คู่มือมนุษย์ของท่านพุทธทาสที่ "มนุษย์" ==> ควรคู่กับการอ่าน จริง ๆ


คู่มือมนุษย์ =====> ที่มนุษย์อย่างเรา ๆ ควรอ่าน

 เรียนเพื่อน ๆชาวBlogวันนี้ขอนำเรื่องราวที่ได้อ่านมาเล่าให้เพื่อน ๆเรื่อง “คู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ในหนังสือคู่มือมนุษย์โดยท่านพุทธทาสภิกขุได้บรรยายไว้มีทั้งหมด 9 เรื่อง ได้แก่

 

1. ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมใด... สรุปได้ว่า...พุทธศาสนานั้นมี ลักษณะหลายเหลี่ยม หลายมุม เหมือนภูเขาลูกเดียวที่มองจากทิศต่าง ๆกัน ก็เห็นรูปร่างต่าง ๆกัน ได้ประโยชน์ต่าง ๆกัน แล้วแต่ใครจะมองอย่างไร เช่น

     - เหลี่ยมที่พุทธศาสนา เป็นแห่งศีลธรรม (Moral)

     - เป็นสัจธรรม (Truth) คือความจริงที่ลึกซึ้งเป็นเรื่องของความว่างเปล่าของสรรพสิ่งทั้งปวง

     - พุทธศาสนาในฐานะ เป็นศาสนา (Religion) คือส่วนที่เป็นตัวระเบียบปฏิบัติได้แก่ ศีล สมาธิปัญญา จนผลหลุดพ้น

     - ในเหลี่ยมที่เป็น จิตวิทยา (Psychology)

     - ที่สำคัญที่สุด คือ พุทธศาสนาเป็นเหลี่ยมที่ชาวพุทธสนใจที่สุด ซึ่งหมายถึง วิธีปฏิบัติที่ให้ความรู้ความจริงว่าสิ่งทั้งปวงคืออะไร จนถอนความยึดถือ ความหลงใหลต่าง ๆ ออกมาจากสิ่งทั้งปวงได้ และยังมีเหลี่ยมอื่น ๆ อีก

     สรุปพุทธศาสนาตัวแท้ คือ การปฏิบัติด้วย กาย วาจา ใจ ชนิดที่ทำลายกิเลส การบากบั่นกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป

 

2. พุทธศาสนาบ่งชี้อะไร?  หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏก ล้วนระบุให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เช่น หลักอริยสัจ 4 ประการ และมีเรื่อง ไตรลักษณ์มีหลักในเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนันตตา บอกให้ทราบว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรที่เราควรเข้าไปยึดถือ ยึดมั่นว่าเป็นตัวเราหรือเป็นของเรา

    สรุปพุทธศาสนา คือ วิชาและระเบียบปฏิบัติที่ทำให้เรารู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไร เราปฏิบัติสิ่งนั้นได้ถูกต้อง ได้ด้วยตัวเรา ทำให้กิเลสจากตัวเราหมดไปนั้นเอง

 

3. ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง ลักษณะที่เรียกว่าไตรลักษณ์ มี 3 ประการ คือ

     - ความเป็นอนิจจัง หมายความว่า สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีความคงที่

     - ทุกขัง แปลว่าเป็นทุกข์สิ่งทั้งหลายมีลักษณะเป็นทาส 

      - อนัตตา คือทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตน  ไม่มีลักษณะอื่นที่ยึดถือได้ว่าเป็นตัวเรา เพราะความไม่รู้

 

4. อำนาจของความยึดติด ในพุทธศาสนา==> อุปาทาน แปลว่า ความยึดติด โดยจำแนก เป็น 4 ประการ 

       1)กามุปาทาน คือ ยึดมั่นความรักใคร่ คิดเห็นในสิ่งที่น่ารัก น่าพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ในปัจจุบันเพิ่มมาอีกคือ ธรรมารมณ์ เกี่ยวกับวัตถุภายนอกหรือภายใน เป็นสิ่งที่ผุดขึ้นมาในใจที่เป็นอดีตและอนาคต 

      2)ทิฏฐะปาทาน คือยึดติดในทิฏฐิ  ความคิดเห็นที่ตนมีอยู่เดิม ๆไม่ยอมใครง่าย ๆ       

      3)สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นในการประพฤติกระทำที่สืบกันมาอย่างงมงาย ไร้เหตุผล

      4)อัตตวาทปาทาน คือ ความยึดมั่นว่าตัวนี้มีความสำคัญ ความเป็นตัวตนซึ่งทำให้เกิดความทุกข์

  ดังนั้นถ้าจะเป็นสุขได้ ต้องให้จักหลุดพ้นจากอุปาทาน  จิตหลุดพ้นจากความยึดมั่น จิตไม้ผูกพัน ไม่ตกเป็นทาสของโลกหรือพ้นโลก ดังนั้นการหลุดพ้นจากการยึดมั่นที่ผิด ๆ จึงเป็นใจความสำคัญของพุทธศาสนา

 

 5. ขั้นตอนของการปฏิบัติศาสนาเกี่ยวกับเรื่อง

    1)ศีล คือ การปฏิบัติดี ประพฤติถูกต้อง ตามหลักทั่วไป ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน 

    2)สมาธิ คือการบังคับจิตใจของตนเองให้อยู่ในสภาพที่จะทำประโยชน์ให้มากที่สุดตามที่ตนเองต้องการ 

    3)ปัญญา คือ การฝึกฝน อบรม ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้อง และสมบูรณ์ถึงที่สุดในสิ่งทั้งปวงตามที่มันเป็นจริง เป็นหลักปฏิบัติของศาสนา

 

6. คนเราคิดอะไร?  คนยึดติดกับอุปทานที่ตั้งของอุปทาน คือ โลก หมายถึง สิ่งทั้งปวงทั้งสิ้นรวมกัน

    การจะรู้จักโลก “ต้องอาศัยสติปัญญาของคน” พุทธศาสนาได้จำแนกโลกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

    1) รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่เป็นวัตถุ

    2) นามธรรม หมายถึง จิตใจ ซึ่งมี 4 ส่วนรวมกับ รูปธรรม เป็น 5 ส่วน เรียกว่า “เบญจขันธ์หรือ ขันธ์ 5” ดังนั้นคน “ยึดติดกับโลก”  การดูโลกคือดูคนเพราะปัญญาอยู่ที่เรื่องของ“คน”เพราะคน“อยากมี”และ“อยากเป็น” “อยากไม่ให้เป็น” ล้วนทำให้เกิดทุกข์ เพราะยึดติดใน “เบญจขันธ์”


 7. การทำให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ: สมาธิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะพอเหมาะสมแก่กำลังของปัญหาที่จะทำให้การพิจารณาและขณะที่ "จิตเป็นสมาธิ" เต็มที่นั้น ย่อมเป็น "ความสุข+ความสบาย" ซึ่งทำให้เกิดความพอใจ ฝึกสมาธิตามแนววิธีเทคนิคและรู้จักประคับประคอง ทำให้สมาธิเกิดและเป็นไปได้ดี ทำให้เกิดปิติปราโมทย์ ทำให้จิตใจแจ่มใส สดชื่น มีจิตใจสงบ  เป็นเหตุให้จักมีสมรรถภาพเป็นของขวัญที่ธรรมชาติมีให้สำหรับทุกคนโดยแท้

 

  8. การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชาทางพุทธศาสนา ได้วางระเบียบปฏิบัติเพื่อทำให้รู้แจ้ง เรียกว่า “วิปัสสนาธุระ” ซึ่งเป็นการเรียน จากภายใน คือ อบรมจิตใจ เป็นการตั้งใจทำให้ดับทุกข์ เพราะวิปัสสนา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริง ซึ่งเกิดจากจิตใจที่ปราโมทย์ ไม่มีอะไรเป็นเรื่องเศร้าหมองใจ โดยมีศีลและสมาธิปัญญาเป็นที่อยู่อาศัยของวิปัสสนา ดังนั้นจะสามารถ กำจัดความโง่ ทำให้เห็นแจ้ง เกิดความรู้แจ้งในสิ่งทั้งปวง กำจัดกิเลส จิตไม่มีตัณหา ไม่มีความอยาก ไม่มีความทุกข์ซึ่งเป็นคำสอนทางพุทธศาสนา

 

9. ลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลก : คนจะหลุดพ้นทุกข์ได้โดยใช้วิธีการ ยกระดับจิตให้สูงขึ้น จนทำให้ขนาดของความทุกข์ครอบงำไม่ได้ พ้นทุกข์ รู้แจ้งว่าไม่มีอะไรน่ายึดถือ สิ่งต่าง ๆ ในโลก ไม่มีอิทธิพล ทำใจให้ หลงรัก หลงชัง พ้นจิตที่อยู่เหนือโลกเรียกว่า “โลกุตกรภูมิ” ซึ่งมี 4 ชั้น โดยกิเลสเป็นตัวแบ่งความแตกต่าง และกิเลสยังแบ่งออกเป็น 10 อย่าง เรียกว่า “สังขโยชน์” ซึ่งแปลว่า “เครื่องผูกพันอย่างพร้อมพรั่ง” ผูกพันคนหรือสัตว์ทั้งหลายให้ติดกับโลกและเป็น “โลกิยภูมิ” ถ้าตัดกิเลสออกไปได้ก็ถือว่า “จิตหลุดไป” เป็น “โลกุตภูมิ” ที่สมบูรณ์ คือเป็นพระโสดาบัน จากกิเลสทั้ง 10 อย่าง เขาสามารถกำจัดออกไปได้ จิตใจสูงขึ้น โดยเฉพาะกิเลสตัวที่ 10 คือ อวิชา แปลว่า ภาวะที่ปราศจากความรู้ที่ถูกต้อง ถ้าปฏิบัติได้==>ความทุกข์จะลดลงเพราะ ความพอใจและไม่พอใจในโลก “ไม่สามารถ” ครอบงำจิตใจได้อีกต่อไป "ความทุกข์ลดลง==>ความสุขจึงเกิด" นะคะ

 

  หวังว่าที่พี่ได้อ่านแล้ว ==> สรุปมาจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านนะค่ะ

  Somsri  Nawarat

  081-9435033


 สมศรี  นวรัตน์  รพ.บ้านลาด อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

Tell. 081- 9435033

หมายเลขบันทึก: 314676เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2009 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณครับ ละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์ ใครไม่ได้อ่านเสียใจแน่เลย

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ ค่ะ

สาธุครับ

เคยศึกษาทั้ง 2 เล่มเลยครับ

เรียนคุณพรชัย + คุณบุษรา +  คุณ Phrnphon และพิเศษที่สุดสำหรับคุณบวร นะคะ

   -  ก่อนอื่น >>> สิ่งแรกคือ ขอขอบคุณทั้ง 4  ท่านด้วยความจริงใจนะคะ

   -  สำหรับ คำชมและสิ่งที่Feedback” คือ Reward สำหรับพี่เปิ้นนะคะ 

   - จะพยายามเขียนบทความที่สร้างสรรค์(Creative) สำหรับสังคม (เล็กอย่างพวกเราต่อไปนะคะ)

   - ทุก ๆคน มีสิทธิมีสุข คะ จากหนังสือ ศิลปะแห่งความสุข (The Art of Happiness) โดยท่าน ดาไลลามะ ที่14 (จะพยายามอ่านให้จบแล้วสรุปมาให้อ่านนะคะ) >>> เพราะว่าพี่เปิ้นต้องส่งการบ้านท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital)  ตาม Concept + Theory ของท่านอาจารย์ คือที่กำลังเรียน Ph.D กับท่านอาจารย์(ไม่รู้ว่าจะจบหรือไม่ >>>แต่จะพยายามให้ มาก ๆคะ)

   - อยาก(Want) + ต้องการ(Need) + พยายาม (Try&Try)>>>>> ฝึกจิต ให้เป็นสุขนะคะ (รวมพี่เปิ้นด้วยคะ)

   - แต่การฝึกจิตนั้น ทำได้ไม่ง่ายนัก >>> แต่ก็ ไม่อยากเกินไป ที่จะฝึกทำ >>> ฝึกทำ นะคะ 

   - เป็น กำลังใจ ให้กันและกัน  แค่นี้ก็คือ Happiness + Passion คือสิ่งที่ออกมาจากจิตใจ(จิต+หัวใจ) จากข้างใน(ของพวกเรา) แล้วละคะ

    - อ้อ >>> อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะคะ โดยเฉพาะทั้ง 4 ท่านนะคะ

    - ที่สำคัญที่สุด "ท่านทั้ง 4 " เปรียบเสมือนแก้วน้ำ "ที่มีน้ำเพียงครึ่งแก้วอยู่ตลอดเวลา" ที่ไม่เต็มแก้วสักที่ นั้นคือท่านคือ "ผู้ใฝ่รู้" พยายามที่จะหาน้ำมาเติมเต็มอยู่ตลอดเวลา = Life Long Learning ค่ะ

   

 ขอขอบคุณจากใจจริง

พี่สมศรี(พี่เปิ้น) รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

 

 

 

Ico48

 

น้อง  Phornphon

- ดีใจจังเลย....ที่ท่าน ได้ อ่านทั้ง 2 เล่ม(เล่มใหญ่+เล็มเล็ก)

- ขอบคุณค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท