พ่อช้างต้นฉบับ อสม.พันธุ์ใหม่


ประชาชนคือพลัง

พ่อช้างต้นฉบับ อสม.พันธุ์ใหม่

โดย ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม[1]

 

          พ่อช้าง[2] เป็น ประธาน อสม.บ้านหนองไหล   อายุปาเข้าไป 61 ปีแล้ว  พ่อช้างเป็น อสม.ที่ทุ่มเททำงานมาก  ชนิดหาตัวจับยาก  ขยันขนาดแม้แต่เภสัชกรแกะดำอย่างผมยังต้อง อายเลยครับ  พ่อช้างมีอาชีพเกษตรกร  คือทำนา และเลี้ยงวัวควายครับ   เมื่อก่อนพ่อช้าง   ต้องพาภรรยา  คือแม่ทองคำ  มานอนโรงพยาบาลแทบทุกสัปดาห์   พ่อช้างแกต้องทุ่มเทกายใจ  ในการพาภรรยาสุดที่รักมารักษาโรงพยาบาล  อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย   แม่ทองคำ ป่วยเป็นเบาหวานและโรคไตวาย   แม่ทองคำ ต้องมานอนโรงพยาบาลบ่อยๆ  เนื่องจากมีอาการบวมเสมอๆ     ต่อมามีภาวะแผลติดเชื้อที่เท้า    อย่างรุนแรง  แพทย์แนะนำให้ตัดเท้าทิ้ง   แต่ครอบครัวผู้ป่วยไม่ยอม    ทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงจนแม่ทองคำเสียชีวิต  เมื่อ 3 ปีที่แล้ว

 

               จากการสอบถาม พบว่าแพทย์แนะนำให้ตัดขาทิ้ง   พ่อช้างเลยถามแพทย์กลับไปว่าตัดขาแล้วจะหายไหม   หมอตอบไม่แน่ใจ  ไม่รู้ว่าจะหายไหม  ถ้าแพทย์ตอบแบบนี้   เป็นผมก็คงไม่ยอมตัดขาแน่นอนครับ   หากแพทย์ตอบว่า  ตัดขาแล้ว  ไม่แน่ใจว่าจะหายหรือไม่    ตอบแบบนี้  100  ทั้ง 100 คนไข้ไม่ยอมตัดขาแน่นอนครับ    เมื่อภรรยาเสียชีวิต  ทำให้พ่อช้างมีเวลาว่าง  พ่อช้างแกได้มาช่วยผมทำงานดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างเต็มที่ครับ       เราเริ่มทำโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยชุมชนในปลายปี 2549 เกิดเครือข่าย  จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยภาคประชาชน  ใน 7 หมู่บ้านของอำเภออุบลรัตน์  โครงการนี้ ได้งบ PP จาก สปสช.เขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น  เมื่อทำโครงการจบโครงการนี้ ได้รางวัลยอดเยี่ยม  เป็นตัวแทนของเขต   ไปร่วมงาน งบ PP ของ สปสช.ที่ หัวหิน  และยังได้รางวัลงานวิจัยเครื่องมือ 7 ชิ้น  จากงาน PCU EXPO ปี 2552 อีกด้วยน่าเสียดาย   ที่ปัจจุบันทีมงาน สปสช เขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น   มีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคลากร  ทำให้การสนับสนุนโครงการ  จาก  สปสช.  ขาดหายไปอย่างน่าเสียดาย

 

            ปกติพ่อช้างและสมาชิก อสม.พันธุ์ใหม่ รวม 7 หมู่บ้าน  จะมีความสามารถในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน    มีความรู้ในการป้องกันโรคเบาหวาน  และดูแลผู้ป่วยเบาหวานเบื้องต้นได้  พ่อช้างได้เสียสละตนเอง  มากมายแบบฟรี  ในการไปช่วยผมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน   เยี่ยมผู้ป่วยเบาหวาน   ช่วยเฝ้าระวังผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะโรคไตวาย       ช่วยสอนผู้ป่วยเบาหวานฉีดยา     ช่วยอ่านลากยาให้กับผู้สูงอายุที่อ่านหนังสือไม่ได้       การที่พ่อช้างทุ่มเททำงานอย่างหนัก    จนมีหมออนามัย  บางคนสงสัยถามว่าพ่อช้างทำมากมาย  ขนาดนี้แล้วจะได้อะไร   ผมตอบแทนให้ก็ได้ครับ  ได้ศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายกลับคืนมา

 

                 พ่อช้าง แกได้ปวารณาตัวเองว่าจะไม่แต่งงานใหม่  ถ้าช่วยผู้ป่วยเบาหวานได้ไม่สำเร็จ    ผมกับพ่อช้างได้ไปตระเวนออกเยี่ยมผู้ป่วยทั่วอำเภออุบลรัตน์   ด้วยมอเตอร์ไซด์เก่าๆ  2 คัน  มอไซด์ผมไฟหน้าขาดและยางรั่วบ่อยๆ   ส่วนมอไซด์พ่อช้างไม่มีไฟหน้า  บางครั้งผมไปเยี่ยมคนไข้   คนไข้มักถามผมว่าทำไมผมไม่เอารถใหญ่มา   ผมก็ตอบไปตรงๆ   ว่า หมอไม่มีเงินตามน้ำมันครับ  คนไข้ส่วนมาก  ไม่เชื่อ  ก็ตอบกลับไปว่า  คุณหมอรวยจะตายมีเงินเดือน  ทำไม่จะไม่มีเงิน  เติมน้ำมันรถ  ไม่มีจริงๆ ครับไม่ได้โม้  หากผมต้องไปเยี่ยมคนไข้ทุกวัน   ค่าน้ำมันรถต่อเดือน  คงเกิน 8000 บาทแน่นอน  ไม่มีปัญญาจริงๆ  ครับผม  พ่อช้างแกเป็นคนพูดตรงแบบขวานผ่าซาก(เหมือนใครฟ่ะ)       ในการทำงานกับ อสม.พันธุ์ใหม่นั้น    ผมจะมีหน้าที่เป็นโค้ช   ไม่ใช่หัวหน้า อสม.    ไม่ใช่ เจ้านาย ของ อสม. ผมมีหน้าที่ฝึกสอน  และสนับสนุน อสม.เท่านั้น   ในการดูแลผู้ป่วยไตวายของผมกับพ่อช้างก็พบว่า  คนไข้มากมายชอบอาหารรสเค็ม   ทำให้อาการไตวายของคนไข้แย่ลงอีก    นอกจากนี้ยังมีคนไข้หลายรายไม่ยอมกินยา  บางคนจะไปกินน้ำผลไม้ ขวดละ 1400 บาท ในอุบลรัตน์ กินน้ำผลไม้ยี่ห้อ  อ..... แล้วไม่ยอมกินยา  ตายมาแล้ว 4 คนในปี 2552 เพียงปีเดียว  ปี 2551 ตาย 2 คนครับ ผมจำได้  มีคนไข้รายหนึ่ง  ความดันสูงมาก คือสูงเกิน 210 มม.ปรอท  ไม่ยอมไปรักษา ผมกับพ่อช้างและ ประธาน อสม. อีก 3 หมู่บ้าน  ได้ไปยืนก้มหัว  ขอร้องให้คนไข้  ยอมไปรักษา ลองดูว่า พวกผม อสม.พันธุ์ใหม่  กับ คนไข้ใครจะหัวดื้อกว่ากัน   เป็นอันว่าคนไข้ต้องยอม   ไปรักษาที่โรงพยาบาลจนได้ครับ  ปัจจุบันคนไข้ก็แข็งแรงดีครับ

 

      ปัจจุบันผมกับพ่อช้าง กำลังทำโครงการ All in project อยู่ครับ  และกำลังปัดฝุ่นโครงการ อสม.พันธุ์ใหม่อีกครั้งหนึ่งอยู่ครับ   นอกจากนี้ ผมก็ได้ริเริ่มทำโครงการมะนาวนอกฤดูแก้จนอยู่   ตอนนี้ กำลังวุ่นเชียวครับ


[1] ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 086-6317372  e mail: [email protected]

 

[2] ชื่อจริง นายประยูร รัตนทองสุข ประธาน อสม. บ้านหนองไหล ตำบลนาคำ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

หมายเลขบันทึก: 312446เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

กุศลที่เกิดขึ้นจากการทำงานขอส่งผลให้ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอมและพ่อช้างรวมถึงครอบครัว ประสพแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปครับ อย่าท้อน่ะครับเป็นกำลังใจให้ครับ

ขอชื่นชมพ่อช้างและภก.ศุภรักษ์

ที่ทำงานเพื่อสังคมอย่างแท้จริง

ขอเป็นกำลังใจค่ะ

 ขอบคุณ คุณสามารถ เศรษฐวิทยามากครับ

ผมมองแล้วครับ ว่า มะนาวนอกฤดู หากทำได้ ชาวบ้านคงลืมตาอ้าปากได้

โดยเฉะาะที่อีสาน มีการปลูกมะนา่วน้อย ไม่พอกิน

คนอีสาน ปลูกมะนาว ไม่ค่อยเป็น โรคมะนาวยเยอะ

การออกดอก มะนาว ปู๋ย เรื่องนี้  ชาวบ้านมักไม่มีความรู้ครับ

ในอนาคต ผม มองเรื่องส้มอีสาน พันธุ์โตเร็ว เหมาะจะมา ทำต้นตอเสียบยอดมะนาว

มากครับ   ไว้อนาคต อาจได้รบกวน ท่านสามารถครับ

เล่นท่านเลยหรือครับพี่เล่นแรงดีครับ ผมได้อ่านแล้วรู้สึกดีใจจริงๆครับที่ยังเหลือคนประเภทนี้อยู่ ส่วนมากเท่าที่สังเกตุมักจะเห็นกับผลประโยชน์ของตนเองเป็นสำคัญ การทำงานแบบนี้สมกับคำว่าข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจริงๆ ทำเข้าไปเถอะครับพี่ ทำให้ตาย ทำให้สมกับการที่เกิดมาเป็นคนไทย

ผมเคยเกิดปัญหาในการทำงานกับชุมชน ผมทราบถึงปัญหาของพี่ว่าขาดความสะดวกหลายๆอย่างในการที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย พี่เคยลองประสานงานกับทาง องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลบ้างไหมครับ ผมเคยติดต่อประสานงานและก็ได้รับความกรุณาเป็นอย่างดี อีกคนที่สำคัญก็นักพัฒนาชุมชน สามารถเป็นตัวกลางให้อย่างดี ครับ

ขอชื่นชมนะคะ แบบนี้ต้องส่งเลืองไปให้คุณพอลล่า

และร่วมเล่าการทำงานด้วยใจอย่างมีความสุข

ยกให้เป็น อสม. ดีเด่นคะ

วันนี้ออกช่วยเหลือชาวบ้านแถวไหนครับ สนุกไหมครับวันนี้

วันนี้ ไป บ้านโนนจิก ใกล้ๆ รพ. ครับ ชาวบ้านน่ารัก

มีผู้ป่วยหนัก 2 ราย

รยะสุดท้าย 1 รายครับ

สนุกแน่ครับ

บ้านนี้ มี ลูกจ้างประจำ รพ. อยู่ ทำให้ ทางสะดวกครับ

ส่วนของผมวันนี้ ต้องบรรยายเรื่องการปลูกมะกรูดระยะชิด ให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอบึง ในส่วนของวิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย งานนี้ถ้าบรรยายไม่ดีโดน ตืบแน่! แล้วจะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเผยแพร่ให้ทราบครับ

เข้าหมู่บ้านบ่อยๆ สาวๆถามหายารักษาแผลใจบ้างหรือเปล่าครับ ฮา55

สวัสดี ท่าน สามารถ สาวๆ ไม่ค่อยเจอ เจอแต่แก่ๆ กับเด็กๆ

แต่ ถ้างานศพ งานแต่งงาน สาวๆ ตรึมครับ

ปกติ ชนบทภาคอีสาน ทั้งหมู่บ้าน จะมี แต่เด็ก วัยรุ่น คนแก่ คนวัยกลางคน 40 ปี ขึ้นไป

สาวๆ 18-30 ปี หายาก ครับ

ขอเป็นกำลังใจ ให้ ท่านสามารถ ในการบรรยายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท