitivity หรือยอดขายสูงขึ้น ความก้าวหน้างานในเวลาต่อมาเลยมากขึ้นครับ ผมเคยไปทำ Workshop เรื่องการพัฒนาภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (ตอนหลังขอเติม "ด้วย Appreciative Inquiry") กลุ่มเป้าหมายเป็นนักบริหารระดับกลาง ได้ผลที่น่าสนใจดังนี้ครับ

1. เปลี่ยนตนเอง ให้นึกถึงการเปลี่ยนแปลงตนเองครั้งไหน work ที่สุด จนนำมาสู่การเป็นหัวหน้าในปัจจุบัน

ผมยกตัวอย่างคนหนึ่งครับ เขาบอกว่าตอนแรกก็กินเหล้าทุกวันครับ พอวันหนึ่งเมียช่วยให้ไปซื้อนมให้ลูกปรากฏว่าไม่มีตังค์ต้องไปขอยืมเงินเพื่อน นี่ละครับเป็นจุดเปลี่ยน ตั้งแต่นั้นเลยรับผิดชอบมากขึ้น มีตังค์เหลือ และเขาบอกว่านี่คือจุดเริ่มต้นของอาชีพเขาครับ ฟังไปกว่าสามสิบคนจะเป็นเรื่องการได้ดูแลคนอื่นๆครับ

2. เปลี่ยนลูกน้อง ต่อมาเป็นคำถาม "ให้นึกถึงครั้งที่คุณทำอะไรบางอย่างแล้วทำให้ลูกน้องเก่งขึ้นอย่างไม่เป็นมาก่อน"

ผลออกมาเป็นคล้ายๆกันครับ ถ้าลูกน้องผู้ชายก็ประมาณให้โอกาสไม่ยุ่งกับเขามาก ให้ความเชื่อมั่น และให้ลองทำดูเอง บางทีจะบอกว่า "น้อง น้องทำได้อยู่แล้ว" ถ้าเป็นผู้หญิง เช่นทำรองเท้าก็จะประมาณว่าให้ทำทีละขั้นจนกระทั่งชำนาญ ก็จะค่อยยกระดับไปเรื่อยๆ  สรุปครับคนที่เป็นผู้นำรู้จักความแตกต่างระหว่างการฝึกลูกน้องผู้ชายและผู้หญิงครับ อันนี้ขอเน้นครับเป็นจุดร่วมที่น่าสนใจครับ ผมก็มีประสบการณ์เดียวกันเวลาฝึกคนในเครือข่าย AI Thailand

3. เปลี่ยนนาย ต่อมาเป็นคำถาม "ให้นึกถึงครั้งที่คุณเปลี่ยนใจผู้มีอำนาจสูงกว่าให้ฟังคุณ เอาครั้งที่ Work ที่สุด" จะออกมาคล้ายกันครับ เฃ่นมีรายหนึ่งค้นพบว่าสายการผลิตกำลังมีปัญหาครับ ก็หาทางเตือนผู้มีบริหารด้วยการไปนำเสนอสิ่งที่ตัวเองคิดก่อน โดยบอกข้อดี จากนั้นก็จะให้ทางเลือกกับผู้บริหารครับว่า "พี่ไม่ต้องห่วงครับ ถ้าไม่ work เราก็กลับมาใช้ของเดิมได้" ประมาณนี้ครับ สรุปคือผู้นำที่สามารถเปลี่ยนใจผู้บริการได้มักเป็นกรณีที่ไปยื่นข้อเสนอ + ประโยชน์+ ทางเลือกครับ

ผมได้บอกย้ำไปใน Workshop ครับให้เขาเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมีคุณค่ามาก นอกจากนี้ผมยังให้เขาช่วยกัน Vote ว่าชอบเรื่องของใครมากที่สุด อย่างละสอง-ถึงสามคนจากนั้นบอก HRD ให้จดชื่อไว้เขียนในประกาศว่าถ้าใครเจอความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงให้เปขอเรียนรู้จากทั้งหกท่านนี้ได้ ซึ่งทั้งหมดก็ยินดีครับ

ในการทำ Workshop ในองค์กรด้านอื่นๆเช่นการตลาด ก็เปลี่ยนโจทย์ได้ครับเช่นลูกค้าที่สร้างมูลค่างาน ลูกค้ายากๆ อะไรก็ได้ครับ

 

ถ้าเป็นไปได้ และจดทันให้บันทึกไว้เป็น KM ของบริษัทได้ครับ ข้อมูลจากการทำ AI ไม่มีข้อมูลไหนที่เป็นอันตรายเลยครับ และที่สำคัญไปต้องใช้ตังค์สักนิดครับ

 

ใครมี workshop อย่างเล่ามาแบ่งปันพวกเรา เชิญเลยนะครับ

สิ่งที่ผู้เขาอบรมบอกว่าชอบคือ "ได้พูดทุกคน" ครับ อันนี้สำคัญครับ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 316487เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนท่านอาจารย์โย ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องแสดง ที่ ตัว ตน ก่อน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท