ใครคือปฐมภูมิ(๒)


ผมคิดว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางคนคงจะลืมคำนิยามดังกล่าวไปแล้ว

      ผมพบว่าความหมายของ CUP ที่เราเรียกกันจนติดปากนั้น มีชื่อเต็มคือ

Contracting Unit for Primary Care (หน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิ)

หมายถึง หน่วยงานที่สามารถเป็นหน่วยคู่สัญญารับงบประมาณเหมาจ่ายต่อหัว

ประชากรได้ โดยที่ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ

จัดให้มี หน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Unit : PCU)

ที่ทำหน้าที่ให้บริการสุขภาพทั่วไป ทั้งส่วนที่เป็นการรักษา

พยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟู

สภาพพื้นฐาน ที่เป็นลักษณะการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก การ

ให้บริการที่บ้าน และบริการในชุมชน ไม่รวมบริการที่ต้องใช้

ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ตั้งอยู่ในที่สามารถเดินทางไปใช้บริการ

ได้สะดวกภายใน 30 นาที มีบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ และ

การจัดการตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยหน่วยบริการปฐมภูมิจะ

ต้องมีประชากรที่ขึ้นทะเบียนที่ชัดเจน และรับผิดชอบดูแล

ประชากรไม่เกิน 10,000 คนต่อหน่วย

หน่วยบริการระดับนี้อาจจัดบริการโดยสถานพยาบาล

หน่วยเดียว หรือจัดเป็นเครือข่ายของหน่วยบริการย่อยที่ร่วมกัน

ให้บริการได้

      ผมคิดว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบางคนคงจะลืมคำนิยามดังกล่าวไปแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #cup#pcu
หมายเลขบันทึก: 314194เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สงสัย เลยแวะมารับความรู้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ผมไม่ลืมคำนิยามครับ

แต่ที่ที่ผมอยู่ สองหมื่นครับ

ไม่ลืมคำนิยามเช่นเดียวกันค่ะ

จำได้ว่า เมื่อครั้งชาวต่างชาติต้องมาดูงานที่ รพ.แก่งคอย ได้เป็นผู้คนหาข้อมูลทั้งหมดเป็นภาคภาษาอังกฤษ เพื่อให้ ผอก.นำเสนอ เรื่อง บริการปฐมภูมิ ของ CUP แก่งคอย

ขอให้คุณหมอมีความสุขมากๆนะคะ

  • สำหรับคนที่กำลังเรียนรู้
  • นิยามทำให้เกิดความกระจ่างพอสมควรในด้านการสร้างจินตนาการเรื่องของ "โครงสร้าง"
  • หากแต่เวลาลงทำงานจริง
  • และสวมบทของคนที่น้องกล่าวถึงตอนท้ายบันทึก
  • ต่อให้มีนิยามแจ่มแจ้งอย่างไร
  • ก็ไม่ง่ายเลยที่จะทำความเข้าใจ
  • เพราะว่าคำว่า "primary care" ที่เป็นเรื่องของ "care" จริงๆ
  • จะมี function ที่เป็นรูปแบบโครงสร้างอย่างในนิยามได้ครบ คนทำต้องมีใจค่ะ

ผมชวนให้คิดต่อว่าเราเข้าใจตรงกัน หรือมีจุดหมายใกล้เคียงกันหรือไม่ โดยเฉพาะ ผอ.รพ.อำเภอ ที่อาจมุ่งเน้นภาระกิจทุติยภูมิมากกว่าปฐมภูมิ

สถานีอนามัย คือ PCU ครับ ถ้านิยามแบบนี้

ผมเคยคิดว่าคำจำกัดความดังกล่าวเป็นสิ่งที่งดงามดั่งความฝัน

จนปรารถนาที่จะก้าวเข้าสู่ความฝันนั้น เพียงแต่คอยโอกาส

ระหว่างที่คอย ได้พบเห็นการทำงานจริง ความจริงกับความฝันนั้นแตกต่างกัน

แต่เมื่อมองในมุมที่ว่า ความฝันนั้นคือสิ่งงดงามที่เราจะพยายามก้าวไปให้ถึง

เพราะหากไปถึงจุดนั้น โดยคนที่ฝันอย่างเดียวกัน ประชาชนจะได้รับประโยชน์

และสิ่งนี้คือทางรอดของระบบสาธารณสุขของไทย

เมื่อตื่นจากความฝัน ก็ตระหนักในความจริงของทฤษฎี input-process-output

เราคาดหวัง output โดยเราไม่มี input ที่พอเหมาะ output นั้นก็ยังเป็นความฝัน

ในบางที่บางแห่ง แม้ input ไม่พอ แต่อาจได้ output ที่ปรารถนา แต่ก็เป็นไปได้เพียงบางแห่ง

เมื่อรวมข้อมูลจำนวนมากหรือจากทุกแห่งแล้ว จะไม่มีทางที่จะเกิด output ที่ต้องการได้ จาก input ที่ไม่เพียงพอ

คล้ายๆกับสถิติ ที่เมื่อจำนวนตัวอย่างมากพอ ก็จะเห็นความจริงปรากฏออกมา แต่ถ้าตัวอย่างน้อยเกินไป อาจจะได้ผลที่ผิดพลาด

ดังนั้นการทำอะไรกับคนหลายสิบล้านคน จะไม่มีเรื่องฟลุ๊ค หรือเรื่องที่ผลที่ไม่สมกับเหตุเกิดขึ้นได้

สุดท้ายเราก็ต้องยอมรับความจริงหนึ่งเช่นกันว่า การจัดการเป็นเรื่องสำคัญสุด เราต้องการผู้บริหารที่มีจินตณาการ มีความฝัน และกล้าตัดสินใจที่จะนำ สังคมเราไปสู่จุดหมาย....แต่ใช่ว่าถ้าเหล่าผู้ตามไม่เข้าใจแล้วทุกสิ่งจะเป็นไปได้นะครับ

ปล.ขอให้พี่สาโรจน์และครอบครัวพร้อมทีมงานมีความสุขในวันปีใหม่ไทยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท