นวัตกรรม


เรียนรู้และลองทำนำไปสู่ความสำเร็จ

ความหมายของนวัตกรรม


          นวัตกรรม  หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
          “นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
          คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)    (

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
          ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
           ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
           ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
·       E-learning
     ความหมาย    e-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
           1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
            2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
          ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
          เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
          การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) 
·       ห้องเรียนเสมือนจริง
    ความหมาย   การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้
          ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให ้ บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)


          ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง
          รศ.ดร.อุทัย ภิรมย์รื่น (อุทัย ภิรมย์รื่น, 2540) ได้จำแนกประเภทการเรียนในห้องเรียนแบบ เสมือนจริงได้ 2 ลักษณะ คือ
          1. จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับบท เรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียนนักศึกษาก็สามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอน หรือเพื่อนักศึกษาในชั้นเรียนได้ ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นจริง ซึ่งเรียกว่า Physical Education Environment
          2. การจัดห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง เรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตังหนังสือ (Text-Based) หรือภาพกราฟิก (Graphical-Based) ส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education Environment ซึ่งเป็น Virtual Classroom ที่แท้จริง การจัดการเรียนการสอนทางไกล
ทั้งสองลักษณะนี้
          ในบางมหาวิทยาลัยก็ใช้ร่วมกัน คือมีทั้งแบบที่เป็นห้องเรียนจริง และห้องเรียนเสมือนจริง การเรียนการสอนก็ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก เช่น Internet, WWW. ขณะนี้ได้มีผู้พยายามจัดตั้งมหาวิทยาลัยเสมือนจริงขึ้นแล้ว โดยเชื่อมโยง Site ต่างๆ ที่ให้บริการ ด้านการเรียนการสอนทางไกล แบบ Virtual Classroom ต่างๆ เข้าด้วยกัน และจัดบริเวณอาคาร สถานที่ ห้องเรียน ห้องสมุด ภาควิชาต่างๆ ศูนย์บริการต่างๆ ตลอดจนคณาจารย์ นักศึกษา กิจกรรม ทุกอย่างเสมือนเป็นชุมชนวิชาการจริงๆ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ของแต่ละแห่ง ผู้ประสงค์จะเข้าร่วมในการเปิดบริการก็จะต้องจองเนื้อที่และเขียนโปรแกรมใส่ข้อมูลเข้าไว้ เมื่อนักศึกษาติดต่อเข้ามา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถ โต้ตอบได้เสมือนหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยจริง ๆ การติดต่อกับมหาวิทยาลัยเสมือนจริงทำได้ดังนี้
          1. บทเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ อาจจะส่งให้ผู้เรียนในรูปวีดีทัศน์ หรือวีดิทัศน์ผสมกับ Virtual Classroom หรือ CD-ROM ที่มีสื่อประสมทั้งภาพ เสียง การเคลื่อนไหว โดยผ่านระบบสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดาวเทียม โทรทัศน์ โทรสาร หรือทางเมล์ ตามความต้องการของ ผู้เรียน
          2. ผู้เรียนจะติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง ในขณะสอนก็ได้หากเป็นการเรียนที่ Online ซึ่งจะเป็นแบบของการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) ที่โต้ตอบโดยทันทีทันใดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนหรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Synchronous Interaction) เช่น การ Chat หรืออาจใช้การโต้ตอบแบบไม่ทันทีทันใด (Asynchoronous Interaction) เช่น การใช้ E-mail, การใช้ Web- board เป็นต้น
          3. การทดสอบ ทำได้หลายวิธี เช่น ทดสอบแบบ Online หรือทดสอบโดยผ่านทางโทรสาร ทาง E-mail และทางไปรษณีย์ธรรมดา บางแห่งจะมีผู้จัดสอบโดยผ่านตัวแทนของมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นที่นักศึกษาอาศัยอยู่ การเรียนทางไกลโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาที่ตนสนใจได้ตลอดเวลา ในทุกแห่งที่มีการเปิดสอน ไม่ต้องเข้าชั้นเรียนก็ได้ ในการศึกษาหาความรู้ จึงมีความยืดหยุ่นด้านเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปมาก นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนได้โดยตรง สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เรียนคนอื่นซึ่ง อยู่ห่างไกลกันได้ เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือซึ่งกัน และกันทำงานร่วมกัน (Collaborative Learning) อย่างไรก็ตามการเรียน ทางไกลลักษณะนี้อาจจะขาดความสัมพันธ์แบบ face-to-face คือ การเห็นหน้าเห็นตัวกันได้แต่ปัจจุบันนี้ก็มีกล้องวีดิทัศน์ ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ เครือข่าย ก็สามารถทำให้เห็นหน้ากันได้ ดังนั้นปัญหาเรื่อง face-to-face ก็หมดไป ความสำเร็จและ คุณภาพของการเรียนในระบบนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนค่อนข้างมาก เพราะจะต้องมีความรับผิดชอบ ต้องบริหาร เวลาเพื่อติดตามบทเรียน การทำกิจกรรมและการทดสอบต่างๆให้ทันตามกำหนดเวลา จึงจะทำให้การเรียนประสบผล สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด


 การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในวงการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำ วันของชาวโลกคือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ใน โลกเข้าด้วยกัน ภายใต้กฎเกณฑ์การต่อเชื่อม (Protocol) อย่างเดียวกันที่เรียกว่า TCP/IP อินเทอร์ เน็ตเป็นปรากฏการณ์ของคำว่า "โลกาภิวัฒน์" (Globalization) ที่เป็นรูปธรรม โลกทั้งโลกสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด ในทางการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็นการเปิดกว้างของ การให้โอกาสในการศึกษาหาความรู้อย่างไม่เคยมีมาก่อน และเป็นการเปิดโอกาสที่ให้เกิดความเท่า เทียมสำหรับทุกคน ที่สามารถจะเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ลองนึกถึงความจริงที่ว่าเด็กไทยที่ อยู่บนดอยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็สามารถหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตได้เท่าเทียมกันกับเด็กอเมริกัน ที่นิวยอร์ค และเท่ากับเด็กญี่ปุ่นที่โตเกียว อินเทอร์เน็ตเป็น
          แหล่งสะสมความรู้หรือที่บางคนเรียกว่า "ขุมทรัพย์ความรู้"เพราะในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ต่อ เชื่อมอยู่กับอินเทอร์เน็ตนั้น ต่างก็มีข้อมูลสะสมไว้มากมาย และวิธีให้บริการบนอินเทอร์เน็ตก็ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย ถ้าเจ้าของข้อมูลยอมเปิดให้เป็นข้อมูลสาธารณะ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเป็นข้อมูลที่ไม่มีการกลั่นกรอง ไม่มีการ รับรองความถูกต้อง ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และนำมาใช้เฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาในยุคอินเทอร์เน็ตนั้นคือ การเรียนรู้ที่จะแยกแยะและกลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจัดระบบขึ้นเป็นความรู้ ขณะนี้มีงานวิจัยซึ่งพยายามสร้างกระบวนการอัตโนมัติ (โดยใช้คอมพิวเตอร์) ของการค้นหาข้อมูล (จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) และนำมาเรียบเรียงขึ้นเป็นความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ผู้ใช้สามารถระบุได้ ศาสตร์ใหม่แขนงนี้มีชื่อเรียกว่า วิศวกรรมความรู้ (Knowledge Engineering) ซึ่งมีการบริการ World Wide Web (WWW.) เป็นวิธีการให้บริการข้อมูลแบบหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นวิธี การที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้ โดยอาศัยสมรรถนะที่สูงขึ้นมากของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้
WWW . ใช้กฎเกณฑ์การรับส่งข้อมูลแบบ Hypertext Transfer Protocol (http) ซึ่งมีจุดเด่นที่ สำคัญอยู่ 2 ประการคือ
          1. สามารถทำการเชื่อมโยงและเรียกข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาปรากฏได้ โดยวิธีการที่เรีย กว่า Hyperlink
          2. สามารถจัดการข้อมูลได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเสียง และวีดิทีศน์ เป็นต้น 


 

หมายเลขบันทึก: 31309เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ข่าวแจ้งเวียนจาก KPRUQA  

------------------------------------------------------

เรียน  ท่านคณาจารย์และบุคลากร KPRU ผู้ใช้บริการ www.gotoknow.org

ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์สร้างแพลนเน็ตค่ะ
  1. เริ่มต้นให้แต่ละท่านที่จะใช้งานเว็บไซต์นี้ ศึกษาข่าวประกาศ& คู่มือการใช้คร่าวๆ ก่อนเพื่อความคุ้นเคยค่ะ
  2. ท่านอาจารย์จันทวรรณได้กรุณา upload เอกสารประกอบการใช้ GotoKnow.org version 2 ค่ะ   ลอง(คลิกขวา) เข้าไปชมก่อนเลยนะคะ     ภาพขาวดำ http://gotoknow.org/file/jantawan/Gotoknow+v2+training.pdf ภาพสี http://gotoknow.org/file/jantawan/Gotoknow_v2_color.zip
  3. คลิก "ลงทะเบียน"  เพื่อสมัครเป็นสมาชิก Gotoknow.org
  4. เข้าใช้ระบบ
  5. คลิก "แผงควบคุม"    คลิก "สร้างบล็อกใหม่"
  6. คลิก "แผงควบคุม"    คลิก "สร้างแพลนเน็ตใหม่"
  7. คลิก "แผงควบคุม"   คลิกที่ชื่อบล็อกที่เราสร้างไว้
  8. จากนั้น สังเกตข้อความเล็กๆ  [นำบล็อกเข้าแพลนเน็ต (..ชื่อแพลนเน็ตของเรา..) ]   คลิกเข้าไปในนั้นเพื่อนำบล็อกของตนเองเข้าร่วมแพลนเน็ตที่ตนเองสร้างไว้  
  9. ทีนี้หากต้องการเชิญ blog อื่นๆ เข้าร่วมแพลนเน็ตของเรา ควรทราบชื่อ blog นั้นๆ ก่อนค่ะ 
  10. ทั้งนี้เจ้าของแพลนเน็ตต้อง "เข้าใช้ระบบ" อยู่เท่านั้นจึงจะนำ blog ที่เราสนใจเข้าแพลนเน็ตของตนเองได้
  11. คลิก "ค้นหา"  เพื่อใส่ชื่อ blog ที่ต้องการนำเข้าร่วมแพลนเน็ตของเรา  เมื่อพบบล็อกนั้นแล้ว  คลิก  [นำบล็อกเข้าแพลนเน็ต(ชื่อแพลนเน็ตของเรา) ]
  12. หากนำ blog เข้าแพลนเน็ตสำเร็จ จะพบกล่อง "วงจรแพลนเน็ต"  ที่มีรายชื่อบล็อกที่เรานำเข้าไปอยู่ในแพลนเน็ต  พร้อมกันนั้นเมื่อคลิกเข้าชม "แพลนเน็ต" ของเราจะปรากฏ "บันทึกที่ถูกรวบรวมล่าสุด" จาก blog ต่างๆ เหล่านั้นค่ะ
  13. หากต้องการเพิ่ม blog เข้าแพลนเน็ตก็ย้อนกลับไปทำข้อ 8-12 ค่ะ    

สำหรับวงจรแพลนเน็ต  We Lover KPRU2 มี blog ของท่านคณาจารย์และบุคลากรหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรเกือบทั้งหมดนะคะ

ขอเรียนเชิญ "เข้าใช้ระบบ"  และเลือกนำ blog ที่ท่านสนใจเข้าไปไว้ในแพลนเน็ตของแต่ละท่านค่ะ

 

ทีมงาน KPRUQA

กราบเรียนท่านคณบดี

 "น้องกัปตัน" อายุ 9 ขวบสร้าง blogไว้ค่ะ  จึงขออนุญาตฝากท่านคณบดีส่งต่อให้กับสมาชิกตัวน้อยในครอบครัว เพื่ออาจทดลองสร้างแพลนเน็ตสำหรับเป็นชุมชนเปลี่ยนเรียนรู้ของเด็กๆโดยเฉพาะค่ะ 

ณัชชารีย์ กุศลธรรมรัตน์

กราบเรียนท่านคณบดี 

  • กราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงค่ะที่ได้กรุณาส่งชื่อไปร่วมอบรม E-learning ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศค่ะ ได้ความรู้มากมายและพบว่าเป็นช่องทางพัฒนากระบวนวิชาทางด้านจิตวิทยาการศึกษาที่มีประสิทธิภาพอีกด้วยค่ะ
  • ท่านคณบดีศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เล่าเรื่อง "ครู" ผ่านบันทึกของท่านค่ะ เห็นว่าน่าสนใจจึงนำมาเสนอท่านค่ะ

 

วันนี้เรียนการค้นคว้าหาข้อมูลในวิชานวัตกรรม..........มีประโยชน์มาก 
การใช้นวัตกรรมใหม่มาใช้ในการสอนของโรงเรียนบ้านเกาะน้ำโจนเป็นการเรียนการสอนแบบ OCOPคือ1 ห้องเรียน1อาชีพมุ่งเน้นให้นักเรียนมีอาชีพติดตัวสามารถนำไปใชในชีวิตประจำวันหรือพัฒนาไปเป็นอาชีพที่ชอบได้

เรียนการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศได้รับความรู้มากและสามารถนำไปใช้ได้โดยเฉพาะ E-book  ขอขอบคุณท่านคณบดีมากค่ะ

จากการศึกษาเรื่องนวัตกรรมข้าพเจ้าได้นำนวัตกรรมมาทดลองใช้ในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตนเองไม่ถนัด ด้วยการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ของโรงเรียนวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนว่ามีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นกว่าวิธีการสอนแบบเก่าหรือไม่ของปีการศึกษา 2549  จากการประเมินผลในภาคเรียนที่ 1ด้วยการสังเกต สัมภาษณ์ครู ผ้ปกครอง นักเรียน และประชุมครู พบว่า ครู ผ้ปกครอง นักเรียนมีความพึงพอใจเป็นอย่างมากกับการนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอน สำหรับงานวัจัยผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนจะสูงขึ้นหรือไม่คงต้องรอให้สิ้นปีการศึกษา 2549 ก่อน
นางสาวดาวเรือง อึ่งน่วม
        ทางโรงเรียนอนุบาลไอรฎาได้พยายามปรับปรุงด้านการเรียนการสอนของครูโดยได้ศึกษาหาความรู้พัฒนาด้านการใช้นวัตกรรม  โดยการเน้นการพัฒนาทั้ง  4  ด้านคือด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม   และด้านสติปัญญา  เช่นการทำบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับเด็กปฐมวัย  การทำ  E -   Book  เป็นต้น

เรียนท่านคณะบดี

     เนื้อหาเรี่องนวัตกรรมที่ท่านได้ให้ข้อมูลไว้ในเว็ปมีประโยชน์ และช่วยให้มีความเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมมากขึ้น ในโรงเรียนของผม มีความจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนที่ต้องใช้นวัตกรรมเข้ามาเกี่ยงข้องมาก เนื่องจากมีเด็กพิการเรียนร่วมด้วย

เรียนท่านคณบดี

            ทางโรงเรียนอนุบาลขาณุวรลักษบุรี ได้จัดซื้อจัดให้มี TV และ VCD มีห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องปฏิบัติการภาษา แต่ครู มีแต่ครูอายุมาก ถึงจะมีนวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นในโรงเรียน 2 ปี แล้วการเรียนการสอนก็ยังยืนหน้ากระดานดำเหมือนเดิมครับ

จากการได้ศึกษาความหมายและขั้นตอนการใช้นวัตกรรม ที่ท่านคณบดีวชิระ  วิชชุวรนันท์ ได้ให้ศึกษาความหมาย ซึ่งตรงกับการดำเนินงานของโรงเรียนบ้านบางลาดที่ข้าพเจ้าร่วมในการจัดการศึกษาอยู่ คือการศึกษาข้อมูล นวัตกรรมของโรงเรียนที่มีอยู่แล้ว และนำในส่วนที่ดำเนินการแล้วมาพัฒนาให้เกิดผลมากขึ้นแล้วจัดเครื่อข่ายให้เกิดประสิทธิภาพภายในสถานศึกษา

โรงเรียนที่บริหารอยู่ เป็นโรงเรียนในชนบทและเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  สื่อนวัตกรรมต่างๆยังมีน้อย  ครูยังขาดความรู้เรื่องนวัตกรรม   แต่ทางโรงเรียนก็พยายามจัดหา โดยการขอรับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์     ทีวีวีซีดี

 

ทางโรงเรียนบ้านหนองช้างงามได้ใช้เทดนิควิธีการใหม่ ๆ มาบริหารทั้ง 4 งาน เช่น งานการเงิน               ในการซื้อคอมพิวเตอร์ระบบผ่อนเป็นรายปี

ความรู้ที่ท่านปะบนเว็บให้ความรู้ที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะe-learning จะเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาททุกความสนใจแต่ผู้ออกแบบบทเรียนต้องมีความรู้ความสามารถทั้งเนื้อหาทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศต้องทำให้น่าสนใจ         

                                    มะณู

    การจัดการเรียนการสอนในระดับอาชีวะศึกษาปัจจุบัน เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะ ด้านการใช้ระบบ ict และ การใช้ภาษาต่างประเทศมากขื้นr
นายภาษกร แจ่มหม้อ และ นางสาวเฉลิมลักษณ์ เนื้อไม้

เรียน   ท่านคณบดีที่เคารพอย่างสูง

           กระผมและดิฉันได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องห้องเรียนเสมือนจริงแล้วพบว่าเป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่ดีมากสำหรับโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านงบประมาณ แต่สำหรับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลความเจริญและโรงเรียนขนาดเล็กยังขาดโอกาสอย่างสูงที่จะจัดทำห้องเรียนเสมือนจริงได้ 

            ถ้าในภาครัฐเห็นความสำคัญในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนโดยให้แต่ละสถานศึกษามีความเสมอภาคในการจัดการศึกษา ควรจะผลิตบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถให้แก่โรงเรียนทุกโรงเรียนและสนับสนุนงบประมาณด้านการจัดหาคอมพิวเตอร์ให้ทุกโรงเรียน  เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีห้องเสมือนจริง( Virtual  classroom)

                                   นายภาษกร  แจ่มหม้อ

                                   

              ที่โรงเรียนของดิฉันมีระบบICT  ดังนี้

              1. พยายามจัดหาผู้บริจาคคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 20 เครื่อง  (เหนื่อยมากสำหรับโรงเรียนจนๆอย่างเรา)

               2. แม้แต่เครื่องโทรสารก็ยังอุตส่าห์ได้รับบริจาคมาหนึ่งเครื่อง(ขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากเลยค่ะ)

               3. ได้รับ OVER HEAD  2  เครื่อง (ราชภัฎเลิกใช้แล้วค่ะ)

                4. ได้รับเครื่องขยายเสียงพร้อมลำโพง 2 อัน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โรงเรียนโดยการใช้เสียงตามสายสู่ชุมชน

                 5. ที่โรงเรียนมีจานดาวเทียมที่ชำรุดและกำลังซ่อมแซมเพื่อดำเนินการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม(กำลังจะไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนท่าเสลี่ยง  อ.เมือง  จ.กำแพงเพชร  โดยได้ประสานงานกับ ผอ.คเนศ   เพื่อนร่วมรุ่น  ป.บัณฑิตบริหารการศึกษา)จากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน

                  6. ได้ข่าวแว่ว ๆ จาก สพท.ตาก เขต 1 จะพิจารณาจัดสรรคอมพิวเตอร์ให้อีก 10 เครื่อง (ขอบคุณหลายๆเด้อ)

                   ในโอกาสอันใกล้นี้ โรงเรียนชุมชนบ้านไม้งามคงจะมีโอกาสจัดทำห้องเรียนเสมือนจริงได้...สาธุ   !!!!!

                     น.ส.เฉลิมลักษณ์  เนื้อไม้

 

 

           

 

 

ถึง  ผศ.วชิระ

เป็นการดีที่มีการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้ดียิ่งขึ้นและอยากจะให้มีโครงการอย่างนี้ทั้งพัฒนาครูและผู้บริหาร

เรียนท่านคณะบดี

ดีใจคะที่ได้เป็นศิษย์ของท่านคณะบดีได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆและเป็นปัจจุบันจากท่านคณะบดี จากการที่ได้เรียนรู้วิธีทำนวัตกรรมทำให้โรงเรียนมีนวัตกรรมสำหรับสอนเด็ก จากที่ได้ความรู้จากท่านมาและจะสานต่อความรู้นี้ไปเผยแพร่ให้กับบุคลากร และบุคคลที่สนใจต่อ

ขอให้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการสอบวิจัย 30กย49

การใช้นวัตกรรมในการบริหารงานของโรงเรียนอ่างทองราษฎร์วิยา  มีดังต่อไปนี้

1.การใช้จานดาวเทียมการเรียนการสอนของไกรกังวล

2.การส่งหนังสือไป สพท.กพ.เขต 2 ระบบ

   E- office

 

     สื่ออิเลคโทรนิคเป็นนวัตกรรมที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว   เมื่อผู้ใช้นำไปใช้เพื่อสืบค้นหาความรู้หรือสืบค้นเพื่อทำธุรกิจการค้าจะมีประโยชน์อย่างมหาศาล   ในทางตรงข้ามหากไปใช้ในทางที่ผิดเช่นใช้สืบค้นหาสื่อสิ่งลามก   หรือเพื่อการทุจริตในการปฏิบัติงานหรือการทำธุรกิจการค้า   จะเป็นสื่อที่มีโทษอย่างมากเช่นกัน

การใช้นวัตกรรมในการบริหารงานของโรงเรียนอ่างทองราษฎร์วิยา  มีดังต่อไปนี้

1.การใช้จานดาวเทียมการเรียนการสอนของไกรกังวล

2.การส่งหนังสือไป สพท.กพ.เขต 2 ระบบ

   E- office

นายประยูร แก้วแสนตอ

ได้รับความรู้มากครับจากการเรียนการทำนวัตกรรมขอบคุณครับท่านคณะบดี

การมีวิญญาณครูจะทำให้เป็นครูมืออาชีพเมื่อมี

โอกาสเป็นผู้บริหารก็จะเป็นผู้บริหารมืออาชีพ

เราเป็นคนทำงานเพื่อคนอื่น เพื่อส่วนรวมก็ต้องเหนื่อ

เป็นธรรมดา แต่นั่นคือความสุขที่อิ่มเอิบเปรมปรี   

กราบเรียนท่านคณบดี กระผมต้องขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความรู้ในการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์จากการที่ได้เรียนรู้วิธีทำนวัตกรรมทำให้โรงเรียนมีนวัตกรรมสำหรับสอนเด็กและเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรเป็นอย่างยิ่ง กสิน วิเศษ

กราบเรียนคณบดี

จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ผมได้รับความรู้มาก

มายมหาศาลสามารถนำไปใช้ได้อย่างคุ้มค่า

 นายมนู   อุดม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท