เพลี้ยแป้งสีชมพูมันสำปะหลัง(1)


เพลี้ยแป้งสีชมพูมันสำปะหลัง(1)

เพลี้ยแป้งสีชมพูมันสำปะหลัง (1)

เพลี้ยแป้ง

                   จากการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญด้านมันสำปะหลังได้ข้อมูลที่พอจะเป็นประโยชน์มาแลกเปลี่ยนกันดังนี้ครับ  ในปี 2550-2551  ประเทศไทยปลูกมันสำปะหลังประมาณ  แปดล้านไร่  ในพื้นที่  45  จังหวัด  และเริ่มพบการระบาดของเพลี้ยมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคเหนือ  จังหวัดกำแพงเพชร  พื้นที่อำเภอคลองลาน,  ขาณุฯ  และอำเภอเมือง,  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดนครราชสีมา  ที่อำเภอปากช่อง, สีคิ้ว,  ด่านขุนทด  ภาคตะวันออก  พื้นที่จังหวัดชลบุรี,  ระยอง,  ฉะเชิงเทรา,  สระแก้ว,  จันทบุรี  และภาคกลางที่จังหวัดลพบุรี  อำเภอท่าหลวง,  สระโบสถ์  และลำสนธิ  ฯลฯ

                   การระบาดแพร่กระจายไปสู่จังหวัดใกล้เคียงอย่างรวดเร็วน่าตกใจ  ในขณะที่ผู้เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหากับศัตรูมันสำปะหลังตัวนี้  กลับมัวแต่รอตำตอบเรื่องสายพันธุ์ (species)  ของเพลี้ยแป้งที่ส่งไปวิเคราะห์ต่างประเทศ  (ได้รับคำตอบ 2552)

                   มาตรการต่างๆ  ที่ชัดเจนในระดับหนึ่งของ  กรมวิชาการเกษตรโดยสถาบันวิจัยพืชไร่ได้ออกมา  ส่งสัญญาณเตือนให้เฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์ของเกษตรกร  จากจังหวัดหนึ่งไปสู่อีกจังหวัดหนึ่ง  และการแช่ท่อนพันธุ์  ก่อนที่เกษตรกรจะนำไปปลูกในพื้นที่ด้วยสารเคมี    แต่กลับไม่มีปฏิกิริยาตอบรับจาก   ทุกฝ่าย  ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร  ที่กลับเห็นเป็นเรื่องไร้สาระ  ทุกคนต่างมุ่งไปที่การปลูกแบบเดิมๆ         การเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์แบบเดิมๆ  โดยเฉลียวใจว่าในอนาคตอันใกล้  ประเทศที่มีการปลูกมันสำปะหลังที่เป็นอันดับ 3 ของโลก  และเป็นอันดับ 1  ด้านการส่งออกอย่างประเทศไทย  จะประสพปัญหาเพลี้ยแป้งระบาดทำลายมันสำปะหลังอย่างหนักหน่วง  เหมือนประเทศในแถบทวีปแอฟฟริกา  หรือบราซิลตอนเหนือ  ที่กว่า    จะตั้งตัวได้ต้องใช้เวลา 2-3 ปี ส่งผลให้เกิดความเสียหายไปกว่าแสนล้านบาท

                   เพลี้ยแป้งสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่เคยมีการระบาด  ในทวีปแถบแอฟฟริกามาก่อน  ดังกล่าว  อาจเรียกได้ว่าเป็น (Affrican  species)  ซึ่งขอสงวนที่จะไม่กล่าวถึงชื่อทางวิทยาศาสตร์ในที่นี้  พฤติกรรม     การทำลายของมันต่างจากสายพันธุ์เดิมๆ  ที่เคยมีในประเทศ  อย่างเช่น  (Ferrisia  virgata)  (Pseudo  coccus  sp.) (Phenacoccus  solenopsis)  และเจ้าตัวร้านที่สร้างความบอบช้ำให้พี่น้องเกษตรกรอยู่ในขณะนี้เราจะเรียกมันว่า (เพลี้ยแป้งสีชมพูมันสำปะหลัง)

เพลี้ยแป้งสีชมพูมันสำปะหลัง

-         เป็นแมลงที่ใช้ปากดูดน้ำเลี้ยงจากพืชอาศัย

-         สามารถออกไข่ได้ 600-800  ฟอง ต่อหนึ่งตัวในเวลาเพียง  14  วัน

-         ใน 1 ถุง ไข่จะมีประมาณ  25-500  ฟอง

-         ใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 6-10 วัน  ก็จะออกมาเป็นตัวอ่อน

-         ระยะตัวอ่อน  35-40 วัน

-         ตัวเมียลอกคราบ 3 ครั้ง  จะเริ่มออกไข่ใหม่

-         ตัวผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง  ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมีย  บางตำรา  ตัวผู้ลอกคราบครั้งที่ 4 แล้วจะมีปีก  และบางตำราบอกไม่มีตัวผู้ (งานนี้นักกีฏที่รับผิดชอบงานเข้า... เพราะจะต้องหาความกระจ่างนอกเหนือที่จะมานั่งปลูกพืชในกระถางเพื่อทดลองสารกำจัดแมลงแล้วไปแนะนำให้เกษตรกรใช้)

-         ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ (ยิ่งน่ากลัวกว่า)

-         ตัวเต็มวัยบนหลังจะมีมูลหวานที่ถ่ายออกมา (แป้ง)  ปกคลุมบนหลัง

-         วงจรชีวิต 60 วัน

-         พาหะของการระบาดเกิดจาก  ฝูงมดที่มากินมูลหวานแล้วคาบตัวอ่อนกลับไป ลม และน้ำ

-         แหล่งอาศัย  ในดินอาศัยดำรงชีพกับพืช  หรือรากพืช  เช่น  แห้วหมู  ฯลฯ

-         พืชอาศัย  มีกว่า  15  ชนิด  เช่น  ฝรั่ง  พุทรา  น้อยหน่า  มะม่วงหิมพานต์  ลีลาวดี  ฯลฯ   ไม่เว้นแม้แต่  สะเดา 

-         เพลี้ยแป้งมี 2 ชนิด

1.  ชนิดออกไข่  และฝักออกเป็นตัว  (ไม่ต้องอาศัยเพศ)

2.  ชนิดที่ออกมาเป็นตัว  (ไม่ต้องอาศัยไข่)

 

คุณสรรเสริญ  สุนทรทยาภิรมย์

ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายปฏิบัติการฝ่ายไร่  บริษัทโชคชัยสตาร์ท จำกัด

อำเภอบ้านไร่  จังหวัดอุทัยธานี  และที่ปรึกษารองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

 

หมายเลขบันทึก: 312078เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

*** แวะมาศึกษาเรื่องมันๆ

*** ยุ่งยากน่าดูนะคะ

ซำบายดีบ่ คุณอ๋อย การใช้บิวเวอร์เรียไดผลดียืนยัน

อยากได้เบอร์ติดต่อ อ.สรรเสริญ ค่ะ

อ.สรรเสริญ สุนทรทยาภิรมย์

ขอบคุณมากครับสำหรับทีมงานที่เผยแพร่สิ่งดี ๆ ที่มีสาระความรู้ให้กับเกษตรกรที่รับผลกระทบอยู่ในขณะนี้ อยากให้เน้นเรื่องการป้องกันก่อนปลูกให้มากเนื่องจากเกษตรกรเริ่มตื่นตัว (หลังจากแทบหมดตัวในฤดูการปลูกที่ผ่านมา) ถึงวันนี้สิ่งที่ผมเคยเตือนไว้ในขณะบรรยายแต่ละที่ก็แสดงผลออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงของการระบาดจะเพิ่มขึ้น หรือเกษตรกรจะเห็นราคามันสำปะหลัง 2 บาท/กก.ที่พูดไว้ตั้งแต่ราคา 1 บาท หรือ วิกฤติต้นมันทำพันธุ์จะเกิดในปี 2553 มูลค่าของต้นพันธุ์จะมากกว่าหัวมันในดิน(ราคาต้นพันธุ์ขณะนี้ไร่ละ 5-6000 บาท หาดีไม่ได้อีกด้วย ในขณะที่หัวมันในดินได้เพียง 4-5000 บาท) ล้วนเป็นการคาดเดาก่อนการระบาดรุนแรงทั้งสิ้น และในปีหน้าราคามันก็น่าจะมี เฉียด ๆ 3 บาท/กก. หรือสูงกว่านั้น ถ้าฝนยังทิ้งช่วง สถานการณ์การระบาดก็ยังคงเดินหน้าต่อไป และขอให้พี่น้องเกษตรกรระวังแมลงปากดูดตัวอื่น เช่น ไรแดง และแมลงหวี่ขาวด้วย การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนสามารถทำได้ โดย เกษตรกรต้องไม่ไถกลบต้นมันที่มีการระบาดไว้ในดิน ตากดินและไถพรวนมากครั้งขึ้น แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีหรือชีวภัณฑ์ ใส่ปุ๋ยให้พืชเจริญเติบโตสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง และระยะการปลูกที่เหมาะสม ไม่ปลูกถี่ เพราะจะทำให้การจัดการเมื่อมีการระบาดยากขึ้น เกิดการแย่งแสง แย่งอาหารในพืช สุดท้ายอาหาร(ปุ๋ย)ไม่พอ หัวเล็กลีบ อ่อนแอต่อการระบาดของโรคและแมลง สนใจเรียนรู้เรื่องมันสำปะหลังและการจัดการ ลองเข้าไปอ่านที่ www.cassava-devlp-center.com จะได้ทราบความเคลื่อนไหวทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขณะนี้เพราะจะมีการอัพเดทข้อมูลวิชาการทุกเดือน หรือสอบถามไปที่ 089-9037270 ยืนดีให้คำตอบ ขอบคุณทีมงานอีกครั้งครับ

อ.สรรเสริญ สุนทรทยาภิรมย์

อยากได้สารไคตินติดต่อซื้อที่ไหนได้บ้างครับ ผมอยู่โคราชครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท