การจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) ประเด็นด้านสื่อสารมวลชน


การจัดทำกรอบเชิงนโยบายด้านสื่อสารมวลชนในยุคสื่อใหม่ คงหนีไม่พ้น การพิจารณาประเด็นหลักๆ ๕ เรื่อง (๑) ประเด็นหลักสำคัญพิจารณาก่อนการจัดทำกรอบ (๒) แนวคิดพื้นฐานอันเป็นหัวใจของเรื่อง (๓) ข้อเสนอในรายละเอียดของการจัดทำกรอบ (๔) แนวทางการทำงานเพื่อทำให้กรอบเดินได้จริง (๕) การทำให้กรอบเกิดประสิทธิภาพ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระดาษเชิงนโยบายแบบคำสั่งการที่ไม่มีชีวิต

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในการจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) เพราะกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2544-2553 (IT 2010) ของ ประเทศไทย จะสิ้นสุดระยะเวลาของกรอบนโยบายในปี พ.ศ. 2553 

การทำงานครั้งนี้มีเป้าหมายหลัก เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมมีความต่อเนื่องของกรอบนโยบายฯ โดยมีกรอบแนวคิดเพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมของประไทยในระยะ 10 ปี  รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน นำกรอบนโยบายฯ ไปใช้เป็นแนวทางจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคมขององค์กรต่าง ๆ ต่อไป

ในการทำงานครั้งนี้ มีกระบวนการในการทำงานโดยจัดทำเวทีเสวนาโต๊ะกลมในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน ๕ ประเด็น กล่าวคือ กลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มสังคม กลุ่มการเมือง/การปกครอง/การบริหารราชการแผ่นดิน กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และกลุ่มสื่อสารมวลชน

สิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อพัฒนากรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ในประเด็นด้านสื่อสารมวลชน

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๑ เรื่องประเด็นหลักอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการจัดทำกรอบ

  • พบว่ามี ๕ ปัจจัยหลักที่นำไปสู่การคิดกรอบเชิงนโยบายในรอบ ๑๐ ปี กล่าวคือ (๑) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น (๒)  รูปแบบของการใช้งานหลากหลายมากขึ้น (๓) การหลอมรวมทางเทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือในการใช้งานมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้มนุษย์มีโอกาสในการเข้าถึงและใช้งานไอซีทีในการสื่อสารมากขึ้น (๔) การสื่อสารในโลกแห่งความเป็นจริงน้อยลง และ (๕) มีโอกาสในการใช้ประโยชน์ด้านการสื่อสารเพื่อสังคม และ สื่อเชิงพาณิชย์มากขึ้น

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๒ เรื่องแนวคิดพื้นฐาน หรือ Keyword ของการวางโครงสร้างในการทำงาน ประกอบด้วย ๔ คำสำคัญ

  • การร่วมสร้าง (๑) สื่อเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ (เพื่อสื่อสารความรู้ ประโยชน์สาธารณะ พิทักษ์เรียกร้องสิทธิ  การคุ้มครองสิทธิ) (๒) สื่อเชิงพาณิชย์ (สื่อบันเทิง สาระบันเทิง) โดยผู้ใช้และเครือข่ายสังคมออนไลน์
  • การเพิ่มพลังของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในฐานะเครือข่ายผู้สื่อสารในแต่ละกลุ่มความสนใจ เช่น ข่าว สื่อบันเทิง
  • การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง ใช้ประโยชน์ให้กับคนรากหญ้าในชุมชนต่างๆเพื่อพัฒนาตนเอง สังคม ชุมชน
  • การเพิ่มศักยภาพของสื่อในทางอุตสาหกรรม

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๓ ข้อเสนอในการจัดทำกรอบ

  • หากพิจารณาบทเรียนของประเทศเกาหลี พบว่า มีนโยบายในการสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมสื่อใหม่ ในรูปของ สินค้าส่งออกเชิงวัฒนธรรม ซึ่งสามารถสร้างรายได้นำเข้าสู่ประเทศ
  • หรือแม้แต่ การสนับสนุนให้เกิดการสร้างสื่อทางเลือกภาคประชาชน เช่น สำนักข่าวออนไลน์ www.ohmynews.com เป็นพื้นที่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ในฐานะนักข่าวพลเมืองที่รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  • การคิดกรอบเชิงนโยบายให้คิดจาก การเพิ่มโอกาสให้คนด้อยโอกาส ประชาชนรากหญ้าจากพื้นที่ต่างๆ  ในฐานะ พลเมืองของรัฐ  และ ต้องทำให้เกิดการขยายฐาน เสริมการทำงานของแต่ละปัจจัย เน้น การบริหารจัดการ โดยการการสนับสนุนให้เกิดการลงมือปฏิบัติ และ นำกลับมาเป็นความรู้ โดยที่ชาวบ้าน ชุมชนเป็นเจ้าของความรู้และเป็นผู้สื่อสารหลัก

ประเด็นที่ ๑    ประเด็นด้านโอกาส ความเท่าเทียม ของการเข้าถึงและการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการ (๑) สร้างเสริมศักยภาพ ความรู้ให้กับผู้ใช้ในฐานะผู้ผลิตสื่อ และ นักสื่อสาร โดยเฉพาะประชาชนรากหญ้า เด็ก เยาวชน ในชุมชน ยกตัวอย่างในทีวีไทย นักข่าวพลเมือง โดยอาศัย ๘ ปัจจัยหลัก เด็ก ครอบครัว โรงเรียน พื้นที่ โปรแกรม เครือข่าย พี่เลี้ยง ชุมชน (๒) การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง ใช้ประโยชน์ การขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียม โดยเทคโนโลยีที่ต่างกัน รวมถึง การ “เพิ่มพื้นที่” ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ ให้กับคนรากหญ้าในชุมชนมากขึ้นทั้ง พื้นที่ทางกายภาพที่สนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ต ทั้ง ร้านเกม โรงเรียน และ พื้นที่ออฟไลน์ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บบล็อกในเครือข่ายต่างๆที่สนับสนุนพื้นที่ในการรวมตัวกันของเครือข่ายสังคมออนไลน์  (๓) ความรู้ในการใช้งานสื่อไอซีทีแบบข้ามสื่อ เพื่อทำให้เกิดการใช้ประโยชน์เครื่องมือไอซีทีได้อย่างเต็มที่

ประเด็นที่ ๒    ประเด็นด้านการพัฒนาเนื้อหาของสื่อ (๑) สนับสนุนการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ในชุมชน (๒) สื่อเพื่อการศึกษา (๓) สื่อสาระบันเทิง และ (๔) สื่อเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้และมูลค่าทางการตลาด ซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุน๘ ปัจจัยหลัก โดยเน้นให้เกิดการสร้างและขยายความรู้ในการสร้างสื่อในภาคของชุมชนเอง ในฐานะชุมชนเป็นเจ้าของความรู้ เช่น ความรู้ในการสื่อสาร ความรู้ในการผลิตสื่อ ความรู้ในการทำงานภาคเศรษฐกิจ และระบบการสนับสนุนการทำงานภาคธุรกิจเพื่อสังคม

ประเด็นที่ ๓    ประเด็นด้านวัฒนธรรมในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพราะเครือข่ายสังคมออนไลน์เริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น มีการรวมตัวกันในรูปแบบต่างๆ เช่น เครือข่ายที่แสดงตัวตน เครือข่ายที่มีความสนใจแบบเดียวกัน เครือข่ายที่ร่วมกันทำงาน ดังนั้น การเติบโตของเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะเป็นทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบในเวลาเดียวกัน จำเป็นที่จะต้อง (๑) สร้างวัฒนธรรมการใช้งานไอซีทีอย่างสร้างสรรค์ภายในเครือข่ายด้วยกันเอง ทั้ง การจัดการบุคคลในเครือข่าย การจัดการความสัมพันธ์ในเครือข่าย รวมถึง การจัดการทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญา (๒) การสร้างวัฒนธรรมกลางในระหว่างเครือข่าย เช่น การเคารพสิทธิ การไม่ละเมิดผู้อื่น (๓) การสร้างวัฒนธรรมในการกำกับดูแลกันเองระหว่างคนในเครือข่ายและระหว่างเครือข่าย ทั้งนี้ บนพื้นฐานของสิทธิ เสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

(๔) ประเด็นการจัดการฐานข้อมูล การสร้างประสิทธิภาพของโครงสร้างในระบบการจัดการฐานข้อมูล เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูล และ ระบบการประมวลผล และ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และ ความถูกต้องแท้จริงของข้อมูล และ เป็นหน่วยในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลในฐานะ คลังข้อมูลภาคประชาชน และ คลังข้อมูลแห่งชาติ

(๕) ประเด็นการคุ้มครอง เยียวยา  การสร้างระบบการคุ้มครองผู้ใช้ที่อาจถูกละเมิด หรือ ได้รับผลกระทบเชิงลบ (ระบบการเพิ่มพูนความรู้ในการเรียนรู้เท่าทันสื่อ การเตือนภัย การป้องกันตนเอง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ การคุ้มครองสิทธิ) (๒) การสร้างระบบการเยียวยา ลดผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้น และ ปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเครือข่าย เช่น สื่อส่งผลลบต่อการเรียนรู้ การละเมิดต่อผู้อื่น การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น 

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๔ การคำนึงถึงปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้เกิดทำงานภายใต้กรอบหลักทั้ง ๕ ด้าน ต้องพิจารณา ปัจจัยหลัก ๓ ส่วน  (๑) ความรู้ (๒) ปัจจัยเสริมด้านเครือข่าย สนับสนุน ๘ ปัจจัย เด็ก ครอบครัว โรงเรียน พื้นที่ สนับสนุนโปรแกรม เครือข่าย พี่เลี้ยง ชุมชน  และ (๓) กลไกในการจัดการ การบริหารจัดการทรัพยากร ต้นทุนที่มีอยู่ในชุมชน ต้องการกระบวนการในการสนับสนุนเพื่อขยายต้นแบบระหว่างเครือข่ายชุมชน กลไกในการสนับสนุนการทำงาน และ กลไกที่ทำให้เกิดการทำงานที่ยั่งยืน เช่น ระบบกฎหมาย การสร้างการมีส่วนร่วมในฐานะเข้าของปัญหา เจ้าของความรู้ เจ้าของสิทธิ

 

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๕ การสร้างประสิทธิภาพของแผนแม่บทในระยะยาว ต้องเน้น (๑) การพัฒนารายละเอียดของแผนแม่บทจากพื้นที่ต่างๆขึ้นมา (๒) การสร้างความเชื่อ จิตวิญญาณ และ วัฒนธรรมร่วมกันบนแนวคิดว่า “ใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม” (๓) การทำงานภายใต้แผนแม่บทที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 312493เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบใจ อ.โก๋

ถ้าอัดเสียงไว้ ส่งมาแบ่งปันด้วยค่ะ

๑) ข้อเสนอจากชุมชนในการพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ จังหวัดเชียงใหม่ http://gotoknow.org/blog/archangoh/186067

(๒) เล่าเรื่อง “ความคืบหน้า” ของกรรมการชุมชนที่อุบลราชธานี : กรรมการชุมชนที่อุบลราชธานี เริ่มก่อร่างสร้างรูป http://gotoknow.org/blog/archangoh/168640

(๓)ข้อเสนอในการจัดทำโครงการส่งเสริมให้เกิดร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดทำวาระเด็ก เยาวชน http://gotoknow.org/blog/archangoh/156680

(๔)ร่าง ข้อกำหนดในการเข้าเป็นสมาชิกโครงการเพื่อรับสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการประกอบการร้านเกมคาฟ่ ร้านเน็ตคาฟ่ http://gotoknow.org/blog/archangoh/139730

(๕) ข้อเสนอแนะที่ ๓ เพื่อการแก้ปัญหา : การจัดระเบียบร้านเกมคาฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ http://gotoknow.org/blog/archangoh/139724

(๖) ข้อเสนอด้านปัจจัยเสริมให้เด้กใชไอซีทีเชิงบวก ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับ มูลนิธิสยามกัมมาจล http://gotoknow.org/blog/ictyouthconnect

(๗) และยังมีของสุรวดี หนึ่งในทีมวิจัยครับ http://gotoknow.org/blog/ict4me

พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร wrote:

(๑) อ.ชฎามาศคะ อ.วิจารณ์คะ อ.โก๋คะ เติมคุณเปาเข้ามาด้วย

(๒) sucess story ในการพัฒนารูปแบบและโอกาสในการใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพมนุษย์ในหลายลักษณะที่เราพบในช่วงการวิจัยสื่อสร้างสรรค์น่าจะเป็น "กรณีตัวอย่าง" หรือ "กรณีศึกษา" ที่เราน่าจะเอามาให้สังคมไทยดูเป็นตัวอย่างนะคะ

แย่ง อ.โก๋ เสนอพื้นที่ที่จะไปคุยกับคนใช้ ICT เพื่อพัฒนาสังคมค่ะ ไปคุยกับกลุ่มของครูบาสุทธินันท์ที่อิสาน หรือกลุ่มอุบลค่ะ หรือที่เชียงใหม่เพื่อคุยกับน้องแบงค์ น้องตุ้ม มีบันทึกของ อ.วิจารณ์ หรือ อ.โก๋ เพื่อรู้จักคนกลุ่มนี้นะคะ

ithipol preetiprasong wrote:

> > > > เรียน อาจารย์ชฎามาศ และ คุณ ปู ทื่เคารพ

> > > >

> > > > ต้องขอโทษด้วยที่อยู่ไม่ตลอดรอดฝั่ง ในการประชุมประเด็นด้านสื่อสารมวลชน

> > > > อย่างไร! ก็ตามผมนึกสนุกกับการเขียนข้อเสนอจากเวที มาให้ครับ อันที่จริง

> > > > ไม่ต่างจากประเด็นด้านสังคมมากนัก แต่คราวนี้ ประเด้นใหญ่ๆที่เพ่มเติม คงหนีไม่พ้น สิทธิ

> > > > เสรีภาพ อุตสาหกรรม องค์กรในการกำกับดูแล และ ส่งเสริม ส่งมาให้อ่านเล่นๆกันกอ่นครับ

> > > > มีอะไรให้เติมอีกเล็กน้อย ประเด็น อ.สมเกียรติ น่าสนใจทีเดียวครับ

> > > > http://gotoknow.org/blog/ictlawsystem/312493

> > > >

อ.ชฎามาศ wrote

ขอบคุณมากๆ เลยนะคะ อ. โก๋ It's certainly valuable perspective and is very helpful.

Hope you can join us in upcoming events throughout the process of this project (till June next year ka).

Cheers,

Chadamas

ithipol preetiprasong wrote:

> > เรียน อ.ชฎามาศ

> >

> >

> > ยินดีอย่างยิ่งครับ อยากให้เกิดภาพการทำงานด้านการใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมเต็มรูปแบบในอีก

> > ๑๐ ปีข้างหน้าครับ

> > ตอนนี้พอมีตัวอย่างประสบการณ์ความสำเร็จในการใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมไทยในหลากหลายมิติครับ ความยากก็คือ

> > จะทำอย่างไรให้นำแนวทางในการปฏิบัติเหล่านั้นที่ปรากฎอยู่ในพื้นที่ต่างๆมาเพื่อสร้างเป็นความรู้หลัก ความน่าสนใจอีกเรื่องก็คือ

> > การสร้างความเชื่อร่วมกนของคนในสงคมไทยเกี่ยวกับการใช้ไอซีทีในฐานะเครื่องมือเพื่อการพัฒนาสังคมไทย

> > อันนี้น่าคิดมากครับ เกาหลี เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษาถึงแนวทางการสร้างความเชื่อร่วมกันครับ

> >

> > ด้วยความเคารพอย่างสูง

> >

> > อ.โก๋

ดร.ชฎามาศ wrote :

ขอบคุณมากค่ะ น่าสนใจมากที่อ. โก๋บอกว่าตอนนี้เรามีตัวอย่างประสบการณ์ความสำเร็จในการใช้

> ICT เพื่อสังคมไทยในหลากหลายมิติ ทำอย่างไรความรู้หรือ best practices

> เหล่านั้นจะได้ถูกนำมาวิเคราะห์/สังเคราะห์/สกัดออกมาเป็นความรู้หลัก

> รวมทั้งแบ่งปันและขยายผลไปยังพื้นที่หรือกลุ่มอื่นๆ ได้มากกว่านี้

>

> พี่ว่าน่าจะมีการทำแหล่งความรู้เหล่านี้ในรูปของ Thailand ICT4D Initiatives คล้ายๆ

> กับที่ของ World Bank ทำ หรือหากมีอยู่แล้วที่ไหน อ. โก๋ Share ให้พี่ทราบบ้าง

> และหากมีเวทีไหนหรือกลุ่มไหนที่เราสามารถไปคุยหรือทำ focus group เพื่อหา "ความต้องการ"

> ของชุมชน/ท้องถิ่น เพื่อสกัดนัยต่อบทบาทของ ICT สำหรับกลุ่มนี้ ซึ่งหลายๆ คนอยากจะเห็น

> และพี่ก็เชื่อว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า เราต้องมุ่งเน้นกลุ่มนี้ให้มาก เพื่อจะนำมาเป็น input

> สำหรับการจัดทำกรอบนโยบายนี้ อ. โก๋ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

>

> ขอบคุณมากค่ะ

>

> ชฎามาศ

archanwell wrote

ยังจำความหลังสมัยไปต่างจังหวัดบ่อยๆ กะ อ.ชฎามาศ และ อ.ทวีศักดิ์

เรากลัวมุมมองของ "คนเมืองในชนบท" หรือ "คน กทม. ในปาย" มากค่ะ

ICTforDevelopment จะเป็นเครื่องมือของทุนนิยมได้แบบแนบเนียนในการแย่งชิงทรัพยากรจากชนบทและชายแดน

หวังว่า แผนไอซีทีคราวนี้จะมองเห็นคนไทยทั้งแผ่นดิน และสร้างความเท่าเทียมในทางเทคโนโลยีแก่มนุษย์ในสังคมไทยนะคะ

ตามไปอ่านงานในบล็อกของน้องอี๋ ที่เก็บตัวอย่างประสบการณ์ความสำเร็จของน้องๆในกลุ่มที่ใช้ไอซีทีเชิงสร้างสรรค์ อันเป็นผลมาจากการทำงาน โครงการวิจัยและพัฒนาการใชไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมไทย ในกลุ่มเด็ก เยาวชน ภายใต้การสนับสนุนของ มูลนิธิสยามกัมมาจลhttp://gotoknow.org/blog/ict4me ฉบับอัพเดท

(๑) บุหรงซีงอ: เชื่อมเสียงเยาวชนและความจริงชุมชนชายแดนใต้ http://gotoknow.org/blog/ict4me/312945

(๒) กลุ่มหมีดหม้อสีขาว อ.จะนะ จ.สงขลา สื่อพลเมืองชุบชีวิตชุมชน สร้างตัวตน และพลังเยาวชน http://gotoknow.org/blog/ict4me/312946

(๓) เส้นทางสีขาวของเซียนเกมเมอร์รุ่นใหม่...สูตรสำเร็จที่ใครก็ทำได้ http://gotoknow.org/blog/ict4me/312941

(๔) “GM บัว” สาวน้อยคนเก่งแห่งทรูดิจิตอล เมื่อเด็กสาวต้องมาดูแลนักเล่นเกมหนุ่มๆมากมาย http://gotoknow.org/blog/ict4me/312937

(๕) ทำไมต้อง..เด็กยิ้ม? “เด็กดอยสร้างเว็บเพื่อสิทธิเด็ก” http://gotoknow.org/blog/ict4me/312936

(๖) โรงเรียนสวนหม่อน กับโครงการ “นักข่าวจิ๋ว cyber” ข่าวออนไลน์ฝีมือเด็กประถม http://gotoknow.org/blog/ict4me/312935

(๗) ผมเขียนงานได้เพราะเล่นเกม! คอลัมนิส์นิตยสารเกมอายุ ๙ ปี http://gotoknow.org/blog/ict4me/312923

(๘) ฟอนต์.คอม… ศิลปะเส้นสายปั้นอักษรไทยบนหน้าเว็บ http://gotoknow.org/blog/ict4me/312939

(๙) โปรแกรมเมอร์จิ๋วแจ๋วอัจฉริยะ ผู้พลิกมุมมอง+ ของเกมในโลกไซเบอร์ http://gotoknow.org/blog/ict4me/312922

สุรวดี รักดี เขียนข้อความส่งมาให้

ผลงานที่น่าเล่า เป็น susscess story ของเยาวชนด้าน ICT

1. เกมชนะของ ปปส. http://www.playpark.com/playgame/pgame_flashgameplay.aspx?ContentID=47614

เป็นเกมต่อต้านยาเสพติด เข้าข่าย Serious Game เหมือนกัน

2. เป็นผลงานอนิเมชั่นของของนักเรียนจากสถาบัน Icreation ครับ http://www.ryt9.com/s/prg/92798/

3. งานแอนิเมชั่นสามมิติครับ ทำคนเดียว อยู่เชียงใหม่ ตอนนี้เค้าน่าจะอยู่มหาลัยแล้ว http://www.oknation.net/blog/print.php?id=94471

4. มีอีกประมาณ 5-10 ผลงานแอนิเมชั่นกับเกม เคยออกรายการคลิกโซน ช่วง Space Bar ของ SiPA

5. มีเด็กสร้างเกมของ สสอน. http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=110&post_id=26678

6. งานนักเรียนที่ฝึกสร้างเกมของ อ.ดร.วิษณุ โคตรจรัส จุฬาฯ http://somkheawwan.multiply.com/journal/item/16

7. เกม Perfect Online เป็นเกม MMORPG ของเด็กไทย http://www.perfect-online.ob.tc/main.html

8. สุดยอดแอนิเมเตอร์ไทย คว้าออสการ์ สาขาแอนิเมชั่น http://www.youtube.com/watch?v=XDzGNje8YCw

คนทำชื่อธัชพล เลิศวิโรจน์กุลครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท