ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

การเพิ่มมาตรฐานการประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์


ลายมือบนความสับสนของคนอื่น แต่อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจของผู้บันทึก

  ในการดำเนินการโครงานวิทยาศาสตร์ ในฐานะครูวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ครูทั้งเป็นผู้ประเมินเห็นสมควรดำเนินการสร้างโครงานตามเค้าโครงที่นักเรียนเสนอ  แต่บ่อยครั้งที่นักเรียน จู่ ๆ ก็นนำเสนอเค้าโครงมายังครูที่ปรึกษา กระบวนการใช้คำถาม และประสบการณ์ของครูที่มักใช้คือ

    "พวกเธอทำโครงงานเรื่องอะไร"

   ...

    " โครงงานเธอได้มาอย่างไร" ตามกรอบที่กำหนดดังนี้หรือไม่

1. การสังเกตสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว  หรือในชุมชน  โดยพิจารณาว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง  หรือพยายามนำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์มาทำให้เกิดประโยชน์

2. การสำรวจอาชีพหรือวิถีในท้องถิ่น  แล้วหาทางปรับปรุงนั้น ๆ โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

3. ความสนใจ งานอดิเรก หรืออาชีพเสริมของครอบครัว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนา

4. ภูมิปัญญา ความเชื่อ ความศัทธา ของคนในท้องถิ่นที่ยังไม่มีการพิสูจน์  เช่น  น้ำซาวข้าวกับการดอง การใช้สมุนไพรบางชนิดในการรักษาโรค การใช้มูลวัวกันชื้นในยุ้งข้าว การผสมสารก่อฝนในบั้งไฟในช่วงเมฆมากตามประเพณี

5. จากการค้นคว้าเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จากเอกสารต่าง ๆ  เช่น  หนังสือพิมพ์หรือวารสาร

6. จากการฟังบรรยายทางวิชาการ การชมรายการวิทยุ  โทรทัศน์  หรือค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  หรือสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหา และพัฒนาให้ดีขึ้นได้

7. ศึกษาจากโครงงานที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว  หรือจากการไปศึกษาดูงาน

8. เรื่องที่นักเรียนกำลังเรียนเป็นการทำโครงงานเพื่อเสริมบทเรียน

 9.การแนะนำหรือการจูงใจจากของบุคคลอื่น

การให้คะแนนความสำคัญของงาน

   ครูยังมีกระบวนการสัมภาษณ์ หรือสังเกตจากวิธีอื่น ๆ ได้อีก

   ถึงแม้นว่านักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการทำโครงงานจริง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้น จนเสร็จสิ้นการทำโครงงานนั้น มีขั้นตอนบางขั้นตอนของผู้ทำโครงงานอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญหรือความสนใจ ทำให้ขั้นตอนดังกล่าวถูกข้ามไป

   สมุดบันทึกการทำงาน หรือที่เรียกว่า "Log Book" จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญของการเชื่อมระหว่างข้อเท็จ กับข้อจริงที่เรียกว่า "Fact" 

   นักเรียนในแต่ละทีมโครงงานจะมีสมุดบันทึกรายละเอียดของการปกิบัติงาน โดยมีหน้าที่และภาระกิจของแต่ละบุคคลคล ตลอดจนแผนการดำเนินการ ดังที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Easy Lab control : ELC ที่มี Event Log คอยบันทึก มีการผสานระหว่าง Log ที่มีแผน และเหตุการที่เกิดขึ้นระหว่าดำเนินการ การเป็นสถานการณ์ "Event "

   ลายมือบนความสับสนของคนอื่น แต่อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจของผู้บันทึก ก่อนการแปลงข้อมูลบันทึกสู่การนำเสนอหรือการสื่อสารอย่างเป็นระบบ  ดังเช่น ลายมืออันแสนจะวุ่นวายของนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ด ไอสไตน์ ที่ใครอยากจะรู้กระบวนการคิดของเขา บ้างก็เขียนผิด บ้างก็ขีดฆ่า อะไรต่าง ๆ นานา ทำไมเราจึงสนใจ เราสนใจสิ่งสำเร็จของเขาไม่ดีกว่าหรือ...

   ความอยากรู้อยากเห็นเป็นดานดิบพื้นฐานที่มีค่าของสำเร็จจึงไม่มีค่าพอ เพราะเราอยากสร้างกระบวนการคิดที่เหนือชั้นแบบนั้นได้อย่างไร

    Log Book คือ อะไร

สมุดบันทึกสำคัญของผู้ทำโครงงานซึ่งมีค่าแก่ผู้ทำมากกว่าผู้คอย หรือเฝ้าดูการกระทำ แต่ข้อจำกัดของความรู้และประสบการของผู้ทำ จึงจำเป็นต้อง เสนอ Log Book แก่ที่ปรึกษา

    Log Book มีประโยชน์อย่างไร

   *ช่วยในการดำเนินการทดลอง การทดลองซ้ำ การทดลองย้อน หรือการทดลองใหม่เพื่อยืนยันผลการทดลอง  ดังเหตุการของโทมัส อัลวา เอดิสัน ทำการทดลอง ที่ฮับตัน บอกว่า เอดิสันไม่ใช้หลักการใดเลย ฮัปตั้นจึงเป็น หนึ่งในทีมที่คอยบันทึก เพราะเอดิสัต้องการทดลองใส้หลอดที่มากว่า 2000 ตัวอย่าง ใครจะไปจำได้ ทั้งเวลา และอุปสรรคนานา สุดท้ายก็สำเร็จ ก่อนปี ค.ศ. 1979  ความภาคภูมิที่แม้นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้สูงกว่ายังทึ่ง

  * ใช้เป็นข้อมูลในการทำรายงาน การเรียบเรียงข้อมูลทั้งจริงและเท็จ ทั้งอยู่ในและนอกกรอบสมมุติฐาน ก็สามารถนำมาช่วยทำให้การเรียนรายงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

   * ใช้แสดงประกอบอ้างอิงในการแสดงผลการทำโครงงาน กระบวนการประเมินของคณะกรรมการซึ่งไม่ได้เฝ้าตลอด จะขอดูเทป หรือเหตุการที่เกิดขึ้น หรือว่า เบื้องหน้าเบื้องหลังความสำเร็จ ยากยิ่ง การนำเสนอก็มักจะนำแต่สิ่งที่สำเร็จ หรืออุปสรรค์ที่ฝ่าฟันได้ ไม่มีใคอยากเสนอสิ่งที่ล้มเหลว

   * ใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการจดสิทธิบัตร ในกระบวนการนี้สถาบันที่ดำเนินการทางสิทธิบัตรจะมูลข้อมูลทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังและการตรวจสอบที่เคร่งครัดรัดกุม เพราะการฟ้องร้องทางสิทธิบัตรก็จะทำให้เรื่องยาวมากขึ้น

   ครูวิทยาศาสตร์ที่เห็นความสำคัญของ Log Book ก็จะลดการสร้างนักวิทยาศาสตร์ที่ชอบลวงโลกได้มากขึ้น เราอยากเห็นสังคมไทยที่ซื่อตรง มาตรฐานของการสร้างและการประเมินโครงานก็จะเกิด ถึงกระบวนการที่ทำนั้นจะมีกรอบทิศทางที่แน่นนอน แต่ข้อเท็จ ข้อจริงที่ปรากฏ อาจจะทำให้ข้อมูลที่ได้น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 315506เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การวิเคราะห์ของครูวิทยาศาสตร์ในการที่จะลงความเห็นเสนอต่อการอนุมัติโครงงาน มีกระบวนการที่จะกล่าวในบทต่อไป

  • สวัสดีครับ คุณยูยินดี
  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • เห็นด้วยเป็นครูวิทย์ เป็นกรรมการประเมินโครงงานส่วนใหญ่แล้วก็พบว่าเป็นครูทำมากกว่าเด็กทำ

ขอบคุณครูจักกฤษณ์

ครูก็ยังคงเป็นที่พึ่งที่สำคัญของนักเรียนต่อการทำโครงงาน แต่ถ้ากลุ่มโครงานมีเยอะ... ครูจะรับบทที่หนัก... เป็นกรรมของครู

ครูควรมีศิลปะแห่งการสร้างเหตุจวงใจต่อการทำโครงงานของนักเรียน ที่ไม่ได้หวังแต่เพียงว่า "ฉันต้องได้คะแนน หรือผ่านภาระงานที่วุ่นวายนี้ไปเสียที"

ขอดูตัวอย่าง Log Book หน่อยค่ะ ทำไม่ถูก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท