การศึกษา...คือการวางรากฐานและการเติมเต็ม


“การให้การศึกษานั้น กล่าวโดยวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการสร้างสรรค์ความรู้ความคิด พร้อมทั้ง คุณสมบัติและจิตใจที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล เพื่อช่วยให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง ราบรื่น ทั้งสามารถบำเพ็ญประโยชน์สุขเพื่องาน เพื่อส่วนรวม ได้ตามควรแก่อัตภาพ …” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญบัตรแก่นิสิตและนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515

การศึกษา...คือการวางรากฐานและการเติมเต็ม

* “การให้การศึกษานั้น กล่าวโดยวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการสร้างสรรค์ความรู้ความคิด พร้อมทั้ง      คุณสมบัติและจิตใจที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล เพื่อช่วยให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง ราบรื่น   ทั้งสามารถบำเพ็ญประโยชน์สุขเพื่องาน เพื่อส่วนรวม ได้ตามควรแก่อัตภาพ …”       พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญบัตรแก่นิสิตและนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวให้โอวาทแก่บุคคลที่เป็นครู ให้เล็งเห็นถึงบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของครูในการจัดการศึกษาเพื่อให้บุคคลถึงพร้อมทั้งคุณสมบัติและจิตใจที่สมบูรณ์   ปรัชญาและแนวคิดทางการศึกษาเท่าที่ระบบการศึกษาของสังคมแต่ละสังคมนำไปใช้ในการจัดการศึกษาอยู่ในปัจจุบันนี้ มีรากฐานมาจากแนวคิดทางปรัชญาทั่วไป 5 ลัทธิ ได้แก่ 
  1. ลัทธิสารัตถนิยม( Essentialism)”แนวทางที่นำไปสู่การอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม”
  2.ลัทธินิรันตรวาท (Perennialism) “แนวทางที่จะย้อนกลับไปสู่วัฒนธรรมอันดีงามในอดีต”
  3.ลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) “ทางแห่งเสรีภาพที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย”
  4.ลัทธิบูรณาการนิยม (Reconstructionism) “แนวทางไปสู่การปฏิรูปวัฒนธรรมและสร้างสังคมใหม่”
  5.ลัทธิอัตถิภาวนิยม (Existentialism) “แนวทางที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากกรอบแห่งวัฒนธรรมของสังคม”
                ในการจัดการศึกษา คงจะไม่สามารถยึดแนวคิดลัทธิใดลัทธิหนึ่งในการจัดการศึกษา ทุกอย่างต้องมีการจัดให้สอดคล้องและเหมาะสม ในความคิดของข้าพเจ้า การใช้ปรัชญาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา ได้ดังนี้
                การศึกษาคือการวางรากฐาน  ลัทธิสารัตถนิยม( Essentialism)”แนวทางที่นำไปสู่การอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม” โดยมีครูเป็นศูนย์กลาง เป็นลัทธิที่ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย   เพราะในวัยเยาว์เป็นวัยที่เหมาะแก่การปลูกฝังให้เกิดค่านิยม ความกตัญญู ความอดทน ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความจงรักภักดีในสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์  วัยเด็กเป็นวัยที่เชื่อฟังครู สิ่งนี้ความสำคัญคือการคัดสรร ครูผู้สอนเด็กในระดับประถมวัย หรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูที่ต้องเป็นต้นแบบ เป็นบุคคลที่ต้องถ่ายทอด   วัฒนธรรม ความคิดไปสู่เด็ก  ลัทธิสารัตถนิยม เป็นแนวคิดแห่งการวางรากฐาน ดังประโยคที่ว่า รากฐานของตึกคืออิฐ   รากฐานของชีวิตคือการศึกษา
ศึกษาคือการเติมเต็ม ตามลัทธิอัตถิภาวนิยม  แนวทางที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากกรอบแห่งวัฒนธรรม ความคิดดั้งเดิม  เราสนใจ ใส่ใจในเรื่องใดก็ควรได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าอย่างเต็มที่และจริงจัง ดังที่การปฏิรูปการศึกษาใช้คำว่าการศึกษาตลอดชีวิต ในช่วงระดับอุดมศึกษาและวัยการทำงาน เราคงไม่ได้ศึกษาในทุกสิ่งทุกอย่าง แต่มุ่งศึกษาในสิ่งที่เราสนใจ และพยายามที่จะค้นคว้าอย่างจริงจัง  ความสมบูรณ์แบบของคนจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแนวทางในการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาทั้ง 2 ฝ่าย           
 แต่การศึกษาจะต้องเรียนรู้ควบคู่ไปกับจริยธรรม ความถูกต้อง  การได้มีโอกาสศึกษาพุทธปรัชญา หรือปรัชญาในศาสนาอื่น ค้นหาความจริง ความถูกต้องและความสุข จากภายในจิตใจของตน เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทั้งทางด้านความรู้และความคิด เป็นผู้พร้อมด้วยคุณสมบัติและจิตใจอันสมบูรณ์ 
·       ที่มา: จากหนังสือประมวลพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการศึกษา ขององค์การค้าคุรุสภา
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31304เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2006 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับบทความดี ๆ อย่างนี้ เป็นประโยชน์มากเลยคะ

และก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ว่าการศึกษาต้องเรียนรู้ควบคู่ไปกับจริยธรรม เพราะว่าสังคมเราในปัจจุบันไม่มีความพอดีเอาเสียเลย บางคนเก่ง แต่นำไปใช้ในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แถมยังเกิดโทษทั้งกับตนเองและผู้อื่นด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท