คนตานี
saifuddeen Abu Ni-nasreen (سيف ألدين) ibn ni-umar ibn ni-kejik An-nuree

ฝนดาวตกในคืน 13 - เช้า 14 ธันวาคม


ฝนดาวตกในคืน 13 - เช้า 14 ธันวาคม

 

 

 

ฝนดาวตกในปี 2552

วรเชษฐ์ บุญปลอด

โดยทั่วไปในสภาพท้องฟ้าที่ดีไม่มีเมฆหมอกหรือแสงไฟฝุ่นควันรบกวน เราสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ในหลายช่วงของปีจะมีดาวตกที่ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า เรียกว่าฝนดาวตก (meteor shower)

ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางทิ้งไว้ ดาวตกที่เกิดจากสะเก็ดดาวเหล่านี้มีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะของดาวตกที่เห็น และจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีอัตราต่ำเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมงแต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตกเนื่องจากมีแหล่งกำเนิดที่สังเกตได้ว่าดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณหนึ่งบนท้องฟ้า จุดนั้นเรียกว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) มักเรียกชี่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่ในบริเวณจุดกระจายฝนดาวตก

ฝนดาวตกกลุ่มดาวสำคัญ ๆ ส่วนใหญ่ในปีนี้ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ที่น่าดูที่สุดอาจจะเป็นฝนดาวตกสิงโต จุดกระจายฝนดาวตกชุดนี้อยู่บริเวณหัวของกลุ่มดาวสิงโตซึ่งมีลักษณะคล้ายเคียว นักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์ดาวตกหลายคนคำนวณพบว่าปีนี้โลกจะฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางเทมเพล-ทัตเทิลทิ้งเอาไว้ในปี ค.ศ. 1466 และ 1533 ทำให้คาดหมายว่าฝนดาวตกสิงโตในปีนี้จะมีอัตราการตกสูงสุดมากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง หรือมากกว่า 1-2 ดวงต่อนาที (อาจมากกว่านี้ได้อีก) ในเวลาประมาณ 4.00-5.00 ของเช้ามืดวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน ตามเวลาประเทศไทย รายละเอียดของผลการพยากรณ์จะนำเสนอต่อไปเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม

นอกจากฝนดาวตกสิงโต ฝนดาวตกคนคู่ในเดือนธันวาคมก็น่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากมีจำนวนมากทุกปีและไม่มีแสงจันทร์รบกวน จุดกระจายฝนดาวตกคนคู่อยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ ต้นกำเนิดของฝนดาวตกชุดนี้มาจากดาวเคราะห์น้อยฟีทอนซึ่งอาจเคยเป็นดาวหางมาก่อน

 

ฝนดาวตกในปี 2552

ชื่อ

คืนที่มีมากที่สุด

เวลาที่เริ่มเห็น 
(โดยประมาณ)

อัตราสูงสุด
ในภาวะอุดมคติ
(ดวง/ชั่วโมง)

อัตราสูงสุด
ในประเทศไทย
(ดวง/ชั่วโมง)

หมายเหตุ

ควอดแดรนต์

3/4 ม.ค.

2.00 น.

120 (อาจอยู่ระหว่าง 60-200)

30-90

-

พิณ

22/23 เม.ย.

22.00 น.

18 (อาจมากถึง 90)

10

-

อีตาคนแบกหม้อน้ำ

5/6 พ.ค.

2.00 น.

85 (อาจอยู่ระหว่าง 40-85)

20-40

แสงจันทร์รบกวน
ก่อน 3.30 น.

เดลตาคนแบกหม้อน้ำ

27/28 ก.ค.

21.00 น.

20

15

แสงจันทร์รบกวน
ก่อน 23.00 น.

เพอร์ซิอัส

12/13 ส.ค.

22.00 น.

100

60

แสงจันทร์รบกวน

นายพราน

21/22 ต.ค..

23.00 น.

30

15

-

สิงโต

17/18 พ.ย.

00.30 น.

100+ (อาจมากถึง 500)

100+

อาจมากเป็นพิเศษ

คนคู่

13/14 ธ.ค.

20.00 น.

120

100

-


หมายเหตุ

  • ตัวเลขสำหรับสถานที่ที่ท้องฟ้ามืดสนิท หากมีแสงจันทร์และมลพิษทางแสงรบกวน จะมีจำนวนดาวตกที่เห็นลดลงจากค่าในตารางนี้
  • คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมาย / ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ 3 ต่อเช้ามืดวันที่ 4
  • ดัดแปลงจากตารางฝนดาวตกประจำปีเผยแพร่โดยองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization - IMO)

---------------------------------------------------------------------------------------

วิธีการดูฝนดาวตกในคืน 13 - เช้า 14 ธันวาคม : ชมฝนดาวตกคนคู่ 2552 (Geminids)

นายอารี สวัสดี อุปนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่าถ้าหากพลาดการชมฝนดาวตกสิงโตก็สามารถดู ฝนดาวตกคนคู่ด้วยตาเปล่า

ของคืนวันที่ 13 ธันวาคม - เช้ามืดวันที่ 14 ธันวาคม ตั้งแต่เวลา 20:00 ถึง 02:00 น. คาดว่าดาวตกค่าเฉลี่ยประมาณ 60 ดวงต่อชั่วโมงเวลาประมาณ 02:00 น.

วิธีการดู ในช่วงหัวค่ำให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกกวาดสายตาจากขอบฟ้าไปยังกลางฟ้า

ในช่วงเที่ยงคืนถึง 02:00 น. ให้มองไปที่กลางฟ้า ประชาชนสามารถดูด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ เงื่อนไขต้อง ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆ หมอก และแสงไฟฟ้ารบกวน

สมาคมดาราศาสตร์ไทย จึงขอเชิญชวนประชาชน ผู้สนใจ เข้าร่วมชมมหกรรมฝนดาวตก

 

ที่มา...

http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/meteors/2009meteors.html

หมายเลขบันทึก: 313479เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท