ปัญญาวุฑฒิ


ว่ากันว่า “ พระพุทธเจ้าไม่ได้อุบัติขึ้นมาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลสองจำพวก” จำพวกแรกคือบุคคลที่เปรียบเหมือนคนไข้ แม้จะได้โภชนาหารดีหรือไม่ได้ ได้รับการพยาบาลรักษาดีหรือไม่ได้ก็ตาม ก็ไม่อาจหายจากโรคได้

  ว่ากันว่า “ พระพุทธเจ้าไม่ได้อุบัติขึ้นมาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลสองจำพวก” จำพวกแรกคือบุคคลที่เปรียบเหมือนคนไข้ แม้จะได้โภชนาหารดีหรือไม่ได้ ได้รับการพยาบาลรักษาดีหรือไม่ได้ก็ตาม ก็ไม่อาจหายจากโรคได้

   บุคคลจำพวกที่สองที่พระพุทธเจ้าไม่ได้อุบัติมาเพื่อเขาคือ บุคคลที่เปรียบเหมือนคนไข้ แม้จะได้โภชนาหารดีหรือไม่ได้ จะได้รับการพยาบาลรักษาดีหรือไม่ได้ก็ตาม โรคของเขาก็คงหายอย่างแน่นอน

  ส่วนว่าบุคคลที่พระพุทธเจ้าอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่เขาโดยตรงคือประเภทที่สามครับ ประเภทนี้ท่านเปรียบเหมือนคนไข้ ที่จะต้องได้อาหารดีสัปปายะ จะต้องได้หมอดี รักษาดีด้วยถึงจะหายจากโรคได้ ฉันใดนั้น คนบางคนบางพวก จะต้องได้รับฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ต้องได้ศึกษาธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถ ข้ามพ้นบ่วงแห่งมาร บรรลุถึงฝั่งแห่งพระนิพพานได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือบุคคลที่เรียกว่า อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ๓ จำพวกนี้จะต้องได้เห็นได้ฟังธรรม ต้องได้ศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าถึงจะบรรลุธรรมได้ แม้การศึกษานั้นจะเป็นไปแค่เพียงเล็กน้อยชั่วบาทคาถาหนึ่งก็ตามฯฯฯฯฯ

  ในปัจจุบันสมัยนี้คนส่วนมากก็อยู่ใน ๓ จำพวกนี้ครับ ผมไม่อยากที่จะบอกว่าอยู่ในพวกปทปรมะมากเพราะเหมือนจะดูถูกท่านผู้รู้ทั้งหลาย พร้อมทั้งตัวเองยังไงมันก็ต้องลองละน่าว่าเราอยู่ในจำพวกไหน ดอกบัว ๔ เหล่านี้ ๓ ดอกแรกมีความเป็นไปได้ที่จะโพล่พ้นจากน้ำออกมาดูโลกพระอาทิตย์ที่ส่องสว่างเหนือโลกอันแสนจะโสมม แต่จะต้องได้รับโอกาสคือน้ำท่าต้องบริบูรณ์พูลผล  สมัยนี้คนส่วนมากก็ยังรอคอยโอกาสยังคอยสดับตรับฟังพระสัทธรรมอยู่ ท่านทั้งหลายอย่าได้อาจหาญมาพูดให้เสียน้ำลายเลยว่าสมัยปัจจุบันยังมีผู้ไม่ต้องศึกษาธรรม ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน แล้วสามารถสำเร็จเป็นพระอริยะบุคลได้ เพราะข้าพเจ้าเคยได้ยินได้ฟังมามากต่อมากว่าท่านนั้นท่านนี้ ไม่เห็นต้องได้เรียนบวชเสร็จแล้วธุดงค์อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว เวลาผ่านไป ผ่านไปเหมือนจะลืมเลือนแต่แล้วพอจู่จู่ ท่านเหล่านั้นคืบคลานออกมาจากป่าไฉนไดเลยกลับกลายเป็นพระอรหันต์มีคนนับหน้าถือตาไปทั่ว นี่ครับเสียงเล่าลือแบบนี้มีอยู่มากหลายจนไม่รู้ว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ ขออภัยโทษนะครับไม่ได้รังเกียจรังงอนอะไรท่านเหล่านั้นหรอก ผมก็ยังนับถือว่าท่านบรรลุแน่นอนแต่จะบรรลุอะไรขั้นไหนนั้นต้องพิจารณาให้ดีดีฯฯฯฯฯ

  เพราะอะไรหรือครับที่จะต้องใช้สมองอันเหลืออยู่น้อยนิดให้เสียเวลาไปกับการคิดเรื่องเหล่านี้ให้สมองกะตุกเล่นเล่า ก็เพราะว่าพระท่านบอกไว้ว่า ปัญญาเท่านั้นที่ช่วยรักษาตนรอด ลองยกเอามาทั้งดุ้นให้ท่านผู้อ่านได้อ่าน ว่า “นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุนั้นพึงถางชัฏคือตัณหานี้ได้” พุทธพจน์นี้มาในพระบาลีอังคุตรนิกาย สคาถวรรคขอรับ อีกประการหนึ่งที่ต้องใช้หัวขมองอิ่มคิดกันจริงจังหากว่าท่านลืมก็คือ มีบุคคลใดในบ้างที่ไม่ต้องฟังธรรมจากใครแล้วสามารถรู้แจ้งแนวทางแห่งอริยสัจจ์ได้ ในประวัติศาสตร์พระศาสนาก็กล่าวไว้ว่ามีแค่บุคคลสองจำพวกที่สามารถบรรลุธรรมด้วยตนเองคือ พระพุทธเจ้าหนึ่ง และก็พระปัจเจกพุทธเจ้าอีกหนึ่งเท่านี้ไม่น่าจะจำไม่ได้นะครับ ทีนี้ใครที่อยากเป็นพุทธเจ้าเอง หรืออยากเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ว่ากันไปตามเรื่องสิครับ อยากเป็นยังไงก็ตามสบายแต่อย่ามาบอกว่าตัวเองเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เพราะสาวกคือผู้รู้ตาม ไม่ใช่ผู้รู้เอง ไม่ใช่พระพุทธเจ้าเอง ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธะ อันนี้ว่าตามคำสอนของฝ่ายเถรวาทครับฯฯฯฯฯฯ

   ส่วนอีกบุคคลพวกหนึ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้อุบัติมาเพื่อประโยชน์ของเขานั้นก็คือ บุคคลจำพวก ปทปรมะ บุคคลจำพวกนี้จะได้เห็นไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าก็ตาม จะได้ฟังได้ศึกษาหรือไม่ได้ก็ตามก็ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งพระสัทธรรมได้ พูดง่ายๆก็คือ

  1. คนที่ฉลาดมาก มีบุญมากก็ไม่จำเป็น

  2. คนที่ไม่ฉลาดเลยก็ไม่จำเป็น

  3. คนที่พร้อมจะรับฟังคำสั่งสอนได้นั้นควรเพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากคำสอน ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละบุคคลสามารถที่จะรับคำสอนได้เท่าได ใช้เวลารับมากน้อยต่างกันขอรับ

แม้จะอุบัติมาเพื่อบุคคลประเภทที่ ๓ โดยเฉพาะก็ตามแต่บุคคลอีก ๒ จำพวกก็ตกกระไดพลอยโจนไปด้วยคือได้รับประโยชน์เหมือนกันแต่เป็นไปโดยอ้อม มีตัวอย่างทีพึงยกมาให้ดูชมคือ เวลาฟังธรรมบางคนไม่อยากฟังเลยนะครับแต่ถูกบังคับด้วยกฏเกณฑ์บางอย่างจึงจำใจฟังคนเหล่านี้ก็ได้รับประโยชน์เหมือนกันแต่โดยอ้อมครับฯฯฯฯฯ

คน ๓ จำพวกที่กล่าวมาก็ต้องอธิบายนิดหน่อยว่าคำว่าคนฉลาดมากน้อยในความหมายของเนื้อความนี้ไม้ได้เป็นอย่างที่เข้าใจว่า คนฉลาดมากก็คือคนที่มีใบวุฑฒิบัตรรับรองว่าจบระดับนั้นระดับนี้นะครับ คนที่ฉลาดหรือไม่ฉลาดในความหมายนี้ หมายถึงคนที่มีปัญญารักษาตนรอดนั่นแหละ จะมีใบประกาศนียบัตรรับรองหรือไม่มีก็ตาม เพราะอะไรถึงไม่เอาการศึกษามาวัดว่ามีความรู้ ฉลาดไม่ฉลาด ????

 อภิโถ ถัง กะละมังหม้อนะสิ เขาบอกว่า ความรู้กับความฉลาดแบบปัญญานั้นแตกต่างกันครับท่านผู้รู้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาอันมีคุณค่าไปขออธิบายง่ายๆว่า ความรู้เหมือนในสมัยนี้นั้นมาจากความจำได้หมายรู้เสียมากกว่า ส่วนคำว่าฉลาดที่เป็นปัญญานั้นท่านหมายเอาการเข้าใจท่องแท้ตามความเป็นจริงอีกอย่างเขาเรียกว่า ความรู้ที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา ส่วนวิปัสสนาที่จะทำให้เกิดปัญญาเป็นแบบไหนนั้นขอให้ท่านผู้อ่านไปตามอ่านเอาเองนะครับ อย่าให้ผมสาธยายเลยแค่นี้ก็คงพอทำให้ตัวเองงงงงอยู่แล้วแต่ขอยกเอามาสักตัวอย่างหนึ่งในคำภีร์สิครับถึงจะขลัง มีมาในคัมภีร์ทีฆนิกายเรื่องของพราหมณ์โสณว่า........

  ท่านพราหมณ์โสณเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่สระโบกขรณีชื่อคัครา แล้วพระพุทธเจ้าตรัสถามพราหมณ์นั้นว่าคนที่ถือว่าตนวิเศษทุกอย่างในสมัยนั้นที่เรียกว่าตัวเองเป็นพราหมณ์ ถึงกับข่มขี่วรรณอื่นๆนะมีองค์ประกอบความเป็นพราหมณ์ที่น่าภาคภูมิใจสักกี่ข้อละท่านพราหมณ์ พราหมณ์โสณได้ตอบพระพุทธเจ้าว่ามีอยู่ ๕ ข้อในความภาคภูมิใจของพราหมณ์ทั้งหลาย คือ

  1. เป็นผู้บริสุทธิโดยชาติ หมายถึงชาติสกุลดี

  2. เป็นผู้คงแก่เรียน จำมนต์ได้มาก หมายถึงจบมาหลายสาขา

  3. เป็นผู้มีวรรณะผิวพรรณงาม หมายถึงหน้าตาดีประดุจดังทองที่เขาหล่อไว้ไม่มีข้อบกพร่องน่าดูชม

  4. เป็นผู้มีศีล รักษาศีลบริสุทธิบริบูรณ์โดยสิ้นเชิง

  5. เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญาเป็นที่๑-๒ในหมู่ชน

ในห้าข้อนี้พระพุทธเจ้าให้พราหมณ์ลดลงทีละข้อทีละข้อตามความสำคัญว่าปราศจากข้อที่ลดเหล่านี้แล้วจะเหลือความภูมิใจในความเป็นพราหมณ์หรือไม่ พราหมณ์โสณก็ทูลตอบว่าได้แล้วได้ตัดออกที่ละข้อว่ายกข้อ๓-๒-๑ออกตามลำดับก็ยังเรียกว่าพราหมณ์ผู้ประเสริฐได้อยู่ แต่ถ้าเว้นจาก ๒ ข้อหลังไม่ได้เลยเพราะว่าผู้มีปัญญาต้องมีศีลผู้มีศีลชื่อว่าผู้มีปัญญาศีลและปัญญาเป็นของคู่กัน อันนี้ยกมาให้ท่านผู้รู้ได้พิจารณาว่า “เรียนมาก รู้มาก กับมีปัญญา”ต่างกันดังที่กล่าวมา พระพุทธเจ้าก็ตรัสรับรองว่าอย่างนั้นท่านพราหมณ์อย่างนั้น เขียนอย่างนี้ในสำนักของคุณครูผู้เรียนมามากคงกระไรถ้าไม่อธิบายอีกสักเล็กน้อย เล็กน้อยฯฯฯฯ

  อธิบายว่า คำว่าคนฉลาดมีปัญญาในความหมายทางโลกกับทางธรรมต่างกันครับ แต่ว่าคนมีปัญญาในทางธรรมหมายถึงทุกคนที่สามารถเข้าถึงความจริงได้ ในทางกลับกันคนที่เรียนมามาก จำมามากอย่าถือเอาเป็นมาตรฐานว่าต้องมีปัญญาเสมอไปอาจมีหรือไม่ก็ได้ คนที่ไม่ได้เรียนก็เช่นกันอาจมีปัญญาหรือไม่ก็ได้ เพราะปัญญาสำหรับถางชัฏคือกิเลส เป็นของกลางๆสำหรับทุกคน ไม่ใช่เป็นของเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อยู่ที่ว่าคนคนนั้นสามารถที่จะใช้ปัญญาให้สำเร็จประโยชน์ของปัญญาได้หรือไม่ฯฯฯฯฯ

 มีชีวิตอย่าอยู่ว่างอย่างคนท้อ 

 อย่าเฝ้ารอเฝ้าหลงวาสนา

เฝ้าแต่เพ้อเหม่อมองกองทองมา

 ก่ายเกยหน้าบันไดให้ชื่นชม

มีชีวิตให้รู้คู่ปัญญา 

วาสนาไม่มีจี้ให้ขน

ขวายเอาทีละน้อยถ้อยไม่จน

ปัญญาขนไปได้ไม่เปลืองแรงฯฯฯฯฯ

 ขอจบสมณะวาทีไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน วันนี้เป็นวันพระอย่าลืมสวดมนต์ก่อนนอนด้วยท่านสาธุชนทั้งหลาย อามิตตาพุทธ๐๐๐๐๐๐

หมายเลขบันทึก: 312487เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • กราบนมัสการ ท่านปัญญาวโร
  • มารับธรรมะยามค่ำ
  • กราบขอบพระคุณ ข้อคิดข้อธรรมดี ๆ ค่ะ
  • อนุโมทนา สาธุ ค่ะ

นมัสการพระคุรเจ้า

มารับคำสอนเพื่อเป็นเติมกำลังใจเจ้าค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ขอบพระคุณทุกๆท่านที่มาอ่านเป็นกำลังใจครับ เป็นกำลังใจสำหรับความคิดที่เป็นมุมมองของพระพระ แม้จะไม่ค่อยสละสลวยแต่ก็หลักอยู่ ค่อยอ่านนะครับทุกๆท่าน อมิตตาพุทธ

นมัสการพระคุณเจ้า

มาเติมความรู้เจ้าค่ะ

สาธุ

คุณโยมณัฐ ต้องขออภัยท่านทั้งหลายพึ่งเปิดเมลดู ขอความสุขจงเกิดมีแด่สาธุชนทุกๆท่าน เจริญพร

ข้อเขียนของท่านได้ทั้งสาระและบันเทิงขอรับ

ผมเองห่างไกลบาลีสันสกฤต จึงถูกข้อเขียนของท่านลวงเอาหลายแห่งเหมือนกัน

ต้องขออโหสิกรรมด้วยนะคุณหมอ(ไม่ได้ตั้งใจมาหลอก)ผีกับพระนี่อยู่ไกล้กันครับ แต่ผีกับพระก็ไม่พ้นมือหมอนะ อาตมาเขียนมา ความจริงก็อยูที่ปัญญาของท่านผู้อ่านครับ ขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่ติดตาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท